Skip to main content

ถนอมรัก  เดือนเต็มดวง


20 พฤศจิกายน 2556
เวลา 13.30 น. ศาลรัฐธรรมนูญอ่านคำวินิจฉัยว่าด้วยประเด็น การแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับที่มาของสมาชิกวุฒิสภา ความเป็นมาก่อนนี้ ส.ว.และส.ส.เสนอแก้ไขที่มาของสมาชิกวุฒิสภาให้มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ไม่ใช่มาจากการสรรหา 73 คน มาจากเลือกตั้ง 77 คน

เนื้อหาสาระคือ
ศาลฯเห็นว่ากระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและเนื้อหาที่ถูกแก้ไขโดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงให้สมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.)มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด เป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ จึงเข้าข่ายตามมาตรา 68 แต่ไม่พบเหตุที่จะวินิจฉัยให้ยุบพรรคการเมือง และตัดสิทธิ์ทางการเมืองของกรรมการบริหารพรรคที่มีการร้องขอ...สาระสำคัญของมาตรา 68 ของกฎหมายรัฐธรรมนูญคือล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข...มีผลให้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในเรื่องที่มาของ ส.ว.ต้องตกไป

ปัญหาของประเทศขณะนี้
ชูขึ้นมามี 2 ปัญหาคือ ปฏิรูปประเทศก่อนเลือกตั้ง โดยเป็นข้อเสนอเรียกร้องของ กปปส.(คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข) ต่อมาขยายเป็น เรียกร้องให้นากยกรักษาการลาออก แต่ฝ่ายรัฐบาลรักษาการเสนอให้เลือกตั้งก่อนแล้วปฏิรูปประเทศ หรือปฏิรูปควบคู่กันไปด้วย ทั้งสองฝ่ายต่างต้องการกุมอำนาจรัฐไว้ในมือ ท้ายสุดต้องไปหารัฐธรรมนูญ จะทำอย่างไร แก้ไข ยกเลิก ร่างใหม่

ปมปัญหาเหล่านี้
ทำให้เกิดมวลชนสนับสนุนทั้งสองฝ่าย หลายกลุ่ม หากไล่ไปทีละปัญหาอย่างใจเย็น สืบสาวค้นหาที่มาสาเหตุ เช่น ปัญหาองค์กรอิสระ การใช้เสียงข้างมากในสภา ปัญหา 1 สิทธิ์ 1 เสียง ไม่เท่ากัน ปัญหาคอรัปชั่นรวมทั้งปัญหาที่ทั้งสองฝ่ายชูประกาศให้ได้ยิน ได้ประจักษ์ ลึกๆลงไป แท้จริงอะไรคือปัญหาหลอก ปัญหาจริง  ความต้องการจริงในหัวใจ

ความขัดแย้ง
ต้นตอน่าจะมาจากปัญหารัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ใช้ไปแล้วมีปัญหา รัฐธรรมนูญ 2550 มาจากรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 รัฐธรรมนูญเป็นกติกา กฎ แนวทางปฏิบัติร่วมกันของผู้คนในประเทศ บทเรียนที่ ส.ว.และ ส.ส.ขอแก้ไขที่มาของ ส.ว. ให้มาจากการเลือกตั้งทั้งหมดนั้น ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแล้วว่าทำไม่ได้ เข้าข่ายล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แปลความว่ารัฐธรรมนูญแก้ไขไม่ได้ ถ้าอย่างนั้นเราต้องใช้รัฐธรรมนูญ 2550 ไปอีกนานเพียงใด

ได้ค้นข้อมูล
ประวัติศาสตร์การเมืองไทย หยิบเหตุการณ์สำคัญขึ้นมา ขอเริ่มจากปฏิวัติโดยประชาชน เมื่อ 14 ตุลาคม พ.ศ.2516 โดยมีแกนนำเป็นนักศึกษา และมีประชาชนเข้าร่วม จำนวนทั้งหมดราว 500,000 คน ร่วมชุมนุมใหญ่ ขับไล่รัฐบาลจอมพลถนอม จอมพลประภาส  เพราะจอมพลถนอม กิตติขจร ทำการรัฐประหารตนเองในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2514 เป็นการสืบทอดอำนาจ ซึ่งขณะนั้นจอมพลถนอมจะต้องเกษียณอายุราชการ ทั้งเรื่องปัญหาคอรัปชั่นในวงราชการต่างๆ ฯลฯ  ต่อมาขยายเป้าหมายเป็นเรียกร้องขอรัฐธรรมนูญ เกิดการนองเลือด เมื่อมีการปะทะระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับประชาชน ที่สุดจอมพลถนอม กิตติขจรได้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต่อมาจอมพลถนอม จอมพลประภาส พ.อ.ณรงค์ ได้เดินทางออกนอกประเทศ เหตุการณ์จึงได้สงบลง มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายสัญญา ธรรมศักดิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นนายกรัฐมนตรี

หลังเหตุการณ์
มีการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ โดยมีสภาร่างรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วยประชาชนจากหลายภาคส่วน มีนักการเมืองร่วมด้วย นำไปสู่การเลือกตั้งในต้นปี พ.ศ. 2518 ช่วงเวลานั้น เรียกว่าเป็นยุคฟ้าสีทองผ่องอำไพ

ประเทศไทยมีสถิติ
กบฏ 12 ครั้ง ปฏิวัติ 1 ครั้ง รัฐประหาร 8 ครั้ง เหตุการณ์เหล่านี้ล้วนเป็นการแย่งชิงอำนาจการเปลี่ยนรัฐบาลหรือผู้ปกครองประเทศ ที่ไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ ไม่เป็นไปตามกติกาหรือระเบียบแบบแผนโดยสันติวิธี มีการใช้กำลังอาวุธเข้ายึดอำนาจ เมื่อยึดอำนาจแล้ว มีการใช้รัฐธรรมนูญฉบับเก่าหรือประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่  มีการประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่ เป็นขบวนการที่เรียกว่ารัฐประหาร เป็นการล้มล้างรัฐบาลที่บริหารปกครองประเทศ แต่มิใช่การล้มล้างระบอบการปกครองหรือประเทศทั้งประเทศ รัฐประหารไม่จำเป็นต้องใช้ความรุนแรงหรือนองเลือดทุกครั้งไป

คงพอมองเห็น
การยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับเดิมแล้วร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ทำได้โดยรัฐประหาร เป็นคณะบุคคลที่มีกองกำลังติดอาวุธเข้ายึดอำนาจ เช่น รัฐประหาร 19 กันยายนพ.ศ. 2549 แต่เมื่อ 14 ตุลาคม พ.ศ.2516 ได้เปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยพลังนักศึกษาและประชาชน โดยมือเปล่า ปราศจากอาวุธ เป็น
2 เหตุการณ์ที่ฉายภาพขบวนการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญที่แตกต่างกัน หากได้ติดตามข่าวบ้านเมืองอย่างต่อเนื่อง จะเห็นภาพจริงขณะนี้ หลายขุมกำลังขยับตัวเข้าทับรอยประวัติศาสตร์อย่างน่าทึ่ง.
                     
                                

บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  เสียงร้องเพลงดังขึ้นพร้อมกับอิเล็กโทน แต่ยังไม่ปรากฏตัวผู้ร้อง เร้าใจผู้ชมให้อยากเห็นหน้ายิ่งนัก ครู่เดียว   บนเวทีปรากฏร่างผู้ชาย 2 คน หญิง 2 คน เดินออกมาจากหลังเวที คนแรกเดินถือไมค์ร้องนำออกมา แนวเพลง “พรศักดิ์ ส่องแสง” กล่อมผู้ชมด้วยเพลงยอดฮิตในอดีต “เมียเด็ก” เสียงดีพอใช้ได้ทีเดียว เพ่งดูชัดๆเป็นหัวหน้าคณะช่างซอ สิงห์คำนั่นเอง ยังคงสวมชุดเดิม ช่างซออีก 3 คนเต้นเป็นหางเครื่อง สะบัดแข้งขาหมุนตัวพอใช้ได้ ช่างซอหญิงทั้ง 2 คน เปลี่ยนนุ่งกางเกงขาสั้นสีขาว เสื้อแขนกุดสีสดใส …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    ผู้ใหญ่บ้านเดินมาหน้าเวที   ยื่นใบแดงให้ฝ่ายชาย 1 ใบ   ฝ่ายหญิงอีก 1 ใบ   ผู้รับก้มไหว้ในท่าที่คิดว่าสวยที่สุด   ยังไม่พอ   ผู้ขับซอทั้ง 4 คน ประกอบด้วย   สิงห์คำ   แจ่มจันทร์   ก้าน   ผ่องพรรณ   คนหลังนี่เนาวรัตน์จ้องดูเธอมากกว่าใคร   เธอสวยทันสมัยถูกใจมาก   ทุกคนช่วยกันขับซออ้อนรายต่อไป   มีรายชื่อในสมองมากมาย   รวมทั้งในกระดาษและที่มีคนกระซิบบอกอีกหลายชื่อ   เป็นช่วงเวลาเป็นเงินเป็นทองของพวกเขา  …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  ใครบ้างไม่ชอบ ความสวยงาม คนสวยคนหล่อ ดวงอาทิตย์ขึ้น ทะเลหมอกยอดดอย อาหารอร่อย กาแฟรสเข้ม ทะเลกับหาดทราย สวนดอกไม้นานาพันธุ์   เสียงนกร้อง น้ำตกสาดซัดหินผา    สายลมต้องใบไม้ผะแผ่ว ระฆังชายคาโบสถ์วะแว่ว และเสียงมนุษย์ที่ขับขานเป็นท่วงทำนองเสียงเพลง ผมชอบฟังเพลงตั้งแต่เด็ก ร้องเพลงเมื่อเรียนชั้นประถมศึกษา พอโตก็ร้อง เคยร้องกับวงดนตรีครูดอย ชื่อวง “สนเกี๊ยะ” คนร้องกับดนตรีไปคนละทาง เรียกว่าร้องไม่เป็นสรรพรส ทำให้นักดนตรีวุ่นวายทั้งวง เขาคงกลัวจะเสียชื่อ …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ความหนาวเย็นแห่งฤดูหนาว จากไปโดยไม่ล่ำลา ลมร้อนพัดเข้ามาแทน แม้ไม่เชื้อเชิญ ระหว่างรอยต่อปลายกุมภาพันธ์ ได้ยินเสียงนก “ปิ้ดจะลิว”(นกกรงหัวจุก) ส่งเสียง “ปิ้ดจะลิวๆ” ตอนเช้าตรู่ ยังไม่เห็นตัวเสียงมาก่อน นกจี๋เจี๊ยบ(นกกางเขน)ส่งเสียงแหลมสูงเจื้อยแจ้วประชัน จักจั่นเป็นฝูงส่งเสียงแซ่สนั่นที่ต้นสักข้างบ้าน ไม่เห็นตัวอีกเช่นกัน เหมือนนักร้องลูกทุ่งดัง ระดับหัวหน้าวง ต้องร้องอยู่หลังม่านเวทีสักท่อนหนึ่งก่อน แล้วจึงค่อยเดินตัวตรงมาดเท่ในชุดสากล ปรากฏตัวต่อมิตรรักแฟนเพลง น้ำแม่ขานที่คั่นระหว่างบ้านทุ่งแป้ง(อำเภอสันป่าตอง) …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
พอทราบข่าว ผลการประกวดภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 20 ประจำปี 2553 ณ ศูนย์การค้า เซ็นทรัลเฟสติวัล พัทยา บิช เมื่อค่ำวันที่ 6 มีนาคม 2554 ว่า ผู้ได้รับรางวัล ผู้แสดงนำหญิงยอดเยี่ยม เป็นสาวน้อยวัย 18 ปี หน้าตาใสๆ น่ารัก ชื่อ “หนูนา” หนึ่งธิดา โสภณ(160 ซ.ม./44 กก.) จากหนังเรื่อง “กวน มึน โฮ” เธอสามารถทำคะแนนนำสาวพลอย เฌอมาลย์ สาวสวยเข้มฝีมือจัดจ้าน ที่แสดงเรื่อง “ ชั่วฟ้าดินสลาย” จากบทประพันธ์ของ “เรียมเอง” หรือ มาลัย …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    ผมสูดปากเบาๆ มันแสบตาแทบลืมไม่ขึ้น น้ำตาเริ่มไหล “ลุงขยับหน้าเข้ามาใกล้อีกนิด ให้คางวางบนแผ่นพลาสติก หน้าผากชิด นั่งนิ่งๆนะครับ.” หมอหนุ่มเริ่มหมุนกล้องที่ติดกับส่วนที่ผมวางคาง ปรับกล้องจนผมรู้สึกว่าผิวเลนซ์กล้องมันแทบติดดวงตา แสงไฟสว่างจ้าเข้มลำเล็กพุ่งเข้าดวงตา หมอตรวจทั้งสองข้าง ปากก็พูดพึมพำ “ความดันตาปรกติ” หมอปรับระยะกล้องตรวจใหม่ บอกผมให้วางคางบนแผ่นพลาสติก ส่วนหน้าผากชิดติดกับแผ่นเหล็กข้างหน้า ฝ่ามือผมทั้งคู่วางบนโต๊ะเพื่อทรงตัว หมอส่องกล้องตรวจตาทีละข้างอีกรอบ ให้ผมกลอกตามองข้างบน แล้วมองล่าง…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล   รอหมอนานๆน่าเบื่อ ส่วนใหญ่นั่งเงียบที่แถวเก้าอี้ หูคอยฟังนางพยาบาลเรียกพบหมอ ส่วนตานั้นจับจ้องดูความเคลื่อนไหวของนางพยาบาล บางคนฆ่าเวลาด้วยการพูดคุยกับคนข้างเคียง ได้ยินนางพยาบาลที่ประจำห้องตรวจรียกชื่อคนไข้เป็นระยะๆ แล้วผายมือให้นั่งรอคิวที่เก้าอี้ข้างประตูห้องตรวจ นั่งรอหมอนานๆไม่รู้ทำอะไร ผมฆ่าเวลาโดยมองดูสิ่งรอบๆตัวให้สบายตา ดูพยาบาลชุดขาวสะอาด ผิวขาวสะอาดสะอ้าน คนนี้หน้าสวย คนนั้นตาสวย คนนี้พูดเพราะ ทุกคนเคลื่อนไหวตลอด บ้างก้มหน้าพิมพ์ข้อมูลที่โต๊ะคอมพิวเตอร์ …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  วันนี้ขับรถยนต์ จากบ้านทุ่งแป้ง อำเภอสันป่าตอง เวลา 7.32 น หมอนัดตรวจตา ที่โรงพยาบาลสวนดอก(มหาราช) เชียงใหม่ เป็นช่วงเวลาเร่งรีบของทุกคน บ้างรีบไปทำงาน บ้างรีบไปเรียนหนังสือ ถนนจึงมากมายด้วยรถรา พอวิ่งเข้าเขตตัวอำเภอสันป่าตอง รถเริ่มติด และติดหนาแน่นขึ้นเมื่อวิ่งเข้าเขตอำเภอหางดง เริ่มเข้าสู่ตัวเมืองเชียงใหม่ รถจักรยานยนต์วิ่งกันหวาดเสียว วิ่งเร็ว แซงซิกแซกซ้ายขวา รถวิ่งเลียบตามคูเมืองด้านนอก ไปช้าๆ ผ่านหน้าโรงพยาบาลสวนดอกแล้ว เคลื่อนตัวช้ามาก ถนนมีเท่าเดิม รถมากขึ้นทุกๆวัน…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ผมขับรถออกจากบ้าน คุณแม่จันทร์สม สายธารา เลี้ยวซ้ายปากซอย มุ่งตรงกลับบ้าน อดนึกถึงคำพูดของ พ่อครูคำผาย นุปิง ศิลปินแห่งชาติ ประเภทเพลงพื้นบ้าน-ขับซอ ปี พ.ศ. 2538 ที่ปรากฏในอินเตอร์เน็ต หัวข้อ “ ซอพื้นบ้านล้านนา คุณค่าแห่งดนตรีที่ถูกเมิน” “ ยุคนี้ไม่ใช่ยุคของซออีกต่อไป ในอดีตซอได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ในหมู่บ้านล้านนาไปที่ไหนๆก็มีซอ ซอสมัยก่อนได้เงินหลักร้อย ซึ่งถือว่าสูงมากในเวลานั้น แตกต่างจากตอนนี้ที่มีเด็กรุ่นใหม่เพียงไม่กี่คนเท่านั้น ที่สนใจจะเรียนซอกันอย่างจริงจัง กลุ่มคนฟังในปัจจุบัน …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  ลองอ่านความหมาย คำว่า “รัก” ของนักเขียนเอเชียชาวญี่ปุ่น เจ้าของรางวัลโนเบลปี ค.ศ.1968 เขาคือ ยาสึนาริ คาวาบาตะ กล่าวในงานเขียนของเขาชื่อ “เสียงแห่งขุนเขา”