Skip to main content
 

ปลายสัปดาห์นั้น หมู่บ้านคึกคักเป็นพิเศษ เพราะผู้ใหญ่บ้านประกาศล่วงหน้ามานานหลายวันแล้วว่า วันศุกร์สุดท้ายของเดือน ผู้ว่าราชการจังหวัดจะลงพื้นที่มาตรวจเยี่ยมชาวบ้าน มารับฟังปัญหา จึงขอเชิญชาวบ้านมาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนสารทุกข์สุขดิบกัน

ซึ่งอันที่จริง การขอเชิญ นั้น ก็มีการขอร้อง กึ่งๆ ขอแรง ปะปนอยู่ด้วย เพราะช่วงเวลาดังกล่าว ชาวบ้านส่วนใหญ่กำลังวุ่นกับงานในไร่ เตรียมจะปลูกแตงกวา มะเขือเทศ ถั่วฝักยาวกัน

นานๆ จะมีเจ้าใหญ่นายโตมาเยี่ยมหมู่บ้าน ใครต่อใครก็เลยต้องทำความสะอาด ปัดกวาดบ้านกันใหญ่ เพราะเดี๋ยวถ้าเกิดแจ๊กพ็อต ผู้ว่าฯ เดินเข้ามาหาถึงบ้าน แล้วบ้านรกยังกับรังนก เป็นได้อายเขาตายเลย ยิ่งใครก็ไม่รู้ ปล่อยข่าวว่า จะมีนักข่าวเคเบิลทีวีตามมาด้วย ชาวบ้านเลยต้องขยันเก็บกวาดกันผิดปกติ

วัว ควาย เป็ด ไก่ หมู หมา แมว กระสอบ จอบ เสียม รถเข็น เครื่องสูบน้ำ ฯลฯ ถูกเก็บ ถูกจัด ถูกวางแบบที่ไม่เคยเป็นระเบียบอย่างนี้มาก่อนในรอบสิบปี พวกหนุ่มๆ ถูกเกณฑ์มาทำความสะอาดอนามัย อบต. ศูนย์เด็กเล็ก ชมรมผู้สูงอายุ ถนนหนทางของหมู่บ้าน ทั้งเก็บขยะ ดายหญ้า กวาดถนน

และหมายกำหนดการในวันศุกร์ของท่านผู้ว่าฯ ที่จะมาตรวจเยี่ยมชาวบ้านนั้น ก็คือ 
           

14.00 น. ผู้ว่าฯ และคณะ เดินทางมาถึงที่ทำการ อบต. ซึ่งจะมีนายอำเภอ ปลัด กำนัน และ นายกฯ อบต. รอต้อนรับอยู่
14.15 น. นายอำเภอ กล่าวรายงานข้อมูลพื้นฐานของอำเภอ พร้อมกับแนะนำหัวหน้าส่วนราชการในอำเภอ
15.00 น. กำนัน กล่าวรายงานข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้าน พร้อมกับแนะนำผู้ใหญ่บ้าน และหัวหน้ากลุ่มงานพัฒนาต่างๆ ของตำบล
15.30 น. ผู้ว่าฯ รับฟังปัญหา และพูดคุยกับชาวบ้าน
16.30 น. ผู้ว่าฯ ออกเดินตรวจเยี่ยมตามบ้าน
17.00 น. ผู้ว่าฯ เดินทางกลับ

แต่ปรากฎว่า ตอนเช้าวันนั้นเอง คณะของผู้ว่าก็แจ้งมาว่า ผู้ว่าฯ ติดภารกิจด่วน หมายกำหนดการทุกอย่างจะต้องเปลี่ยนแปลงไปเหลือแค่หนึ่งในสาม นั่นคือ ผู้ว่าฯ มาถึง ก็รับฟังปัญหาจากชาวบ้าน ออกเดินตรวจเยี่ยมชาวบ้าน แล้วก็เดินทางกลับ

พอกำนันรู้ ก็ถอนหายใจเฮือกใหญ่ ไม่รู้ว่าโล่งอก หรือ เซ็งจัดกันแน่ เพราะอุตส่าห์ทำความสะอาดกันยกตำบลเสียเรี่ยมเชี่ยม
"...ก็ดีเหมือนกัน..." ผู้ใหญ่บ้านคนหนึ่งพูดลอยๆ แบบไม่มีเหตุผลต่อท้าย

พอได้เวลาสี่โมงเย็น(เลื่อนจากเดิมลงมาอีกสองชั่วโมง) คณะของผู้ว่าฯ ก็เดินทางมาถึงที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล มี นายอำเภอ หัวหน้าส่วนราชการในอำเภอ นายกฯ อบต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และชาวบ้าน หลายสิบคน ไปร่วมต้อนรับ

เมื่อผู้ว่าฯ มาถึง ทุกคนก็ได้ทราบว่า กำหนดการจะเปลี่ยนไปอีก เพราะผู้ว่าฯ ไม่มีเวลาเดินตรวจเยี่ยมชาวบ้านแล้ว จึงจะเปลี่ยนไปเยี่ยมหน่วยงานในตำบลแทน

"...จะเอาที่ไหนล่ะ ไม่ได้จัดไม่ได้เตรียมอะไรไว้เลย..." นายกฯ อบต. กระซิบเสียงเครียดกับผู้ใหญ่บ้าน 4-5 คน ขณะที่กำนันกำลังกล่าวรายงานแนะนำหมู่บ้าน
"...กำหนดการก็เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา...เฮ้อ..." ผู้ใหญ่บ้านหมู่สามบ่นพลางส่ายหัว
"...จะให้ไปเยี่ยมหน่วยงานไหนล่ะ? โรงเรียนหรือศูนย์เด็กเล็ก เด็กๆ มันก็กลับบ้านกันไปหมดแล้ว อนามัยก็มีเจ้าหน้าที่อยู่แค่สองคน กลุ่มแม่บ้าน ป่านนี้ก็ยังไม่กลับจากไร่จากนากันหรอก..." ผู้ใหญ่บ้านหมู่สี่ ชี้แจงอย่างจนใจ

ยืนเครียดกันอยู่สักพัก ผู้ใหญ่บ้านหมู่ห้าก็เสนอขึ้นมาว่า
"...เอางี้สิ...ให้ผู้ว่าแกไปเยี่ยมชมรมผู้สูงอายุดีกว่า เดี๋ยวฉันไปเปิดที่ทำการไว้ให้ แล้วก็ช่วยกันเกณฑ์ไปสักสิบยี่สิบคน แค่ที่ยืนๆ อยู่นี่ก็คงพอ..."
พอได้ยินดังนั้น คนอื่นก็พยักหน้าเห็นด้วยทันที

ผู้ใหญ่บ้านหมู่ห้าหัวไวจริงๆ เพราะ หนึ่ง ที่ทำการชมรมผู้สูงอายุ ก็อยู่ติดกับ ที่ทำการ อบต.นั่นเอง และ สอง ชาวบ้านที่เกณฑ์กันมาต้อนรับผู้ว่าฯ กว่าครึ่ง ก็เป็นคนแก่ คนเฒ่า สมาชิกชมรมทั้งนั้น ดังนั้น ทุกคนจึงช่วยกันจัดการทันที
"...ปลูกผักชีกันอีกแล้ว..." ผู้ใหญ่บ้านหมู่สามบ่นขำๆ
"...เอาเหอะ เขาอยากกิน ก็จัดให้เขาหน่อย..." นายกฯ อบต. พูดยิ้มๆ

พอเสร็จสิ้นการรายงาน(อย่างรวบรัด) คณะของผู้ว่าฯ ก็เดินตรงไปที่ชมรมผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นอาคารชั้นเดียวอยู่ไม่ไกลจาก อบต. ผู้เฒ่าผู้แก่สมาชิกชมรม มานั่งรอกันอยู่พร้อมหน้ากว่ายี่สิบคน ซึ่งอันที่จริง ส่วนใหญ่ก็เป็นกลุ่มเดียวกับที่ไปยืนต้อนรับผู้ว่าฯ นั่นเอง กระนั้น ก็ดูเหมือนผู้ว่าฯ จะไม่ได้สังเกตุ หรือไม่ก็เต็มใจที่จะมองข้าม ท่านผู้ว่าฯ จึงเข้าไปทักทายพูดคุยด้วยอย่างสนิทสนม

"...คุณตาอายุเท่าไรแล้วครับเนี่ย ยังดูแข็งแรงอยู่เลย" ท่านผู้ว่าฯ ทักตาชุ้ย ชายชราผิวเข้มร่างใหญ่ แกมีรอยสักทั่วตัว แต่หน้ายิ้ม ดูใจดีตลอดเวลา
"...ปีนี้ก็เจ็ดสิบห้าแล้วล่ะครับ" ตาชุ้ย ตอบยิ้มๆ
"โอ้โห...ยังดูแข็งแรงเหมือนเพิ่งอายุหกสิบเลยนะ" ผู้ว่าฯ หยอก เล่นเอาทุกคนหัวเราะครืน
"เมื่อก่อน คงทำไร่ทำนาเก่งน่าดูสินะ ถึงยังแข็งแรงอยู่อย่างนี้" ผู้ว่าฯ ถาม แต่ตาชุ้ยส่ายหัว
"เปล่าครับ...ผมไม่ได้ทำไร่ทำนาหรอก เมื่อก่อนผมเป็นมือปืน ยิงคนตายติดคุกอยู่ตั้งสิบกว่าปี เพิ่งจะออกมาได้สักเจ็ดแปดปีนี่แหละครับ" ตาชุ้ยตอบซื่อๆ เล่นเอา ท่านผู้ว่าฯ กับคณะเงียบกริบ แต่พวกชาวบ้านแอบปิดปากกลั้นหัวเราะกันแทบแย่

ตาชุ้ย เป็นอดีตมือปืน ตอนหนุ่มๆ โหดเหลือหลาย แต่พอออกจากคุกตอนแก่ ก็เปลี่ยนไปเป็นคนละคน ใจเย็น ยิ้มง่าย ไม่มีเรื่องราวกับใคร เข้าวัดถือศีลแปดทุกวันพระ แถมยังได้รับคัดเลือกให้เป็นคณะกรรมการวัดอีกต่างหาก

ท่านผู้ว่าฯ หัวเราะแหะๆ พยักหน้าเป็นเชิงรับรู้ ก่อนจะหันไปหาคุณยายอีกคนหนึ่ง ซึ่งกำลังนั่งเคี้ยวหมากหยับๆ อยู่ข้างๆ
"ยาย...ยังกินหมากอยู่อีกหรือ" ผู้ว่าฯ ทัก ยายไข่หันมายิ้มฟันดำปี๋
"จ้า...เลิกไม่ได้ร้อก...กินมาตั้งกะสาวๆ แล้ว..."
"ยายอายุเท่าไรแล้วจ้ะ" ผู้ติดตามคนหนึ่งของท่านผู้ว่าฯ ถามยาย
"ปีนี้ก็...แปดสิบเก้าแล้วล่ะ" ยายไข่ตอบทันที แกตอบคำถามนี้บ่อยเสียจนจำอายุตัวเองได้แม่น
พอยายไข่บอกอายุตัวเอง ก็เรียกเสียงฮือฮาจากคณะผู้ติดตามทันที
"โอ้โห...ยายจะเก้าสิบอยู่แล้ว ยังแข็งแรงอยู่เลย นี่เดินมาจากบ้านเองหรือเปล่า" ผู้ว่าฯ ถาม ยายไข่ใช้มือปาดน้ำหมากจากปาก พยักหน้าหงึกๆ
"บ้านก็อยู่เคียงๆ (ใกล้ๆ)นี่แหละ...เดินมาเองได้"
ผู้ว่าฯ นั่งลงข้างๆ ตั้งท่าจะคุยเป็นงานเป็นการ
"ยายมีเคล็ดลับอะไรถึงได้อายุยืนขนาดนี้ พอจะบอกผมบ้างได้มั้ยล่ะ เผื่อผมจะได้เอาไปเผยแพร่ให้ประชาชนคนอื่นเขารู้บ้าง"

คณะผู้ติดตามกระซิบกระซาบกัน คนหนึ่งหยิบกระดาษปากกาออกมาจด อีกคนบอกให้ กล้องโทรทัศน์จากเคเบิลทีวีเข้าไปเก็บภาพใกล้ๆ
แต่ยายไข่ ไม่ตอบคำถามผู้ว่าฯ แกเบะปาก ถอนหายใจเฮือกใหญ่ แล้วก็พูดว่า
"พวกเอ็ง...อย่าอยู่นานอย่างข้าเล้ย มันลำบาก...ทุกวันนี้ ข้าก็รอว่าเมื่อไรจะตายจะได้เลิกลำบากซะที"

บล็อกของ ฐาปนา

ฐาปนา
เมื่อแรกแรกที่มีข่าวว่าโรคนี้เกิดขึ้นในโลก ใครใครก็พากันเรียกชื่อมันว่าไข้หวัดหมู เพราะว่ากันว่ามันเป็นโรคของหมูที่ดันมาติดคน(ถ้าหากมีโรคของคนไปติดหมูไม่รู้จะเรียกว่าไข้หวัดคนด้วยหรือเปล่า) แต่ต่อมาเขาไม่อยากให้เรียกไข้หวัดหมู เพราะเกรงว่าจะเป็นการใส่ร้ายหมูซึ่งไม่มีความผิด และจะทำให้หมูทั่วโลกพลอยถูกรังเกียจ แต่คงไม่ใช่ความกลัวว่าหมูจะประท้วง เพราะถึงอย่างไรหมูก็มีสิทธิ์อันชอบเพียงอย่างเดียวคือสิทธิ์ในการเป็นอาหารของมนุษย์ ไม่สามารถชูป้ายประท้วงหรือเขวี้ยงก้อนอิฐใส่ตำรวจปราบจลาจลได้แต่ประการใด
ฐาปนา
ไม่เคยมีใครถามถึงความยินยอมพร้อมใจของทั้งคู่เลยว่าอยากจะย้ายจากบ้านเกิดเมืองนอนที่หนาวเย็นและเต็มไปด้วยพวกพ้อง มาอยู่ในเมืองร้อนที่ห่างไกลหลายพันกิโลเมตร หรือไม่ ถึงจะมีคนถาม แต่พวกเขาก็ไม่สามารถตอบได้ หรือแม้พวกเขาจะตอบว่า "ไม่อยากไป" แต่พวกเขามีสิทธิ์ปฏิเสธละหรือ ? ...
ฐาปนา
10 คำถามตั้งต้น เพื่อทำความเข้าใจมนุษย์ที่ถูกเรียกว่า "นักลงทุน"1. จากคำพูดของนักธุรกิจการเมืองที่มักจะอ้างถึง"ความเชื่อมั่นของนักลงทุน" อยู่เสมอ น่าสงสัยว่านักลงทุนจะเป็นมนุษย์ประเภทขาดความเชื่อมั่น มากกว่ามนุษย์ปกติทั่วไป หรือไม่?ตอบ ไม่มีใครทราบ แต่ถ้าสันนิษฐานอย่างไม่มีฐานอ้างอิง การลงทุนก็จำเป็นต้องใช้ความเชื่อมั่นไม่น้อยไปกว่าการพนัน ทว่าในแง่ของเหตุผลน่าจะมากกว่า เพราะการพนันจะใช้ปัจจัยด้านอารมณ์ความรู้สึกเข้ามาเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจ ขณะที่การลงทุนจะต้องใช้เหตุผล ตัวเลข ตัวแปร เอกสารต่างๆ มากมายก่อนการตัดสินใจที่เต็มไปด้วยขั้นตอนซับซ้อน…
ฐาปนา
ลุงอู๋ ผู้ใหญ่บ้านประกาศเรียกประชุมชาวบ้านหมู่สิบสองตั้งแต่เช้าตรู่ เสียงประกาศนั้นเน้นย้ำนักหนาว่า หนึ่งทุ่มตรงวันนี้ทุกคนต้องไปร่วมประชุมให้ได้ เพราะนี่คือเรื่องความเจริญก้าวหน้าของหมู่บ้าน และีทุกคนจะได้ประโยชน์ โชคดีที่วันนั้น เป็นช่วงว่างจากการทำไร่ ทำนา ที่สำคัญ ละครสุดฮิตที่ชาวบ้านติดกันก็เพิ่งจะจบลงไป พอตอนค่ำ ชาวหมู่บ้านจึงมาประชุมที่ศาลาอย่างหนาตา
ฐาปนา
ลุงเหมือน อดีตทหารผ่านศึก คนปลูกแตงโมมือวางท้อปไฟว์ประจำหมู่บ้าน นั่งมองไร่แตงโมอย่างสบายอารมณ์ปีนี้แตงโมราคาดีไม่น้อย พ่อค้ามารับซื้อหน้าไร่กิโลกรัมละสิบห้าถึงยี่สิบห้าบาท ยิ่งลูกใหญ่ยิ่งได้ราคา มดแมลงก็ไม่ค่อยจะกวนเท่าไร ลุงเหมือนกะว่าปีนี้คงได้เงินจากแตงโมสักห้าหกหมื่น แล้วจากนั้นจะได้ปลูกกะเพรา โหระพา ใบแมงลัก แบบ "พอเพียง-เพียงพอ" บ้าง
ฐาปนา
ยายช้อย คนเคยรวย ชีวิตเปลี่ยนไปมาก หลังจากเป็นหนี้สหกรณ์ฯ หลายแสน ก็ใครจะไปคิดเล่า อยู่ๆ เคยเลี้ยงหมูได้กำไรทีละเป็นแสน จู่ๆ หมูราคาตก กำไรที่คาดหวังเลยเข้าเนื้อแทน เมื่อทนทำต่อไป ยิ่งทำก็ยิ่งขาดทุน ทุนหายกำไรหด จนกลายเป็นหนี้ ถึงที่สุดก็ต้องหยุดเลี้ยง ยายช้อยผู้เคยเดินชูคอสั้นๆ ป้อมๆ ของแกไปทั่วหมู่บ้าน ในฐานะเมียอดีตกำนันหลายสมัย มาบัดนี้ กลับไม่สง่าผ่าเผยเป็นคุณนายกำนันเหมือนเดิมอีกแล้ว
ฐาปนา
เกษตรทางเลือก เกษตรอินทรีย์ เกษตรธรรมชาติ เกษตรผสมผสาน เกษตรแนวใหม่ ฯลฯ ล้วนแต่น่าสนใจ และกำลังเป็นทางเลือกสำหรับการทำการเกษตรในอนาคตทว่า ชาวบ้านจำนวนมากก็ยังคงรู้จักอยู่แค่อย่างเดียวคือ เกษตรเคมี ฟังดูอาจจะขัดกับความรู้สึกของคนชั้นกลางจำนวนหนึ่ง ที่กำลังอินกับกระแสรักสุขภาพ แต่ก็โปรดรับรู้เถิดว่า ผักที่ท่านซื้อจากตลาด(ไม่ว่าจะติดแอร์หรือไม่ก็ตาม) เกือบจะร้อยเปอร์เซนต์ ล้วนมีสารเคมีทั้งสิ้น  มากบ้างน้อยบ้างตามประเภทของผัก และตามปริมาณการใช้ของผู้ปลูก
ฐาปนา
ผมยังจำได้ดี ภาพของชายวัยเจ็ดสิบนั่งอยู่บนโต๊ะไม้ตัวเล็กๆ คร่ำเคร่งอยู่กับการจิ้มนิ้วไปบนแป้นพิมพ์ดีด ขณะที่ข้างกายมีถังอ๊อกซิเจนขนาดใหญ่ต่อสายยางยาวมาสู่จมูกเป็นภาพที่ชวนให้ครั่นคร้าม ไม่น้อยไปกว่าชื่อเสียงเรียงนามในฐานะตำนานที่ยังมีชีวิตเจ้าของบ้านหันมาบอกให้รอประเดี๋ยว เดี๋ยวจะไปนั่งคุยด้วย ผู้นำทางจึงกระซิบให้ลงไปนั่งรอที่ห้องรับแขก
ฐาปนา
ชีวิตชาวนาชาวไร่ สินค้าที่ใช้ ร้อยละเก้าสิบเก้าหนีไม่พ้นซื้อจากร้านค้าในหมู่บ้าน นานๆ จะได้เข้าตลาดในอำเภอ หรือ ห้างใหญ่ในตัวจังหวัดเสียที ก็ของใช้จำเป็นอย่าง สบู่ ยาสีฟัน ผงซักฟอก ยาสระผม ฯลฯ มันเป็นของประเภท ที่ไหนก็มี ซื้อที่ไหนก็ไม่ต่างกัน ราคาอาจถูกแพงกว่ากันบ้างไม่กี่บาท น้อยรายที่สนใจรักสวยรักงามถึงขนาดต้องใช้เครื่องสำอางค์ราคาเป็นร้อยเป็นพัน หรือ สินค้าเกรดเอ คุณภาพเกินร้อยอย่างที่เขาชอบโฆษณา
ฐาปนา
หลายปีที่ผ่านมา พื้นที่การเกษตรขยายตัวอย่างช้าๆ จากพื้นที่ดินเค็มหรือพื้นที่ดอนอันแห้งแล้งก็แปรเปลี่ยนเป็นที่สวน ที่ไร่ ที่นา เมื่อพื้นที่ขยายตัวไปมาก คลองส่งน้ำก็ถูกขุดต่อไปจนถึงพื้นที่ บางแห่งคลองไปไม่ถึงก็ขุดหาแหล่งน้ำใต้ดิน เพื่อจะพลิกฟื้นผืนดินไร้ชีวิตให้กลับมามีชีวิตให้ได้อัตราเร่งเพิ่มขึ้น เมื่อราคาสินค้าเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ข้าว" มีราคาสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ที่ดินรกร้าง ที่ป่ารกเรื้อ ถูกรถไถจัดการเสียเรียบเตียน ไม่กี่วันก็พร้อมสำหรับการเพาะปลูก คลองส่งน้ำสายใหม่(เทคอนกรีต) ที่จะถูกต่อมาจากลำคลองสายหลักอยู่ระหว่างการก่อสร้าง เสียงรถเกรดดิน รถบรรทุก รถบด…
ฐาปนา
กลางเดือนกุมภาพันธ์ ดูเหมือนแดดจะแผดแสงก่อนที่ดวงตะวันจะขึ้นเสียอีก ความร้อนแห่งวันเริ่มต้นพร้อมกับเสียงไก่ขัน เด็กๆ ไปโรงเรียน ผู้ใหญ่ก็จับจอบจับเสียมเตรียมตัวไปไร่  หลังจากฤดูหนาว(กว่าปกติ)ผ่านพ้นไปอย่างรวดเร็ว หน้าร้อนปีนี้ ก็เข้าแทนที่อย่างแทบไม่ทันตั้งตัว แต่ชีวิตคนใต้ท้องฟ้า จะร้อนจะหนาวแค่ไหนก็ได้แค่บ่น แล้วก็ทนๆ กันไป กระนั้น ความร้อนตามทุ่งนา ป่า เขา ก็ยังพอมีร่มให้หลบ มีลมเย็นพัดโชยให้คลายได้บ้าง
ฐาปนา
แสงสีแดงพาดผ่านท้องฟ้าสีดำ เหนือดินแดนปาเลสไตน์เหนือหมู่ตึกอันแออัดและทรุดโทรม ลูกเหล็กบรรทุกดินระเบิดพุ่งปะทะคอนกรีตหนึ่งลูก สองลูก สิบลูก ร้อยลูก พันลูก หมื่นลูก แสนลูก ล้านลูก