Skip to main content
ลุงเหมือน อดีตทหารผ่านศึก คนปลูกแตงโมมือวางท้อปไฟว์ประจำหมู่บ้าน นั่งมองไร่แตงโมอย่างสบายอารมณ์

ปีนี้แตงโมราคาดีไม่น้อย พ่อค้ามารับซื้อหน้าไร่กิโลกรัมละสิบห้าถึงยี่สิบห้าบาท ยิ่งลูกใหญ่ยิ่งได้ราคา มดแมลงก็ไม่ค่อยจะกวนเท่าไร ลุงเหมือนกะว่าปีนี้คงได้เงินจากแตงโมสักห้าหกหมื่น แล้วจากนั้นจะได้ปลูกกะเพรา โหระพา ใบแมงลัก แบบ "พอเพียง-เพียงพอ" บ้าง

\\/--break--\>

ปีนี้ก็เป็นเช่นปีก่อนๆ

ลุงเหมือน ให้เจ้าโก้ ลูกชายคนเล็กของแก ช่วยปลูกช่วยดูแลแตงโม พอขายได้เงินแล้วแกก็แบ่งให้มันตามส่วนที่มันช่วยทำ ซึ่งก็ได้ไม่น้อย มันเลยขยันช่วยขยันทำอย่างไม่เคยอิดออด ส่วนเจ้าแก้ว ลูกชายคนโตนั่น ทำงานประจำ ไม่ยุ่งกับเรื่องไร่เรื่องนาเลย


"ปลูกแตงโมมันดีนะโว้ย...เงินดี แต่ต้องทำให้เป็น พอเป็นแล้วก็หวังเงินแสนได้เหมือนกัน" ลุงเหมือนพูดกับ น้องรุ่ง-สาวน้อย ที่ออกจากงานประจำแล้วมาช่วยแม่ปลูกผักแทน

"ฉันก็อยากปลูกเหมือนกันแหละลุง แต่ยังไม่ค่อยจะเป็น ปีนี้เลยลองดูก่อนสักสิบต้น" น้องรุ่ง ชี้ไปทางแปลงปลูกแตงกวาที่มีลำต้นเลื้อยไปตามดินของแตงโมขึ้นแซมอยู่

ลุงเหมือนพยักหน้ายิ้มๆ ให้กำลังใจว่า

"ดีแล้ว...ลองปลูกดู ถ้าดีปีหน้าค่อยทำ ไม่ยากหรอก ถ้าตั้งใจจริง"

 

แดดเที่ยงกำลังแรง ชาวสวนผักพากันนั่งพักทานข้าว น้องรุ่ง ฟังลุงเหมือนเล่าเรื่องแตงโมอย่างสนใจ

"แตงโมมันก็มีทั้งไอ้ลูกกลมๆ แบบที่เราเห็นกันทั่วไป หรือลูกรีๆ อย่างที่เรียกกันว่าพันธุ์ตอปิโด...เื่มื่อก่อนนู้นมีพันธุ์ที่ดังมากคือพันธุ์บางเบิด ลูกใหญ่เบ้อเริ่มเทิ่ม แต่ตอนนี้หายากแล้ว ไม่ค่อยมีคนนิยม...แถวบ้านเรามีอีกอย่างคือแตงโมอ่อน แตงโมลูกเล็กๆ น่ะ แกงกินอร่อยดี แต่นั่นมันคนละอย่างกับที่เราปลูกนะ...แตงโมมันชอบดินแห้งๆ จึงต้องปลูกตอนหน้าแล้ง ให้น้ำบ้าง แต่ไม่ใช่ให้น้ำขังนะ ไม่งั้นเน่าเลย...พอมันเริ่มออกลูกก็ต้องเด็ดลูกมันทิ้งบ้าง ไม่อย่างนั้นมันจะแย่งอาหารกัน จะทำให้ลูกไม่โต ไม่หวาน...จะปลูกแตงโมมันก็ต้องตัดใจเด็ดทิ้งน่ะ...แล้วก็ต้องดูแลโรคแมลงกันหน่อย เพราะแตงโมมันน้ำเยอะ เนื้อเยอะ แถมยังหวานด้วย...พอตอนตัดก็เหนื่อยหน่อย แต่ส่วนใหญ่ก็จ้างแรงมาตัดกัน...ตัดกันเองไม่ไหวหรอก ก้มๆ เงยๆ หน้ามืดกันพอดี...พอจะตัดเราก็ไม่ตัดทีเดียวหมดหรอก ก็เหลือลูกที่ยังไม่ได้ขนาดไว้ เอาไว้ตัดรุ่นสอง หรือ มีถึงรุ่นสามก็ว่ากันไป..."

ลุงเหมือนเลคเชอร์การปลูกแตงโมเป็นฉากๆ


"...ฉันเคยได้ยินว่า มีอยู่ีปีหนึ่งฝนตกน้ำท่วม แตงโมจมน้ำไปเลยหรือลุง ?" น้องรุ่งถาม

ลุงเหมือนหัวเราะเสียงดัง

"...เออ..ใช่ๆ มันก็ไม่ใช่ว่าจะดีทุกปีหรอก ปีนั้นฝนมันดันตกหนัก น้ำท่วมไร่แตงโมหมด...ข้าเดินผ่านยังต้องหันหน้าหนีเลย...ไม่อยากมอง มันเจ็บใจน่ะ..."

"...แล้วถ้าฉันจะปลูก ฉันจะปลูกแตงโมเหลืองหรือแตงโมแดงดีล่ะลุง ?"

"ถ้าจะปลูกให้คนมีกะตังค์กินก็ปลูกแตงโมเหลือง ถ้าจะเอาแบบขายให้ชาวบ้านกินก็ปลูกแตงโมแดง"


"แบบไหนปลูกง่ายกว่ากัน?"

"มันก็ไม่ง่ายไม่ยากไปกว่ากันเท่าไร แต่มันปลูกรวมกันแล้วไม่่ค่อยจะดี...."

"ทำไมล่ะลุง?"

"ข้าก็ไม่รู้เหมือนกัน...ถ้าปีไหนแตงเหลืองดี แตงแดงจะไม่ค่อยดี แล้วถ้าปีไหนแตงแดงมันดี แตงเหลืองมันก็จะไม่ค่อยดี...เหมือนมันอยู่ด้วยกันไม่ได้ ไร่คนอื่นเขาเป็นแบบนี้หรือเปล่าข้าก็ไม่รู้...ปีหลังๆ ข้าก็ต้องแยกปลูก แตงเหลืองไว้ซีกหนึ่ง แตงแดงไว้อีกซีกหนึ่ง"


"...แล้วแบบไหนขายดีกว่าล่ะลุง?"

"มันก็ขายดีทั้งสองแบบนั่นแหละ บ้างก็ว่าแตงเหลืองอร่อยกว่า เป็นของหายาก เป็นของขึ้นห้างแตงแดงมันของหาได้ทั่วไป แต่บ้างก็ว่าแตงแดงสิดี ใครๆ เขาก็กินทั้งนั้น...มันก็แล้วแต่คนชอบ แต่ที่ข้าต้องปลูกทั้งสองอย่างก็เพราะพ่อค้าเขาสั่งไว้ เขาต้องเอาไปขายทั้งสองแบบ"

ลุงเหมือนอธิบาย


"แล้วปีนี้ลุงปลูกไว้อย่างละเท่าไรล่ะ?"

"ก็อย่างละครึ่งๆ แหละ...จริงๆ พ่อค้าเขาจะเอาแตงเหลืองไม่มากเท่าไร แต่ข้าว่าปีนี้มันน่าจะราคาดีก็เลยปลูกเผื่อไว้"
น้องรุ่งพยักหน้าอย่างเข้าใจ

 


หลายสัปดาห์หลังจากนั้น น้องรุ่งได้ข่าวว่า ลุงเหมือนตัดแตงโมขายแล้ว เลยแวะไปเยี่ยม แต่แทนที่จะเห็นลุงเหมือนกำลังยิ้มร่า นั่งนับเงิน แต่ลุงเหมือนกลับนั่งซึมอยู่คนเดียว มีแตงโมอีกจำนวนไม่น้อยถูกปล่อยทิ้งไว้ในไร่


"อ้าว...ทำไมมาันั่งซึมอย่างนี้ล่ะลุง?แล้วทำไมแตงโมเหลือตั้งเยอะล่ะ ได้ขนาดแล้วไม่ใช่เหรอ หรือว่าลุงจะเหลือเอาไว้รุ่นหน้า?"

"เปล่า...แตงที่เหลือมันพวกแตงแดง ราคามันตก ข้าเลยยังไม่ขาย"

"อ้าว...ทำไมแตงแดงราคาถึงตกได้ล่ะลุง?"

ลุงเหมือนส่ายหน้าอย่างจนใจ

"ข้าก็ไม่รู้...แต่ถ้าจะให้เดา ก็คงมีพวกพ่อค้าคนกลางกั๊กราคา กดราคา เก็งกำไรหรืออะไรทำนองนี้อีกนั่นแหละ"

"เอ...หรือว่า...คนในเมืองเขาชอบกินกันแต่แตงเหลืองหรือเปล่าลุง?"

ลุงเหมือนถอนหายใจเฮือกใหญ่

 

"...ใครจะชอบแดง ใครจะชอบเหลือง ข้าไม่รู้...ข้ารู้แต่ว่า บ้านนี้เมืองนี้ไม่เคยสนใจหรอกว่า เกษตรกรจะอยู่ได้หรือเปล่า เอาแต่ประโยชน์ตัวเองเป็นที่ตั้ง ...คนบ้านเรามันไม่อดอยากหรอก เพราะอาหารการกินอุดมสมบูรณ์...สมบูรณ์จนล้นเกิน...แต่ที่มันต้องมีคนตายกัน ก็เพราะมีบางคนที่มันโลภไม่รู้จักพอ..."

 

 

บล็อกของ ฐาปนา

ฐาปนา
เมื่อแรกแรกที่มีข่าวว่าโรคนี้เกิดขึ้นในโลก ใครใครก็พากันเรียกชื่อมันว่าไข้หวัดหมู เพราะว่ากันว่ามันเป็นโรคของหมูที่ดันมาติดคน(ถ้าหากมีโรคของคนไปติดหมูไม่รู้จะเรียกว่าไข้หวัดคนด้วยหรือเปล่า) แต่ต่อมาเขาไม่อยากให้เรียกไข้หวัดหมู เพราะเกรงว่าจะเป็นการใส่ร้ายหมูซึ่งไม่มีความผิด และจะทำให้หมูทั่วโลกพลอยถูกรังเกียจ แต่คงไม่ใช่ความกลัวว่าหมูจะประท้วง เพราะถึงอย่างไรหมูก็มีสิทธิ์อันชอบเพียงอย่างเดียวคือสิทธิ์ในการเป็นอาหารของมนุษย์ ไม่สามารถชูป้ายประท้วงหรือเขวี้ยงก้อนอิฐใส่ตำรวจปราบจลาจลได้แต่ประการใด
ฐาปนา
ไม่เคยมีใครถามถึงความยินยอมพร้อมใจของทั้งคู่เลยว่าอยากจะย้ายจากบ้านเกิดเมืองนอนที่หนาวเย็นและเต็มไปด้วยพวกพ้อง มาอยู่ในเมืองร้อนที่ห่างไกลหลายพันกิโลเมตร หรือไม่ ถึงจะมีคนถาม แต่พวกเขาก็ไม่สามารถตอบได้ หรือแม้พวกเขาจะตอบว่า "ไม่อยากไป" แต่พวกเขามีสิทธิ์ปฏิเสธละหรือ ? ...
ฐาปนา
10 คำถามตั้งต้น เพื่อทำความเข้าใจมนุษย์ที่ถูกเรียกว่า "นักลงทุน"1. จากคำพูดของนักธุรกิจการเมืองที่มักจะอ้างถึง"ความเชื่อมั่นของนักลงทุน" อยู่เสมอ น่าสงสัยว่านักลงทุนจะเป็นมนุษย์ประเภทขาดความเชื่อมั่น มากกว่ามนุษย์ปกติทั่วไป หรือไม่?ตอบ ไม่มีใครทราบ แต่ถ้าสันนิษฐานอย่างไม่มีฐานอ้างอิง การลงทุนก็จำเป็นต้องใช้ความเชื่อมั่นไม่น้อยไปกว่าการพนัน ทว่าในแง่ของเหตุผลน่าจะมากกว่า เพราะการพนันจะใช้ปัจจัยด้านอารมณ์ความรู้สึกเข้ามาเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจ ขณะที่การลงทุนจะต้องใช้เหตุผล ตัวเลข ตัวแปร เอกสารต่างๆ มากมายก่อนการตัดสินใจที่เต็มไปด้วยขั้นตอนซับซ้อน…
ฐาปนา
ลุงอู๋ ผู้ใหญ่บ้านประกาศเรียกประชุมชาวบ้านหมู่สิบสองตั้งแต่เช้าตรู่ เสียงประกาศนั้นเน้นย้ำนักหนาว่า หนึ่งทุ่มตรงวันนี้ทุกคนต้องไปร่วมประชุมให้ได้ เพราะนี่คือเรื่องความเจริญก้าวหน้าของหมู่บ้าน และีทุกคนจะได้ประโยชน์ โชคดีที่วันนั้น เป็นช่วงว่างจากการทำไร่ ทำนา ที่สำคัญ ละครสุดฮิตที่ชาวบ้านติดกันก็เพิ่งจะจบลงไป พอตอนค่ำ ชาวหมู่บ้านจึงมาประชุมที่ศาลาอย่างหนาตา
ฐาปนา
ลุงเหมือน อดีตทหารผ่านศึก คนปลูกแตงโมมือวางท้อปไฟว์ประจำหมู่บ้าน นั่งมองไร่แตงโมอย่างสบายอารมณ์ปีนี้แตงโมราคาดีไม่น้อย พ่อค้ามารับซื้อหน้าไร่กิโลกรัมละสิบห้าถึงยี่สิบห้าบาท ยิ่งลูกใหญ่ยิ่งได้ราคา มดแมลงก็ไม่ค่อยจะกวนเท่าไร ลุงเหมือนกะว่าปีนี้คงได้เงินจากแตงโมสักห้าหกหมื่น แล้วจากนั้นจะได้ปลูกกะเพรา โหระพา ใบแมงลัก แบบ "พอเพียง-เพียงพอ" บ้าง
ฐาปนา
ยายช้อย คนเคยรวย ชีวิตเปลี่ยนไปมาก หลังจากเป็นหนี้สหกรณ์ฯ หลายแสน ก็ใครจะไปคิดเล่า อยู่ๆ เคยเลี้ยงหมูได้กำไรทีละเป็นแสน จู่ๆ หมูราคาตก กำไรที่คาดหวังเลยเข้าเนื้อแทน เมื่อทนทำต่อไป ยิ่งทำก็ยิ่งขาดทุน ทุนหายกำไรหด จนกลายเป็นหนี้ ถึงที่สุดก็ต้องหยุดเลี้ยง ยายช้อยผู้เคยเดินชูคอสั้นๆ ป้อมๆ ของแกไปทั่วหมู่บ้าน ในฐานะเมียอดีตกำนันหลายสมัย มาบัดนี้ กลับไม่สง่าผ่าเผยเป็นคุณนายกำนันเหมือนเดิมอีกแล้ว
ฐาปนา
เกษตรทางเลือก เกษตรอินทรีย์ เกษตรธรรมชาติ เกษตรผสมผสาน เกษตรแนวใหม่ ฯลฯ ล้วนแต่น่าสนใจ และกำลังเป็นทางเลือกสำหรับการทำการเกษตรในอนาคตทว่า ชาวบ้านจำนวนมากก็ยังคงรู้จักอยู่แค่อย่างเดียวคือ เกษตรเคมี ฟังดูอาจจะขัดกับความรู้สึกของคนชั้นกลางจำนวนหนึ่ง ที่กำลังอินกับกระแสรักสุขภาพ แต่ก็โปรดรับรู้เถิดว่า ผักที่ท่านซื้อจากตลาด(ไม่ว่าจะติดแอร์หรือไม่ก็ตาม) เกือบจะร้อยเปอร์เซนต์ ล้วนมีสารเคมีทั้งสิ้น  มากบ้างน้อยบ้างตามประเภทของผัก และตามปริมาณการใช้ของผู้ปลูก
ฐาปนา
ผมยังจำได้ดี ภาพของชายวัยเจ็ดสิบนั่งอยู่บนโต๊ะไม้ตัวเล็กๆ คร่ำเคร่งอยู่กับการจิ้มนิ้วไปบนแป้นพิมพ์ดีด ขณะที่ข้างกายมีถังอ๊อกซิเจนขนาดใหญ่ต่อสายยางยาวมาสู่จมูกเป็นภาพที่ชวนให้ครั่นคร้าม ไม่น้อยไปกว่าชื่อเสียงเรียงนามในฐานะตำนานที่ยังมีชีวิตเจ้าของบ้านหันมาบอกให้รอประเดี๋ยว เดี๋ยวจะไปนั่งคุยด้วย ผู้นำทางจึงกระซิบให้ลงไปนั่งรอที่ห้องรับแขก
ฐาปนา
ชีวิตชาวนาชาวไร่ สินค้าที่ใช้ ร้อยละเก้าสิบเก้าหนีไม่พ้นซื้อจากร้านค้าในหมู่บ้าน นานๆ จะได้เข้าตลาดในอำเภอ หรือ ห้างใหญ่ในตัวจังหวัดเสียที ก็ของใช้จำเป็นอย่าง สบู่ ยาสีฟัน ผงซักฟอก ยาสระผม ฯลฯ มันเป็นของประเภท ที่ไหนก็มี ซื้อที่ไหนก็ไม่ต่างกัน ราคาอาจถูกแพงกว่ากันบ้างไม่กี่บาท น้อยรายที่สนใจรักสวยรักงามถึงขนาดต้องใช้เครื่องสำอางค์ราคาเป็นร้อยเป็นพัน หรือ สินค้าเกรดเอ คุณภาพเกินร้อยอย่างที่เขาชอบโฆษณา
ฐาปนา
หลายปีที่ผ่านมา พื้นที่การเกษตรขยายตัวอย่างช้าๆ จากพื้นที่ดินเค็มหรือพื้นที่ดอนอันแห้งแล้งก็แปรเปลี่ยนเป็นที่สวน ที่ไร่ ที่นา เมื่อพื้นที่ขยายตัวไปมาก คลองส่งน้ำก็ถูกขุดต่อไปจนถึงพื้นที่ บางแห่งคลองไปไม่ถึงก็ขุดหาแหล่งน้ำใต้ดิน เพื่อจะพลิกฟื้นผืนดินไร้ชีวิตให้กลับมามีชีวิตให้ได้อัตราเร่งเพิ่มขึ้น เมื่อราคาสินค้าเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ข้าว" มีราคาสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ที่ดินรกร้าง ที่ป่ารกเรื้อ ถูกรถไถจัดการเสียเรียบเตียน ไม่กี่วันก็พร้อมสำหรับการเพาะปลูก คลองส่งน้ำสายใหม่(เทคอนกรีต) ที่จะถูกต่อมาจากลำคลองสายหลักอยู่ระหว่างการก่อสร้าง เสียงรถเกรดดิน รถบรรทุก รถบด…
ฐาปนา
กลางเดือนกุมภาพันธ์ ดูเหมือนแดดจะแผดแสงก่อนที่ดวงตะวันจะขึ้นเสียอีก ความร้อนแห่งวันเริ่มต้นพร้อมกับเสียงไก่ขัน เด็กๆ ไปโรงเรียน ผู้ใหญ่ก็จับจอบจับเสียมเตรียมตัวไปไร่  หลังจากฤดูหนาว(กว่าปกติ)ผ่านพ้นไปอย่างรวดเร็ว หน้าร้อนปีนี้ ก็เข้าแทนที่อย่างแทบไม่ทันตั้งตัว แต่ชีวิตคนใต้ท้องฟ้า จะร้อนจะหนาวแค่ไหนก็ได้แค่บ่น แล้วก็ทนๆ กันไป กระนั้น ความร้อนตามทุ่งนา ป่า เขา ก็ยังพอมีร่มให้หลบ มีลมเย็นพัดโชยให้คลายได้บ้าง
ฐาปนา
แสงสีแดงพาดผ่านท้องฟ้าสีดำ เหนือดินแดนปาเลสไตน์เหนือหมู่ตึกอันแออัดและทรุดโทรม ลูกเหล็กบรรทุกดินระเบิดพุ่งปะทะคอนกรีตหนึ่งลูก สองลูก สิบลูก ร้อยลูก พันลูก หมื่นลูก แสนลูก ล้านลูก