Skip to main content

10 คำถามตั้งต้น เพื่อทำความเข้าใจมนุษย์ที่ถูกเรียกว่า "นักลงทุน"

1. จากคำพูดของนักธุรกิจการเมืองที่มักจะอ้างถึง"ความเชื่อมั่นของนักลงทุน" อยู่เสมอ น่าสงสัยว่านักลงทุนจะเป็นมนุษย์ประเภทขาดความเชื่อมั่น มากกว่ามนุษย์ปกติทั่วไป หรือไม่?


ตอบ ไม่มีใครทราบ แต่ถ้าสันนิษฐานอย่างไม่มีฐานอ้างอิง การลงทุนก็จำเป็นต้องใช้ความเชื่อมั่นไม่น้อยไปกว่าการพนัน ทว่าในแง่ของเหตุผลน่าจะมากกว่า เพราะการพนันจะใช้ปัจจัยด้านอารมณ์ความรู้สึกเข้ามาเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจ ขณะที่การลงทุนจะต้องใช้เหตุผล ตัวเลข ตัวแปร เอกสารต่างๆ มากมายก่อนการตัดสินใจที่เต็มไปด้วยขั้นตอนซับซ้อน การลงทุนผิดพลาดหมายถึงการเอาเงินจำนวนมหาศาลไปทิ้ง ซึ่งไม่ว่าจะเป็นเงินของเขาหรือเงินของคนอื่น มันก็อาจทำให้เขาอยากฆ่าตัวตายได้เท่าๆ กัน ดังนั้น นักลงทุนก็น่าจะมีความเชื่อมั่นเทียบเท่ากับมนุษย์ปกติ หากไม่นับรวมเรื่องของการลงทุน

 

2. นักลงทุนนับถือศาสนาหรือลัทธิความเชื่อใด ?


ตอบ เป็นที่แน่ชัดโดยไม่ต้องพิสูจน์ว่า ไม่ว่านักลงทุนจะกล่าวอ้างว่าเขานับถือศาสนาหรือลัทธิความเชื่อใด แต่แท้จริงแล้ว สิ่งเดียวที่เขานับถือบูชาอย่างสุดหัวจิตหัวใจคือลัทธิทุนนิยม หรือเสรีนิยมใหม่ ที่มุ่งหวังการทำกำไรสูงสุดและการเติบโตไม่มีที่สิ้นสุดเท่านั้น ตลาดหุ้นคือโบสถ์ของเขา และการนั่งเฝ้าหน้าจอคอมพิวเตอร์ฯ ก็เปรียบเสมือนการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แน่นอน ผลลัพธ์แห่งศรัทธาก็คือผลกำไรที่ไหลเทมาสู่บัญชีธนาคารของเขานั่นเอง


3. นักลงทุนสังกัดตัวเองเข้ากับประเทศ สังคม หรือสัญชาติ ใดหรือไม่?


ตอบ หากต้องกรอกข้อความในแบบฟอร์มใดๆ นักลงทุนย่อมระบุว่าเขาสังกัดในสังคมใดสังคมหนึ่งซึ่งการอ้างอิงนั้นมักจะอยู่บนพื้นฐานของผลประโยชน์ในระยะยาว แต่สำหรับปฏิบัติการในชีวิตจริง นักลงทุนไม่สนใจแม้แต่น้อยว่าเขาคือใคร สังกัดสังคมไหน เพราะการลงทุนสามารถข้ามไปข้ามมาได้ทั้งโลก หากแม้นว่าเขาซื้อหุ้นบริษัท A ที่ต้องการจะมาตั้งโรงงานทำลายสิ่งแวดล้อมในประเทศของตัวเขาเอง เขาก็จะไม่อินังขังขอบแม้แต่น้อยว่าเขาคือประชากรของประเทศนั้น หากแต่เขาคือนักลงทุน ผู้ซึ่งไม่สนใจจะสังกัดกลุ่มทางสังคมใดๆ ทั้งสิ้น


4. นักลงทุนสนใจความอยู่รอดของผู้คนในประเทศด้อยพัฒนาหรือไม่ ?


ตอบ นี่เป็นคำถามที่น่าสนใจ เพราะทุกวันนี้มีสิ่งที่เรียกว่า CSR (Corporate Social Responsibility) หรือ กิจกรรมที่แสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งมองอีกแง่หนึ่ง CSR สำหรับนักลงทุนก็เป็นเสมือนการเจียดเศษเงินช่วยเหลือสังคม เพื่อจะกอบโกยผลประโยชน์ที่มากกว่านั้นหลายเท่า หากพิจารณาเชิงตรรกะ ย่อมเป็นไปได้ยากที่นักลงทุนจะยอมจ่ายในสิ่งที่เขามองไม่เห็นผลกำไร ดังนั้น ความอยู่รอดของประเทศด้อยพัฒนา จึงเป็นเพียงแค่ข้ออ้างในการสร้างภาพลักษณ์ของเขาเท่านั้น


5. นักลงทุนมีจิตสำนึกเชิงสุนทรียะหรือไม่ ?


ตอบ นี่เป็นคำถามที่ตอบได้ยาก เนื่องจากเป็นรสนิยมส่วนบุคคล แต่ถ้าเป็นในมิติเรื่องการบริโภค ก็อาจกล่าวได้ว่า นักลงทุนเกือบร้อยเปอร์เซนต์ มีรสนิยมในการบริโภคในระดับสูงสุดคือนอกจากเป็นผู้กอบโกยจากกระแสทุนแล้ว ก็ยังเป็นผู้เสพผลผลิตชั้นยอดของสังคมทุนนิยมอีกด้วย แต่ในแง่ของการสร้างสรรค์งานศิลป์ หรือ การเสพสุนทรียะเชิงธรรมชาตินิยม น่าจะกล่าวได้ว่า หาได้ยากยิ่ง เพราะนักลงทุนมักจะประเมินค่าทั้งงานศิลปะ หรือ ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นตัวเลขเสียมากกว่า


6. เป้าหมายชีวิตของนักลงทุนคืออะไร ?


ตอบ ในระดับพื้นฐาน เป้าหมายชีวิตของนักลงทุนไม่น่าจะแตกต่างจากมนุษย์ปกติ เพียงแต่ว่า นักลงทุนมีสำนึกด้านความทะเยอทะยานสูงกว่ามนุษย์ทั่วไปมาก แต่คำว่าทะเยอทะยานนี้ หากให้ความหมายตามศัพท์ทางพุทธศาสนาที่น่าจะตรงที่สุดก็น่าจะเป็น "ความโลภ" ซึ่งเป็นตัณหาธรรมชาติของมนุษย์ทุกผู้ทุกนาม เพียงแต่นักลงทุนมีมากกว่า เข้มข้นกว่า หนาแน่นกว่า ต้องการไปให้ไกลกว่า และยอมรับการพ่ายแพ้ หรือการวางมือได้ยากยิ่งกว่า

หากเป้าหมายชีวิตของมนุษย์ทุกผู้ทุกนามหมายถึงความสงบสุข นักลงทุนก็น่าจะเป็นพวกที่มีความปรารถนาที่ซับซ้อนกว่ามนุษย์ทั่วไปเนื่องจาก นักลงทุนต้องการป่ายปีนไปให้สูงที่สุดก่อน และเขาเชื่อว่า บนนั้นจะมีพื้นที่ที่แสนสงบสุขรอเขาอยู่ (ขณะที่มนุษย์ส่วนใหญ่เชื่อว่าการดำเนินชีวิตอย่างงดงามไปเรื่อยๆ ย่อมเป็นความสุขที่แท้จริง และย่อมพบความสงบสุขในเบื้องปลาย)

เป็นที่น่าสังเกตว่า เมื่อใดที่นักลงทุนไม่สามารถป่ายปีนไปจนถึงเป้าหมายที่เขาต้องการได้ หรือไปแล้วพบว่ามันคือความว่างเปล่า เขาจะถือว่านั่นคือความล้มเหลว เนื่องจากเขาให้คุณค่ากับเป้าหมายมากกว่าชีวิตของตัวเอง


7. นักลงทุนเห็นคุณค่าของชีวิตสัตว์ พืช และมนุษย์ หรือไม่ อย่างไร ?


ตอบ คุณค่าของสิ่งที่เรียกชีวิต(ไม่ว่าของเขาหรือของใคร)สำหรับนักลงทุน น่าจะน้อยกว่าผลกำไรที่เขาควรจะได้ในไตรมาสแรก ผลประกอบการย่อมสำคัญกว่าคุณภาพชีวิตของพนักงาน และรถราคาหลายล้านของเขา ก็ย่อมมีคุณค่าสูงกว่าชีวิตของสุนัขจรจัดทั้งประเทศรวมกัน แน่ละ นักลงทุนที่มีจิตสำนึกสูงก็ย่อมต้องมี แต่ในสังคมแห่งการลงทุน คงเหลือที่ว่างให้กับความเมตตาได้ไม่ถึง 1 เปอร์เซนต์

ดังนั้น สำหรับนักลงทุน ชีวิตก็น่าจะมีความหมายเทียบเท่าปัจจัยการผลิตหนึ่งหน่วยเท่านั้น


8. นักลงทุนเชื่อเรื่อง "กรรม" ตามหลักพุทธศาสนาหรือไม่ ?


ตอบ น่าจะไม่ เพราะนักลงทุนไม่สามารถแบ่งสมองไปสวามิภักดิ์ต่อทรรศนะอื่น นอกจากการทำกำไรสูงสุด หากมองในระดับชาวบ้าน พ่อค้าคนหนึ่งอาจกล่าวว่า "...บาปบุญไม่มีจริง มีแต่กำไรกับขาดทุนเท่านั้น..." แต่หากในระดับนักลงทุน น่าจะกล่าวได้ว่า "...เวรกรรมไม่อาจนำมาคำนวณต้นทุนการผลิตได้..." ดังนั้น เราจึงมักจะเห็นนักลงทุน เป็นพวกแรกๆ ที่ล้างผลาญทรัพยากรธรรมชาติอย่างไม่บันยะบันยัง ซึ่งแนวคิดดังกล่าว ได้สืบเนื่องมาในกมลสันดานของนักลงทุน ตั้งแต่ยุคล่าอาณานิคมจนถึงยุคปัจจุบัน


9. ทำไมประเทศไทยจึงต้องเอาอกเอาใจนักลงทุนราวกับพวกเขาเป็นบิดาบังเกิดเกล้า ?


ตอบ เนื่องจากนักธุรกิจการเมืองต้องการให้นักลงทุนควักเงินในกระเป๋ามาลงทุน เพื่อที่เงินเหล่านั้นจะได้ไหลไปสู่กระเป๋าของคนในระดับล่าง และไหลเข้ากระเป๋าของพวกนักธุรกิจการเมืองกับทั้งเครือข่ายผลประโยชน์ของพรรคการเมือง ซึ่งเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต ทั้งหมดนี้จะส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศดำเนินต่อไปได้ ตามความเชื่อในวิถีการพัฒนาประเทศแบบตะวันตก (ในทางกลับกัน ก็ไม่เชื่อว่าเราสามารถพัฒนาได้ด้วยศักยภาพของเราเอง)

เวลาเกิดเหตุใดๆ ที่อาจทำให้นักลงทุนแตกตื่น นักธุรกิจการเมืองเหล่านี้ ก็มักจะยกคาถาสำคัญเรื่อง ความเชื่อมั่นของนักลงทุน ขึ้นมาอ้างเสมอ ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว การลงทุนที่อ้างถึงนั้น เป็นประโยชน์กับสังคมไทยอย่างเป็นรูปธรรมสักกี่มากน้อยกลับไม่มีใครกล้าอธิบาย


10. นักลงทุนมีความจำเป็นกับประเทศไทยแค่ไหน ?


ตอบ มี แต่ไม่มากถึงขนาดขาดไม่ได้ ที่ผ่านมา การพัฒนาประเทศเราเน้นการพึ่งพาเขามากกว่าพึ่งเราเอง ผูกเศรษฐกิจของประเทศไว้กับการส่งออก ไว้กับการท่องเที่ยว ซึ่งผันผวนอย่างรุนแรงตามสถานการณ์รอบข้าง ส่วนในภาคธุรกิจอื่น เช่น อุตสาหกรรม การบริการ ก็เริ่มลดน้อยถอยไป เพราะเจ้าใหญ่เขาเตรียมย้ายฐานไปอยู่เวียดนามกันแล้ว ฉะนั้นแม้จะพยายามดึงดัน ก็ไม่อาจรั้งไว้ได้ ฉะนั้นการมัวแต่ท่องคาถา "...ความเชื่อมั่นของนักลงทุน ความเชื่อมั่นของนักลงทุน..." นอกจากจะไม่เกิดประโยชน์ใดๆ ยังดูเหมือนคนไร้ศักดิ์ศรีเข้าไปทุกขณะ

ทุกวันนี้ นักลงทุนรุกคืบเข้าไปถึงภาคเกษตร ล้วงเข้าไปถึงกระเพาะอาหารของสังคมไทย ชาวต่างชาติมาซื้อที่ดิน แล้วจ้างชาวบ้านทำการเกษตร ได้ผลผลิตก็ส่งเข้าโรงงานของพวกเขา แล้วก็ส่งขายหรือส่งกลับประเทศ อีกไม่นาน คนไทยคงเป็นได้แค่เพียงลูกจ้างติดที่ดิน


ท่องเข้าไว้เถิด ท่านนายกฯ ท่านรัฐมนตรีฯ ท่าน ส.ส. ท่าน ส.ว. ท่านนักธุรกิจทั้งหลาย ทุกครั้งที่ท่านเอ่ยวลีที่ว่า "...ความเชื่อมั่นของนักลงทุน..." ท่านก็ได้สูญเสียความทรนงในฐานะคนไทยไปเรื่อยๆ


แต่ท่านคงไม่สนใจสักเท่าไร เพราะท่านเป็น "นักลงทุน" ที่ไม่สังกัดสังคมใดๆ อยู่แล้วนี่

 

บล็อกของ ฐาปนา

ฐาปนา
“...ที่สุดแล้ว ปัญหาการเมืองรวมถึงปัญหาส่วนตัวทุกเรื่อง เมื่อสืบเสาะลงไปให้ลึกที่สุดจะพบว่า เป็นปัญหาทางจิตวิญญาณทั้งนั้น ทุกชีวิตเป็นเรื่องของจิตวิญญาณ ฉะนั้นปัญหาทุกอย่างของชีวิตจึงมีต้นตอมาจากจิตวิญญาณและจะแก้ไขได้ด้วยวิธีทางจิตวิญญาณ สงครามเกิดขึ้นเพราะใครบางคนมีสิ่งที่อีกคนอยากได้ นี่คือสิ่งที่ทำให้คนบางคนทำสิ่งที่อีกคนไม่อยากให้ทำความขัดแย้งทุกชนิดเกิดจากการวางความปรารถนาไว้ผิดที่สินติเดียวที่จะยั่งยืนได้ในโลกหล้าคือศานติภายในให้แต่ละคนค้นพบสันติในใจตน เมื่อนั้นเธอจะพบว่า เธอไม่ต้องพึ่งพาอะไรอีก...”(สนทนากับพระเจ้าเล่ม 2 หน้า 204)
ฐาปนา
เมื่อครั้งยังเด็ก ผมเคยเชื่อว่า มนุษย์ทุกคนมีชะตากรรมที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ ทุกๆ อย่างถูกกำหนดไว้หมดแล้ว ทุกๆ อย่างถูกลิขิตไว้หมดแล้ว ตั้งแต่เกิดจนตาย พอเติบโตขึ้น ความเชื่อเรื่องชะตากรรมก็เปลี่ยนไป ผมเชื่อว่ามีแค่สามสิ่งที่ถูกกำหนดไว้แล้วและเราไม่อาจล่วงรู้ได้ นั่นคือ การเกิด คู่ครอง และการตาย ไม่นานมานี้ ผมมองชะตากรรมอีกแบบหนึ่ง ผมคิดว่า ชะตากรรม คือ สิ่งที่เข้ามาสู่ชีวิตเพื่อให้เราเลือก ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม และมันจะส่งผลต่อเรา เราจะเรียนรู้และเติบโตจากมัน เราจะเปลี่ยนแปลงตัวเองไปจากมุมมองที่เรามีต่อมัน ลองย้อนมองกลับไปถึงอดีตของเราแต่ละคน สิ่งที่เราเลือก เสมือนจุดๆ หนึ่ง…
ฐาปนา
ต้นเดือนกุมภาพันธ์ลมหนาวคลายความยะเยือกลง เหลือเพียงลมเย็นโชยเฉื่อย เจือกลิ่นหอมของไม้เมืองหนาวหลายชนิดที่ยังคงผลิดอกแม้ฤดูหนาวสิ้นสุด แล้วเมืองเชียงใหม่ก็เข้าสู่ช่วงเวลาพิเศษของคนหนุ่มสาวอีกครั้ง“วันแห่งความรัก” (Valentines Day) ที่ใครหลายคนรอคอยอันที่จริง แม้จะเรียกกันว่า วัน แต่เมื่อเวลาผ่านไป บริบทของสังคมเปลี่ยนไป ด้วยอานุภาพแห่งความรักและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความรัก จึงไม่อาจจำกัดให้วันแห่งความรักอยู่แค่เพียง วันที่ 14 ของเดือนกุมภาพันธ์เท่านั้น วันแห่งความรักได้ขยายช่วงเวลาเป็น สัปดาห์แห่งความรัก จนกระทั่งเป็น เดือนแห่งความรัก ในที่สุด นอกจากบรรยากาศแห่งความรัก…
ฐาปนา
ไม่ทราบว่าใครเป็นเหมือนผมบ้างหลังจากข้าวของพาเหรดกันขึ้นราคา แต่รายได้มันไม่ได้ขึ้นตามไปด้วย ทำให้ต้องปรับตัวทุกทางเพื่อเอาชีวิตรอดให้ได้ถีงขั้นต้องใช้คำว่า “เพื่อเอาชีวิตรอดให้ได้” นั่นละครับเพราะรายได้ที่ไม่แน่นอน ไม่มากมาย บวกกับสภาพหนี้ทั้งงานราษฎร์งานหลวง จากที่เคยตามใจปากตามใจตัวได้บ้างก็ต้องกลายมาเป็น “งด” แทบจะทุกรายการ จะกินขนมสักสิบยี่สิบบาทก็เปลี่ยนไปเป็นอาหารญี่ปุ่นสำหรับคนจน (บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป) ดีกว่านี่ก็แว่วว่า บะหมี่ซองเหล่านี้จะขึ้นราคากันแล้วเราคงต้องไปหาดินอร่อยๆ กินกันแทนข้าวแล้วกระมัง ก่อนที่ดินอร่อยๆ จะได้รับความนิยมขึ้นมา แล้วดินก็จะขึ้นราคาอีก
ฐาปนา
“...ยังไม่เคยเห็นธนาคารไหนในโลกให้ดอกเบี้ยร้อยเปอร์เซนต์ ฝากพันให้พัน ฝากหมื่นให้หมื่น ฝากล้านให้ล้าน ไม่เคยเห็น แต่ธรรมชาติจะให้มากกว่านั้นแทบทุกเรื่อง ถ้าเราฝากธรรมชาติ อย่างเช่น ถ้าเราเอาเงินสิบบาทไปฝากธนาคาร ถ้าเขาให้ดอกร้อยเปอร์เซนต์ สิ้นปีก็ได้สิบบาท รวมที่ฝากเป็นยี่สิบบาท คือสูงสุดแล้ว แต่ถ้าฝากธรรมชาติ ก็เหมือนฝากให้คนอื่นทำงาน สมมติต้นกล้วยห้าบาท ค่าปลูกกล้วยอีกห้าบาท รวมเป็นต้นทุนสิบบาท พอสิ้นปีได้ปลีกล้วยมาอันหนึ่ง เครือกล้วยอีกเครือหนึ่ง หน่อกล้วยอีกสองหน่อ อันนี้ไม่รู้ราคาเท่าไรแล้ว ถามว่ามันได้ร้อยเปอร์เซนต์ หรือกี่ร้อยเปอร์เซนต์…
ฐาปนา
กิจกรรมส่วนที่สองของโครงการ one year # 2 ของมูลนิธิที่นา ที่ผมเข้าร่วม คือกิจกรรมเรื่องเกษตรกรรมธรรมชาติ เริ่มต้นด้วยการประชุมแนะนำโครงการและให้ผู้เข้าร่วมโครงการแต่ละคนวาดรูปพืช ที่ตนเองอยากปลูก หรือ สัตว์ที่ตนเองอยากเลี้ยง ซึ่งในช่วงเวลาสามเดือนของกิจกรรมส่วนที่สองนี้ ทุกคนจะต้องดูแลสิ่งมีชีวิตของตนเองสองวันต่อมา เราเดินทางไปชมการทำเกษตรกรรมอินทรีย์และการดูแลสุขภาพวิถีไทที่ “สวนสายลมจอย” อำเภอสันกำแพง พื้นที่ไม่ถึงสิบไร่แห่งนี้ ถูกปรับเปลี่ยนจากพื้นที่นามาเป็นร่องสวน และบ่อเลี้ยงปลา, เต็มไปด้วยมะพร้าว พืชผล พืชผัก และสมุนไพรนานาชนิดจากการทำนาทำสวนที่ใช้สารเคมีในอดีต…
ฐาปนา
หวังให้ประเทศเล็กที่มีพลเมืองน้อยมีอาหารพอที่จะเลี้ยงดูพลเมืองมากกว่าที่เขาต้องการถึงสิบเท่าร้อยเท่าให้ประชาชนเห็นคุณค่าของชีวิตและไม่ท่องเที่ยวพเนจรไปไกลถึงแม้จะมีพาหนะเรือและรถก็ไม่มีใครปรารถนาจะขับขี่ถึงแม้จะมีเกราะและอาวุธก็ไม่มีโอกาสจะใช้ให้กลับไปใช้การจดจำเรื่องราวด้วยการผูกเงื่อนแทนการเขียนหนังสือให้เขานึกว่าอาหารพื้นๆนั้นโอชะเสื้อผ้าอันสามัญนั้นสวยงามบ้านเรือนธรรมดานั้นสุขสบายประเพณีวิถีชีวิตนั้นน่าชื่นชมในระหว่างเพื่อนบ้านต่างเอาใจใส่ซึ่งกันและกันจนอาจได้ยินเสียงไก่ขันสุนัขเห่าจากข้างบ้านและตราบจนวันสุดท้ายของชีวิตจะไม่มีใครได้เคยออกไปนอกประเทศของตนเลย(บทที่ 80 ประเทศในฝัน,…
ฐาปนา
หากให้ลองย้อนคิดดูว่า ในหนึ่งวันที่ผ่านไปเราได้ทำอะไรไปบ้าง คงไม่ใช่เรื่องยากเกินไปที่จะระบุให้ครบถ้วน เพราะการกระทำเป็นรูปธรรม มีผลลัพธ์ชัดเจน มีร่องรอยที่ติตตามได้แต่หากให้ลองย้อนคิดดูว่า ในหนึ่งวันที่ผ่านไป เราได้ "พูด" อะไรไปบ้าง ต้องไม่ใช่เรื่องง่ายแน่ เว้นเสียแต่ว่า วันนั้นเราจะพูดน้อยจนนับคำได้คำพูด คือความคิดที่แสดงออกเพื่อสื่อสาร ซึ่งเนื้อแท้ของสิ่งที่ต้องการสื่อสารนั้นก็คือ ความรู้สึก ความรู้สึกคือภาษาของวิญญาณ เป็นหัวใจเป็นแก่นแกนกลางของการสื่อสารทุกชนิด แต่เราก็มักจะหลงลืมหัวใจของการสื่อสารนี้ไป และไปให้ค่ากับคำพูดเสียมากกว่าฉะนั้น หากเปลี่ยนคำถามเสียใหม่ว่า ในหนึ่งวันที่ผ่านไป…
ฐาปนา
 ผมเพิ่งจะไปเที่ยววัดพระธาตุดอยสุเทพมาครับ หลังจากไม่ได้ไปมาเป็นเวลาร่วมสิบปี  ครั้งสุดท้ายที่ขึ้นไปคือตอนที่เรียนมหาวิทยาลัย พอย้ายมาอยู่ทางเหนือก็ไม่ได้โอกาสเสียที มาสบโอกาสเอาก็ตอนลมหนาวเริ่มมาเยือนนี่เอง ขับมอเตอร์ไซต์ขึ้นดอยตอนเช้า อากาศเย็นสบาย ใช้เวลาสัก 20-30 นาทีเท่านั้นวัดพระธาตุดอยสุเทพเป็นสถานที่อันดับแรกที่ใครต่อใครที่มาเชียงใหม่จะต้องมาเยือนมาชม มากราบไหว้ เพื่อเป็นศิริมงคลแก่ตนเอง ที่นี่จึงเต็มไปด้วยผู้คนมากมายตลอดเวลา ยิ่งในช่วงฤดูหนาวซึ่งเป็นฤดูท่องเที่ยว ดูเหมือนว่า ดอยสุเทพคือสถานที่แรกที่ทุกคนต้องมา…
ฐาปนา
คืนหนึ่งผมฝันถึงสถานที่หนึ่งซึ่งผมไม่เคยคาดคิดว่าจะฝันถึงสถานที่แห่งนั้นเป็นทางเดินที่ทอดยาว เชื่อมระหว่างอาคารหนึ่งไปสู่อาคารหนึ่งผมเดินไปตามทางนั้นด้วยความรู้สึกประหลาด ประหลาดเพราะรู้ว่านี่คือความฝัน แต่ทั้งรู้ว่าฝันผมกลับตื่นตื่นโพลงอยู่ในความฝัน ผมเดินไปตามทางด้วยความตื่นโพลง และรู้สึกราวกับกำลังเดินอยู่ในภาพวาดซึ่งทุกสิ่งทุกอย่างหยุดนิ่ง แม้แต่ใบไม้แห้งก็แทบจะไม่ไหวติง ผมรู้จักสถานที่แห่งนั้นดี มันคือทางเดินเชื่อมระหว่างอาคารพักอาศัยไปยังอาคารปฏิบัติรวมของศูนย์วิปัสสนาธรรมอาภา สถานที่ที่ผมไปอบรมวิปัสสนาเป็นเวลาสิบวันผมพยายามหาเหตุผลว่า ทำไมผมจึงฝันถึงสถานที่แห่งนั้น…
ฐาปนา
หากได้รับตั๋วเครื่องบินไป-กลับยุโรป พร้อมเงินติดกระเป๋าไปเที่ยวฟรีๆ 10 วัน เป็นใครย่อมไม่รอช้า ทั้งพร้อมจะเลื่อน – ลา – หยุด ทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อไป มันคงเป็นประสบการณ์ครั้งสำคัญในชีวิตที่น้อยคนจะมีโอกาส แต่ด้วยเงื่อนไขเดียวกันนี้ หากเปลี่ยนจากไปเที่ยวยุโรป 10 วัน เป็นการไป ‘วิปัสสนา’ 10 วันแทน หลายคนคงต้องคิดหนัก เราหมายใจจะท่องเที่ยวไปให้ทั่วประเทศ ทั่วทวีป ทั่วโลก จากทะเลลึกถึงภูเขาที่สูงที่สุด จากมหานครสู่ป่าดิบ จากกลางตลาดที่คราคร่ำด้วยผู้คนสู่ทะเลทรายเวิ้งว้าง แต่เรากลับไม่สนใจที่จะท่องเที่ยวสำรวจ ‘จิต’ ของเราเอง ... แปลกมั้ย ?ในฐานะชาวพุทธ ไม่ว่าจะกล่าวด้วยความภาคภูมิ…
ฐาปนา
ผมสมัครเข้าร่วมโครงการหนึ่งปี “ชุมชนทดลอง # 2” ของมูลนิธิที่นา [1] ด้วยความไม่รู้ กล่าวคือ ไม่รู้เรื่องวิปัสสนา ไม่รู้เรื่องศิลปะ และไม่รู้เรื่องเกษตรกรรมธรรมชาติ  ความไม่รู้นี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เพราะถ้ารู้แล้วคงไม่ต้องมาเมื่อได้คุยกับทีมงานหลายท่านก่อนเริ่มโครงการ ก็ได้รับความห่วงใยเกรงว่า ผู้เข้าร่วมโครงการจะคาดหวังมากเกินไป เนื่องจาก the land ไม่ใช่ utopia ซึ่งผมก็เข้าใจ ขณะเดียวกันผมเองก็ห่วงใยเกรงว่า ทีมงานจะคาดหวังกับผู้เข้าร่วมโครงการมากเกินไปเช่นเดียวกันเพราะในความต่างของปัจเจกที่มาอยู่ร่วมกันภายใต้เงื่อนไขหลวมๆ นี้ หากผู้เข้าร่วมไม่มีความชัดเจนในจุดประสงค์ของตนเอง…