Skip to main content

 

ผมเพิ่งจะไปเที่ยววัดพระธาตุดอยสุเทพมาครับ หลังจากไม่ได้ไปมาเป็นเวลาร่วมสิบปี  ครั้งสุดท้ายที่ขึ้นไปคือตอนที่เรียนมหาวิทยาลัย พอย้ายมาอยู่ทางเหนือก็ไม่ได้โอกาสเสียที มาสบโอกาสเอาก็ตอนลมหนาวเริ่มมาเยือนนี่เอง ขับมอเตอร์ไซต์ขึ้นดอยตอนเช้า อากาศเย็นสบาย ใช้เวลาสัก 20-30 นาทีเท่านั้น

วัดพระธาตุดอยสุเทพเป็นสถานที่อันดับแรกที่ใครต่อใครที่มาเชียงใหม่จะต้องมาเยือนมาชม มากราบไหว้ เพื่อเป็นศิริมงคลแก่ตนเอง ที่นี่จึงเต็มไปด้วยผู้คนมากมายตลอดเวลา ยิ่งในช่วงฤดูหนาวซึ่งเป็นฤดูท่องเที่ยว ดูเหมือนว่า ดอยสุเทพคือสถานที่แรกที่ทุกคนต้องมา ก่อนจะไปที่อื่น

ชาวต่างประเทศอาจต้องการชมความงามของสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองเชียงใหม่ ชาวไทย ชาวพุทธ ก็คงต้องการมากราบไหว้บูชาพระบรมธาตุ ที่มีจุดประสงค์อื่นก็ไม่น้อย มาทำธุรกิจ มาแจกของ มาขอรับบริจาค ฯลฯ แสดงให้เห็นว่า ไม่ว่าโลกจะเปลี่ยนไปอย่างไร “วัด” ยังคงเป็นสถาบันหลักของสังคมไทยเสมอ

วันที่ผมขึ้นไปนั้นเป็นวันอาทิตย์ ขณะที่ขับรถตามทางขึ้นดอยไปเรื่อยๆ ก็มีรถวิ่งสวนขึ้นสวนลงอยู่ตลอดเวลา ทั้งรถส่วนตัว รถทัวร์ รถตู้ รถมอเตอร์ไซค์ รถจักรยาน แม้แต่คนที่เดินขึ้นก็ยังมี เมื่อขึ้นไปถึงก็พบกับรถจำนวนมากแทบจะเต็มลานจอดรถ กับผู้คนมหาศาลราวกับกำลังมีงานเทศกาล ซึ่งก็คงจะเป็นเรื่องปกติสำหรับที่นี่

ขณะที่พิจารณาจำนวนรถและจำนวนคน ผมก็คิดของผมไปเรื่อยว่า ในสถานะหนึ่ง ที่นี่คือวัด แต่อีกสถานะหนึ่งที่นี่เป็นสถานที่ท่องเที่ยว ถ้าว่ากันตามความน่าจะเป็น สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ควรจะเป็นที่ๆ เต็มไปด้วยความสงบเงียบ แต่ด้วยบริบทของสังคมที่เปลี่ยนไป เราก็ต้องยอมรับความต่างนี้ในที่สุด นานๆ ไปเราก็เริ่มชินกับสถานภาพที่แตกต่างแต่มาอยู่รวมกัน ทว่าเมื่อเกิดปัญหาอันเนื่องมาจากความลักลั่นอักเสบ เราก็อาจสูญเสียความสามารถที่จะแยกแยะความเหมาะกับไม่เหมาะไปเสียแล้ว สิ่งเหล่านี้เราไม่ใช่ผู้กำหนดขึ้น เราเพียงแต่อยุ่ในระบบที่เป็นมาและเป็นไปเท่านั้น

เดินขึ้นบันไดพญานาคทดสอบกำลังกายกำลังใจกันแล้วก็ขึ้นไปถึงลานด้านหน้า ซึ่งมีรูปปั้นของ ครูบาศรี วิชัย นักบุญผู้ยิ่งใหญ่แห่งล้านนา ผู้นำในการสร้างถนนขึ้นสู่ดอยสุเทพ เป็นจุดแรกที่คนส่วนใหญ่จะมาจุดธุปเทียนสักการะบูชา

ผมเดินวนไปทางซ้ายเที่ยวชมสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบๆ  สังเกตว่า สัดส่วนของนักท่องเที่ยวชาวไทยกับชาวต่างชาติแทบจะครึ่งต่อครึ่ง และไม่ใช่เรื่องแปลกที่ชาวชาติจะให้ความสนใจกับทุกสิ่งทุกอย่างมากกว่าคนไทย แม้แต่ต้นไม้ ดอกไม้ รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ทุกอย่าง เขาก็ดูจะตื่นเต้นตื่นตาตื่นใจไปเสียทั้งหมด  เพราะหากว่าเราไปเที่ยวเมืองนอกเราก็คงไม่ต่างจากเขา แต่สิ่งที่ไม่ว่าใครก็ไม่สนใจก็มีอยู่เหมือนกัน ทั้งที่มันเป็นสิ่งที่ผมคิดว่า ผู้ที่เรียกตัวเองว่า ชาวพุทธ น่าจะให้ความสนใจไม่น้อยกว่าสิ่งอื่น

ป้ายพลาสติกสีแดงเป็นภาษาบาลีและมีคำแปลเป็นภาษาไทยที่ติดอยู่ราวเหล็กกั้น คงเป็นสิ่งสุดท้ายที่ใครจะหันมอง จะเป็นเพราะมันไม่สะดุดตา ไม่มีใครมาจุดธูปเทียนกราบไหว้ หรือ จะเป็นเพราะความเคยชินไปที่ไหนก็เจอ หรือจะเป็นเพราะอ่านไปก็ไม่เข้าใจและไม่คิดจะเข้าใจ หรือจะเป็นเพราะเหตุอื่นใด ผมก็ไม่อาจทราบได้ แต่สิ่งที่ผมแน่ใจคือ ข้อความเหล่านี้ คือ “ธรรม” อันสำคัญยิ่ง ที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติอยู่เหนือพ้นจากความทุกข์ได้

และการไปให้พ้นจากความทุกข์คือเป้าหมายสูงสุดของชาวพุทธทุกคนมิใช่หรือ ?

ขนตี ปรม ตโป ตีติกขา
ความอดทนคือความอดกลั้นเป็นธรรมเผาบาปอย่างยิ่ง

นิพพาน ปรม วทนติ พุทธา
พุทธบุคคลทั้งหลายย่อมกล่าวถึงพระนิพพานว่า เป็นธรรมชาติอันสูงสุด

ผมยืนอ่านอยู่พักหนึ่ง หวังว่าอาจจะมีใครให้ความสนใจมาหยุดอ่านเช่นเดียวกับผม แต่ก็ไม่มี ผมจึงเดินต่อไป ชมพิพิธภัณฑ์,จุดชมวิวเมืองเชียงใหม่,ตัวมอม และจุดตีฆ้องใหญ่ (ซึ่งมีป้ายระบุว่า อย่าตีแรง และ ห้ามลูบฆ้อง) ก็เข้าไปในบริเวณลานรอบองค์พระธาตุฯ

องค์พระธาตุดอยสุเทพเมื่อสะท้อนแสงแดด เหมือนจะเปล่งแสงสีทองออกมาอาบทั่วบริเวณ หลังจากสักการะบูชาแล้ว หากใครได้ลองหยุดนั่งพิจารณาสักครู่จะรู้สึกได้ถึงความสงบและความอิ่มเอมที่เกิดขึ้นภายใน  รอบองค์พระธาตุ มีพระพุทธรูปตั้งเรียงรายอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งองค์ใหญ่องค์เล็ก ทั้งที่อยู่ในตัวอาคารและที่อยู่นอกตัวอาคาร ความแตกต่างก็คือ พระพุทธรูปที่อยู่ในตัวอาคาร จะมีผู้คนเข้าไปกราบไหว้อยู่ตลอดเวลา ส่วนพระพุทธรูปที่อยู่นอกตัวอาคาร แทบจะไม่มีคนให้ความสนใจเลย

ผมเกิดคำถามขึ้นในใจ
อะไรคือความต่างของพระพุทธรูปเหล่านี้ ที่ทำให้คนเลือกที่จะเคารพบูชา ?  
ขนาด, ที่ตั้ง, มีชื่อ-ไม่มีชื่อ, เสียงเล่าลือถึงความศักดิ์สิทธิ์, พุทธลักษณะ  ฯลฯ
และแท้จริงแล้วเรากราบไหว้อะไรในพระพุทธรูป ? ตัวแทนของพระพุทธเจ้า, ความศักดิ์สิทธิ์ในเชิงปาฏิหาริย์, ความเชื่อว่าจะได้บุญ หรือเพราะเคยทำมาก็ทำต่อไปอย่างที่ไม่ต้องการจะตั้งคำถาม

ผมตั้งคำถามเหล่านี้ ไม่ใช่เพราะจิตใจที่มืดดำหรือต้องการจะหมิ่นศาสนาอย่างที่ใครบางคนอาจกำลังคิดว่าผมกำลังจะทำ ผมเพียงแต่เกิดความสงสัยว่า คำว่า “พุทธะ” ในความหมายที่แท้จริงนั้นคือสิ่งใดกัน  
พุทธะ อาจไม่ได้หมายถึงเพียงแค่ พระพุทธเจ้า หรือ พระพุทธรูป
ธรรมะ อาจไม่ใช่แค่คำบาลีในพระไตรปิฎก
และ สังฆะ(สงฆ์) ก็ไม่อาจใช่แค่นักบวชในศาสนาพุทธ  

หากพิจารณาถึงความหมายที่ว่า พุทธะ คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ขอบเขตนิยามของคำว่า พุทธะ ธรรมะ และสังฆะ น่าจะกว้างมากกว่านั้น บางที อาจจะเป็นนามธรรมในลักษณะของปัจเจกด้วยซ้ำไป ทว่า ผมเองไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญทางศาสนา ไม่อาจวิเคราะห์อะไรเป็นหลักเป็นเกณฑ์ได้ เพียงแต่ความรู้สึกนั้นบอกว่า ทุกสิ่งทุกอย่าง แท้จริงไม่ใช่อยู่ภายนอก แต่อยู่ภายในตัวเรานี่เอง

คำสอนสำคัญอันหนึ่งของพระพุทธเจ้าคือ คำสอนที่ว่า ให้เราพึ่งตนเอง ไม่ใช่พึ่งสิ่งภายนอก แต่ดูเหมือนทุกวันนี้เราจะไม่เชื่อกันว่า “พุทธ”เกิดจากภายใน แต่กลับจะเชื่อว่าพุทธะนั้นอยู่ภายนอก เราจึงมุ่งแสวงหาคำตอบของโลกและชีวิตจากภายนอก แต่ไม่เคยคิดว่าคำตอบทั้งหมดนั้นอยู่ภายในตัวเรา

ผมกลับลงมาจากดอยสุเทพด้วยคำถามในใจหลายข้อ ทั้งที่เมื่อก่อนไม่เคยมีคำถามอย่างนี้ อาจเป็นเพราะวัยที่เปลี่ยน ความคิดที่เปลี่ยน คำถามของผมไม่ได้มีเจตนาจะลดทอนหรือทำให้คุณค่าของศาสนาด้อยลงแม้แต่น้อย เพียงแต่คิดว่า หากมองด้วยขอบเขตที่กว้างกว่า อาจทำให้เรามองทะลุความซับซ้อนและเปลือกหนาไปจนเห็นแก่นที่เรียบง่ายและยิ่งใหญ่ได้

ศาสดาและบรมครูผู้ยิ่งใหญ่แห่งศาสนาพุทธ ค้นพบหนทางพ้นทุกข์และมุ่งหวังให้ผู้คนได้ข้ามพ้นสังสารวัฏ พ้นการเกิด การดับ สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบคือสัจจะ คือความจริงสูงสุดของธรรมชาติ และเมื่อพระองค์นำมาเผยแพร่ พระองค์ก็สื่อด้วยความเรียบง่าย เข้าถึงคนหมู่มาก ทำให้ผู้คนต่างลัทธิ ต่างความเชื่อ ต่างยอมรับในธรรม

ด้วยความจริงเช่นนี้ ผมจึงเชื่อว่า แท้จริงแล้ว เราทุกคนสามารถเข้าถึงความรู้ในการพ้นทุกข์ได้ตามระดับความเข้าใจและการปฏิบัติของแต่ละคน ในเมื่อ “ธรรม” นั้นมีอยู่ตามธรรมชาติ ดังนั้น หากเราแสวงหา เราย่อมจะมองเห็นหนทาง แต่หากเราไม่แสวงหาเราก็ไม่อาจมองเห็น

คนที่มาเที่ยววัดพระธาตุดอยสุเทพ แม้ดูเหมือนจะมีจุดประสงค์เดียวกัน คือมาเที่ยว แต่ผมคิดว่า ประสบการณ์ที่แต่ละคนได้รับอาจแตกต่างกันมาก บางคนผ่านมาแล้วก็ผ่านไป เป็นเพียงสถานที่หนึ่งที่เคยไปเยือน แต่บางคนอาจซึบซับบางสิ่งบางอย่างที่ทำให้ภายในเปลี่ยนแปลง

อย่างน้อยที่สุด หากศรัทธาจากการสักการะบูชา จะทำให้เราได้หวนคืนสู่หนทางแห่ง “พุทธะ” ได้บ้าง แรงและเวลาก็คงไม่เสียเปล่า แน่นอน ศรัทธาเป็นสิ่งจำเป็น แต่หากไม่เป็นไปเพื่อสร้างปัญญา หนทางแห่งความพ้นทุกข์จะมีประโยชน์ต่อเราหรือ ?

ผมไม่รู้
แสงสีทองจากองค์พระธาตุจะส่องเข้าไปถึงใจใครได้บ้าง

บล็อกของ ฐาปนา

ฐาปนา
“...ที่สุดแล้ว ปัญหาการเมืองรวมถึงปัญหาส่วนตัวทุกเรื่อง เมื่อสืบเสาะลงไปให้ลึกที่สุดจะพบว่า เป็นปัญหาทางจิตวิญญาณทั้งนั้น ทุกชีวิตเป็นเรื่องของจิตวิญญาณ ฉะนั้นปัญหาทุกอย่างของชีวิตจึงมีต้นตอมาจากจิตวิญญาณและจะแก้ไขได้ด้วยวิธีทางจิตวิญญาณ สงครามเกิดขึ้นเพราะใครบางคนมีสิ่งที่อีกคนอยากได้ นี่คือสิ่งที่ทำให้คนบางคนทำสิ่งที่อีกคนไม่อยากให้ทำความขัดแย้งทุกชนิดเกิดจากการวางความปรารถนาไว้ผิดที่สินติเดียวที่จะยั่งยืนได้ในโลกหล้าคือศานติภายในให้แต่ละคนค้นพบสันติในใจตน เมื่อนั้นเธอจะพบว่า เธอไม่ต้องพึ่งพาอะไรอีก...”(สนทนากับพระเจ้าเล่ม 2 หน้า 204)
ฐาปนา
เมื่อครั้งยังเด็ก ผมเคยเชื่อว่า มนุษย์ทุกคนมีชะตากรรมที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ ทุกๆ อย่างถูกกำหนดไว้หมดแล้ว ทุกๆ อย่างถูกลิขิตไว้หมดแล้ว ตั้งแต่เกิดจนตาย พอเติบโตขึ้น ความเชื่อเรื่องชะตากรรมก็เปลี่ยนไป ผมเชื่อว่ามีแค่สามสิ่งที่ถูกกำหนดไว้แล้วและเราไม่อาจล่วงรู้ได้ นั่นคือ การเกิด คู่ครอง และการตาย ไม่นานมานี้ ผมมองชะตากรรมอีกแบบหนึ่ง ผมคิดว่า ชะตากรรม คือ สิ่งที่เข้ามาสู่ชีวิตเพื่อให้เราเลือก ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม และมันจะส่งผลต่อเรา เราจะเรียนรู้และเติบโตจากมัน เราจะเปลี่ยนแปลงตัวเองไปจากมุมมองที่เรามีต่อมัน ลองย้อนมองกลับไปถึงอดีตของเราแต่ละคน สิ่งที่เราเลือก เสมือนจุดๆ หนึ่ง…
ฐาปนา
ต้นเดือนกุมภาพันธ์ลมหนาวคลายความยะเยือกลง เหลือเพียงลมเย็นโชยเฉื่อย เจือกลิ่นหอมของไม้เมืองหนาวหลายชนิดที่ยังคงผลิดอกแม้ฤดูหนาวสิ้นสุด แล้วเมืองเชียงใหม่ก็เข้าสู่ช่วงเวลาพิเศษของคนหนุ่มสาวอีกครั้ง“วันแห่งความรัก” (Valentines Day) ที่ใครหลายคนรอคอยอันที่จริง แม้จะเรียกกันว่า วัน แต่เมื่อเวลาผ่านไป บริบทของสังคมเปลี่ยนไป ด้วยอานุภาพแห่งความรักและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความรัก จึงไม่อาจจำกัดให้วันแห่งความรักอยู่แค่เพียง วันที่ 14 ของเดือนกุมภาพันธ์เท่านั้น วันแห่งความรักได้ขยายช่วงเวลาเป็น สัปดาห์แห่งความรัก จนกระทั่งเป็น เดือนแห่งความรัก ในที่สุด นอกจากบรรยากาศแห่งความรัก…
ฐาปนา
ไม่ทราบว่าใครเป็นเหมือนผมบ้างหลังจากข้าวของพาเหรดกันขึ้นราคา แต่รายได้มันไม่ได้ขึ้นตามไปด้วย ทำให้ต้องปรับตัวทุกทางเพื่อเอาชีวิตรอดให้ได้ถีงขั้นต้องใช้คำว่า “เพื่อเอาชีวิตรอดให้ได้” นั่นละครับเพราะรายได้ที่ไม่แน่นอน ไม่มากมาย บวกกับสภาพหนี้ทั้งงานราษฎร์งานหลวง จากที่เคยตามใจปากตามใจตัวได้บ้างก็ต้องกลายมาเป็น “งด” แทบจะทุกรายการ จะกินขนมสักสิบยี่สิบบาทก็เปลี่ยนไปเป็นอาหารญี่ปุ่นสำหรับคนจน (บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป) ดีกว่านี่ก็แว่วว่า บะหมี่ซองเหล่านี้จะขึ้นราคากันแล้วเราคงต้องไปหาดินอร่อยๆ กินกันแทนข้าวแล้วกระมัง ก่อนที่ดินอร่อยๆ จะได้รับความนิยมขึ้นมา แล้วดินก็จะขึ้นราคาอีก
ฐาปนา
“...ยังไม่เคยเห็นธนาคารไหนในโลกให้ดอกเบี้ยร้อยเปอร์เซนต์ ฝากพันให้พัน ฝากหมื่นให้หมื่น ฝากล้านให้ล้าน ไม่เคยเห็น แต่ธรรมชาติจะให้มากกว่านั้นแทบทุกเรื่อง ถ้าเราฝากธรรมชาติ อย่างเช่น ถ้าเราเอาเงินสิบบาทไปฝากธนาคาร ถ้าเขาให้ดอกร้อยเปอร์เซนต์ สิ้นปีก็ได้สิบบาท รวมที่ฝากเป็นยี่สิบบาท คือสูงสุดแล้ว แต่ถ้าฝากธรรมชาติ ก็เหมือนฝากให้คนอื่นทำงาน สมมติต้นกล้วยห้าบาท ค่าปลูกกล้วยอีกห้าบาท รวมเป็นต้นทุนสิบบาท พอสิ้นปีได้ปลีกล้วยมาอันหนึ่ง เครือกล้วยอีกเครือหนึ่ง หน่อกล้วยอีกสองหน่อ อันนี้ไม่รู้ราคาเท่าไรแล้ว ถามว่ามันได้ร้อยเปอร์เซนต์ หรือกี่ร้อยเปอร์เซนต์…
ฐาปนา
กิจกรรมส่วนที่สองของโครงการ one year # 2 ของมูลนิธิที่นา ที่ผมเข้าร่วม คือกิจกรรมเรื่องเกษตรกรรมธรรมชาติ เริ่มต้นด้วยการประชุมแนะนำโครงการและให้ผู้เข้าร่วมโครงการแต่ละคนวาดรูปพืช ที่ตนเองอยากปลูก หรือ สัตว์ที่ตนเองอยากเลี้ยง ซึ่งในช่วงเวลาสามเดือนของกิจกรรมส่วนที่สองนี้ ทุกคนจะต้องดูแลสิ่งมีชีวิตของตนเองสองวันต่อมา เราเดินทางไปชมการทำเกษตรกรรมอินทรีย์และการดูแลสุขภาพวิถีไทที่ “สวนสายลมจอย” อำเภอสันกำแพง พื้นที่ไม่ถึงสิบไร่แห่งนี้ ถูกปรับเปลี่ยนจากพื้นที่นามาเป็นร่องสวน และบ่อเลี้ยงปลา, เต็มไปด้วยมะพร้าว พืชผล พืชผัก และสมุนไพรนานาชนิดจากการทำนาทำสวนที่ใช้สารเคมีในอดีต…
ฐาปนา
หวังให้ประเทศเล็กที่มีพลเมืองน้อยมีอาหารพอที่จะเลี้ยงดูพลเมืองมากกว่าที่เขาต้องการถึงสิบเท่าร้อยเท่าให้ประชาชนเห็นคุณค่าของชีวิตและไม่ท่องเที่ยวพเนจรไปไกลถึงแม้จะมีพาหนะเรือและรถก็ไม่มีใครปรารถนาจะขับขี่ถึงแม้จะมีเกราะและอาวุธก็ไม่มีโอกาสจะใช้ให้กลับไปใช้การจดจำเรื่องราวด้วยการผูกเงื่อนแทนการเขียนหนังสือให้เขานึกว่าอาหารพื้นๆนั้นโอชะเสื้อผ้าอันสามัญนั้นสวยงามบ้านเรือนธรรมดานั้นสุขสบายประเพณีวิถีชีวิตนั้นน่าชื่นชมในระหว่างเพื่อนบ้านต่างเอาใจใส่ซึ่งกันและกันจนอาจได้ยินเสียงไก่ขันสุนัขเห่าจากข้างบ้านและตราบจนวันสุดท้ายของชีวิตจะไม่มีใครได้เคยออกไปนอกประเทศของตนเลย(บทที่ 80 ประเทศในฝัน,…
ฐาปนา
หากให้ลองย้อนคิดดูว่า ในหนึ่งวันที่ผ่านไปเราได้ทำอะไรไปบ้าง คงไม่ใช่เรื่องยากเกินไปที่จะระบุให้ครบถ้วน เพราะการกระทำเป็นรูปธรรม มีผลลัพธ์ชัดเจน มีร่องรอยที่ติตตามได้แต่หากให้ลองย้อนคิดดูว่า ในหนึ่งวันที่ผ่านไป เราได้ "พูด" อะไรไปบ้าง ต้องไม่ใช่เรื่องง่ายแน่ เว้นเสียแต่ว่า วันนั้นเราจะพูดน้อยจนนับคำได้คำพูด คือความคิดที่แสดงออกเพื่อสื่อสาร ซึ่งเนื้อแท้ของสิ่งที่ต้องการสื่อสารนั้นก็คือ ความรู้สึก ความรู้สึกคือภาษาของวิญญาณ เป็นหัวใจเป็นแก่นแกนกลางของการสื่อสารทุกชนิด แต่เราก็มักจะหลงลืมหัวใจของการสื่อสารนี้ไป และไปให้ค่ากับคำพูดเสียมากกว่าฉะนั้น หากเปลี่ยนคำถามเสียใหม่ว่า ในหนึ่งวันที่ผ่านไป…
ฐาปนา
 ผมเพิ่งจะไปเที่ยววัดพระธาตุดอยสุเทพมาครับ หลังจากไม่ได้ไปมาเป็นเวลาร่วมสิบปี  ครั้งสุดท้ายที่ขึ้นไปคือตอนที่เรียนมหาวิทยาลัย พอย้ายมาอยู่ทางเหนือก็ไม่ได้โอกาสเสียที มาสบโอกาสเอาก็ตอนลมหนาวเริ่มมาเยือนนี่เอง ขับมอเตอร์ไซต์ขึ้นดอยตอนเช้า อากาศเย็นสบาย ใช้เวลาสัก 20-30 นาทีเท่านั้นวัดพระธาตุดอยสุเทพเป็นสถานที่อันดับแรกที่ใครต่อใครที่มาเชียงใหม่จะต้องมาเยือนมาชม มากราบไหว้ เพื่อเป็นศิริมงคลแก่ตนเอง ที่นี่จึงเต็มไปด้วยผู้คนมากมายตลอดเวลา ยิ่งในช่วงฤดูหนาวซึ่งเป็นฤดูท่องเที่ยว ดูเหมือนว่า ดอยสุเทพคือสถานที่แรกที่ทุกคนต้องมา…
ฐาปนา
คืนหนึ่งผมฝันถึงสถานที่หนึ่งซึ่งผมไม่เคยคาดคิดว่าจะฝันถึงสถานที่แห่งนั้นเป็นทางเดินที่ทอดยาว เชื่อมระหว่างอาคารหนึ่งไปสู่อาคารหนึ่งผมเดินไปตามทางนั้นด้วยความรู้สึกประหลาด ประหลาดเพราะรู้ว่านี่คือความฝัน แต่ทั้งรู้ว่าฝันผมกลับตื่นตื่นโพลงอยู่ในความฝัน ผมเดินไปตามทางด้วยความตื่นโพลง และรู้สึกราวกับกำลังเดินอยู่ในภาพวาดซึ่งทุกสิ่งทุกอย่างหยุดนิ่ง แม้แต่ใบไม้แห้งก็แทบจะไม่ไหวติง ผมรู้จักสถานที่แห่งนั้นดี มันคือทางเดินเชื่อมระหว่างอาคารพักอาศัยไปยังอาคารปฏิบัติรวมของศูนย์วิปัสสนาธรรมอาภา สถานที่ที่ผมไปอบรมวิปัสสนาเป็นเวลาสิบวันผมพยายามหาเหตุผลว่า ทำไมผมจึงฝันถึงสถานที่แห่งนั้น…
ฐาปนา
หากได้รับตั๋วเครื่องบินไป-กลับยุโรป พร้อมเงินติดกระเป๋าไปเที่ยวฟรีๆ 10 วัน เป็นใครย่อมไม่รอช้า ทั้งพร้อมจะเลื่อน – ลา – หยุด ทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อไป มันคงเป็นประสบการณ์ครั้งสำคัญในชีวิตที่น้อยคนจะมีโอกาส แต่ด้วยเงื่อนไขเดียวกันนี้ หากเปลี่ยนจากไปเที่ยวยุโรป 10 วัน เป็นการไป ‘วิปัสสนา’ 10 วันแทน หลายคนคงต้องคิดหนัก เราหมายใจจะท่องเที่ยวไปให้ทั่วประเทศ ทั่วทวีป ทั่วโลก จากทะเลลึกถึงภูเขาที่สูงที่สุด จากมหานครสู่ป่าดิบ จากกลางตลาดที่คราคร่ำด้วยผู้คนสู่ทะเลทรายเวิ้งว้าง แต่เรากลับไม่สนใจที่จะท่องเที่ยวสำรวจ ‘จิต’ ของเราเอง ... แปลกมั้ย ?ในฐานะชาวพุทธ ไม่ว่าจะกล่าวด้วยความภาคภูมิ…
ฐาปนา
ผมสมัครเข้าร่วมโครงการหนึ่งปี “ชุมชนทดลอง # 2” ของมูลนิธิที่นา [1] ด้วยความไม่รู้ กล่าวคือ ไม่รู้เรื่องวิปัสสนา ไม่รู้เรื่องศิลปะ และไม่รู้เรื่องเกษตรกรรมธรรมชาติ  ความไม่รู้นี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เพราะถ้ารู้แล้วคงไม่ต้องมาเมื่อได้คุยกับทีมงานหลายท่านก่อนเริ่มโครงการ ก็ได้รับความห่วงใยเกรงว่า ผู้เข้าร่วมโครงการจะคาดหวังมากเกินไป เนื่องจาก the land ไม่ใช่ utopia ซึ่งผมก็เข้าใจ ขณะเดียวกันผมเองก็ห่วงใยเกรงว่า ทีมงานจะคาดหวังกับผู้เข้าร่วมโครงการมากเกินไปเช่นเดียวกันเพราะในความต่างของปัจเจกที่มาอยู่ร่วมกันภายใต้เงื่อนไขหลวมๆ นี้ หากผู้เข้าร่วมไม่มีความชัดเจนในจุดประสงค์ของตนเอง…