Skip to main content
ในการผลักดันลัทธิ “เสรีนิยมกลไกตลาด” เพื่อประโยชน์กลุ่มทุนใหญ่ ดร. สุเมธ องกิตติกุล จากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ – TDRI) เสนอว่าทางออกเพื่อแก้ปัญหารถไฟ ไทยควรเป็นไปตามสูตรลัทธิกลไกตลาด โดยการเพิ่มบทบาทให้กับเอกชน และเพิ่มความยุ่งยากในการคิดบัญชี ผ่านการแบ่งรถไฟให้เป็นหลายบริษัท รวมถึงบริษัทที่ดูแลทางรถไฟด้วย
     
การแบ่งแยกรถไฟเป็นหลายบริษัทแบบนี้ หรือการแบ่งแยกการแจกจ่ายและผลิตไฟฟ้า หรือการแยกบริษัทสาธารณูปโภคอื่นๆ รวมถึงระบบโรงพยาบาลด้วย เป็นกลไกในการนำเอกชนเข้ามาเท่านั้น มันลดประสิทธิภาพการบริการประชาชนเพราะไปเพิ่มนักบัญชีและใช้ทรัพยากรในการคิดบัญชีมากขึ้น แทนที่จะเน้นการบริการประชาชน
     
แน่นอนพวกคลั่งลัทธิกลไกตลาด ก็ต้องการให้พรรคพวกของตนเอง ซึ่งเป็นกลุ่มทุน ได้เข้ามากอบโกยกำไรจากการบริการประชาชน แต่หลักพื้นฐานชี้ให้เห็นว่า การบริการประชาชนบวกกับการแสวงหากำไร แทนที่จะบริการโดยไม่กอบโกยกำไร จะทำให้ค่าบริการแพงขึ้น หรือมีการตัดสภาพการจ้างงาน หรือทั้งสองอย่างพร้อมกัน
     
พวกคลั่งกลไกตลาดเสรี ไม่เคยสุจริตพอที่จะอธิบายว่าวิกฤตเศรษฐกิจโลกปี 2008 เกิดมาจากกลไกตลาดเสรีและการเล่นหุ้นของธนาคารและบริษัทการเงิน และยิ่งกว่านั้นภาครัฐและประชาชนคนจน ต้องถูกบังคับให้รับผิดชอบหนี้สินหมดเลย คือนายทุนใหญ่ผู้กระทำผิดลอยนวลและต้องพึ่งรัฐ
     
TDRI ยกตัวอย่างระบบรถไฟเยอรมันและสวิสเซอร์แลนด์มาชื่นชม เพราะสองระบบนี้มีการนำเอกชนเข้ามาพอสมควร รถไฟเยอรมันเป็นกึ่งระบบเอกชน ส่วนรถไฟสวิสเซอร์แลนด์แปรรูปไปมากมาย
     
TDRI ไม่กล้าเอ่ยถึงอังกฤษ ที่แปรรูปเป็นเอกชนหมดเลย แล้วบางส่วนรัฐต้องกลับมาเป็นเจ้าของใหม่เพราะมีปัญหาประสิทธิภาพ คุณภาพการบริการ และความปลอดภัย
     
ระบบรถไฟของฝรั่งเศสกับสเปนเป็นระบบที่รัฐยังเป็นเจ้าของและผู้บริหารทั้งหมด
     
เมื่อเราเปรียบเทียบราคาตั๋วโดยเฉลี่ย ฝรั่งเศสกับสเปน ถูกที่สุด และ อังกฤษ เยอรมัน กับสวิสแลนด์อยู่ในอันดับแพงสุด TDRI คงอยากให้ชาวบ้านในไทยต้องจ่ายค่าตั๋วแพงๆ หรือไม่ก็นั่งรถทัวร์หรือเสี่ยงกับการขับรถเอง ซึ่งนอกจากจะทำให้ประชาชนเดือดร้อนแล้ว ยังไม่แก้ปัญหาจราจร ความปลอดภัย หรือปัญหาโลกร้อน แต่ TDRI คงพึงพอใจเพราะกลุ่มทุนจะได้ประโยชน์และรัฐบาลจะได้ไม่เก็บภาษีสูงจากคนรวยเพื่อลงทุนพัฒนารถไฟเอง
     
เมื่อเราเปรียบเทียบความเร็วเฉลี่ยระหว่างเมืองใหญ่ๆ รถไฟฝรั่งเศสกับสเปนจะเร็วที่สุด และรถไฟความเร็วสูง TGV ของฝรั่งเศสยังไม่เคยประสบอุบัติเหตุ ต่างจากรถไฟเยอรมัน
     
เมื่อเปรียบเทียบความถี่ของการวิ่งรถไฟ จะพบว่า ฝรั่งเศส สเปน และ อังกฤษ มีการเดินรถไฟถี่ที่สุด
     
สรุปแล้วรถไฟที่ยังอยู่ในภาครัฐ และได้รับการลงทุนจากรัฐอย่างเพียงพอ จะบริการประชาชนดีที่สุด ปัญหาของรถไฟไทยคือขาดการลงทุนมานาน แต่พอรัฐบาลยิ่งลักษณ์เสนอให้ลงทุนสร้างรถไฟความเร็วสูง พวกสลิ่ม ศาล และนักเศรษฐศาสตร์คลั่งกลไกตลาดก็ออกมาด่า
     
องค์กรกระแสหลักฝ่ายขวา อย่าง TDRI จะต่อต้านการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ การใช้งบรัฐหนุนเกษตรกรและราคาข้าว การสร้างรัฐสวัสดิการ และการพัฒนารถไฟผ่านการลงทุนของรัฐ นอกจากนี้พวกนี้ยังอยากให้เรา “ร่วมจ่าย” ค่ารักษาพยาบาลอีกด้วย แต่ในเรื่องการเพิ่มงบประมาณทหาร และความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ เขาจะเงียบเฉย
     
น่าเสียดายที่สื่อทุกประเภท รวมถึงประชาไท และนักวิชาการเกือบทั้งหมด ก้มหัวรับฟังคำแนะนำของ TDRI โดยไม่มีการวิเคราะห์หรือวิจารณ์ พวกนี้ไม่เข้าใจว่าเศรษฐศาสตร์มีหลายแนวในโลก แล้วแต่ว่าจะรับใช้ชนชั้นไหน และเศรษฐศาสตร์ไม่เคยเป็นเรื่อง “เทคนิค” ของผู้ที่อ้างว่า “เชี่ยวชาญ” เพราะมันเป็นเรื่องการเมืองล้วนๆ

บล็อกของ เลี้ยวซ้าย

เลี้ยวซ้าย
25 ปีผ่านไปแล้วหลังการล่มสลายของระบบเผด็จการ “คอมมิวนิสต์” ในยุโรปตะวันออก และสัญลักษณ์สำคัญของเหตุการณ์นั้นคือการที่กำแพงเมืองเบอร์ลินถูกทุบทิ้ง หลังสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อเยอรมันภายใต้ฮิตเลอร์ต้องพ่ายแพ้สงคราม เยอรมันถูกแบ่งเป็น 4 ส่วนที่ปกครองโดย สหรัฐ อังกฤษ ฝร
เลี้ยวซ้าย
โพลล่าสุดในสเปน รายงานว่าพรรคฝ่ายซ้ายใหม่ “โพเดอร์มอส” ติดอันดับที่หนึ่งด้วยคะแนนนิยม 27.7% ในขณะที่พรรคสังคมนิยมกระแสหลักติดอันดับที่สองด้วยคะแนนนิยม 26.6% ส่วนพรรคอนุรักษ์นิยมที่เป็นรัฐบาลในปัจจุบันได้คะแนนนิยมแค่ 20.7 % “โพเดอร์มอส” แปลว่า “เราทำได้” ซึ่งเป็นชื่อที
เลี้ยวซ้าย
การต่อสู้ของมวลชนชาวไทยในวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ เป็นเครื่องพิสูจน์อย่างชัดเจนถึงการมีส่วนร่วมทางการเมืองของคนชั้นล่าง เนื่องจากคนไทยนับเป็นแสนออกมาประท้วงและล้มเผด็จการทหารจนสำเร็จ ปรากฏการณ์อันนี้ขัดแย้งโดยสิ้นเชิงกับมุมมองที่ดูถูกประชาชนว่า “ไม่เข้าใจประชาธิปไตย”     
เลี้ยวซ้าย
ในปี 1977 ศาสตราจารย์ พีเทอร์ พิออท และทีมวิจัยจากประเทศเบลเยี่ยม ค้นพบไวรัสอีโบลาในประเทศไซเอียร์ ประเทศหนึ่งในอัฟริกาตะวันตก ในปีนั้น พีเทอร์ พิออท และทีมวิจัยนี้แนะนำให้องค์กรต่างประเทศต่างๆ ทำการตรวจประชาชนและควบคุมการระบาดของโรคนี้แต่แรก เพื่อไม่ให้มันลามต่อไปได้ แต่ไม่มีใครฟัง เพราะประเทศ
เลี้ยวซ้าย
ในการผลักดันลัทธิ “เสรีนิยมกลไกตลาด” เพื่อประโยชน์กลุ่มทุนใหญ่ ดร.
เลี้ยวซ้าย
ตั้งแต่อดีตนายพล เทียน เส่ง ขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีพม่าในเดือนมีนาคม ปี 2011 นักวิจารณ์ต่างชาติ มักมองในแง่ดีว่าพม่ากำลังเดินทางไปสู่รูปแบบการเมืองประชาธิปไตยเสรีนิยม แต่หลายคนลืมไปว่านายพล เทียน เส่ง ขึ้นมามีอำนาจแต่แรกภายใต้เผด็จการทหารที่ยึดอำนาจในปี 1988 เทียน เส่ง เป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาลเผด็
เลี้ยวซ้าย
โดย ลั่นทมขาว อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ เป็นนักวิชาการที่มีอุดมการณ์ประชาธิปไตย และบทความล่าสุด “รัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมไทย 2557” (ในประชาไท) มีเป้าหมายในการเสนอว่าเผด็จการทหารปัจจุบันไม่สอดคล้องกับวัฒนธรรมของพลเมืองไทยเราคงต้องเห็นด้วยตรงนั้น  &nbsp
เลี้ยวซ้าย
ฮิปโปน้อย บรมสุขเกษม