การต่อสู้ของมวลชนชาวไทยในวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ เป็นเครื่องพิสูจน์อย่างชัดเจนถึงการมีส่วนร่วมทางการเมืองของคนชั้นล่าง เนื่องจากคนไทยนับเป็นแสนออกมาประท้วงและล้มเผด็จการทหารจนสำเร็จ ปรากฏการณ์อันนี้ขัดแย้งโดยสิ้นเชิงกับมุมมองที่ดูถูกประชาชนว่า “ไม่เข้าใจประชาธิปไตย”
เวลามีการพูดถึงวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ แนวความคิดที่ปฏิเสธบทบาทสำคัญของมวลชนในการพัฒนาสังคมไทย มักจะให้ความสำคัญกับความแตกแยกในหมู่ชนชั้นปกครองมากกว่าการกระทำของมวลชน ซึ่งไม่แตกต่างจากคนที่มัวแต่มองเบื้องบนทุกวันนี้
นอกจากนี้เขาจะเน้นรายละเอียดของสิ่งต่างๆที่ก่อให้เกิดเหตุการณ์รุนแรงในวันนั้น เหมือนกับว่าเป็น “แผนลับ” ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในแวดวงกลุ่มชั้นนำไทย หรืออาจเสนอว่าความรุนแรงเกิดจาก “ความเข้าใจผิดที่นำไปสู่อุบัติเหตุทางการเมือง” แต่ในความเป็นจริงความรุนแรงของฝ่ายเผด็จการทหารในวันที่ ๑๔ ตุลาคม มาจากการที่เขาไม่พร้อมที่จะสละอำนาจเผด็จการอย่างง่ายๆ ในขณะที่มวลชนส่วนหนึ่งไม่พร้อมที่จะทนอยู่ต่อไปภายใต้การปกครองเผด็จการ
ดังนั้นเราจะพบว่าถึงแม้ว่ามีการตกลงกันว่าจะปล่อยนักโทษทางการเมืองที่เรียกร้องรัฐธรรมนูญ และมีการสัญญาว่าจะร่างรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยภายใน 6 เดือนจนผู้นำการประท้วงส่วนใหญ่เสนอให้สลายม็อบ แต่มวลชนส่วนหนึ่งยังไม่พร้อมที่จะสลายตัวจนกว่าจอมเผด็จการทั้งสามจะลาออกจากตำแหน่ง ความรุนแรงจากฝ่ายทหารจึงเกิดขึ้น
เราต้องมองว่ากระแสการต่อสู้ที่ก่อให้เกิดเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม เป็นกระแสที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาพลังการผลิตแบบทุนนิยมภายใต้เผด็จการทหาร การพัฒนาพลังการผลิตดังกล่าวมีผลทำให้ชนชั้นกรรมาชีพไทยขยายตัวอย่างรวดเร็ว เพราะมีการดึงชาวนาจากชนบทมาเป็นแรงงานในเมือง นอกจากนี้การพัฒนาของระบบทุนนิยมยังมีผลให้ระบบการศึกษาขยายตัวด้วย จำนวนนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยได้เพิ่มขึ้นจาก 15,000 คน ไปเป็น 50,000 คนภายในเวลาแค่ 9 ปี และที่สำคัญคือสัดส่วนนักศึกษาที่เป็นลูกกรรมาชีพเพิ่มขึ้นเป็น 46% การสร้างมหาวิทยาลัยรามคำแหงในปี ๒๕๑๒ คงจะมีผลตรงนี้
นอกจากเงื่อนไขของพลังการผลิตแล้ว อีกเงื่อนไขหนึ่งที่สำคัญ คือความขัดแย้งทางชนชั้นที่เกิดขึ้นในยุควิกฤตเศรษฐกิจโลกภายหลัง“ยุคทอง”ที่ตามหลังการสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่สอง การเข้าสู่วิกฤตเศรษฐกิจของระบบโลกปลายทศวรรษ 1960 มีผลทำให้เกิดการกบฏครั้งยิ่งใหญ่ทั่วโลก ในฝรั่งเศสนักศึกษาจุดประกายที่นำไปสู่การนัดหยุดงานครั้งใหญ่ที่สุดในโลกในปี 1968 ในสหรัฐคนผิวดำลุกขึ้นสู้เพื่อปลดปล่อยตนเอง และผู้ที่ต่อต้านสงครามเวียดนามสร้างแนวร่วมกับกองทัพปลดแอกเวียดนามจนสหรัฐต้องยอมแพ้ สิ่งเหล่านี้สร้างกระแสการปลดปล่อยทางการเมืองที่มีผลกระทบกับความคิดของคนหนุ่มสาวในไทยเป็นอย่างมาก และภาวะทางเศรษฐกิจที่เลวร้ายของกรรมาชีพ ที่ต้องทนค่าจ้างขั้นต่ำในระดับประมาณ 10 บาทต่อวันมาเกือบ 20 ปี มีผลในการสร้างกระแสการต่อสู้ที่นำไปสู่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖
คนงานกรรมาชีพมีส่วนสำคัญในการสร้างกระแสการต่อสู้ ในยุคเผด็จการทหารการนัดหยุดงานเป็นเรื่องผิดกฎหมาย แต่ปรากฏว่าระหว่างปี ๒๕๐๘ ถึง ๒๕๑๔ มีการนัดหยุดงาน 113 ครั้ง และในช่วงเดือนมกราคมถึงตุลาคมปี ๒๕๑๖ ก่อนเกิดเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม มีการนัดหยุดงานเพิ่มขึ้นถึง ๔๐ ครั้ง กรณีหนึ่งที่โรงงานผลิตเหล็กกล้ามีการหยุดงานยาวนานถึงหนึ่งเดือนจนได้รับชัยชนะ สาเหตุสำคัญที่ทำให้การต่อสู้เมื่อ ๑๔ ตุลาคมได้รับชัยชนะในการล้มเผด็จการถนอม-ประภาส-ณรงค์ ก็เพราะประชาชนกรรมาชีพในเมืองออกมาช่วยนักศึกษาเป็นหมื่นเป็นแสน
นักวิชาการสำนัก “ประชาสังคม” ที่ปฏิเสธเรื่องความขัดแย้งทางชนชั้น มักจะเสนอว่านักศึกษาหรือคนชั้นกลางเป็นผู้เคลื่อนไหวในวันที่ ๑๔ ตุลาคม ซึ่งมีผลในการเปิดโอกาสให้คนชั้นล่างที่ไม่รู้จักสู้เองได้มีสิทธิเสรีภาพมากขึ้นในช่วงหลังจากนั้น ทั้งนี้เพราะสำนักแนวความคิดนี้ไม่เชื่อว่าคนชั้นล่างทำอะไรเพื่อตัวเองได้ และมักมองข้ามการต่อสู้ทางชนชั้นของกรรมาชีพและชาวนาเสมอ แต่สำนักมาร์คซิสต์มองว่าชนชั้นล่างมีส่วนสำคัญในการปลดแอกตนเองจากเผด็จการทหาร และเรามักจะมองว่าการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยภายใต้ระบบทุนนิยม แยกออกจาการต่อสู้ทางชนชั้นเพื่อผลประโยชน์ปากท้องไม่ได้
บล็อกของ เลี้ยวซ้าย
เลี้ยวซ้าย
25 ปีผ่านไปแล้วหลังการล่มสลายของระบบเผด็จการ “คอมมิวนิสต์” ในยุโรปตะวันออก และสัญลักษณ์สำคัญของเหตุการณ์นั้นคือการที่กำแพงเมืองเบอร์ลินถูกทุบทิ้ง หลังสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อเยอรมันภายใต้ฮิตเลอร์ต้องพ่ายแพ้สงคราม เยอรมันถูกแบ่งเป็น 4 ส่วนที่ปกครองโดย สหรัฐ อังกฤษ ฝร
เลี้ยวซ้าย
โพลล่าสุดในสเปน รายงานว่าพรรคฝ่ายซ้ายใหม่ “โพเดอร์มอส” ติดอันดับที่หนึ่งด้วยคะแนนนิยม 27.7% ในขณะที่พรรคสังคมนิยมกระแสหลักติดอันดับที่สองด้วยคะแนนนิยม 26.6% ส่วนพรรคอนุรักษ์นิยมที่เป็นรัฐบาลในปัจจุบันได้คะแนนนิยมแค่ 20.7 % “โพเดอร์มอส” แปลว่า “เราทำได้” ซึ่งเป็นชื่อที
เลี้ยวซ้าย
การต่อสู้ของมวลชนชาวไทยในวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ เป็นเครื่องพิสูจน์อย่างชัดเจนถึงการมีส่วนร่วมทางการเมืองของคนชั้นล่าง เนื่องจากคนไทยนับเป็นแสนออกมาประท้วงและล้มเผด็จการทหารจนสำเร็จ ปรากฏการณ์อันนี้ขัดแย้งโดยสิ้นเชิงกับมุมมองที่ดูถูกประชาชนว่า “ไม่เข้าใจประชาธิปไตย”
เลี้ยวซ้าย
ในปี 1977 ศาสตราจารย์ พีเทอร์ พิออท และทีมวิจัยจากประเทศเบลเยี่ยม ค้นพบไวรัสอีโบลาในประเทศไซเอียร์ ประเทศหนึ่งในอัฟริกาตะวันตก ในปีนั้น พีเทอร์ พิออท และทีมวิจัยนี้แนะนำให้องค์กรต่างประเทศต่างๆ ทำการตรวจประชาชนและควบคุมการระบาดของโรคนี้แต่แรก เพื่อไม่ให้มันลามต่อไปได้ แต่ไม่มีใครฟัง เพราะประเทศ
เลี้ยวซ้าย
ในการผลักดันลัทธิ “เสรีนิยมกลไกตลาด” เพื่อประโยชน์กลุ่มทุนใหญ่ ดร.
เลี้ยวซ้าย
ตั้งแต่อดีตนายพล เทียน เส่ง ขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีพม่าในเดือนมีนาคม ปี 2011 นักวิจารณ์ต่างชาติ มักมองในแง่ดีว่าพม่ากำลังเดินทางไปสู่รูปแบบการเมืองประชาธิปไตยเสรีนิยม แต่หลายคนลืมไปว่านายพล เทียน เส่ง ขึ้นมามีอำนาจแต่แรกภายใต้เผด็จการทหารที่ยึดอำนาจในปี 1988 เทียน เส่ง เป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาลเผด็
เลี้ยวซ้าย
โดย ลั่นทมขาว อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ เป็นนักวิชาการที่มีอุดมการณ์ประชาธิปไตย และบทความล่าสุด “รัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมไทย 2557” (ในประชาไท) มีเป้าหมายในการเสนอว่าเผด็จการทหารปัจจุบันไม่สอดคล้องกับวัฒนธรรมของพลเมืองไทยเราคงต้องเห็นด้วยตรงนั้น