โพลล่าสุดในสเปน รายงานว่าพรรคฝ่ายซ้ายใหม่ “โพเดอร์มอส” ติดอันดับที่หนึ่งด้วยคะแนนนิยม 27.7% ในขณะที่พรรคสังคมนิยมกระแสหลักติดอันดับที่สองด้วยคะแนนนิยม 26.6% ส่วนพรรคอนุรักษ์นิยมที่เป็นรัฐบาลในปัจจุบันได้คะแนนนิยมแค่ 20.7 %
“โพเดอร์มอส” แปลว่า “เราทำได้” ซึ่งเป็นชื่อที่เน้นการเปลี่ยนแปลงระบบท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจโลกปัจจุบัน
“โพเดอร์มอส” เป็นพรรคฝ่ายซ้ายใหม่ที่พึ่งก่อตั้งเมื่อ 9 เดือนที่แล้ว และก่อตัวจากการชุมนุมบนท้องถนนของประชาชนที่ต่อต้านแนวเสรีนิยมกลไกตลาด เช่น การการตัดสวัสดิการและการเพิ่มอัตราว่างงานของรัฐบาลฝ่ายขวา
“โพเดอร์มอส” เรียกร้องให้จำคุกนายทุนธนาคารที่มีส่วนในการก่อวิกฤต และเรียกร้องให้มีการยุติการไล่คนออกจากบ้านเพราะขาดรายได้ในการจ่ายค่าเช่า
นโยบายอื่นๆ ของ “โพเดอร์มอส” จะเน้นการสร้างมาตรฐานรายได้ให้กับคนจน และการเก็บภาษีเพิ่มจากคนรวยและกลุ่มทุน
ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาพรรค “โพเดอร์มอส” ได้ สส. ในสภาอียูของยุโรปสามคน และทั้งสามสัญญาว่าจะรับเงินเดือนไม่เกินสามเท่าของค่าจ้างขั้นต่ำ
แกนนำอธิบายว่าพรรค “โพเดอร์มอส” จะนำเสียงของมวลชนบนท้องถนนมาเป็นพลังในการท้าทายสถาบันทางการเมือง และมีการอธิบายว่าต้องรวมพลังในพรรค แทนที่จะอาศัยมวลชนกระจัด กระจาย วิธีการจัดตั้งของพรรคมีวิธีใหม่ๆ โดยเฉพาะการจัด “วงสมัชชามวลชน” ในเมืองและชุมชนต่างๆ เพื่อให้สมาชิกถกเถียงและแสดงความเห็นโดยตรง “วงสมัชชามวลชน” เหล่านี้ถูกสร้างขึ้นโดยนักเคลื่อนไหวรากหญ้าเอง
“โพเดอร์มอส” ก่อตัวขึ้นจากมวลชนคนหนุ่มสาวที่ยึดจัตุรัสตามเมืองต่างๆ ในสเปนในปี 2011 ตอนนั้นคนส่วนใหญ่มีอคติกับพรรคการเมือง เพราะมองว่า “พรรคการเมือง” เป็นพวกอนุรักษ์นิยมที่ปกป้องอภิสิทธิ์ชนและระบบเก่า แต่เมื่อเวลาผ่านไป เขาเริ่มมีการทบทวนแนวคิด เพราะคนจำนวนมากมองว่าการประท้วงของมวลชนยังไม่มีผลกระทบทางการเมืองเท่าที่ควร เลยมีการเสนอให้ตั้งพรรค
พับโล อิกเลเซีย นักจัดรายการโทรทัศน์ฝ่ายซ้ายเป็นผู้จุดประกายให้ตั้งพรรค และคาดว่าเขาจะได้รับเลือกเป็นเลขาธิการพรรคในไม่ช้า ภายใน “โพเดอร์มอส” และ “วงสมัชชามวลชน” มีหลากหลายแนวคิดของฝ่ายซ้าย
พับโล อิกเลเซีย มีแนวคิดคล้ายๆ พรรค “ไซรีซา” ในกรีส ซึ่งมีแนวโน้มอยากจะปฏิรูปและประนีประนอม นอกจากนี้จะมีกลุ่ม “เอนลูชา” (“ต่อสู้”) ที่ต่อต้านทุนนิยมและเป็นแนวเดียวกับ “เลี้ยวซ้าย” และที่สำคัญคือมีคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ที่กำลังเรียนรู้วิธีต่อสู้ทางการเมืองเป็นครั้งแรก คนเหล่านี้มีส่วนร่วมในการรณรงค์ต่อต้านการแปรรูปโรงพยาบาลให้เป็นเอกชน และในการสนับสนุนนักสหภาพแรงงานครูระดับรากหญ้าที่นัดหยุดงานต้านการตัดงบประมาณการศึกษา
คะแนนนิยมในโพล ไม่เหมือนผลการเลือกตั้งจริง และเราต้องรอดูว่าสถานการณ์จะเป็นอย่างไร แต่ปรากฏการณ์ของ “โพเดอร์มอส” เป็นเรื่องที่น่าชื่นชม ที่สำคัญคือมันสะท้อนความเสื่อมศรัทธาในพรรคการเมืองกระแสหลักในยุโรปท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจโลกปัจจุบัน
ความเสื่อมศรัทธาในพรรคการเมืองกระแสหลัก ไม่มีหลักประกันว่าจะนำไปสู่การสนับสนุนฝ่ายซ้ายโดยอัตโนมัติ ได้สร้างกระแสฝ่ายซ้ายในสเปน ในสก็อตแลนด์ (ท่ามกลางประชามติที่พึ่งผ่านมา) ในไอร์แลนด์ และในกรีซ แต่มันไปสร้างกระแสฝ่ายขวาเหยียดผิวหรือแนวฟาสซิสต์ในฝรั่งเศส ในยุโรปตะวันออก และในอิงแลนด์
ในไทยการแช่แข็งการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยโดย นปช. เพื่อไทย และทักษิณ และความกระจัดกระจายของเสื้อแดงอิสระ ทำให้กระแสการต่อสู้อ่อนแอ และหลายคนอาจหมดกำลังใจ
ทั้งหมดนี่คือสิ่งที่ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญในการสร้างขั้วฝ่ายซ้ายในยุคนี้
บล็อกของ เลี้ยวซ้าย
เลี้ยวซ้าย
25 ปีผ่านไปแล้วหลังการล่มสลายของระบบเผด็จการ “คอมมิวนิสต์” ในยุโรปตะวันออก และสัญลักษณ์สำคัญของเหตุการณ์นั้นคือการที่กำแพงเมืองเบอร์ลินถูกทุบทิ้ง หลังสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อเยอรมันภายใต้ฮิตเลอร์ต้องพ่ายแพ้สงคราม เยอรมันถูกแบ่งเป็น 4 ส่วนที่ปกครองโดย สหรัฐ อังกฤษ ฝร
เลี้ยวซ้าย
โพลล่าสุดในสเปน รายงานว่าพรรคฝ่ายซ้ายใหม่ “โพเดอร์มอส” ติดอันดับที่หนึ่งด้วยคะแนนนิยม 27.7% ในขณะที่พรรคสังคมนิยมกระแสหลักติดอันดับที่สองด้วยคะแนนนิยม 26.6% ส่วนพรรคอนุรักษ์นิยมที่เป็นรัฐบาลในปัจจุบันได้คะแนนนิยมแค่ 20.7 % “โพเดอร์มอส” แปลว่า “เราทำได้” ซึ่งเป็นชื่อที
เลี้ยวซ้าย
การต่อสู้ของมวลชนชาวไทยในวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ เป็นเครื่องพิสูจน์อย่างชัดเจนถึงการมีส่วนร่วมทางการเมืองของคนชั้นล่าง เนื่องจากคนไทยนับเป็นแสนออกมาประท้วงและล้มเผด็จการทหารจนสำเร็จ ปรากฏการณ์อันนี้ขัดแย้งโดยสิ้นเชิงกับมุมมองที่ดูถูกประชาชนว่า “ไม่เข้าใจประชาธิปไตย”
เลี้ยวซ้าย
ในปี 1977 ศาสตราจารย์ พีเทอร์ พิออท และทีมวิจัยจากประเทศเบลเยี่ยม ค้นพบไวรัสอีโบลาในประเทศไซเอียร์ ประเทศหนึ่งในอัฟริกาตะวันตก ในปีนั้น พีเทอร์ พิออท และทีมวิจัยนี้แนะนำให้องค์กรต่างประเทศต่างๆ ทำการตรวจประชาชนและควบคุมการระบาดของโรคนี้แต่แรก เพื่อไม่ให้มันลามต่อไปได้ แต่ไม่มีใครฟัง เพราะประเทศ
เลี้ยวซ้าย
ในการผลักดันลัทธิ “เสรีนิยมกลไกตลาด” เพื่อประโยชน์กลุ่มทุนใหญ่ ดร.
เลี้ยวซ้าย
ตั้งแต่อดีตนายพล เทียน เส่ง ขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีพม่าในเดือนมีนาคม ปี 2011 นักวิจารณ์ต่างชาติ มักมองในแง่ดีว่าพม่ากำลังเดินทางไปสู่รูปแบบการเมืองประชาธิปไตยเสรีนิยม แต่หลายคนลืมไปว่านายพล เทียน เส่ง ขึ้นมามีอำนาจแต่แรกภายใต้เผด็จการทหารที่ยึดอำนาจในปี 1988 เทียน เส่ง เป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาลเผด็
เลี้ยวซ้าย
โดย ลั่นทมขาว อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ เป็นนักวิชาการที่มีอุดมการณ์ประชาธิปไตย และบทความล่าสุด “รัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมไทย 2557” (ในประชาไท) มีเป้าหมายในการเสนอว่าเผด็จการทหารปัจจุบันไม่สอดคล้องกับวัฒนธรรมของพลเมืองไทยเราคงต้องเห็นด้วยตรงนั้น