ในปี 1977 ศาสตราจารย์ พีเทอร์ พิออท และทีมวิจัยจากประเทศเบลเยี่ยม ค้นพบไวรัสอีโบลาในประเทศไซเอียร์ ประเทศหนึ่งในอัฟริกาตะวันตก ในปีนั้น พีเทอร์ พิออท และทีมวิจัยนี้แนะนำให้องค์กรต่างประเทศต่างๆ ทำการตรวจประชาชนและควบคุมการระบาดของโรคนี้แต่แรก เพื่อไม่ให้มันลามต่อไปได้ แต่ไม่มีใครฟัง เพราะประเทศต่างๆ ในอัฟริกาตะวันตกเป็นประเทศยากจนที่ “ไม่มีความสำคัญ” ในเวทีโลก เกือบ 40 ปีหลังจากนั้นก็เกิดการระบาดครั้งยิ่งใหญ่ ซึ่งตอนนี้คาดว่าจำนวนคนไข้ที่ตายจากอีโบลารอบนี้สูงกว่า 4000 คนแล้ว
อีโบลาเป็นไวรัสที่ก่อให้เกิด “ไข้เลือดออก” ชนิดหนึ่ง ประเมินกันว่ามาจากค้างคาวและธรรมดาไม่ได้เป็นโรคของมนุษย์ นี่คือสาเหตุที่มนุษย์ไม่มีภูมิต้านทาน อาการของอีโบลาในระยะแรกๆ เหมือนไข้หวัดใหญ่คือไข้สูง อาเจียนและเจ็บคอ แต่ในไม่ช้าจะมีอาการเลือดออกทางหูหรือจมูกและในอวัยวะภายในอีกด้วย ซึ่งจบลงด้วยการที่ไตและตับเลิกทำงาน เกือบครึ่งหนึ่งของคนไข้จะเสียชีวิต
ศาสตราจารย์ พีเทอร์ พิออท ซึ่งขณะนี้เป็นคณบดี “วิทยาลัยอนามัยและโรคเมืองร้อนของลอนดอน” อธิบายว่าอีโบลาไม่ใช่โรคที่ติดง่ายๆ ผ่านหยดน้ำในอากาศเหมือนไข้หวัดใหญ่ เขาพูดว่า “ถ้ามีคนไข้ติดเชื้ออีโบลานั่งข้างๆ ผมบนรถไฟใต้ดิน ผมจะไม่กังวลถ้าคนไข้คนนั้นไม่อาเจียนใส่ผม” อีโบลาติดได้จากของเหลว เช่น เลือด อาเจียน หรือน้ำลาย และอาจติดจากเหงื่อคนไข้ได้ แต่ของเหลวเหล่านี้ต้องเข้าปากหรือจมูกเรา อย่างไรก็ตามไวรัสนี้แปรตัวได้ถ้ามีการแพร่ระบาดไปในหมู่คนจำนวนมาก
ระยะเวลาเพาะเชื้อใช้เวลาประมาณ 21 วัน และในช่วงนี้คนไข้จะไม่มีอาการและเราติดเชื้อจากเขาไม่ได้
ปัจจัยทางเศรษฐกิจและการเมือง เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้มีวิกฤตอีโบลา
ในประการแรก ประเทศพัฒนาและบริษัทยาข้ามชาติ ไม่สนใจที่จะแก้ปัญหามาเกือบ 40 ปี และในกรณีบริษัทยาข้ามชาติ การผลิตวัคซีนสำหรับอีโบลาไม่ก่อให้เกิดกำไร เพราะคนส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อเป็นคนจนผิวดำ ข้อมูลนี้ทำให้เราเข้าใจได้ดีว่ากลไกตลาดเสรีและบริษัทยาเอกชน ไม่เคยบริการความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ในโลก เพราะเรื่องกำไรเป็นเรื่องที่สำคัญอันดับหนึ่ง
ในประการที่สอง ไลบีเรีย เซียราลีโอน และกินนี ตกอยู่ภายใต้สงครามกลางเมืองโหดร้ายในอดีต เพราะมีการแย่งชิงทรัพยากรแร่ธาตุโดยขุนศึกที่มีบริษัทตะวันตกหนุนหลังหรือเป็นลูกค้า ระบบสาธารณะสุขจึงเกือบจะไม่มีหรือด้อยพัฒนามาก เผด็จการในหลายประเทศก็ไม่สนใจผลประโยชน์คนจน เพราะไม่จำเป็นต้องขึ้นมามีอำนาจผ่านการเลือกตั้ง
ในประการที่สาม องค์กรไอเอ็มเอฟ และองค์กรที่เชิดชูนโยบายกลไกตลาดเสรี (ในไทย TDRI เป็นองค์กรแบบนี้) มักจะกดดันให้รัฐบาลในประเทศยากจน ลดค่าใช้จ่ายของรัฐ ซึ่งมีผลในการทำลายระบบสาธารณะสุขและสาธารณูปโภค เช่นระบบแจกจ่ายน้ำสะอาดหรือไฟฟ้า ในเมืองหลวงของไลบีเรียไม่มีโรงพยาบาลของรัฐแม้แต่แห่งเดียว และในหลายประเทศต้องมีการพึ่งพาหมออาสาสมัครของ “แพทย์ไร้พรมแดน” หรือจากประเทศคิวบา
สภาพย่ำแย่ของระบบสาธารณะสุขในหลายประเทศของอัฟริกาตะวันตก รวมถึงการที่หมอและพยาบาลขาดอุปกรณ์ในการป้องกันตัว ทำให้อีโบลากลายเป็นวิกฤต เพราะในประเทศที่พัฒนาแล้วการรักษาและการป้องกันการแพร่ระบาดจะทำได้อย่างจริงจัง ส่วนในไลบีเรียหรือที่อื่นในอัฟริกาตะวันตก หมอและพยาบาลล้มตายไปจำนวนมากหลังจากที่ดูแลคนไข้
ในระยะสั้นคงต้องมีการเร่งผลิตยารักษาและวัคซีน ที่ยังอยู่ในขั้นตอนการทดลองและยังไม่พร้อมที่จะถูกใช้อย่างปลอดภัย เพื่อให้คนไข้ได้รับทันที เพราะขณะนี้หมอกับพยาบาลได้แต่ให้น้ำเกลือ และต้องมีการเร่งส่งความช่วยเหลือทางการแพทย์จากประเทศที่ร่ำรวย แต่รัฐบาลของมหาอำนาจไม่สนใจจะแก้ปัญหาอีโบลาเท่าไร พร้อมจะลงทุนมหาศาลในการก่อสงคราม แต่ไม่พร้อมจะป้องกันไม่ให้คนทั่วไปตายจากโรคร้าย
อีโบลาและโรคระบาดร้ายแรงอื่นๆ พิสูจน์ให้เราเห็นว่าเรื่องการแพทย์กับเรื่องการเมืองและเศรษฐกิจแยกกันไม่ออก และภายใต้ระบบทุนนิยมกลไกตลาดเสรี คนจน คนผิวดำ และผู้ถูกกดขี่อื่นๆ มักจะไม่ได้รับการบริการแต่อย่างใด ทุนนิยมมองไม่เห็นหัวมนุษย์ เราจึงต้องรวมตัวกันต่อสู้เพื่อสังคมนิยมและประชาธิปไตยแทน
บล็อกของ เลี้ยวซ้าย
เลี้ยวซ้าย
25 ปีผ่านไปแล้วหลังการล่มสลายของระบบเผด็จการ “คอมมิวนิสต์” ในยุโรปตะวันออก และสัญลักษณ์สำคัญของเหตุการณ์นั้นคือการที่กำแพงเมืองเบอร์ลินถูกทุบทิ้ง หลังสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อเยอรมันภายใต้ฮิตเลอร์ต้องพ่ายแพ้สงคราม เยอรมันถูกแบ่งเป็น 4 ส่วนที่ปกครองโดย สหรัฐ อังกฤษ ฝร
เลี้ยวซ้าย
โพลล่าสุดในสเปน รายงานว่าพรรคฝ่ายซ้ายใหม่ “โพเดอร์มอส” ติดอันดับที่หนึ่งด้วยคะแนนนิยม 27.7% ในขณะที่พรรคสังคมนิยมกระแสหลักติดอันดับที่สองด้วยคะแนนนิยม 26.6% ส่วนพรรคอนุรักษ์นิยมที่เป็นรัฐบาลในปัจจุบันได้คะแนนนิยมแค่ 20.7 % “โพเดอร์มอส” แปลว่า “เราทำได้” ซึ่งเป็นชื่อที
เลี้ยวซ้าย
การต่อสู้ของมวลชนชาวไทยในวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ เป็นเครื่องพิสูจน์อย่างชัดเจนถึงการมีส่วนร่วมทางการเมืองของคนชั้นล่าง เนื่องจากคนไทยนับเป็นแสนออกมาประท้วงและล้มเผด็จการทหารจนสำเร็จ ปรากฏการณ์อันนี้ขัดแย้งโดยสิ้นเชิงกับมุมมองที่ดูถูกประชาชนว่า “ไม่เข้าใจประชาธิปไตย”
เลี้ยวซ้าย
ในปี 1977 ศาสตราจารย์ พีเทอร์ พิออท และทีมวิจัยจากประเทศเบลเยี่ยม ค้นพบไวรัสอีโบลาในประเทศไซเอียร์ ประเทศหนึ่งในอัฟริกาตะวันตก ในปีนั้น พีเทอร์ พิออท และทีมวิจัยนี้แนะนำให้องค์กรต่างประเทศต่างๆ ทำการตรวจประชาชนและควบคุมการระบาดของโรคนี้แต่แรก เพื่อไม่ให้มันลามต่อไปได้ แต่ไม่มีใครฟัง เพราะประเทศ
เลี้ยวซ้าย
ในการผลักดันลัทธิ “เสรีนิยมกลไกตลาด” เพื่อประโยชน์กลุ่มทุนใหญ่ ดร.
เลี้ยวซ้าย
ตั้งแต่อดีตนายพล เทียน เส่ง ขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีพม่าในเดือนมีนาคม ปี 2011 นักวิจารณ์ต่างชาติ มักมองในแง่ดีว่าพม่ากำลังเดินทางไปสู่รูปแบบการเมืองประชาธิปไตยเสรีนิยม แต่หลายคนลืมไปว่านายพล เทียน เส่ง ขึ้นมามีอำนาจแต่แรกภายใต้เผด็จการทหารที่ยึดอำนาจในปี 1988 เทียน เส่ง เป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาลเผด็
เลี้ยวซ้าย
โดย ลั่นทมขาว อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ เป็นนักวิชาการที่มีอุดมการณ์ประชาธิปไตย และบทความล่าสุด “รัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมไทย 2557” (ในประชาไท) มีเป้าหมายในการเสนอว่าเผด็จการทหารปัจจุบันไม่สอดคล้องกับวัฒนธรรมของพลเมืองไทยเราคงต้องเห็นด้วยตรงนั้น