Skip to main content

วันนี้เปิดห้องเรียนวิชามานุษยวิทยาภาษาด้วยการคุยสืบเนื่องกับบทเรียนเมื่อสองสัปดาห์ก่อน เรื่อง "ภาษากับความคิดและโลกทัศน์" มีวิดีโอในยูทูปที่น่าสนใจสองเรื่อง เรื่องหนึ่งว่าด้วยหมอสอนศาสนาที่ถูกชนพื้นเมืองในป่าอะเมซอนแปลงให้กลายเป็นนักมานุษยวิทยาภาษา วันนี้เปิดอีกเรื่องว่าด้วยการเห็นสีที่จำกัดของคนต่างวัฒนธรรมที่มีมโนทัศน์เรื่องสีต่างกัน (เอาไว้วันหลังมาเล่าแล้วกันครับ)

เรื่องที่อยากเล่าตอนนี้คือ บทเรียนจากนักศึกษาที่อธิบายคำในพจนานุเกรียนที่น้า Art Bact' เอามาแปะไว้ในกลุ่ม "ต่อปาก..." แถมน้าแบ่คยังแนะนำคำว่า "วทน" ผมงงอยู่คืนหนึ่งเต็มๆ เพราะไม่ได้อยู่ในโลกออนไลน์มากเท่าเขามาก่อน (มีนักศึกษาอีกคนมาอธิบายให้ใน ฟบ แต่ผมไม่ได้อ่านก่อนเข้าห้องเรียน)

ในห้องเรียนวันนี้ นักศึกษาคนหนึ่งอธิบายอย่างยืดยาวว่า (ใครรู้แล้วทนอ่านไปแล้วกันครับ) "เรื่องทั้งหมดเกิดในโลกของทวิตเตอร์ค่ะ พวกเกรียนหมั่นไส้ วทน. อาจารย์รู้จักไหมคะ คนที่ทำหนังสือ อด. อ่ะค่ะ เขาชอบทวิตอะไรเลี่ยนๆ ประเภท 'วันนี้ฉันตื่นนอนขึ้นมา อาบน้ำ แล้วบรรลุธรรม' แบบ 'อิ้วอม' น่ะค่ะ...

"พวกนั้นก็ตามเกรียนเขาในทวิตเตอร์ วทน. สักพัก วทน.ทนไม่ได้ ก็ไล่บล็อคพวกมาเกรียนไปทั่ว บลาๆๆ..." (ใน "ดราม่าแอดดิค" น่าจะมีรายละเอียด) คำนี้ก็เลยเป็นที่เข้าใจกันทั่ว" ตามความหมายในพจนานุเกรียนว่า 

@wthn [censored] - ใช้เพื่อกิจการแซะ แล้วโดนบล็อคโดนอัตโนมัติเท่านั้น
[ตัวอย่าง] ใครไม่โดน วทน บล็อคนี่โคตรไม่อินดี้

นักศึกษาแนะให้ลองเปิดอีกคำหนึ่งคือ "ดงบังวงแตก" ผมนี่งงไปเลย ลองดูครับว่าหมายถึงอะไร แต่เมื่ออ่านคำแปลแล้ว ก็ไม่เข้าใจหรอก ถ้าไม่ได้อยู่ในโลก "เกรียน"

ผมชอบพจนานุเกรียนในหลายๆ มิติด้วยกัน แง่หนึ่ง ผมว่าโลกปัจจุบันมันแปลกแยกแตกต่างห่างเหินจริงๆ แต่มันไม่ใช่ในความหมายแย่หรอก ผมมองว่ามันปกติธรรมดา เพราะโลกปัจจุบันมันสร้างความเชื่อมต่อแบบใหม่ๆ เกิดสังคมใหม่ๆ ที่ไม่จำเป็นที่ใครทุกคนจะต้องรู้จักเข้าใจทุกเรื่องของคนที่เรารู้จักไปเสียทุกอย่าง นักศึกษาผมเข้าใจสิ่งเดียวกับที่น้าแบ่คเข้าใจเป๊ะ ทั้งๆ ที่เขาไม่รู้จักกันมาก่อนเลย

อีกแง่หนึ่ง ผมนึกเลยเถิดไปถึงเรื่องโลกทัศน์กับภาษา ภาษาน่าจะเชื่อมโยงกับโลกทัศน์จริงๆ เพราะแม้แต่คนที่อยู่ในโลกของภาษาเดียวกัน ก็ยังไม่สามารถเข้าใจกันได้ด้วยชุดคำศัพท์ที่แยกย่อยชุมชนภาษาลงไปมากขนาดนี้ และแม้ว่าจะรู้คำเหล่านั้น แต่ถ้าไม่มีการอธิบายความหมายเชิงบริบทที่ยืดยาว ก็คงไม่มีทางเข้าใจกันได้ง่ายๆ

อีกอย่าง พจนานุเกรียนเปิดโอกาสให้ใครก็ร่วมบัญญัติศัพท์เกรียนได้ ผมไม่แน่ใจเหมือนกันว่าพจนานุเกรียนมีใครคอยควบคุมการบัญญัติคำใหม่อย่างไรหรือไม่ แต่หากเราค้นคำที่ไม่มีในพจนานุเกรียน เขาก็จะขึ้นแบบฟอร์มให้กรอก เป็นการแนะนำคำศัพท์ใหม่ๆ นี่หากจะไม่ถึงกับนับว่าเป็นการทำลายเอกสิทธิ์ในการบัญญัติศัพท์ ก็ถือว่าเป็นการเปิดโอกาสให้เกิดการบัญญัติศัพท์จากผู้ใช้ภาษาเองได้ ไม่เหมือนพจนานุกรมของสถาบันทรงเกียรติบางแห่ง

ขอให้ชาวเกรียนจงเจริญภาษา มีปัญญาสร้างคำใหม่ๆ ให้ครูภาษาไทยต้องเวียนเกล้า กันไปอีกยาวนาน


ขอบคุณน้าแบ่คที่แนะนำ http://pojnanukrian.com/


เผยแพร่ครั้งแรกใน
:Yukti Mukdawijitra

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
นี่เป็นข้อเขียนภาคทฤษฎีของ "การเมืองของนักศึกษาปัจจุบัน" หากใครไม่ชอบอ่านทฤษฎีก็ขอร้องโปรดมองข้ามไปเถอะครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จริงหรือที่นักศึกษาไม่สนใจการเมือง ขบวนการนักศึกษาตายแล้วจริงหรือ ถ้าคุณไม่เข้าใจว่าการถกเถียงเรื่องเครื่องแบบ เรื่องทรงผม เรื่องห้องเรียน เป็นเรื่องการเมืองได้อย่างไร แล้วดูแคลนว่ามันเป็นเพียงเรื่องเสรีภาพส่วนตัว เรื่องเรียกร้องเสรีภาพอย่างเกินเลยแล้วล่ะก็ คุณตกขบวนการเมืองของยุคสมัยไปแล้วล่ะ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในวาระที่กำลังจะมีการสรรหาอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะบุคคลากรของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ผู้หนึ่ง ผมขอเสนอ 5 เรื่องเร่งด่วนที่อธิการบดีคนต่อไปควรเร่งพิจารณา เพื่ิอกอบกู้ให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กลับมาเป็นดินแดนแห่งเสรีภาพ เป็นบ่อน้ำบำบัดผู้กระหายความรู้ และเป็นสถาบันที่เคียงข้างประชาชนต่อไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บันทึกประกอบการพูดเรื่อง "การศึกษาไทย" เมื่อสัปดาห์ก่อน ผมเสนอว่าเรากำลังต่อสู้กับสามลัทธิคือ ลัทธิบูชาชาติ-ศาสน์-กษัตริย์ ลัทธิล่าปริญญา และลัทธิแบบฟอร์ม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"การศึกษาไทยไทย: ความสำเร็จหรือความล้มเหลว" เป็นโจทย์ที่นักกิจกรรมทางสังคมรุ่นใหม่ตั้งขึ้นอย่างท้าทาย พวกเขาท้าทายทั้งระบบการเรียนการสอน วัฒนธรรมการศึกษา เนื้อหาในหลักสูตร และระบบสังคมในสถานศึกษา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะที่ร่วมก่อตั้งและร่วมงานกับ "ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์เมษา-พฤษภา 53" (ศปช.) ผมอดไม่ได้ที่จะเปรียบเทียบสปิริตของการทำงานของ ศปช. กับของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ว่ามองหลักสิทธิมนุษยชนต่างกันอย่างไร อย่างไรก็ดี นี่เป็นทัศนะและหลักการของผมเองในการร่วมงานกับ ศปช. ซึ่งอาจแตกต่างจากสมาชิกคนอื่นบ้าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำตัดสินของศาลอาญาในกรณี 6 ศพวัดประทุมฯ ชวนให้นึกถึงภาพถ่ายเช้าวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ที่ใต้ต้นมะขามต้นหนึ่งที่สนามหลวง นอกจากภาพชายคนที่ใช้เก้าอี้ตีศพที่ถูกแขวนคอใต้ต้นมะขามแล้ว ภาพผู้คนที่รายล้อมต้นมะขามซึ่งแสดงอาการเห็นดีเห็นงามหรือกระทั่งสนับสนุนอยู่นั้น สะเทือนขวัญชาวโลกไม่น้อยกว่าภาพชายใช้เก้าอี้ทำร้ายศพ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเคยนั่งในพิธีรับปริญญาบัตรในฐานะผู้รับและในมุมมองของผู้ให้มาแล้ว แต่ไม่เคยได้นั่งในพิธีในฐานะผู้สังเกตการณ์จากบนเวทีแบบเมื่อครั้งที่ผ่านมานี้มาก่อน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปฐมลิขิต: ใครรังเกียจทฤษฎี เกลียดงานเขียนแบบหอคอยงาช้าง ไม่ต้องพลิกอ่านก็ได้นะครับ และเวลาผมใส่วงเล็บภาษาอังกฤษหรืออ้างนักคิดต่างๆ นี่ ไม่ได้จะโอ่ให้ดูขลังนะครับ แต่เพื่อให้เชื่อมกับโลกวิชาการสากลได้ ให้ใครสนใจสืบค้นอ่านต่อได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จะว่าไป กสทช. คนที่แสดงความเห็นต่อเนื้อหาละครฮอร์โมนนั้น ดูน่าจะเป็นคนที่สามารถวิเคราะห์ เข้าใจสังคมได้มากที่สุดในบรรดา กสทช. ทั้ง 11 คน เพราะเขามีดีกรีถึงปริญญาเอกทางสังคมวิทยาจากมหาวิทยาลัยโด่งดังในเยอรมนี ต่างจากคนอื่นๆ ที่ถ้าไม่ใช่เพราะเป็นทหารหรือใครที่สมยอมกับการรัฐประหารปี 2549 แล้ว ก็เป็นช่างเทคนิคทางด้านการสื่อสาร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ผู้หญิงท่านหนึ่งตั้งคำถามว่า "ไม่รู้อาจารย์ผู้ชายทนสอนหนังสือต่อหน้านักศึกษานุ่งสั้นที่นั่งเปิดหวอหน้าห้องเรียนได้อย่างไร" สำหรับผม ก็แค่เห็นนักศึกษาเป็นลูกเป็นหลานก็เท่านั้น แต่สิ่งยั่วยวนในโลกทางวิชาการมีมากกว่านั้นเยอะ และบางทีจะยิ่งหลบเลี่ยงยากยิ่งกว่าการสร้าง incest taboo ในจินตนาการขึ้นมาหน้าห้องเรียน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักเรียนมนุษยศาสตร์จำนวนมากสนใจวิธีการและทฤษฎีทางสังคมศาสตร์ แต่นักสังคมศาสตร์เขาตั้งท่าทำวิจัยกันอย่างไร แล้วหากนักมนุษยศาสตร์จะใช้วิธีการและทฤษฎีแบบสังคมศาสตร์บ้างจะทำอย่างไร