Skip to main content

จะว่าไป กสทช. คนที่แสดงความเห็นต่อเนื้อหาละครฮอร์โมนนั้น ดูน่าจะเป็นคนที่สามารถวิเคราะห์ เข้าใจสังคมได้มากที่สุดในบรรดา กสทช. ทั้ง 11 คน เพราะเขามีดีกรีถึงปริญญาเอกทางสังคมวิทยาจากมหาวิทยาลัยโด่งดังในเยอรมนี ต่างจากคนอื่นๆ ที่ถ้าไม่ใช่เพราะเป็นทหารหรือใครที่สมยอมกับการรัฐประหารปี 2549 แล้ว ก็เป็นช่างเทคนิคทางด้านการสื่อสาร

นอกจากนั้น เขาผู้นี้ยังมีประวัติในการแสดงความเห็นทางการเมืองในเชิงวิพากษ์ต่อการสลายการชุมนุมทางการเมืองของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ในปี 2553 ถึงขนาดที่ว่า นักวิชาการหัวก้าวหน้ายังต้องทึ่งในการมีท่าทีแบบทหารประชาธิปไตยของเขามาแล้ว

แต่แล้วเขากลับเลือกที่จะเล่นการเมืองวัฒนธรรมแบบ "คุณพ่อรู้ดี" ทั้งที่เขาไม่ได้รู้ดีไปกว่าใครๆ เลย ดีกรีปริญญาเอกทางสังคมวิทยาจากเมืองนอกแบบเขาน่ะมีเกลื่อนไป ไม่ใช่ว่าเขาคนนี้จะรู้จักวิเคราะห์สังคมได้ดีไปกว่าคนทั่วไปเสียเมื่อไหร่ แต่เขาเลือกที่จะใช้มาตรวัดทางศีลธรรมแคบๆ ไปกำหนดความเป็นไปของสังคมข่าวสารที่ผู้คนเขาสามารถตัดสินได้เอง 

เช่นที่เขาว่า "เป็นเรื่องของการบริหารควบคุมความเหมาะสมในสังคม" ก็ใช่ว่าเขาคนนี้จะรู้ดีกว่าคนอื่นว่าอะไรเหมาะสมกับสังคมนี้ที่ตรงไหน หรือที่ว่า "ชวนให้ผู้รับชมคิดและจินตนาการในทางที่ไม่ดีได้ เช่น ฉากการมีเพศสัมพันธ์ทั้งที่ยังสวมชุดนักเรียนอยู่" ก็ใช่ว่าเขาจะแสดงความเข้าใจสถานะของเครื่องแบบนักเรียนในสังคมปัจจุบันเสียเมื่อไหร่ รู้หรือไม่ว่าเดี๋ยวนี้เครื่องแบบนักเรียนนักศึกษาน่ะกลายเป็นสื่อยั่วยุกามารมณ์ไปแล้ว 

แล้ว "การทำแท้ง หรือการไปหาซื้อยาคุมมาใช้เอง" ก็ใช่ว่าจะเป็นเรื่องผิดเสียหายไปเสียทุกกรณี สังคมเขาถกเถียงกันไปถึงไหนต่อไหนแล้วว่า การทำแท้งต้องพิจารณาด้วยกรอบที่กว้างกว่าแค่ความผิดบาปไปเสียทุกกรณี แต่ถึงเขาคนนี้จะระบุว่า เขาต่อต้านการคุมกำเนิด และไม่เคยใช้การคุมกำเนิด ก็เป็นเรื่องของคุณ ไม่ใช่เรื่องที่คุณจะมาใช้มาตรฐานทางศีลธรรมส่วนตนเที่ยวไปตัดสินคนอื่นอย่างง่ายๆ เช่นนั้น

เรารู้กันดีอยู่ว่าสังคมนี้มีอะไรเลวร้ายอยู่บ้าง มีอะไรอุจาดมากมายที่เรารู้ๆ กันอยู่แต่ไม่มีใครกล้าจัดการ เช่นว่า เราก็รู้ๆ กันอยู่ว่าชีวิตทางครอบครัวของครอบครัวบางครอบครัวไม่ได้สวยหรูดีงามจนถึงขั้นล้มเหลว แต่เราก็ยังพยายามช่วยกันสร้างภาพหลอกตัวเองเพื่อกราบไหว้ กสทช. ท่านนี้จะกล้าเสนอตัวมาแก้ไขความเลวร้ายนี้หรือเปล่า คุณไม่กล้าหรอก เพราะคุณกล้าดีแต่กับผู้ที่ด้อยอำนาจกว่าคุณเท่านั้นแหละ

แบบแผนและสไตล์ชีวิตที่หลากหลายของการกิน ขี้ ปี้ เยี่ยว เป็นวัฒนธรรมสามัญ มีอยู่เป็นปกติ ทำกันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน หากสังคมไทยจะมีโอกาสได้ทำความเข้าใจ ได้ถกเถียง ได้พิจารณากัน ในที่สาธารณะบ้าง อย่างใกล้เคียงความจริงบ้าง ว่าแบบไหนเหมาะสม แบบไหนพอรับได้ แค่ไหน อย่างไร สังคมไทยก็พร้อมที่จะรับมือกับมันได้

ในเมื่อคุณก็ไม่ได้กล้าหาญทางศีลธรรมมากไปกว่าคนอื่นเขา ไม่ได้รู้ดีกว่าใครเขา ไม่ได้เป็นคนดีเหนือใครเขา แล้วจะมาตัดสินสิ่งที่สังคมเขาตัดสินเองได้ได้อย่างไร หรือถ้ารู้ดีจริง เป็นคนดีเหนือคนอื่นเขาจริง ก็ไม่ใช่เรื่องที่คุณคนเดียวจะมากำกับว่าอะไรควรดูอะไรไม่ควรดู นอกเสียจากว่าคุณอยากจะเป็นผู้เผด็จการทางวัฒนธรรม

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำสำคัญ: sensory subjectivity, sensory categories, sensory bias, sensory ethnocentrism, sensory colonization (อธิบายไว้ท้ายข้อเขียน) คนทำเรื่องอาหารข้ามถิ่น ไม่ต่างจากการทำงานทางมานุษยวิทยา ที่ต้องตระหนักถึงการ ไม่นำเอา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ถ้าคุณไม่สามารถเรียนรู้อะไรใหม่ๆ ได้แล้ว ก็โปรดอย่าถ่วงรั้งการเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่เลย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปาฐกถาในเวทีเสวนา “50 ปี 14 ตุลาฯ ยังตามหารัฐธรรมนูญใหม่” จัดโดยสมัชชาคนจน วันที่ 14 ตุลาคม 2566
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อ 24 กค. 65 ผู้จัดการแสดง #ฮิญาบ2022  ชวนผมไปดูการแสดงของคุณฟารีดา จิราพันธ์ ที่กาลิเลโอเอซิส แล้วผู้จัดจะชวนผมสนทนาหลังละคร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะเพื่อนร่วมวิชาชีพวิชาการ ในฐานะผู้ปกครองนักศึกษาคณะวิจิตรศิลป์ และในฐานะคนรักศิลปะ ผมเขียนจดหมายนี้เพื่อตั้งคำถามต่อการที่ผู้บริหารคณะวิจิตรศิลป์จะตรวจสอบผลงานก่อการอนุญาตให้จัดแสดงผลงานของนักศึกษาภาควิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นคนพูดถึงตัวละครในซีรีย์เกาหลีเอ่ยถึงจอร์จ บาไตล์ ในรูปนั่นน่ะครับ เป็นคอลเล็กชันจอร์จ บาไตล์บนชั้นหนังสือผมแบบเบาๆ ผมเก็บไว้ร่วม 20 ปีแล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายคนคงรู้ว่าวันนี้เป็นวันชาติเวียดนาม แต่น้อยคนคงรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นในวันนี้กันแน่ แล้ววันนี้ในอดีตถูกกำหนดเป็นวันขาติจากเหตุการณ์ปีใด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จนถึงวันนี้ การต่อสู้ของประชาชนในขบวนการ “คณะราษฎร 63” ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า พลังของแสงดาวได้สร้างสรรค์สังคมไทยอย่างไร 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การที่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาได้ออกมาแสดงความเห็นว่ามีการสร้างกระแสกดดันศาลต่างๆ นานา (ดู https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/2081366) มองในแง่ดี ผมคิดว่านี่คือการออกมาอธิบายกับสังคมอีกครั้งของผู้มีอำนาจในกระบวนการยุติธรรมอย่างชัดแจ้ง หลังจากที่มีการชี้แจงถึงเหตุผลการไม่ปล่อยตัวผู้ต้องหาคดีการเมืองโดยโฆษกศาลและโฆษกกระทรวงยุติธรรมก่อนหน้านี้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อะไรที่ทำให้ดนตรีมีสถานะในการทำร้ายกันได้บ้าง ผมว่าอย่างน้อยที่สุดต้องเข้าใจก่อนว่า ดนตรีไม่ใช่แค่เสียง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
พอดีนั่งฟังเพื่อนนักวิชาการอ่านหนังสือ "กบฏชาวนา" ของรานาจิต คูฮา (1982) มาคุยให้ฟัง (แปลโดย ปรีดี หงษ์สต้น) ในเพจของสำนักพิมพ์ Illumination Editions เลยคิดถึงบันทึกที่เคยเขียนถึงหนังสือของ ดิเพช จักรบาร์ตี เรื่อง Provincializing Europe (2000)
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรื่อง ถามถึงมโนธรรมสำนึกในความเป็นครูบาอาจารย์ของอาจารย์เอนก เหล่าธรรมทัศน์