Skip to main content

ผมเคยนั่งในพิธีรับปริญญาบัตรในฐานะผู้รับและในมุมมองของผู้ให้มาแล้ว แต่ไม่เคยได้นั่งในพิธีในฐานะผู้สังเกตการณ์จากบนเวทีแบบเมื่อครั้งที่ผ่านมานี้มาก่อน

ในปีนี้ ผมเข้าร่วมพิธีด้วยความเต็มใจและปิติยินดียิ่ง หากไม่ใช่ผู้ที่เคารพนับถือจริงๆ คงไม่ไปนั่งร่วมแสดงความยินดี ที่จริงมีผู้รับปริญญากิตติมศักดิ์อีกท่านหนึ่งที่ผมเคารพเข้ารับปริญญาด้วย ผมก็เลยถือเป็นโชคสองชั้นที่ได้เข้าร่วมเป็นเกียรติแด่ทั้งสองท่าน พร้อมๆ กับปลาบปลื้มใจที่นักศึกษาสำเร็จการศึกษา โชคดีที่นักศึกษาคณะผมนั่งด้านหน้าเวทีเลย จึงได้เห็นพวกเขาจากมุมที่ผมนั่งชัดเจน

พิธีกรรมจากมุมมองบนเวทีดูแปลกตาไปจากที่เคยเข้าร่วมพอสมควร ผมเคยอ่านรายชื่อผู้เข้ารับปริญญาระดับบัณฑิตศึกษา แต่ในพิธีที่มีเฉพาะรูปของประธานในพิธีนั้น ไม่น่าเกรงขามมากเท่ากับการที่ประธานส่งผู้แทนที่มีฐานะสูงพอๆ กันมาแทน 

ในมุมของผู้เข้าร่วมเมื่อวันก่อน ที่แปลกคือ ผมกลับรู้สึกได้ถึง "ความเป็นมนุษย์" ของเหล่าผู้คนบนเวทีได้มากกว่าเมื่อนั่งอยู่ในฐานะอื่นๆ คงเพราะเป็น "พยาน" ในพิธี ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง ความอลังการของพิธีจึงดูลดน้อยลงไปมาก ผมจึงไม่ต้องกลัวทำอะไรผิด สามารถลุกขึ้น เดินเข้าออก หรือหลบออกไปจากพิธี และงีบหลับ (โดยสำรวม) ได้อย่างค่อนข้างสะดวก หลังเก้าอี้ประธาน 

ผมจึงได้เห็นด้านที่ "เป็นคน" ของผู้เข้าร่วมพิธีกรรมด้วย เช่น มีจังหวะหนึ่งที่บนเวทีตื่นเต้นกันพอสมควรที่ประธานสะดุดพื้น ทำให้เห็นว่า แม้การควบคุมอย่างเข้มงวดเหล่านี้ ก็ยังมีโอกาสที่ "คน" จะพลาดพลั้ง ผิดบทได้เช่นกัน แต่ในบริบทนั้น "คน" ก็พยายามปรับให้พิธีกรรมดำเนินไปตามสคริปที่วางไว้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

นี่กระมังที่การเป็นผู้สังเกตการณ์ เป็นคนนอกที่เข้าร่วม จะทำให้เห็นอะไรแปลกตาไป ผมเห็นปฏิบัติการของการประกอบสร้างพิธีกรรมในฐานะ "การแสดง" ชัดเจนขึ้น การแสดงนี้ประกอบสร้างด้วยเครื่องแต่งกาย ด้วยการจัดลำดับเวลา ด้วยการควบคุมการเคลื่อนไหว ด้วยการกำหนดจังหวะของพิธีกรรม ด้วยมารยาทระหว่างกัน สิ่งเหล่านี้ควบคุมทุกคน ตั้งแต่ผู้รับปริญญาจนถึงประธานในพิธี

แต่อีกด้านที่ย้อนแย้งกันคือ การรับปริญญาในปัจจุบันดำเนินไปอย่าง "เป็นอุตสาหกรรม" มากๆ มากเสียจนสะท้อนการปั๊มปริญญาบัตร สะท้อนอุตสาหกรรมการศึกษาที่ดำเนินไปในปัจจุบัน กลไกการรับปริญญาในปัจจุบันรวดเร็วมาก เป็นจังหวะของโรงงานที่ต้องผลิตตามสายพานมากกว่าจังหวะของพิธีกรรม มากจนผมคิดว่าพิธีรับปริญญาเป็นอุตสาหกรรมความศักดิ์สิทธิ์ที่มาช่วยฉาบเคลือบอุตสาหกรรมการศึกษา

นอกจากนั้น ไม่เพียงผู้รับปริญญาในพิธีจะได้รับการยกระดับทางสังคมด้วยความศักดิ์สิทธิ์ที่แยกผู้รับปริญญาออกจากผู้ไม่ได้รับปริญญา แต่ผู้มอบปริญญาก็ได้รับการเสริมสร้างความศักดิ์สิทธิ์ด้วยเช่นกัน เรื่องเล่าขาน ความพลาดพลั้ง ความเป็นมนุษย์ ถูกลบกลบเกลื่อนไปในพิธีกรรม

หากยังไม่สามารถเปลี่ยนรูปแบบพิธีกรรมได้ ผมหวังว่าผู้ให้ความรู้จะทำให้ความรู้และกระบวนการเรียนรู้มีค่าในตัวของมันเองเหนือพิธีรับปริญญา และหวังว่าผู้เรียนรู้จะเห็นค่าของความรู้และกระบวนการเรียนรู้เหนือปริญญาและพิธีกรรมที่พวกคุณเข้าร่วมและผ่านพ้นมา

 

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปาฐกถาในเวทีเสวนา “50 ปี 14 ตุลาฯ ยังตามหารัฐธรรมนูญใหม่” จัดโดยสมัชชาคนจน วันที่ 14 ตุลาคม 2566
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อ 24 กค. 65 ผู้จัดการแสดง #ฮิญาบ2022  ชวนผมไปดูการแสดงของคุณฟารีดา จิราพันธ์ ที่กาลิเลโอเอซิส แล้วผู้จัดจะชวนผมสนทนาหลังละคร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะเพื่อนร่วมวิชาชีพวิชาการ ในฐานะผู้ปกครองนักศึกษาคณะวิจิตรศิลป์ และในฐานะคนรักศิลปะ ผมเขียนจดหมายนี้เพื่อตั้งคำถามต่อการที่ผู้บริหารคณะวิจิตรศิลป์จะตรวจสอบผลงานก่อการอนุญาตให้จัดแสดงผลงานของนักศึกษาภาควิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นคนพูดถึงตัวละครในซีรีย์เกาหลีเอ่ยถึงจอร์จ บาไตล์ ในรูปนั่นน่ะครับ เป็นคอลเล็กชันจอร์จ บาไตล์บนชั้นหนังสือผมแบบเบาๆ ผมเก็บไว้ร่วม 20 ปีแล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายคนคงรู้ว่าวันนี้เป็นวันชาติเวียดนาม แต่น้อยคนคงรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นในวันนี้กันแน่ แล้ววันนี้ในอดีตถูกกำหนดเป็นวันขาติจากเหตุการณ์ปีใด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จนถึงวันนี้ การต่อสู้ของประชาชนในขบวนการ “คณะราษฎร 63” ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า พลังของแสงดาวได้สร้างสรรค์สังคมไทยอย่างไร 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การที่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาได้ออกมาแสดงความเห็นว่ามีการสร้างกระแสกดดันศาลต่างๆ นานา (ดู https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/2081366) มองในแง่ดี ผมคิดว่านี่คือการออกมาอธิบายกับสังคมอีกครั้งของผู้มีอำนาจในกระบวนการยุติธรรมอย่างชัดแจ้ง หลังจากที่มีการชี้แจงถึงเหตุผลการไม่ปล่อยตัวผู้ต้องหาคดีการเมืองโดยโฆษกศาลและโฆษกกระทรวงยุติธรรมก่อนหน้านี้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อะไรที่ทำให้ดนตรีมีสถานะในการทำร้ายกันได้บ้าง ผมว่าอย่างน้อยที่สุดต้องเข้าใจก่อนว่า ดนตรีไม่ใช่แค่เสียง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
พอดีนั่งฟังเพื่อนนักวิชาการอ่านหนังสือ "กบฏชาวนา" ของรานาจิต คูฮา (1982) มาคุยให้ฟัง (แปลโดย ปรีดี หงษ์สต้น) ในเพจของสำนักพิมพ์ Illumination Editions เลยคิดถึงบันทึกที่เคยเขียนถึงหนังสือของ ดิเพช จักรบาร์ตี เรื่อง Provincializing Europe (2000)
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรื่อง ถามถึงมโนธรรมสำนึกในความเป็นครูบาอาจารย์ของอาจารย์เอนก เหล่าธรรมทัศน์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะล่าสุดของอาจารย์ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ต่อการชุมนุม 16 ตค. 63 ย้อนแย้งกับสมัยที่อาจารย์ให้ความเห็นต่อการชุมนุม กปปส. ในขณะนั้นอาจารย์อธิบายยืดยาวว่าการชุมนุมของ กปปส. ใช้สันติวิธี
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอให้อาจารย์หยุดใช้ถ้อยคำสร้างความเกลียดชังในสังคม