Skip to main content

ยุกติ มุกดาวิจิตร

 


"แบบเกรียนภาษา" เป็นปรากฏการณ์ในเฟซบุกไทยที่ผมว่าน่าติดตามอย่างยิ่งในขณะนี้ ผมขอตั้งข้อสังเกตบางประการคือ

(1) แต่ละสำนักเกรียนล้อเลียนภาษาด้วยวิธีการต่างกัน เรียกว่าวิธีวิทยาของการเกรียนของแต่ละสำนักมีแนวทางเฉพาะตัว เช่น
- "ษม่ค่ล์มนิ๋ญฒสก๊อย" เล่นกับการสะกดรุงรังโบราณ
- "พจนานุเกรียน" ให้อรรถาธิบายคำศัพท์วันรุ่น
- "มามี มานะ ล้อเลียน" วิพากษ์อุดมการณ์รัฐที่สอดแทรกในแบบเรียน
- "ตะละแม่ป๊อบคัลเจอร์" เอาคำศัพท์วันรุ่นมาล้อภาษารุงรังโบราณ
ความเฉพาะตนที่ว่า แสดงให้เห็นถึงความคิดสร้างสรรค์ของคนรุ่นใหม่บนพื้นที่ออนไลน์ได้อย่างดี

(2) แต่ละสำนักได้รับความสนใจมาก กรณีสมาคมนิยมสก๊อยก็เคยมีคนสนใจไปกดไลท์นับหมื่นในเวลาเพียงไม่กี่วัน ส่วนตะละแม่ฯ ก็ทำปรากฏการณ์สร้างความนิยมในชั่วข้ามสัปดาห์ที่มีคนไลท์ถึงหลักหมื่นในระยะเวลาไม่นาน ส่วนมานี มานะ ก็มีคนเล่น แชร์ และสร้างใหม่ต่อไปเรื่อยๆ 

ถ้าเป็นจริงที่ว่าผู้เล่นเฟซบุกส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นใหม่ อายุน้อย และอาศัยในเขตเมือง นี่แสดงให้เห็นว่าภาษาเป็นสิ่งที่คนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญอย่างยิ่ง พวกเขาตื่นตัวกับภาษาอย่างยิ่ง เพียงแต่พวกเขาไม่ได้ให้ความสำคัญกับภาษาแบบอนุรักษ์ แต่พวกเขาให้ความสำคัญกับการทำให้ภาษามีวิวัฒนาการ มีการสร้างสรรค์

(3) การตื่นตัวกับภาษาไม่เพียงเป็นภาษาพูด แต่คนในเฟซบุกตื่นตัวกับภาษาเขียน ทุกเพจที่โด่งดังขึ้นมาล้วนใช้ภาษาเขียน เกี่ยวพันกับภาษาเขียน เล่นกับภาษาเขียน 

กรณีสมาคมฯ ชัดเจนว่าเขาเล่นกับตัวอักษร จากบทสัมภาษณ์ (ที่ผมเลือกจะเชื่อว่าเป็นแอดมินตัวจริง) เจ้าของเพจพูดถึงความไร้สาระของอักษรไทย ที่มีการสะกดที่รุงรังยุ่งเหยิง ไม่ว่าเราจะเห็นด้วยกับเธอหรือไม่ นี่ก็เป็นทัศนะที่เคยมีผู้นำการเมืองไทยเห็นด้วยมาแล้ว เคยมีนักปราชญ์ภาษาไทยเสนออะไรทำนองนี้มาแล้ว 

ส่วนตะละแม่ฯ นั้น เห็นได้ชัดว่าเล่นกับภาษาเขียน ด้วยการแปลงภาษาวัยรุ่นเป็นภาษาเขียน "โบราณ" ให้ดูเป็นภาษาภาษาวรรณกรรมโบราณ คนรุ่นเก่าจำนวนมากอาจไม่สนุกด้วย แต่คนรุ่นใหม่เขาสนุกมาก ผมเคยเข้าไปติดตามการเล่นของพวกเขา ที่สนุกคือเมื่อตะละแม่ฯ โพสต์มา แฟนๆ ก็จะไปแข่งกันทายว่าที่ตะละแม่ฯ เขียนมาหมายถึงวลีหรือคำวัยรุ่นคำไหน วลีไหน บางคนเร็วมากจนคนอื่นยกย่อง กดไลท์ให้เป็นร้อยในไม่กี่นาที

มานี มานะ เล่นกับการเขียน เล่นกับภาษาเด็กประถม เล่นกับคำไม่กี่คำ เป็นภาษาเขียนล้อเลียนที่มีพลังมากสำหรับผม ประกอบกับภาพเขียนแนวตำราเรียน (ที่มีคนกรุณาให้ความรู้ในเฟซบุกว่าเป็นลายเส้นสไตล์ของเตรียม ชาชุมพร)

ส่วนพจนานุเกรียน อาจดูเป็นภาษาพูด แต่ผมคิดว่าส่วนใหญ่เขาได้มาจากภาษาในโลกอินเทอร์เน็ต โลกอินเทอร์เน็ตไทยสร้างภาษาเขียนมากมาย เช่นคำว่าเกรียน คำว่าวทน. คำว่า เมพขิงๆ คำว่า จังเบย หรือวลีว่า ดงบังวงแตก ก็มาจากโลกอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นโลกของภาษาเขียน

นี่แสดงว่า การเขียนและการอ่านกลับมาหรือยังมีความสำคัญกับโลกยุคปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง ปรากฏการณ์นี้น่าจะยังอยู่กับเราตราบเท่าที่โลกดิจิทัลยังไม่สามารถ "เร็ว" และกินเนื้อที่ข้อมูลได้มากกว่าโลกของการเขียน

(4) หากใครมองว่าเฟซบุกไม่สร้างสรรค์ ทำลายการคิดค้นอะไรใหม่ๆ คนพวกนั้นคงยังต่อสู้แต่ในเวทีของการเมืองเปิดหน้า การเมืองแบบทางการ การเมืองแบบพลิกผันข้ามคืน การเมืองแบบการการปฏิวัติ และพวกเขาก็ล้าหลังกับกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและสังคมหลังยุคการปฏิวัติ ที่มักค่อยๆ เปลี่ยนอย่่างค่อยเป็นค่อยไป

แบบเกรียนภาษาเหล่านี้จึงไม่ได้เกรียนกันเล่นๆ แม้พวกเขาไม่ได้คิดถึงสิ่งที่ผมเพ้อเจ้อมาข้างต้นอย่างเป็นระบบ แต่นัยของผลงานทางวัฒนธรรมของพวกเขามีความหมายทางสังคมที่ยิ่งใหญ่จริงๆ ขอให้เกรียนกับต่อไป

ปัจฉิมลิขิต:  ขอแซวตะละแม่ฯ หน่อยครับว่า อ่านจากบทสัมภาษณ์ในประชาไท สงสัยตะละแม่ทั้งสามยังอ่าน "ความเป็นมาฯ" ของจิตร ภูมิศักดิ์ไม่จบ จึงยังเข้าใจความหมาย "ไท" ที่ไม่มี ย แบบชาตินิยมอยู่ และถ้าตะละแม่รู้ภาษาไท/ไตหรือลาวบ้าง คงรู้ว่าความหมายของคำว่าไท ไม่ได้แปลว่า อิสระ อย่างที่เราถูกสอนกันมาครับ ^ ^ และ... (ยังมีคำอธิบายต่อ แต่ขี้เกียจเขียนแล้ว)

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง: จำนรรจา นารีหลุดกาล: คุยกับแอดมิน "ตะละแม่ป๊อปคัลเจอร์"

เผยแพร่ครั้งแรกใน: https://www.facebook.com/yukti.mukdawijitra/posts/403352889731055

 

 

 

 

 

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (4 ตุลาคม 2560) นิสิตมหาวิทยาลัยหนึ่งโทรศัพท์มาสัมภาษณ์เรื่องการพิมพ์คำ "คะ" "ค่ะ" ผิดๆ ในโซเชียลมีเดียและการส่งข้อความต่างๆ บอกว่าจะเอาไปลงวารสารของคณะเธอ เธอถามว่าการใช้คำผิดแบบนี้มีนัยทางสังคมอย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อคืนวาน (30 กันยายน 2560) นักศึกษาปริญญาโทชั้นเรียนมานุษยวิยาคนหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้เขียนบทละครเรื่อง "The Dark Fairy Tales นิทานเรื่องนี้ไม่เคยเล่า" ชวนไปดูและร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นหลังละครจบ ช่วยให้คิดอะไรเกี่ยวกับการอ่านนิทานได้อีกมากทีเดียวจึงอยากบันทึกไว้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การสนทนาอย่างออกรสไม่ได้จะต้องอยู่ในบรรยากาศเคร่งขรึมในห้องเรียน ห้องสัมมนาเสมอไป ด้วยเหตุนี้ผมจึงเชื่อว่า การใช้เวลานอกห้องเรียน นอกห้องสัมมนาวิชาการ สำคัญไม่น้อยไปกว่าการใช้เวลาในห้องสี่เหลี่ยมที่มีระเบียบต่างๆ ควบคุมการสนทนาอย่างเคร่งครัดเกินไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จากเหตุการณ์เข้ามาคุกคามพื้นที่ทางวิชาการของคณะทหารในการประชุมไทยศึกษานานาชาติครั้งที่ 13 ที่เชียงใหม่ จนทำให้นักวิชาการที่มาร่วมประชุมกลุ่มหนึ่งแสดงออกด้วยการชูป้าย "เวทีวิชาการไม่ใช่ค่ายทหาร" แล้วท้ายสุดมีนักวิชาการ 5 คนถูกตั้งข้อหาว่าเป็นคนนอกเข้ามายุยงให้ต่อต้านรัฐบาล
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันแม่นำความกระอักกระอ่วนใจมาให้ผมตั้งแต่ยังเด็ก เพราะแม่ในเพลง "ค่าน้ำนม" ที่เด็กในกรุงเทพฯ รุ่นผมถูกให้หัดร้องตามจนแทบจะจำเนื้อได้ทั้งเพลงมาตั้งแต่จำความได้ ไม่ตรงกับแม่ในชีวิตจริงของผม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะอาจารย์มหาวิทยาลัยคนหนึ่ง ผมไม่อาจยอมรับการกระทำของอาจารย์ต่อนิสิตด้วยความรุนแรงดังที่เกิดขึ้นที่มหาวิทยาลัยอันทรงเกียรติแห่งหนึ่งได้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้เกิดความผิดพลาดบางอย่างทำให้บทแนะนำอาจารย์แคทเธอรีน บาววี องค์ปาฐกคนหนึ่งของงานประชุมไทยศึกษาปีนี้ที่จังหวัดเชียงใหม่ ไม่ได้ถูกนำเสนอในงานประชุม ในเมื่อผมเตรียมไปพูดแล้วแต่ไม่ได้พูด ก็ขอนำบันทึกที่ร่างไว้นี้มาเผยแพร่ในที่นี้แทนก็แล้วกัน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"ฟ้าข้างในนี้กว้างกว่าข้างนอก ฟ้าในนี้กว้างจนแทบจะเห็นขอบฟ้า"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงนี้คงเป็นช่วงเขียนรายงาน เขียนวิทยานิพนธ์ของหลายๆ คน ผมเองช่วงนี้เป็นช่วงต้องอ่านงานนักศึกษามากมาย ที่สาหัสที่สุดคืองานวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาโทและเอก 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมอ่านงานจิตรครั้งแรกๆ ก็ตอนที่เรียนมหาวิทยาลัยระดับปริญญาตรี ตอนนั้นเมื่อออกจากโลกโรงเรียนก็รู้สึกว่า โลกหนังสือของห้องสมุดธรรมศาสตร์ช่างกว้างใหญ่มาก กว้างใหญ่กว่าห้องสมุดแห่งชาติที่สมัยเรียนมัธยมผมชอบไปสิงอยู่มากนัก นี่กล่าวเฉพาะหนังสือที่น่าอ่านเกี่ยวกับสังคม วัฒนธรรม ปรัชญา และศาสนา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (3 พค. 60) ผมไปวิจารณ์งานนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยซึ่งคณะราษฎรมีส่วนก่อตั้งเช่นกัน แต่สำคัญผิดกันไปว่าผู้อื่นมีบุญคุณมากกว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บางทีนามสกุลกับบทบาทความเป็นครูของครูฉลบชลัยย์ พลางกูร คงไม่ทำให้คนสนใจครูฉลบเกินบทบาทไปกว่าการเป็นภรรยาของนายจำกัด พลางกูร และเป็นผู้ให้กำเนิดโรงเรียนดรุโณทยาน