Skip to main content

โดยบังเอิญ ผมไปถึงกัมพูชาในวันแรม 15 ค่ำ ซึ่งเป็นวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ พอดี

แต่ไม่ว่าจะเกิดเหตุนี้ขึ้นหรือไม่ ผมก็เห็นปราสาทหินในกัมพูชาเป็นโลกเพ้อฝัน ความงามของปราสาทอยู่คนละภพภูมิกันกับผู้คนที่รองฐานปราสาทอยู่ มองอย่างนี้มานานก่อนที่จะมีโอกาสได้มาเยือน และยิ่งได้มาเยือนแล้วก็ยิ่งตอกย้ำความเชื่อเดิมยิ่งขึ้นไปอีก

ความโดดเด่นแตกต่างของปราสาทแต่ละหลัง ดูจะสะท้อนความแก่งแย่งชิงดีกันของกษัตริย์แต่ละยุคสมัย เหมือนกษัตริย์แต่ละพระองค์ต่างก็ต้องการสร้างอาณาจักรของตนเอง ทั้งที่แต่ละพระองค์ครอบครองและสืบทอดอำนาจได้เพียงระยะเวลาสั้นๆ 

พื้นที่แหว่งวิ่นไม่สืบเนื่องกันของประเทศกัมพูชา และพื้นที่รายรอบที่กินเข้ามาถึงลาว ไทย และส่วนใต้ของเวียดนาม เป็นเวทีของการประชันขันแข่งกันบนหยาดเหงื่อแรงงานของผู้คน กษัตริย์พระองค์หนึ่งสร้างปราสาทเพื่อบูชาลัทธิของตนเอง เมื่อเปลี่ยนมาอีกพระองค์หนึ่ง ก็ทุบทำลายปราสาทก่อนเก่า แล้วสร้างปราสาทบูชาลัทธิธรรมเนียมของตนเองขึ้นใหม่

ในปัจจุบัน แม้ชาวกัมพูชาจะสามารถเข้าเยี่ยมชมปราสาทเหล่านี้ได้ แต่ไม่ว่าชาวกัมพูชาจะรับรู้ถึงความงามและประวัติศาสตร์ของปราสาทเหล่านี้จากแง่มุมใด ก็ไม่รู้ว่าจะต้องรออีกนานเท่าใดที่ความยิ่งใหญ่ตระการตาของปราสาทจึงจะช่วยให้ชาวกัมพูชาเงยหน้าอ้าปากขึ้นมาได้ 

แน่นอนว่าเราไม่ควรลดทอนคุณค่าทางศิลปะและความสามารถในการบริหารจัดการงานอนุรักษ์ ด้วยความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่ยังคงอยู่ เพราะไม่เช่นนั้นเราอาจต้องคิดว่าในประเทศที่บริหารงานอนุรักษ์อย่างย่ำแย่อย่างตอแหลแลนด์ ก็น่าจะมีสังคมที่ลดความเหลื่อมล้ำได้ดีกว่า 

แต่อุตสาหกรรมการเดินย่ำปราสาท ที่น่าจะนำรายได้เป็นอันดับต้นๆ ให้กับกัมพูชา ก็ยังดูห่างไกลจากการเป็นแหล่งรายได้ที่กระจายลงไปสู่ประชาชนทั่วไป

ถึงอย่างนั้นก็เถอะ ดูเหมือนวันนี้ กัมพูชาก็คงมีเพียงปราสาทหินเหล่านี้นี่แหละ ที่พอจะช่วยจะกอบกู้ชีวิตผู้คนหลังการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์และการรอดพ้นอย่างพิกลพิการจากกับระเบิดที่ไม่มีวันกู้หมดได้ เรื่องราวของคนเหล่านั้นยังพัวพันใกล้ชิดกับชาวกัมพูชาสามัญ แต่นักท่องปราสาทสักกี่คนกันที่จะอยากฟังเรื่องน่าสะอิดสะเอียนสยอง "กบาล" (ภาษาขแมร์) เหล่านี้

ในชนบทที่ห่างออกไปจากตัวเมืองเสียมเรียบไม่เกิน 20 กิโลเมตร เรายังสามารถเห็นเกวียนเทียมวัวควายล้อไม้ ครกกระเดื่องตำข้าว พร้อมใช้งานอยู่ใต้ถุนเรือนไม้จริง ไม้ไผ่ มุงกระเบื้องบ้างมุงจากบ้าง ขนาดกระทัดรัดวางบนเสาสูงชลูด เรือนเหล่านี้ปลูกสลับท้องนาและบึงน้ำ กอตาล ป่าหมาก ต้นมะพร้าว และวัวควาย ยังคงเป็นสิ่งมีชีวิตที่ถูกกินถูกใช้อยู่ทั่วไป ก็มีบ้างเช่นกันที่จะเห็นเรือนที่ดูดีมีฐานะหลังใหม่ๆ 

จักรยานถีบและรถจักรยานยนต์ยังคงครองท้องถนนที่อยู่นอกพื้นที่การท่องเที่ยว รถยนต์และน้ำมันเติมรถยังราคาแพง พาหนะสาธารณะในเมืองเสียมเรียบขนาดกระทัดรัดดูเหมือนจะมีเพียงรถจักรยานยนต์พ่วงที่นั่งเก๋ง แลดูคล้ายรถสกายแล็ปในลาวหรือหนองคาย แต่มีการตกแต่งในแบบเฉพาะของที่นี่เอง ด้วยลูกกรงไม้กลึง แลดูคล้ายที่นั่งบนหลังช้าง 

ชาวกัมพูขาเล่าว่า ด้วยน้ำมันราคาลิตรละกว่า 50 บาท และราคารถยนต์ที่แพงกว่าเมืองไทยอีก 30% สามัญชนกัมพูชาที่ไหนจะสามารถมีรถใช้อย่างดาดดื่นได้ ขณะที่รถโดยสารสาธารณะระหว่างเมืองก็ยังไม่เป็นระบบนัก

แต่หากจะขอใช้คำพูดแบบดาดๆ แล้ว ผู้คนก็ยังต้องปากกัดตีนถีบต่อไป ชีวิตในตลาดสด (ที่ได้รับการเจียดเวลาให้ 20 นาที เพราะนี่เป็นทริปชมปราสาท ไม่ใช่ทริปเที่ยวตลาด หุหุ) เป็นโลกแทบจะคนละใบกับชีวิตในปราสาทหิน 

กลิ่นปลาร้าหมัก ดินเฉอะแฉะ เลือดปลาสดๆ สาดกระเด็นไปทั่ว หัว-ไส้-หู-ตับ-ไต-ตาหมู วัวบนโต๊ะบุอลูมิเนียม เด็กนอนเดียวดาย คนขายผักที่เคยไปใช้ชีวิตขายแรงงานในเมืองไทย อาหารคุ้นตาคุ้นกลิ่น แต่ไม่มีเวลาพอได้ชิมรส ไก่บ้านเป็ดบ้านตัวแกร็นๆ...

นี่คือข้อสังเกตอีกด้านในวันข้างขึ้นไม่กี่ค่ำของเมืองปราสาทหิน ในช่วงเวลาที่แสงเดือนเสี้ยวส่องสว่างให้เห็นได้เพียงเงาสลัวของเรือนร่างอวบอัดและรอยยิ้มพิมพ์ใจของนางอัปสร

 
 

 

 
 
 
 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
อย่างที่บอกคือ ผมไม่ใช่คนเชี่ยวชาญเกาหลี จะเล่าเรื่องเกาหลีก็จะต้องมีผิดมีพลาดบ้าง เพียงแต่อยากบันทึกเก็บไว้ แล้วแบ่งปันบ้าง เผื่อใครสนใจหรือช่วยเติมต่อความรู้ อีกเรื่องหนึ่งที่ผมสนใจในการไปเกาหลีทั้งสองครั้ง (ครั้งแรกเมื่อ 8 ปีก่อน ก็ไปแค่สั้นๆ ไม่กี่วัน) ก็คือการได้พบเจอผู้คนและได้ไปเดินด่อมๆ มองๆ ตามย่านการค้า ร้านค้า และพบปะพูดคุยดื่มกินกับผู้คน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่ได้อยู่นฐานะที่จะมาเขียนอะไรเกี่ยวกับเกาหลี เดินทางไปแค่สองครั้ง ครั้งละไม่กี่วัน ไม่ได้ศึกษาประวัติศาสตร์ ไม่ได้เชี่ยวชาญอะไร แต่ด้วยนิสัยของการชอบบันทึกเก็บไว้ ก็เลยอยากเขียนอะไรเกี่ยวกับเกาหลีที่รู้จักเอาไว้อ่านเอง เอาไว้คิดต่อ เอาไว้ก่อนที่จะลืม ก่อนที่จะไม่อยากเขียน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอร่วมรำลึกวาระ 40 ปี 6 ตุลาด้วยการกล่าวถึงงานศึกษาสังคม-วัฒนธรรมไทยที่เป็นพื้นฐานของเหตุการณ์เมื่อ 40 ปีก่อนนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จำเป็นแค่ไหนที่เราจะต้องคิดต่างจากส่วนกลาง ถ้าเราคิดว่าการครอบงำของความรู้ตะวันตกเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเข้าใจตัวตนเราเอง และทั้งยังปิดกั้นความเป็นมนุษย์ที่ไม่ได้ถูกเข้าใจจากมุมมองที่ต่างออกไป เราก็จำเป็นที่จะต้องคิดทั้งนอกกรอบตะวันตกและนอกกรอบการครอบงำจากอำนาจศูนย์กลางของรัฐ ความคิดนอกกรอบการครอบงำดังกล่าวส่วนหนึ่งเรียกว่าแนวคิดหลังอาณานิคม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายวันมานี้มีเรื่องขันขื่นหลายเรื่องที่สังคมไทยก้าวไม่พ้นเสียที แต่ผมว่าเรื่องพื้นฐานของปัญหาเหล่านี้คือเรื่องการไม่ยอมรับผิด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไปโกเบเมื่อสี่วันก่อน (7 มิถุนายน 59) นอกจากได้รู้จักความเป็นเมืองฝรั่งๆ ของโกเบแล้ว สาระสำคัญของการไปโกเบวันก่อนอย่างหนึ่งคือการไปพิพิธภัณฑ์เครื่องมือช่างไม้แห่งนี้ พิพิธภัณฑ์นี้เป็นของบริษัท Takenaka ที่บอกเล่าว่าตั้งมาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 17 ส่วนพิพิธภัณฑ์นี้เปิดปี 1984 แล้วเข้าใจว่าน่าจะค่อยๆ พัฒนาคอลเล็กชั่นและการจัดแสดงขึ้นมาเรื่อยๆ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ความสุขอย่างหนึ่งของการมาอยู่ที่ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษามหาวิทยาลัยเกียวโตก็คือ การได้รู้จักผู้คนและแลกเปลี่ยนความรู้ในหลายภาษา อีกอย่างคือได้แลกเปลี่ยนความรู้ในหลายบริบท ทั้งในห้องสัมมนา ห้องทำงาน ห้องเรียน และร้านเหล้า ผมถือว่ามันเป็นบริบททางวิชาการทั้งนั้นแหละ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
รู้กันนะครับว่า เวลาที่เราเรียกว่า "หล่อๆ" นี่ ไม่ใช่ว่าต้องเป็นผู้ชาย ผู้หญิงก็หล่อได้ เพราะมันหล่อในสำนวน ในการแสดงออก ในท่าที ทั้งๆ ที่หน้าตาไม่ต้องหล่อก็ได้ แต่หล่อที่คำพูด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ที่ผมเคารพรักท่านหนึ่งสอนผมว่า “คำวิจารณ์น่ะ น่าฟังมากกว่าคำชื่นชม เนื่องจากคนที่วิจารณ์เราน่ะ เขาจริงใจกับเรามากกว่าคนที่ชื่นชมเรา ไม่มีใครวิจารณ์เราตามมารยาท แต่คนชมน่ะ บางทีเขาก็ชมเราไปตามมารยาทเท่านั้นแหละ” ดังนั้นเมื่อโลกเขารุมวิจารณ์ไทย เราก็ควรรับฟังเขา เพราะถ้าเขาไม่มีความจริงใจ ไม่อยากเห็นเราปรับปรุงตัวจริงๆ ไม่รัก ไม่ห่วง ไม่อยากคบค้าสมาคมด้วย เขาก็คงไม่ติติงเรา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คนแบบพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาไม่ได้มีแต่พลเอกประยุทธ์เพียงคนเดียว แต่ยังมีคนอีกจำนวนมากที่มีเบื้องลึกของจิตใจแบบพลเอกประยุทธ์ แต่หากจะพูดให้ถูก คนที่มีจิตใจเบื้องลึกที่กักขฬะ อาจจะไม่จำเป็นต้องแสดงออกอย่างกักขฬะแบบพลเอกประยุทธ์ แต่ทำไมขณะนี้สังคมไทยจึงยอมให้ความกักขฬะเข้ามาปกครองบ้านเมือง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จะเรียกอะไรก็แล้วแต่ ถ้าพูดอย่างหลวม ๆ คือ พวกเขาเป็นคนกลุ่มเดียวกัน สองชื่อแรกใช้ในประเทศไทย เรียกกลุ่มคนที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ที่จริงพวกเขายังอยู่ในอำเภอเมือง อำเภอหนองหญ้งปล้อง และอำเภออื่น ๆ ของเพชรบุรี แล้วยังกระจายย้ายถิ่นไปในจังหวัดอื่น ๆ ตั้งแต่นครปฐม ชุมพร ไปจนถึงนครสวรรค์ เลย ฯลฯ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงนี้ผมกลับมาไทย 7 วัน ไม่รวมวันเดินทางอีกสองวัน ที่มาเพราะได้รับเชิญมาเสนอความเห็นในการ workshop งานหนึ่ง ผมก็เลยถือโอกาสนี้ใช้ทุนที่ต้องใช้สำหรับทำวิจัย เก็บข้อมูลของมหาวิทยาลัยเกียวโต ซึ่งก็มีอยู่ไม่มากนัก มาเพื่อใช้เดินทางไปเก็บข้อมูลเพิ่มเติมด้วยเลย