Skip to main content

ผมติดตามละคร "แรงเงา" อย่างใกล้ชิด...จากที่เพื่อนๆ เล่ากันน่ะ ไม่ได้ดูเองหรอก (เพราะไม่มีทีวีดู ไม่ชอบดูทีวี และไม่ดูทีวีมาหลายปีแล้ว) แต่ก็เกิดสงสัยว่า "ทำไมไอ้ผอ.มันโง่งี้(วะ)" ถ้าจะตอบว่า "ผู้ชายหล่อก็เหมือนผู้หญิงสวยนั่นแหละ มันโง่" ก็คงจะดูโง่ไปหน่อย ก็เลยลองคิดต่อดูว่า

หนึ่ง ที่จริงไม่ได้มีแต่ ผอ.ในละครแรงเงาโง่อยู่คนเดียวหรอก พระเอกละครไทยกี่เรื่องต่อกี่เรื่อง มันก็โง่แบบนี้กันทั้งนั้นแหละ ส่วนใหญ่เลยนะผมว่า 

แบบทั่วไปคือ พระเอกโง่ไม่รู้ความต้องการของนางเอก โง่ไม่จำวันเกิดนางเอก โง่ไม่เข้าใจสักทีว่าผู้หญิงเขาชอบตัวเองอยู่ โง่รักใครไม่ถูกคน อะไรเงี้ย นับเป็นความโง่เบสิคของพระเอกในละครและหนังไทย แต่โง่อีกแบบคือ โง่จนถูกยัยนางร้ายมันปั่นหัวได้ตลอด โง่จนถูกยัยนางเอกแก่นแก้วแกล้งหรือหลอกเอาได้ตลอด โง่จนเกือบเสียคนรักไป โง่ตาหลอด 

หรือว่าความโง่ของพระเอกมันมีบทบาทสำคัญบางอย่าง โง่แบบนี้ถึงจะติดตลาด โง่แบบแรกมันธรรมดาไป คือต้องโง่ดักดานแบบถูกปั่นหัวโง่ๆ จนคนดูเขารู้กันทั่วบ้านทั่วเมืองแล้ว มีแต่ไอ้โง่หน้าหล่อนี่คนเดียวแหละที่ยังไม่รู้ตัวสักที

สอง ลองมองย้อนกลับไปไกลๆ หน่อย ชาดกอย่างพระเวสสันดร ซึ่งเป็นที่นิยมกันในสังคมไทยพื้นบ้านสมัยก่อน ก็ "ดูโง่" คือแม้จะไม่ถึงกับโง่ แต่ก็ดูดีแบบซื่อๆ แถมยังดูอ้อนแอ้น อ่อนช้อย บอบบาง สอดคล้องกับความใสซื่อดูโง่ๆ 

ดูเหมือนความโง่ของพระเอกจะอยู่คู่กับโลกละครของสังคมไทยมาตลอด คงไม่ใช่ว่าสังคมไทยชอบผู้ชายโง่ๆ หรอกนะ แต่ผมคิดว่าสังคมไทยชอบความโง่แบบหนึ่งมากกว่า ความโง่จึงมีบทบาทเฉพาะกับคนบางแบบ

สาม หรือว่านี่จะเป็นภาพด้านกลับของสังคมชายเป็นใหญ่ คือแทนที่จะให้ภาพสังคมที่ผู้ชายเก่ง ฉลาดพร้อม จัดการตัดสินใจอะไรได้ดีหมด แต่กลับให้ภาพผู้ชายอ่อนแอ น่าทะนุถนอม โง่แต่น่าอร้อกอ่ะ ผู้ชายหล่อและโง่จึงถูกเอาอกเอาใจ ถูกตามใจจนเหลิง พูดง่ายๆ คือ สังคมนี้เป็นสังคมเอาใจผู้ชายที่ดูดี (ไม่รู้จะรวมผู้ชายพูดดี ดีแต่พูดด้วยได้หรือเปล่า)

สี่ หรือว่านี่เป็นภาพด้านตรงของสังคมผู้หญิงเป็นใหญ่ อย่างบางเรื่องนางเอกโง่ พระเอกก็มักจะไม่โง่ตามไปด้วย เพราะถ้าโง่กันหมดก็จบกัน นางร้ายเอาไปกินหมด ถ้าเรื่องไหนพระเอกละครโง่ นางเอกและนางร้ายก็จะไม่โง่ อย่างเรื่องแรงเงาเป็นตัวอย่าง (ถูกหรือเปล่าครับแฟนละคร)

ผู้ชายโง่จึงเป็นวัตถุแห่งการตบตีแย่งชิงของพวกผู้หญิง เป็นรางวัลให้พวกผู้หญิงที่ต้องพิสูจน์กันว่าใครแน่ก็เอาไอ้โง่นี่ไป ส่วนไอ้โง่นี่ไม่ต้องทำอะไร นั่งโง่ไปวันๆ ให้นังร้ายกับนังเอกตบตีกันเบื้องหลัง

ห้า ถ้าไม่คิดอะไรเลย นี่อาจเป็นเล่ห์กลทางการตลาด ที่คนทำละครตั้งใจทำให้คนดูฉลาดกว่าตัวละคร คนดูอ่านอะไรออกหมด แล้วคอยลุ้นว่าเมื่อไหร่หรือทำไมตัวละครมันจะหายโง่สักที ละครไทยจึงสร้างความูมิใจให้คนดูว่ารู้เท่าทันความเลวร้ายของโลกในละครได้ดีกว่าตัวละครเองเสียอีก

ถ้าพระเอกไทยไม่โง่ ละครไทยคงจะกลายเป็นหนังนักสืบแบบฝรั่ง ที่พระเอกมันฉลาดอยู่คนเดียว จะไปสนุกอะไรสำหรับคนไทยที่ไม่อยากโง่กว่าตัวละคร
 

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา หลายคนคงเป็นแบบผม คือพยายามข่มอารมณ์ฝ่าฟันการสบถของท่านผู้นำ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตั้งแต่ที่ผมรู้จักงานฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์มา มีปีนี้เองที่ผมคิดว่ากิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่มีความหมาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปี 2558 เป็นปีที่คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีอายุครบ 50 ปี นับตั้งแต่เริ่มเป็นแผนกอิสระในคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์มาตั้งแต่ปี 2508
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เปิดภาคการศึกษานี้มีเรื่องน่าตื่นเต้นคือ วันแรกที่ไปสอน (ผมสอนอังคาร, พฤหัสบดี ครั้งละ 1 ชั่วโมง 15 นาที) มีนักเรียนมาเต็มห้อง เขากำหนดโควต้าไว้ที่ 34 คน แต่หลังจากผมแนะนำเค้าโครงการบรรยาย คงเพราะงานมาก จุกจิก ก็มีคนถอนชื่อออกไปจำนวนหนึ่ง คืนก่อนที่จะไปสอนครั้งที่สอง ผมก็เลยฝันร้าย คือฝันว่าวันรุ่งขึ้นมีนักเรียนมาเรียนแค่ 3 คน แล้วเรียนๆ ไปนักเรียนหนีหายไปเหลือ 2 คน แต่พอตื่นไปสอนจริง ยังมีนักเรียนเหลืออีก 20 กว่าคน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อได้ทราบว่าอาจารย์เก่งกิจทำวิจัยทบทวนวรรณกรรมด้านชนบทศึกษา โดยลงแรงส่วนหนึ่งอ่านงาน “ทบทวนภูมิทัศน์การเมืองไทย” (ต่อไปนี้จะเรียกว่า “ทบทวนภูมิทัศน์ฯ”) (อภิชาต ยุกติ นิติ 2556) ที่ผมมีส่วนร่วมกับนักวิจัยในทีมทั้งหมด 6 คนในตอนแรก และ 9 คนในช่วงทำวิจัยใหญ่ [1] ผมก็ตื่นเต้นยินดีที่นานๆ จะมีนักวิชาการไทยอ่านงานนักวิชาการไทยด้วยกันเองอย่างเอาจริงเอาจังสักที 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จะให้ผมเขียนเรื่องอุปสรรคขัดขวางโลกวิชาการไทยต่อการก้าวขึ้นสู่ความเป็นเลิศในระดับนานาชาติไปอีกเรื่อยๆ น่ะ ผมก็จะหาประเด็นมาเขียนไปได้อีกเรื่อยๆ นั่นแหละ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ถ้านับย้อนกลับไปถึงช่วงปีที่ผมเริ่มสนใจงานวิชาการจนเข้ามาทำงานเป็นอาจารย์ ก็อาจนับได้ไปถึง 25 ปีที่ผมเห็นความเปลี่ยนแปลงในโลกวิชาการไทย ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่สำคัญคือการบริหารงานในมหาวิทยาลัย แต่ขอยกเรื่องนั้นเอาไว้ก่อน เพราะหากค่อยๆ ดูเรื่องย่อยๆ ไปเรื่อยๆ แล้วก็น่าจะช่วยให้เห็นอะไรมากขึ้นว่า การบริหารงานวิชาการในขณะนี้วางอยู่บนระบบแบบไหน เป็นระบบที่เน้นสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการในเชิงปริมาณหรือคุณภาพกันแน่ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บอกอีกครั้งสำหรับใครที่เพิ่งอ่านตอนนี้ ผมเขียนเรื่องนี้ต่อเนื่องกันมาชิ้นนี้เป็นชิ้นที่ 5 แล้ว ถ้าจะไม่อ่านชิ้นอื่นๆ (ซึ่งก็อาจชวนงงได้) ก็ขอให้กลับไปอ่านชิ้นแรก ที่วางกรอบการเขียนครั้งนี้เอาไว้แล้ว อีกข้อหนึ่ง ผมยินดีหากใครจะเพิ่มเติมรายละเอียด มุมมอง หรือประสบการณ์ที่แตกต่างออกไป แต่ขอให้แสดงความเห็นแบบ "ช่วยกันคิด" หน่อยนะครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อันที่จริงวิทยานิพนธ์เป็นส่วนน้อยๆ ของโลกวิชาการอันกว้างใหญ่ และเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการเป็นนักวิชาการ แต่วิทยานิพนธ์ก็เป็นผลงานที่อาจจะดีที่สุดของนักวิชาการส่วนใหญ่ แต่สังคมวิชาการไทยกลับให้คุณค่าด้อยที่สุด พูดอย่างนี้เหมือนขัดแย้งกันเอง ขอให้ผมค่อยๆ อธิบายก็แล้วกันครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ก่อนเริ่มพูดเรื่องนี้ ผมอยากชี้แจงสักหน่อยนะครับว่า ที่เขียนนี่ไม่ใช่จะมาบ่นเรื่อยเปื่อยเพื่อขอความเห็นใจจากสังคม แต่อยากประจานให้รู้ว่าระบบที่รองรับงานวิชาการไทยอยู่เป็นอย่างไร ส่วนจะมีวิธีแก้ไขอย่างไร อย่าถามผมเลย เพราะผมไม่มีอำนาจ ไม่ต้องมาย้อนบอกผมด้วยว่า "คุณก็ก้มหน้าก้มตาทำงานไปให้ดีที่สุดก็แล้วกัน" เพราะถ้าไม่เห็นว่าสิ่งที่เล่าไปเป็นประเด็นก็อย่าสนใจเสียเลยดีกว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมขอเริ่มที่เรืองซึ่งถือได้ว่าเป็นยาขมที่สุดของแวดวงมหาวิทยาลัยไทยเลยก็แล้วกัน ที่จริงว่าจะเขียนเรื่องการผลิตความรู้ก่อน แต่หนีไม่พ้นเรื่องการสอน เพราะนี่เป็นอุปสรรคใหญ่ต่อการทำงานวิชาการในไทยมากถึงมากที่สุดเลยก็ว่าได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อผมมาสอนหนังสือถึงได้รู้ว่า วันครูน่ะ เขามีไว้ปลอบใจครู ก็เหมือนกับวันสตรี เอาไว้ปลอบใจสตรี วันเด็กเอาไว้หลอกเด็กว่าผู้ใหญ่ให้ความสำคัญ แต่ที่จริงก็เอาไว้ตีกินปลูกฝังอะไรที่ผู้ใหญ่อยากได้อยากเป็นให้เด็ก ส่วนวันแม่กับวันพ่อน่ะอย่าพูดถึงเลย เพราะหากจะช่วยเป็นวันปลอบใจแม่กับพ่อก็ยังจะดีเสียกว่าที่จะให้กลายเป็นวันฉวยโอกาสของรัฐไทยอย่างที่เป็นอยู่นี้