Skip to main content

ผมติดตามละคร "แรงเงา" อย่างใกล้ชิด...จากที่เพื่อนๆ เล่ากันน่ะ ไม่ได้ดูเองหรอก (เพราะไม่มีทีวีดู ไม่ชอบดูทีวี และไม่ดูทีวีมาหลายปีแล้ว) แต่ก็เกิดสงสัยว่า "ทำไมไอ้ผอ.มันโง่งี้(วะ)" ถ้าจะตอบว่า "ผู้ชายหล่อก็เหมือนผู้หญิงสวยนั่นแหละ มันโง่" ก็คงจะดูโง่ไปหน่อย ก็เลยลองคิดต่อดูว่า

หนึ่ง ที่จริงไม่ได้มีแต่ ผอ.ในละครแรงเงาโง่อยู่คนเดียวหรอก พระเอกละครไทยกี่เรื่องต่อกี่เรื่อง มันก็โง่แบบนี้กันทั้งนั้นแหละ ส่วนใหญ่เลยนะผมว่า 

แบบทั่วไปคือ พระเอกโง่ไม่รู้ความต้องการของนางเอก โง่ไม่จำวันเกิดนางเอก โง่ไม่เข้าใจสักทีว่าผู้หญิงเขาชอบตัวเองอยู่ โง่รักใครไม่ถูกคน อะไรเงี้ย นับเป็นความโง่เบสิคของพระเอกในละครและหนังไทย แต่โง่อีกแบบคือ โง่จนถูกยัยนางร้ายมันปั่นหัวได้ตลอด โง่จนถูกยัยนางเอกแก่นแก้วแกล้งหรือหลอกเอาได้ตลอด โง่จนเกือบเสียคนรักไป โง่ตาหลอด 

หรือว่าความโง่ของพระเอกมันมีบทบาทสำคัญบางอย่าง โง่แบบนี้ถึงจะติดตลาด โง่แบบแรกมันธรรมดาไป คือต้องโง่ดักดานแบบถูกปั่นหัวโง่ๆ จนคนดูเขารู้กันทั่วบ้านทั่วเมืองแล้ว มีแต่ไอ้โง่หน้าหล่อนี่คนเดียวแหละที่ยังไม่รู้ตัวสักที

สอง ลองมองย้อนกลับไปไกลๆ หน่อย ชาดกอย่างพระเวสสันดร ซึ่งเป็นที่นิยมกันในสังคมไทยพื้นบ้านสมัยก่อน ก็ "ดูโง่" คือแม้จะไม่ถึงกับโง่ แต่ก็ดูดีแบบซื่อๆ แถมยังดูอ้อนแอ้น อ่อนช้อย บอบบาง สอดคล้องกับความใสซื่อดูโง่ๆ 

ดูเหมือนความโง่ของพระเอกจะอยู่คู่กับโลกละครของสังคมไทยมาตลอด คงไม่ใช่ว่าสังคมไทยชอบผู้ชายโง่ๆ หรอกนะ แต่ผมคิดว่าสังคมไทยชอบความโง่แบบหนึ่งมากกว่า ความโง่จึงมีบทบาทเฉพาะกับคนบางแบบ

สาม หรือว่านี่จะเป็นภาพด้านกลับของสังคมชายเป็นใหญ่ คือแทนที่จะให้ภาพสังคมที่ผู้ชายเก่ง ฉลาดพร้อม จัดการตัดสินใจอะไรได้ดีหมด แต่กลับให้ภาพผู้ชายอ่อนแอ น่าทะนุถนอม โง่แต่น่าอร้อกอ่ะ ผู้ชายหล่อและโง่จึงถูกเอาอกเอาใจ ถูกตามใจจนเหลิง พูดง่ายๆ คือ สังคมนี้เป็นสังคมเอาใจผู้ชายที่ดูดี (ไม่รู้จะรวมผู้ชายพูดดี ดีแต่พูดด้วยได้หรือเปล่า)

สี่ หรือว่านี่เป็นภาพด้านตรงของสังคมผู้หญิงเป็นใหญ่ อย่างบางเรื่องนางเอกโง่ พระเอกก็มักจะไม่โง่ตามไปด้วย เพราะถ้าโง่กันหมดก็จบกัน นางร้ายเอาไปกินหมด ถ้าเรื่องไหนพระเอกละครโง่ นางเอกและนางร้ายก็จะไม่โง่ อย่างเรื่องแรงเงาเป็นตัวอย่าง (ถูกหรือเปล่าครับแฟนละคร)

ผู้ชายโง่จึงเป็นวัตถุแห่งการตบตีแย่งชิงของพวกผู้หญิง เป็นรางวัลให้พวกผู้หญิงที่ต้องพิสูจน์กันว่าใครแน่ก็เอาไอ้โง่นี่ไป ส่วนไอ้โง่นี่ไม่ต้องทำอะไร นั่งโง่ไปวันๆ ให้นังร้ายกับนังเอกตบตีกันเบื้องหลัง

ห้า ถ้าไม่คิดอะไรเลย นี่อาจเป็นเล่ห์กลทางการตลาด ที่คนทำละครตั้งใจทำให้คนดูฉลาดกว่าตัวละคร คนดูอ่านอะไรออกหมด แล้วคอยลุ้นว่าเมื่อไหร่หรือทำไมตัวละครมันจะหายโง่สักที ละครไทยจึงสร้างความูมิใจให้คนดูว่ารู้เท่าทันความเลวร้ายของโลกในละครได้ดีกว่าตัวละครเองเสียอีก

ถ้าพระเอกไทยไม่โง่ ละครไทยคงจะกลายเป็นหนังนักสืบแบบฝรั่ง ที่พระเอกมันฉลาดอยู่คนเดียว จะไปสนุกอะไรสำหรับคนไทยที่ไม่อยากโง่กว่าตัวละคร
 

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำสำคัญ: sensory subjectivity, sensory categories, sensory bias, sensory ethnocentrism, sensory colonization (อธิบายไว้ท้ายข้อเขียน) คนทำเรื่องอาหารข้ามถิ่น ไม่ต่างจากการทำงานทางมานุษยวิทยา ที่ต้องตระหนักถึงการ ไม่นำเอา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ถ้าคุณไม่สามารถเรียนรู้อะไรใหม่ๆ ได้แล้ว ก็โปรดอย่าถ่วงรั้งการเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่เลย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปาฐกถาในเวทีเสวนา “50 ปี 14 ตุลาฯ ยังตามหารัฐธรรมนูญใหม่” จัดโดยสมัชชาคนจน วันที่ 14 ตุลาคม 2566
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อ 24 กค. 65 ผู้จัดการแสดง #ฮิญาบ2022  ชวนผมไปดูการแสดงของคุณฟารีดา จิราพันธ์ ที่กาลิเลโอเอซิส แล้วผู้จัดจะชวนผมสนทนาหลังละคร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะเพื่อนร่วมวิชาชีพวิชาการ ในฐานะผู้ปกครองนักศึกษาคณะวิจิตรศิลป์ และในฐานะคนรักศิลปะ ผมเขียนจดหมายนี้เพื่อตั้งคำถามต่อการที่ผู้บริหารคณะวิจิตรศิลป์จะตรวจสอบผลงานก่อการอนุญาตให้จัดแสดงผลงานของนักศึกษาภาควิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นคนพูดถึงตัวละครในซีรีย์เกาหลีเอ่ยถึงจอร์จ บาไตล์ ในรูปนั่นน่ะครับ เป็นคอลเล็กชันจอร์จ บาไตล์บนชั้นหนังสือผมแบบเบาๆ ผมเก็บไว้ร่วม 20 ปีแล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายคนคงรู้ว่าวันนี้เป็นวันชาติเวียดนาม แต่น้อยคนคงรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นในวันนี้กันแน่ แล้ววันนี้ในอดีตถูกกำหนดเป็นวันขาติจากเหตุการณ์ปีใด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จนถึงวันนี้ การต่อสู้ของประชาชนในขบวนการ “คณะราษฎร 63” ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า พลังของแสงดาวได้สร้างสรรค์สังคมไทยอย่างไร 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การที่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาได้ออกมาแสดงความเห็นว่ามีการสร้างกระแสกดดันศาลต่างๆ นานา (ดู https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/2081366) มองในแง่ดี ผมคิดว่านี่คือการออกมาอธิบายกับสังคมอีกครั้งของผู้มีอำนาจในกระบวนการยุติธรรมอย่างชัดแจ้ง หลังจากที่มีการชี้แจงถึงเหตุผลการไม่ปล่อยตัวผู้ต้องหาคดีการเมืองโดยโฆษกศาลและโฆษกกระทรวงยุติธรรมก่อนหน้านี้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อะไรที่ทำให้ดนตรีมีสถานะในการทำร้ายกันได้บ้าง ผมว่าอย่างน้อยที่สุดต้องเข้าใจก่อนว่า ดนตรีไม่ใช่แค่เสียง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
พอดีนั่งฟังเพื่อนนักวิชาการอ่านหนังสือ "กบฏชาวนา" ของรานาจิต คูฮา (1982) มาคุยให้ฟัง (แปลโดย ปรีดี หงษ์สต้น) ในเพจของสำนักพิมพ์ Illumination Editions เลยคิดถึงบันทึกที่เคยเขียนถึงหนังสือของ ดิเพช จักรบาร์ตี เรื่อง Provincializing Europe (2000)
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรื่อง ถามถึงมโนธรรมสำนึกในความเป็นครูบาอาจารย์ของอาจารย์เอนก เหล่าธรรมทัศน์