Skip to main content

ผมติดตามละคร "แรงเงา" อย่างใกล้ชิด...จากที่เพื่อนๆ เล่ากันน่ะ ไม่ได้ดูเองหรอก (เพราะไม่มีทีวีดู ไม่ชอบดูทีวี และไม่ดูทีวีมาหลายปีแล้ว) แต่ก็เกิดสงสัยว่า "ทำไมไอ้ผอ.มันโง่งี้(วะ)" ถ้าจะตอบว่า "ผู้ชายหล่อก็เหมือนผู้หญิงสวยนั่นแหละ มันโง่" ก็คงจะดูโง่ไปหน่อย ก็เลยลองคิดต่อดูว่า

หนึ่ง ที่จริงไม่ได้มีแต่ ผอ.ในละครแรงเงาโง่อยู่คนเดียวหรอก พระเอกละครไทยกี่เรื่องต่อกี่เรื่อง มันก็โง่แบบนี้กันทั้งนั้นแหละ ส่วนใหญ่เลยนะผมว่า 

แบบทั่วไปคือ พระเอกโง่ไม่รู้ความต้องการของนางเอก โง่ไม่จำวันเกิดนางเอก โง่ไม่เข้าใจสักทีว่าผู้หญิงเขาชอบตัวเองอยู่ โง่รักใครไม่ถูกคน อะไรเงี้ย นับเป็นความโง่เบสิคของพระเอกในละครและหนังไทย แต่โง่อีกแบบคือ โง่จนถูกยัยนางร้ายมันปั่นหัวได้ตลอด โง่จนถูกยัยนางเอกแก่นแก้วแกล้งหรือหลอกเอาได้ตลอด โง่จนเกือบเสียคนรักไป โง่ตาหลอด 

หรือว่าความโง่ของพระเอกมันมีบทบาทสำคัญบางอย่าง โง่แบบนี้ถึงจะติดตลาด โง่แบบแรกมันธรรมดาไป คือต้องโง่ดักดานแบบถูกปั่นหัวโง่ๆ จนคนดูเขารู้กันทั่วบ้านทั่วเมืองแล้ว มีแต่ไอ้โง่หน้าหล่อนี่คนเดียวแหละที่ยังไม่รู้ตัวสักที

สอง ลองมองย้อนกลับไปไกลๆ หน่อย ชาดกอย่างพระเวสสันดร ซึ่งเป็นที่นิยมกันในสังคมไทยพื้นบ้านสมัยก่อน ก็ "ดูโง่" คือแม้จะไม่ถึงกับโง่ แต่ก็ดูดีแบบซื่อๆ แถมยังดูอ้อนแอ้น อ่อนช้อย บอบบาง สอดคล้องกับความใสซื่อดูโง่ๆ 

ดูเหมือนความโง่ของพระเอกจะอยู่คู่กับโลกละครของสังคมไทยมาตลอด คงไม่ใช่ว่าสังคมไทยชอบผู้ชายโง่ๆ หรอกนะ แต่ผมคิดว่าสังคมไทยชอบความโง่แบบหนึ่งมากกว่า ความโง่จึงมีบทบาทเฉพาะกับคนบางแบบ

สาม หรือว่านี่จะเป็นภาพด้านกลับของสังคมชายเป็นใหญ่ คือแทนที่จะให้ภาพสังคมที่ผู้ชายเก่ง ฉลาดพร้อม จัดการตัดสินใจอะไรได้ดีหมด แต่กลับให้ภาพผู้ชายอ่อนแอ น่าทะนุถนอม โง่แต่น่าอร้อกอ่ะ ผู้ชายหล่อและโง่จึงถูกเอาอกเอาใจ ถูกตามใจจนเหลิง พูดง่ายๆ คือ สังคมนี้เป็นสังคมเอาใจผู้ชายที่ดูดี (ไม่รู้จะรวมผู้ชายพูดดี ดีแต่พูดด้วยได้หรือเปล่า)

สี่ หรือว่านี่เป็นภาพด้านตรงของสังคมผู้หญิงเป็นใหญ่ อย่างบางเรื่องนางเอกโง่ พระเอกก็มักจะไม่โง่ตามไปด้วย เพราะถ้าโง่กันหมดก็จบกัน นางร้ายเอาไปกินหมด ถ้าเรื่องไหนพระเอกละครโง่ นางเอกและนางร้ายก็จะไม่โง่ อย่างเรื่องแรงเงาเป็นตัวอย่าง (ถูกหรือเปล่าครับแฟนละคร)

ผู้ชายโง่จึงเป็นวัตถุแห่งการตบตีแย่งชิงของพวกผู้หญิง เป็นรางวัลให้พวกผู้หญิงที่ต้องพิสูจน์กันว่าใครแน่ก็เอาไอ้โง่นี่ไป ส่วนไอ้โง่นี่ไม่ต้องทำอะไร นั่งโง่ไปวันๆ ให้นังร้ายกับนังเอกตบตีกันเบื้องหลัง

ห้า ถ้าไม่คิดอะไรเลย นี่อาจเป็นเล่ห์กลทางการตลาด ที่คนทำละครตั้งใจทำให้คนดูฉลาดกว่าตัวละคร คนดูอ่านอะไรออกหมด แล้วคอยลุ้นว่าเมื่อไหร่หรือทำไมตัวละครมันจะหายโง่สักที ละครไทยจึงสร้างความูมิใจให้คนดูว่ารู้เท่าทันความเลวร้ายของโลกในละครได้ดีกว่าตัวละครเองเสียอีก

ถ้าพระเอกไทยไม่โง่ ละครไทยคงจะกลายเป็นหนังนักสืบแบบฝรั่ง ที่พระเอกมันฉลาดอยู่คนเดียว จะไปสนุกอะไรสำหรับคนไทยที่ไม่อยากโง่กว่าตัวละคร
 

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (24 ธันวาคม 2555) กสทช.เชิญให้ผมไปร่วมแสดงความเห็นในเวทีเสวนาสาธารณะ “1 ปี กสทช. กับความ (ไม่) สมหวังของสังคมไทย” ทีแรกผมไม่คิดว่าตนเองจะสามารถไปวิจารณ์อะไรกสทช.ได้ แต่ผู้จัดยืนยันว่าต้องการมุมมองแบบมานุษยวิทยา ผมจึงตกปากรับคำไป 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อโต้แย้งต่อความเห็นผมจากของเครือข่ายองค์กรงดเหล้า ที่ลงในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1355920241&grpid=03&catid=&subcatid=) ย้ำให้เห็นชัดถึงความอับจนของกรอบคิดของคนกลุ่มนี้ต่อไปนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไม่เพียงแต่นักเขียนบางคนเท่านั้นที่อาจจะไม่เข้าใจหรือมองข้ามประเด็นความแตกต่างทางชาติพันธ์ุ แต่ผมคิดว่าแวดวงภาษาและวรรณกรรมบ้านเราอาจจะไม่ตระหนักถึงปัญหานี้โดยรวมเลยก็ได้ และในแง่หนึ่ง ผมคิดว่าซีไรต์เองอาจจะมีส่วนสร้างวัฒนธรรมไม่อ่อนไหวต่อความแตกต่างทางวัฒนธรรมด้วยเช่นกัน และถึงที่สุดแล้ว นี่อาจจะกลายเป็นข้อจำกัดที่ปิดกั้นโอกาสที่วรรณกรรมไทยจะก้าวเข้าสู่ระดับสากล
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะของนายแพทย์ที่เป็นตัวแทนของคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ แสดงให้เห็นถึงความคิดคับแคบของผู้มีอำนาจกลุ่มหนึ่ง ที่มักใช้อำนาจก้าวก่ายชีวิตผู้คน บนความไม่รู้ไม่เข้าใจไม่อยากรับผิดชอบต่อปัญหาเชิงโครงสร้างที่ละเอียดอ่อน และบนกรอบข้ออ้างเรื่องคุณธรรมความดีที่ยกตนเองเหนือคนอื่น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แทนที่จะเถียงกับอีกท่านหนึ่งที่วิจารณ์ผมต่อหน้ามากมายเมื่อวาน ผมขอใช้พลังงานเถียงกับข้อเสนอล่าสุดของอาจารย์ธีรยุทธ บุญมีจากข่าวในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1354935625&grpid=01&catid=&subcatid=) ดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นึกไม่ถึงและนึกไม่ออกจริงๆ ว่า ทำไมคนเปิดร้านขายหนังสือในปลายศตวรรษที่ 20 - ต้น 21 จะมีความคิดแบบนี้ได้ นี่แสดงว่าเขาไม่ได้อ่านหนังสือที่เขาขายบ้างเลย หรือนี่แสดงว่าการอ่านหนังสือไม่ได้ช่วยจรรโลงจิตใจนายทุนบางคนขึ้นมาได้เลย*
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่ออ่านข่าวแอร์โฮสเตสที่เพิ่งถูกให้ออก ผมมีคำถามหลายข้อ ทั้งในมิติของโซเชียลมีเดีย hate speech และสิทธิแรงงาน อย่างไรก็ดี ขอเคลียร์ก่อนว่าหากใครทราบจุดยืนทางการเมืองของผม ย่อมเข้าใจดีว่าความเห็นต่อไปนี้ไม่ได้มาจากความเห็นทางการเมืองที่เอนเอียงไปในทางเดียวกับพนักงานสายการบินคนนี้แต่อย่างใด ข้อสังเกตคือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขณะกำลังนั่งกินหอยแครงลวกอยู่เวลานี้ ก็ชวนให้คิดถึงคำพูดของนักวิชาการกัมพูชาคนหนึ่ง ที่เคยนั่งต่อหน้าอาหารเกาหลีจานพิเศษ คือหนอนทะเลดิบตัดเป็นชิ้นๆ ขยับตัวดึบๆ ดึบๆ อยู่ในจานแม้จะถูกตั้งทิ้งไว้เป็นชั่วโมง ตอนนั้น ผมบ่ายเบี่ยงไม่กล้ากินอยู่นาน แม้จะรู้ว่าเป็นอาหารพิเศษราคาแพงที่ศาสตราจารย์ชาวเกาหลีสรรหามาเลี้ยงต้อนรับการมาเกาหลีครั้งแรกของพวกเราหลายคน เพื่อนกัมพูชาบอกว่า "กินเถอะพี่ หอยแครงลวกในเมืองไทยน่ากลัวกว่านี้อีก" ผมจึงหาเหตุที่จะหลบเลี่ยงอีกต่อไปไม่ได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมนั่งดูบันทึกรายการ The Voice Thailand (เดอะวอยซ์) เป็นประจำ แม้ว่าจะเห็นคล้อยตามคำนิยมของโค้ชทั้ง 4 อยู่บ่อยๆ แถมยังแอบติดตามความเห็นเปรี้ยวๆ ของนักเขียนบางคนที่ชอบเรียกตนเองสวนทางกับวัยเธอว่า "ป้า" ซึ่งหมดเงินกดโหวตมากมายให้นักร้องหนุ่มน้อยแนวลูกทุ่ง แต่ผมไม่ได้รับความบันเทิงจากเดอะวอยซ์เพียงจากเสียงเพลง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมพยายามถามตัวเองว่า การจะสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนการชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยามที่นำโดย "เสธ.อ้าย" จะมาจากเหตุผลประการใดบ้าง แต่ผมก็ชักจะเริ่มไม่แน่ใจว่า เอาเข้าจริง คนที่เข้าร่วมชุมนุมกับเสธ.อ้ายจะมีเหตุผลหรือไม่ หรือหากมี พวกเขาจะใช้เหตุผลชุดไหนกันในการเข้าร่วมชุมนุม ยังไงก็ตาม อยากถามพวกคุณที่ไปชุมนุมว่า พวกคุณอยากให้ประเทศเป็นอย่างนี้จริงๆ หรือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (20 พฤศจิกายน 2555) นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เชิญไปบรรยายในงานสัมมนา "การเมืองเรื่องคนธรรมดา" ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ขอตัดส่วนหนึ่งของบทบรรยายของผมที่ใช้ชื่อว่า "การเมืองวัฒนธรรมดา: ความไม่ธรรมดาของสามัญชน" มาเผยแพร่ในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่อ 16 พฤศจิกายน 2555 นิสิตรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเชิญไปร่วมกิจกรรมจุฬาวิชาการ โดยให้ไปวิจารณ์บทความนิสิตปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ 4 ชิ้น 1) ว่าด้วยเบื้องหลังทางการเมืองของการก่อตั้งองค์การอาเซียน 2) ว่าด้วยบทบาทและการต่อรองระหว่างประเทศในอาเซียน 3) ว่าด้วยการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าของธุรกิจเอกชนไทยในคู่ค้าอาเซียน และ 4) ว่าด้วยนโยบายชนกลุ่มชาติพันธ์ุในพม่า ข้างล่างนี้คือบันทึกบทวิจารณ์