Skip to main content

 

ผมนั่งดูบันทึกรายการ The Voice Thailand (เดอะวอยซ์) เป็นประจำ แม้ว่าจะเห็นคล้อยตามคำนิยมของโค้ชทั้ง 4 อยู่บ่อยๆ แถมยังแอบติดตามความเห็นเปรี้ยวๆ ของนักเขียนบางคนที่ชอบเรียกตนเองสวนทางกับวัยเธอว่า "ป้า" ซึ่งหมดเงินกดโหวตมากมายให้นักร้องหนุ่มน้อยแนวลูกทุ่ง แต่ผมไม่ได้รับความบันเทิงจากเดอะวอยซ์เพียงจากเสียงเพลง

 
พร้อมๆ กับความสนุกสนานจากเสียงเพลงและลุ้นว่าผู้เข้าประกวดที่ชอบจะเข้ารอบหรือไม่ ผมยังพยามยามทำความเข้าใจการฟังเพลง หรือจะเรียกให้เจาะจงกว่านั้นคือ การสร้างความหมายให้กับการแสดงและการร้องเพลงของคนชั้นกลางชาวกรุงปัจจุบัน เท่าที่ดูมา ผมอดคิดสงสัยไม่ได้ว่าความบันเทิงแบบเดอะวอยซ์เป็นอย่างไรกันแน่
 
เห็นได้ชัดว่า แม้เดอะวอยซ์จะพยายามชูเรื่องการใช้เสียง และผู้เข้าแข่งขันหลายต่อหลายคนก็จะพูดย้ำซ้ำซากว่า "เดอะวอยซ์เขาไม่ดูที่หน้าตา เขาวัดกันที่เสียง" แต่รายการนี้ยึดมั่นหลักนั้นจริงๆ หรือ ยึดมั่นแค่ไหน หรือถึงที่สุดแล้ว ลำพัง "เสียง" จะใช้เป็นเกณฑ์กำหนดความสามารถในการให้ความบันเทิงจากการร้องเพลงได้จริงๆ หรือ
 
เช่นว่า เอาเข้าจริงผู้เข้าแข่งขันหลายคนที่เข้ารอบเป็นผู้หญิงสวย หรือถ้าไม่สวยก็เป็นผู้หญิงที่มีเสน่ห์ หรือไม่ก็ "ผู้หญิง" ในร่างชายที่มีเสน่ห์ แม้รายการจะชวนให้เชื่อว่า โค้ชทั้งสี่ไม่มีส่วนในการเลือกผู้แข่งขันจากหน้าตา แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่ากรรมการในรอบออดิชั่นไม่ได้เลือกผู้สมัครจากหน้าตาด้วย ทำไมสัดส่วนผู้เข้าแข่งขันที่หน้าตาดี รูปร่างสมส่วนแบบที่นิยมกันในปัจจุบัน จึงได้รับคัดเลือกเข้ามามาก อย่างน้อยก็ในรอบออดิชั่น
 
แต่เมื่อผ่านเข้ามารอบลึกๆ ดูเหมือนเดอะวอยซ์พยายามยืนยันการคัดเลือกจากเสียง ไม่ใช่ที่หน้าตามากขึ้น มากเสียจนผมเผลอคิดไปว่า เดอะวอยซ์กลายเป็นสมาคมสังคมสงเคราะห์ของวงการดนตรีไปเสียแล้ว เพราะคนที่มีอัตลักษณ์แบบ "เด็กใสซื่อ" "ชาวลูกทุ่ง" "ชาวเพศทางเลือก" "คนไม่สวย" "คนหน้าใหม่ในวงการ" ดูจะมาแรงกว่ามาตรฐานของวงการบันเทิงปกติ กระทั้งไม่แน่ใจว่า ตกลงเกณฑ์เรื่องเสียงหรือเกณฑ์เรื่อง "การให้โอกาส" กันแน่ที่สำคัญ ข้อนี้ทำให้เดอะวอยซ์ไทยแลนด์แทบจะกลายเป็นธุรกิจขายความเอื้ออาทรไปเลยทีเดียว
 
ยิ่งหากลงรายละเอียดในรายของชาวลูกทุ่ง ความเป็นลูกทุ่งในรายการเดอะวอยซ์เหมือนการกินอาหารฟิวชั่นของคนกรุง คือจะเป็นปลาร้าหลนแท้ก็ไม่ใช่ แต่เป็นปลาร้าฟิวชั่นที่จัดใส่จานปรุงแสงสีตกแต่งหน้าตา เสียจนกลายเป็นปลาร้าเสิร์ฟในโรงละครบรอดเวย์ ไม่ใช่ลูกทุ่งแบบที่คอลูกทุ่งเขาจะชอบกัน เราเห็นความไม่เข้าใจลูกทุ่งตั้งแต่การที่โค้ชแต่ละคนไม่ใช้ถ้อยคำประเภท "ลูกทุ่ง-สตริง" ที่ชาวลูกทุ่งใช้ ไปจนถึงความไม่สามารถในการแนะนำแนวการเปล่งเสียง สำเนียงของลูกทุ่งให้เด่นชัดขึ้น แถมโค้ชบางคนยังพยายามแนะให้นักร้องลูกทุ่งพยายามตัดลูกคอลูกทุ่งออกไปเสียอีก
 
ผมไม่ได้จะมาปกป้องความเป็นลูกทุ่งแท้อะไรหรอก เพราะที่จริงถ้าจะพูดกันให้สุดทางไป อย่าว่าแต่ลูกทุ่งสมัยนี้ที่พยายามจะเอาลูกคอและน้ำเสียง "สตริง" ไปผสม และพวกร็อคแนวๆ ที่นำแนวทางของลูกทุ่งไปดัดแปลงแล้ว ลูกทุ่งที่มีอยู่แต่เดิมมันก็ "ไม่ลูกทุ่ง" พออยู่แล้ว เนื่องจากมันเพี้ยนจากของเดิมของมันคือความเป็นพื้นบ้านมาไกลจนขายได้ แต่เรื่องนั้นเป็นเรื่องใหญ่อีกเรื่องที่ต้องยกไว้ก่อน เพียงแต่ในกรณีเดอะวอยซ์ โค้ชเองก็ยอมรับว่าไม่มีความสามารถในการโค้ชลูกทุ่ง และจึงไม่สามารถเข้าใจลูกทุ่งแบบที่ลูกทุ่งเข้าใจกันเอง ลูกทุ่งที่เข้ารอบจึงไม่ได้มาจากเกณฑ์ของเสียงดีแบบลูกทุ่ง เท่ากับว่าเสียงดีในหูแบบชาวกรุง 
 
ถึงที่สุดแล้ว เห็นได้ชัดว่าลำพัง "เสียงร้อง" ไม่ใช่ทั้งหมดของความบันเทิงจากการร้องเพลง แต่ยังมี พื้นผิวของน้ำเสียง ตัวบทเพลงที่เหมาะกับผู้แสดง ประสบการณ์ชีวิตผู้แสดงที่มีส่วนดัดแปลงหรือส่งผ่านความหมายของบทเพลง การแสดงออกบนเวที (เช่นที่โค้ชบางคนบอกว่า นักร้องคนนี้เสียงดีอยู่แล้ว แต่เขากังวลเรื่องการเต้นมากกว่า) ตลอดจนเงื่อนไขเฉพาะเจาะจงและควบคุมไม่ได้คือ "ผู้ชม"  (ทั้งที่โหวตมา และผู้ชมในจินตนาการของโค้ชคนหนึ่ง ที่บอกว่าเธอเลือกนักร้องคนนี้เพราะคนไทยชอบแบบนี้)

แน่นอนว่าทุกคนเสียงดี แต่หากพวกเขาดีที่เสียงอย่างเดียว ก็ไม่เพียงพอสำหรับ "ความบันเทิงแบบชาวกรุงไทยสมัยนี้" ความสวย การแสดง ตลอดจนคุณค่าของสังคมร่วมสมัยที่พยายามเน้นอัตลักษณ์ที่หลากหลาย ล้วนมีส่วนกำหนดความบันเทิงแบบเดอะวอยซ์ไทยแลนด์

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เป็นส่วนหนึ่งของการปกครองในระดับภูมิภาคซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ การปกครองส่วนภูมิภาค สภาองค์กรชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในแต่ละปี ผมมักไปร่วมสัมภาษณ์นักเรียนเพื่อเข้าศึกษาในคณะในมหาวิทยาลัยที่ผมสอนประจำอยู่โดยไม่ได้ขาด เสียดายที่ปีนี้มีโอกาสสัมภาษณ์นักเรียนเพียงไม่กี่คน เพราะติดภาระกิจมากมาย แต่ก็ยังดีที่ได้สัมภาษณ์อย่างจริงจังถึง 10 คนด้วยกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การเสียชีวิตของเด็กหญิงบนรถไฟทำให้สังคมไทยสะเทือนใจกันไปทั่ว แต่ที่น่าสะเทือนใจไม่น้อยไปกว่าความสูญเสียดังกล่าวคือ การแสดงออกของสังคม ซึ่งชี้ให้เห็นความเป็นสังคมอาชญากรรมในหลายๆ ประการ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวัยเยาว์ ผมเริ่มสงสัยง่าย ๆ ว่า ในหัวของแต่ละคนคิดอะไรอยู่ จึงได้ทำให้คนแตกต่างกันหรือเหมือนกัน ผมพยายามค้นหาว่าความรู้ชนิดใดกันที่จะทำให้เข้าใจความคิดในหัวคนได้ แรก ๆ ก็เข้าใจว่าศาสนาจะช่วยให้เข้าใจได้ ต่อมาก็คือจิตวิทยา แต่ผมเลือกเรียนเศรษฐศาสตร์ แล้วมาสนใจประวัติศาสตร์และปรัชญา ก็ยังไม่ได้คำตอบที่ถูกใจ สุดท้ายผมได้เจอกับวิชาที่น่าสนใจว่าน่าจะช่วยให้เข้าใจทัศนคติได้ดี นั่นก็คือวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมสงสัยว่า บุคคลที่น่านับถือจำนวนมากที่ยินยอมตอบรับหรือเสนอตัวเข้าร่วมกับคณะรัฐประหาร ในคณะกรรมการต่างๆ มากมายนั้น ทั้งโดยออกนอกหน้าและเสนอตัวว่าขอทำงานอย่างลับๆ พวกเขาเข้าร่วมด้วยหลักการอะไร 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมพยายามครุ่นคิดอยู่นานว่า ทำไมคนไทยกลุ่มหนึ่งจึงโกรธนักโกรธหนาที่สหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาประณามและต่อต้านการรัฐประหารครั้งนี้อย่างรุนแรง ทั้งๆ ที่พวกเขานั้นเป็นทาสฝรั่งเหล่านี้มากที่สุดในประเทศนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักวิชาการสันติศึกษาเหล่านี้*ท่านคงไม่ได้ติดตามข่าว ขณะนี้ไม่มีใครพูดถึงมาตรา 7 กันแล้ว ฝ่ายที่จะพยายามตั้งรัฐบาล ทั้ง กปปส. และพรรคพวก และการดำเนินงานของประธานวุฒิสภาเถื่อน (เพราะยังไม่ได้รับการโปรดเกล้า ทำเกินอำนาจหน้าที่) ในขณะนี้ ไม่ได้สนใจข้อกฎหมายมาตราใดๆ ทั้งสิ้น พวกเขาเพียงพยายามหาเสียงสนับสนุนจากสังคมโดยไม่ใยดีกับเสียงคัดค้าน ไม่ใยดีกับข้อกฎหมาย เพื่อที่จะทูลเกล้าเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีของเขาเท่านั้น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (8 พค. 57) ผมข้องเกี่ยวอยู่กับภาพยนตร์ในหลายๆ ลักษณะ ตอนเช้า สัมภาษณ์นักศึกษาสอบเข้าปริญญาโทสาขามานุษยวิทยา ธรรมศาสตร์ น่าแปลกใจที่ผู้เข้าสอบหลายต่อหลายคนสนใจภาพยนตร์ ตกบ่าย ไปชมภาพยนตร์เรื่อง "วังพิกุล"ตามคำเชิญของ "คุณสืบ" และ "คุณเปีย" ผู้กำกับและตากล้องภาพยนตร์เรื่อง "วังพิกุล"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การประชุมไทยศึกษานานาชาติครั้งที่ 12 เพิ่งจบสิ้นลงไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว (22-24 เมษายน ที่มหาวิทยาลัยซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย) ผมไปประชุมครั้งนี้อย่างเหน็ดเหนื่อย เพราะต้องเตรียมตัวเสนอบทความตนเองหนึ่งชิ้น และร่วมในห้องเสวนาโต๊ะกลมอีกสองห้อง ทุกรายการอยู่คนละวัน ผมก็เลยต้องพูดทุกวันทั้งสามวัน