Skip to main content

 

เมื่ออ่านข่าวแอร์โฮสเตสที่เพิ่งถูกให้ออก ผมมีคำถามหลายข้อ ทั้งในมิติของโซเชียลมีเดีย hate speech และสิทธิแรงงาน อย่างไรก็ดี ขอเคลียร์ก่อนว่าหากใครทราบจุดยืนทางการเมืองของผม ย่อมเข้าใจดีว่าความเห็นต่อไปนี้ไม่ได้มาจากความเห็นทางการเมืองที่เอนเอียงไปในทางเดียวกับพนักงานสายการบินคนนี้แต่อย่างใด ข้อสังเกตคือ

 

1) ในมิติของโซเชียลมีเดีย เฟซบุกซึ่งมีสถานะเสมือนพื้นที่ส่วนตัวนั้น ได้กลับกลายเป็นกระแสสังคมขึ้นมาจนเจ้าตัวเองไม่สามารถควบคุมได้ ผลคือ เจ้าของคำพูด เจ้าของข้อความ กลับกลายมาต้องตกที่นั่งของการปรากฏตัวต่อสาธารณะ โดยที่ตนเองอาจจะไม่ได้ตั้งใจ พรมแดนที่ก้าวข้ามไปมาระหว่างพื้นที่ส่วนตัวกับพื้นที่สาธารณะในโซเชียลมีเดียในกรณีนี้ น่าจะเป็นอุทาหรณ์ให้ใครก็ตามที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นี้ ว่าควรระวังคำพูดคำจาให้มากขนาดไหน

 

สำหรับกรณีนี้ ผมคิดว่ามันไม่ยุติธรรมเลยที่คำพูดในกลุ่ม “เพื่อน” ซึ่งแม้ว่าจะถูกระบุให้เป็น “public” กลับกลายไปเป็นคำพูด “สาธารณะ” ในพื้นที่ “นอกกลุ่มเพื่อน” ด้วยเช่นกัน ผมคิดว่าเฟซบุกกำลังกลายเป็นเวทีของการลุกล้ำอาณาบริเวณส่วนตัวมากยิ่งขึ้นทุกขณะ เนื่องจากเจ้าของคำพูดเองอาจไม่ได้ต้องการให้สถานะความเป็น “public” มีความเป็นสาธารณะในระดับกว้างขนาดนั้น 

 

ความเป็นสาธารณะในขอบเขตของกลุ่มเพื่อนในเฟซบุกจึงเป็นสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ ปัญหานี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับกรณีแอร์โฮสเตสคนนี้เท่านั้น แต่ผมเชื่อว่ามันได้เคยเกิดขึ้นกับใครต่อใครหลายคนที่เล่นเฟซบุกมาแล้ว เพราะความเป็นเพื่อนและความสาธารณะมันไม่ได้ถูกจำกัดพื้นที่ชัดเจนนั่นเอง

 

2) ในมิติของคำพูดที่สร้างความเกลียดชัง แน่นอนว่าความเห็นของแอร์โฮสเตสคนนี้เป็นความเห็นที่ใช้ไม่ได้ แน่นอนว่าเราอาจวิจารณ์กันไปได้ในฐานะที่มันเป็นประเด็นทางสังคม แต่พิษภัยของคำกล่าวนั้นควรนำไปสู่โทษทัณฑ์สถานใด เราจะถือว่ากรณีนี้เป็น hate speech ได้หรือไม่ จากคำพูดซึ่งมาจากอคติทางการเมือง และเป็นคำพูดที่อาจกระตุ้นให้เกิดความรุนแรง ถ้าอย่างนี้ก็น่าจะเข้าข่าย hate speech

 

หากจะถือว่าเป็นดังนั้น ผมก็เห็นว่าในความขัดแย้งทางการเมืองที่ผ่านมา เรามี hate speech เต็มไปหมด มีหลากหลายรูปแบบ ทั้งที่รุนแรงมาก และที่กระตุ้นให้เกิดความรุนแรงได้อย่างแท้จริง (คำพูดประเภท “ล้มเจ้า” “คุณเอาเจ้าหรือไม่”) และกระทบต่อคนบางกลุ่มอย่างรุนแรงมากกว่าคนบางกลุ่ม (เช่นการที่ “ผังล้มเจ้า” มีส่วนในการใส่ร้ายทางการเมือง และนำไปสู่ความเกลียดชัง กระทั่งถูกเชื่อมโยงกับการชุมนุมของคนเสื้อแดงที่ถูกล้อม ปราบอย่างทารุณ นี่น่าจะถือว่าฟังล้มเจ้าเป็น hate speech ที่มีส่วนให้เกิดการสังหารโหดกลางกรุง) 

 

แต่กระนั้นก็ตาม หากผู้สร้าง hate speech เหล่านั้นจะถูกโทษทัณฑ์ เขาควรจะได้รับโทษทัณฑ์ในฐานะอะไร ในฐานะผู้ที่ทำลายชื่อเสียงองค์กรที่เขาสังกัดอยู่ ในฐานะทำลายชื่อเสียงของประเทศชาติ หรือในฐานะพลเมืองที่สร้างความเกลียดชังแก่กันในสังคมจนเป็นเหตุให้คนใช้ความรุนแรงทำร้ายกันได้ หากจะลงทัณฑ์กันหรือหาความรับผิดชอบ ควรจะเป็นแบบใด ก็ควรจะเป็นความรับผิดชอบในประการหลังไม่ใช่หรือ เพราะถือว่าเป็นคำพูดที่กระตุ้นให้เกิดความเกลียดชังในสังคม เป็นความผิดต่อสังคมโดยรวม ไม่ใช่โดยกลุ่มบุคคลหนึ่งใด

 

แต่ที่แย่คือ แอร์ฯ คนนี้ กลับถูกลงโทษในลักษณะทำนองที่ว่า เธอก่อความเสียหายให้บริษัท เธอทำลายชื่อเสียงบริษัท ความผิดของเธอจึงไม่ใช่ความผิดต่อสังคม แต่กลายเป็นความผิดต่อบริษัท

 

3) ในแง่สิทธิแรงงาน กรณีนี้จะนับว่าบริษัทลงโทษเกินกว่าเหตุได้หรือไม่ บริษัทต้องการปกป้องตนเอง หรือต้องการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมกันแน่ บริษัทอาศัยกฎที่ว่า “ข้อมูลของผู้โดยสารจะต้องได้รับการปกปิด” แต่หากพนักงานเพียงกล่าวในเฟซบุกตนเองด้วยทัศนคติไปในอีกทางหนึ่ง เช่นว่า “วันนี้ดีใจมากเลย ได้บริการคุณน้องกุ๊บกิ๊บ อภิชาติบุตรีของท่านนายก...ที่อยู่ในดวงใจฉันตลอดกาล” พนักงานคนนี้ก็อาจจะไม่ต้องถูกให้ออก แต่เป็นเพราะข้อความที่พนักงานคนนี้กล่าวถูกนำไปวิพากษ์วิจารณ์ไปในทางลบมากกว่าหรือไม่ ที่ทำให้พนักงานคนนี้ต้องออกจากงาน

 

หากเกิดกรณีทำนองเดียวกันนี้อีก ที่แม้ว่าอาจจะไม่ได้ก่อความเสียหายแก่สังคมอย่างชัดเจน แต่หากคำพูดของพนักงานคนใดทำลายชื่อเสียงของบริษัท แล้วกลับกลายเป็นว่าพนักงานผู้นั้นจะต้องถูกให้ออก สิ่งน้ีจะกลายเป็นบรรทัดฐานไปในอนาคตหรือไม่ กรณีทำนองนี้เคยเกิดขึ้นกับพนักงานบริษัทชุดชั้นในแห่งหนึ่ง ที่ถูกเลิกจ้างเนื่องจากแสดงความเห็นทางการเมืองในทิศทางที่สังคมไม่ส่วนหนึ่งไม่เห็นด้วย แต่กลายเป็นว่า บริษัทเห็นว่าความเห็นนั้้นมีผลเสียต่อบริษัท ทั้งๆ ที่บริษัทไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการแสดงความเห็นนั้น ไม่มีส่วนต้องรับผิดชอบต่อความเห็นนั้น 

 

คำถามคือ ยุติธรรมหรือไม่ที่พนักงานจะต้องถูกให้ออกด้วยเหตุที่เขาหรือเธอแสดงความเห็นที่ขัดต่อความรู้สึกของสังคม และหากใช้มาตรฐานเดียวกันนี้ ในอนาคตอันใกล้ คงจะมีพนักงานบริษัทอีกมากมาย หรือพนักงานมหาวิทยาลัยจำนวนมาก ถูกเลิกจ้างอันเนื่องมาจากแสดงความเห็นขัดต่อความรู้สึกของกระแสมวลชน

 

ถึงที่สุดแล้ว ผมว่ากรณีนี้ทำให้สังคมโซเชียลมีเดียน่าจะต้องไตร่ตรองถึงการนำข้อมูล “ส่วนตัว” ออกมาเปิดเผย สื่อมวลชนที่นำข่าวสารจากโซเชียลมีเดียมาขยายผล ก็น่าจะต้องใคร่ครวญขอบเขตของการคัดกรองข่าว “ส่วนตัว” เพื่อการนำเสนอสู่ “สาธารณะ”

 

ประเด็นที่กว้างกว่านั้นคือ หากเราจะหาคนรับผิดชอบต่อการสร้างความจงเกลียดจงชังอย่างต่อเนื่องขึ้นมาในสังคมนี้ไม่ได้ ปัจเจกชนก็คงต้องพิจารณาเองให้ดีว่า ความแตกต่างทางการเมืองไม่ว่าจะในนามของความจงเกลียดหรือจงรักใคร ก็ไม่ควรต้องผลักดันกันจนสุดกู่ จนอาจนำไปสู่การมุ่งร้ายแก่กัน หรือกระตุ้นให้เกิดการสังหารโหดกลางกรุงอย่างที่ผ่านๆ  มาอีก

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่แน่ใจว่านโยบายยุบโรงเรียนขนาดเล็กนี้จะดีหรือไม่ สงสัยว่า "คิดดีแล้วหรือที่จะยุบโรงเรียนขนาดเล็ก" ในทางเศรษฐศาสตร์แบบทื่อๆ คงมี "จุดคุ้มทุน" ของการจัดการศึกษาอยู่ระดับหนึ่ง ตามข่าว ดูเหมือนว่าควรจะอยู่ที่การมีนักเรียนโรงเรียนละ 60 คน แต่คงมีเหตุผลบางอย่างที่โรงเรียนตามพื้นที่ชนบทไม่สามารถมีนักเรียนมากขนาดนั้นได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตอนนี้เถียงกันมากเรื่องกะหรี่ ว่ากันไปมาจนกระทั่งทั้งสองฝ่ายก็หนีไม่พ้นเอาคำเดียวกัน หรือทัศนะคติเหยียดเพศหญิงเช่นเดียวกันมาด่ากัน ฝ่ายหนึ่งด่าอีกฝ่ายว่า "อีกะหรี่" อีกฝ่ายหนึ่งด่ากลับว่า "แม่มึงสิเป็นกะหรี่" หรือ "ไปเอากระโปรงอีนั่นมาคลุมหัวแทนไป๊" ตกลงก็ยังหนีไม่พ้นสังคมที่ดูถูกเพศหญิงอยู่ดี
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงสั้นๆ ของชีวิตผมมีโอกาสได้รู้จักคนในแวดวงนักเขียนรูป ผ่านครูสอนวาดเส้นให้ผมคนหนึ่ง ครูผมคนนี้มีเพื่อนคนหนึ่งที่เขาสนิทสนมกันดี ชื่อไสว วงษาพรหม เมื่อคืน ได้สนทนากับคนในแวดวงศิลปะ ที่เรือนชานแห่งหนึ่งที่มีไมตรีให้เพื่อนฝูงเสมอ ผมจึงเพิ่งทราบว่าไสวเสียชีวิตไปหลายปีแล้ว ลอง google ดูพบว่าเขาเสียชีวิตเมื่อ 22 สิงหาคม 2551
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทำไม "เหี้ย ควย หี เย็ด" จึงกลายเป็นภาพเขียนชุดล่าสุดของศิลปินเขียนภาพชั้นนำของไทย ทำไม "กะหรี่" จึงเป็นส่วนหนึ่งของข้อเขียนนักเขียนการ์ตูนผู้ทรงอิทธิพลของไทย ทำไมนักเศรษฐศาสตร์ไทยชั้นนำจึงเขียนคำ "อยากเอา" เป็นความเห็นประกอบภาพวิจารณ์นักการเมือง ทำไมภาษาแบบนี้จึงกลายมาเป็นภาษาทางการเมืองของคนที่มีความสามารถในการสื่อสารเหนือคนทั่วไปเหล่านี้ หลายคนวิเคราะห์แล้วว่า เพราะพวกเขาเร่ิมจนแต้มทางการเมือง "เถียงสู้อีกฝ่ายไม่ได้ก็เลยด่าแม่งไป"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วานนี้ (29 เมษายน 2556) "ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา" และ "ศูนย์ศึกษาสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย" มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดอภิปราย "สู่สันติภาพในอุษาคเนย์" งานนี้จัดท่ามกลางบรรยากาศการเจรจาสันติภาพระหว่างรัฐบาลไทยกับ BRN
ยุกติ มุกดาวิจิตร
“นักวิชาการเสื้อแดง” เป็นเสมือนตำแหน่งทางวิชาการอย่างหนึ่ง การตีตราตำแหน่งนี้สะท้อนความเฉยชาและคับแคบต่อปัญหาสิทธิมนุษยชนและความเป็นธรรมของปัญญาชนไทย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวานเพ่ิงดูพี่ "มากขา" หลายขา แล้วก็อยากมีความเห็นอย่างใครๆ เขาบ้าง ส่วนใครที่ยังไม่ได้ดูแล้วกำลังคิดจะไปดู ก็อย่าเพ่ิงอ่านครับ เดี๋ยวจะเซ็งเสียก่อน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทุกๆ ปี ผมสอนวิชา “ชาติพันธ์ุ์นิพนธ์: การวิพากษ์และการนำเสนอแนวใหม่” ระดับปริญญาตรี ผมออกแบบให้วิชานี้เป็นการศึกษาแบบสัมมนา มีการแลกเปลี่ยนความเห็นของนักศึกษามากกว่าการบรรยายของผู้สอน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อสองวันก่อน มีคนที่สนใจนโยบายรถไฟความเร็วสูงคนหนึ่งถามผมว่า "อาจารย์รู้ไหมว่า โอกาสที่รถไฟไทยจะตรงเวลามีเท่าไหร่" ผมตอบ "ไม่รู้หรอก" เขาบอกว่า "มีเพียง 30%" 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"ปีใหม่" เป็นจินตกรรมของเวลาที่กำหนดการสิ้นสุดและการเริ่มต้น ศักราช เวลาของสังคม การจัดระบบของเวลา ล้วนมีเทศกาลกำกับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
น่าละอายใจที่สภาผู้แทนราษฎรปัดตกข้อเสนอของประชาชนกว่าสามหมื่นคนที่เสนอให้แก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ถ้าบอกกันตรงๆ ว่า "กลัวอ่ะ" ก็จบ ประชาชนอาจจะให้อภัยความปอดแหกได้ แต่ประชาชนส่วนหนึ่งจะตัดสินใจไม่เลือกพวกคุณเข้ามาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนฯ อีกอย่างแน่นอน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ยามหมดปีการศึกษาทีไร ก็ชวนให้ทบทวนถึงหน้าที่การงานด้านการเรียนการสอนของตนเอง แต่ผมทำตามแบบที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งชาติ หรือ สกอ. ให้ทำไม่เป็นหรอก เพราะมันไร้สาระ เป็นกลไกเกินไป และไม่ก่อประโยชน์อะไรนอกจากเปลืองกระดาษและน้ำหมึก ผมมักทำในแบบของผมเองนี่แหละ