Skip to main content

นึกไม่ถึงและนึกไม่ออกจริงๆ ว่า ทำไมคนเปิดร้านขายหนังสือในปลายศตวรรษที่ 20 - ต้น 21 จะมีความคิดแบบนี้ได้ นี่แสดงว่าเขาไม่ได้อ่านหนังสือที่เขาขายบ้างเลย หรือนี่แสดงว่าการอ่านหนังสือไม่ได้ช่วยจรรโลงจิตใจนายทุนบางคนขึ้นมาได้เลย*

ข้อเขียนนี้จึงไม่ได้จะต่อต้านซีเอ็ดเท่านั้น แต่ต่อต้านทัศนคติแบบซีเอ็ด ต้องการบอกกล่าวว่า หากสังคมปล่อยให้ทัศนคติแบบนี้ของซีเอ็ดดำรงอยู่ต่อไป ก็เท่ากับว่าสังคมไทยกำลังถอยหลังในเรื่องภาษา วรรณคดี และความเข้าใจต่อเพศวิถี 
 
1) ซีเอ็ดจะกีดกันการเรียนรู้เรื่องเพศ ในโลกปัจจุบัน เรื่องความเป็นครอบครัว ความหลากหลายทางเพศ เพศวิถี และความรัก เป็นเรื่องที่ยิ่งต้องส่งเสริมให้เกิดความรับรู้เข้าใจที่กว้างขวาง ไม่ใช่จะต้องมาเก็บซุกไว้ราวกับเป็นเรื่องเสียหายน่าอับอาย ขนาดสถาบันทางวิชาการอย่างศูนย์มานุษยวิทยา สิรินธร (องค์การมหาชน) ก็ยังส่งเสริมให้ศึกษาเร่่ืองนี้ หรือซีเอ็ดจะไม่วางหนังสือของศูนย์มานุษย์ฯ อีกด้วย
 
ในระดับของข้อมูลข่าวสาร เช่น รู้กันทั่วไปว่ากษัตริย์ในโลกนี้บางพระองค์มีรสนิยมทางเพศแบบที่ซีเอ็ดกีดกัน หากจะปิดกั้นกัน สังคมไทยก็จะไม่ได้เรียนรู้ว่า รสนิยมทางเพศแบบนั้นเป็นเรื่องปกติ สังคมไหนๆ ก็มีได้เหมือนกัน ไม่ได้แปลกอะไร
 
2) ซีเอ็ดกำลังจะกีดกันความรู้เกี่ยวกับความรักในเชิงความรู้สึก ความรู้และความเข้าใจเรื่องเพศไม่ได้มาจากความรู้ทางการแพทย์ที่ตายด้าน หรือความรู้ทางวิชาการสังคมศาสตร์ที่อ่านยากเย็นเท่านั้น แต่ความรู้ที่เกี่ยวกับความรู้สึกเป็นมิติของการแสวงหาความรู้ที่สำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน วรรณกรรมที่เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับเพศ ให้ความเข้าใจเรื่องเพศได้ดีและสำคัญไม่น้อยไปกว่าข้อเขียนทางการแพทย์และข้อเขียนทางวิชาการ หรือใครจะปฏิเสธว่าตนไม่ได้ปฏิสนธิมาจากความใคร่ของบุพการี ที่มีจินตนาการทางเพศปะปนอยู่ในความรักและแรงปรารถนาจะสืบวงค์วาน 
 
หากสังคมไหนกำหนดว่า ห้ามคนร่วมเพศในวรรณกรรม ห้ามตัวละครแสดงอาการร่วมเพศ ก็นับได้ว่าสังคมนั้นกำลังปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงออก
 
3) ซีเอ็ดกำลังสร้างความรังเกียจต่อเพื่อนมนุษย์ ทำให้เพศวิถีบางลักษณะถูกรังเกียจ บ่มเพาะเชื้อความเกลียดชังระหว่างมนุษย์ สร้างอคติทางเพศ อาจจะเข้าข่ายดูหมิ่นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ด้วยซ้ำ ไม่ต่างอะไรกับการกีดกันไม่ให้ "คนดำ" เข้าร้านอาหารในอเมริกาสมัยก่อน แน่นอนว่าแผงหนังสือในร้านซีเอ็ดเป็นพื้นที่ส่วนบุคคลของซีเอ็ด แต่หากร้านหนังสือทำอย่างนี้ ก็ไม่ต่างอะไรกับการเลือกลูกค้า กีดกันลูกค้า ด้วยอคติทางเพศ
 
4) ซีเอ็ดกำลังจะทำลายภาษา การคัดเลือกเซ็นเซอร์จากเกณฑ์ของภาษาเป็นเกณฑ์ที่กำกวม ใครจะเป็นคนตัดสินว่าเล่มไหนหยาบหรือไม่ และถึงที่สุดแล้ว การปิดกั้นนี้จะเป็นการทำลายภาษา "คำหยาบโลน ลามก ฯลฯ" มีพัฒนาการทางสังคมของมันเอง มีท้องถิ่นมีชาติพันธ์ุของมัน เช่นคำว่า "เหี้ย" นอกจากเป็นคำแล้ว ปัจจุบันยังกลายเป็นคำที่มีความหมายเชิงบวก หมายถึง "มากๆ" "อย่างยิ่ง" หรือคำว่า "หำ" ในหนังสือที่ใช้สำนวนภาษาอีสาน หรือคำที่คนลาวใช้เรียก "ควาย" คนคัดเลือกของซีเอ็ดจะเข้าใจสถานะความหยาบหรือไม่หยาบในภาษาถิ่นแค่ไหน เป็นต้น
 
การทำลาย กีดกันการใช้ถ้อยคำ เป็นการทำลายสังคมของการสื่อสาร คำหยาบ เป็นส่วนหนึ่งของสังคม หากเราจะกีดกันกันอย่างนั้นจริงๆ สังคมภาษานี้ก็จะแบนราบ ไร้อารมณ์ หมดรสนิยมของความหลาบโลน กีดกันการใช้ภาษาของคนในบางชนชั้น บางสังคม บางท้องถิ่น
 
5) ซีเอ็ดกำลังดูถูกคนอ่าน ว่าไม่สามารถตัดสิน คัดเลือก กลั่นกรองสิ่งต่างๆ ได้เอง จึงเซ็นเซอร์สิ่งที่ตนเองเห็นว่าชั่วร้าย ทั้งที่คนอ่านเองก็มีวิจารณญาณตัดสินอะไรดีอะไรชั่วเองได้ หากจะเพิ่มความระมัดระวัง ก็อาจเลือกใช้วิธีติดเรทหนังสือตามวัยก็เพียงพอแล้ว เพียงแต่ขอให้คนขายของซีเอ็ดปฏิบัติตามจริงอย่างเคร่งครัดก็แล้วกัน นี่เป็นสิ่งที่ประเทศที่เจริญทางปัญญาแล้วเขาทำกัน หรือซีเอ็ดยังเห็นว่ามีแต่ตนเองเท่านั้นที่เจริญ ส่วนคนอ่านยังโง่อยู่
 
ร้านหนังสือก็เหมือนห้องสมุด มันบอกสถานะทางปัญญาของสังคม เป็นมันสมอง บ่งบอกรสนิยมของสังคม หากร้านหนังสือกำหนดจัดวางคัดกรองเนื้อหาอย่างหนึ่ง นั่นก็กำลังสะท้อนให้เห็นส่วนหนึ่งว่า สังคมนั้นจะได้เห็นและไม่ได้เห็นอะไร สังคมนั้นมีฐานความรู้ความคิดกว้างหรือแคบแค่ไหน มีทัศนคติเช่นไร ยิ่งร้านหนังสือที่มีฐานลูกค้ากว้างอย่างซีเอ็ดด้วยแล้ว ยิ่งสามารถใช้บ่งบอกภูมิปัญญาของสังคมได้เป็นอย่างดี
 
หากซีเอ็ดยังไม่มีท่าทีเปลี่ยนแปลง ผมเห็นว่าสังคมไทยควรงดสนับสนุนสินค้าซีเอ็ด ควรต่อต้านร้านหนังสือซีเอ็ด เพื่อไม่ให้ทัศนคติคับแคบแบบนี้สืบทอดในสังคมไทยต่อไป
 
* หมายเหตุ ร่วมลงชื่อคัดค้านซีเอ็ดได้ที่ https://docs.google.com/spreadsheet/viewform?formkey=dHJuMWUxWEF0NTF0ZVNGNnNTZUFfV0E6MQ&ifq

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลังจากพินิจพิเคราะห์แล้วว่า ท่านผู้นำกำลังจะหมดเรื่องพล่ามในไม่ช้า เพราะเริ่มวนเวียนและเล่าเรื่องตัวเองมากขึ้น ท่านจึงควรหาความรู้รอบตัวมากขึ้น ก็เลยขอตามกระแส แนะนำหนังสือให้ท่านอ่าน ก็ไม่รู้จะ tag ท่านยังไง แต่คิดว่า เขียนใส่ขวดลอยไปก็อาจจะลอยไปถึงตีนบันไดบ้านท่านบ้างสักวัน ก็ขออนุญาตแนะนำดังนี้ครับท่าน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นท่านผู้นำไม่นิยมผู้หญิง เพราะในคณะรัฐบาลท่านมีผู้หญิงเพียง 2 คน ผมก็เลยขอแนะนำท่านว่า ผู้หญิงทำงานความคิดเก่งๆ มีมากมาย ไม่ใช่ให้ลูกน้องเอาผู้หญิงมาเต้นโป๊เปลือยดูกันในค่ายทหารเท่านั้น แต่ก็เอาล่ะ ขอแนะนำนักมานุษยวิทยาสตรีที่ผมชื่นชอบสัก 10 คนก็แล้วกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรามีปาก เขามีปืน เราขัดขืน เขาข่มเหงเรานักเขียน เขานักเลง เรายำเกรง เขาลำพอง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ใครที่รู้จักอาคารดังๆ ของแฟรงค์ ลอยด์ ไรท์ (Frak Lloyd Wright) อย่าง Guggenhiem Museum ที่นิวยอร์ค บ้านน้ำตกที่เพลซิลวาเนีย Imperial Hotel ที่โตเกียว อาจจะนึกไม่ถึงว่า บ้านที่ไรท์เรียกว่าเป็นบ้านของเขานั้นอยู่ในชนบทที่ Spring Green มลรัฐวิสคอนซิน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะแบบนี้ปรากฏตัวบ่อยครั้งในข้อถกเถียงทางการเมืองไทย ในระบบการศึกษาไทย ตำราเรียนไทย ประวัติศาสตรืไทยแบบทางการก็ยังสอนแบบนี้อยู่ คนไทยไม่ว่าจะใส่เสื้อสีใด ส่วนใหญ่ก็ยังเชื่อแบบนี้อยู่ ทัศนะแบบนี้คงกะลาความเป็นไทยเอาไว้อย่างหนาเตอะเกรอะกรัง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บทสนทนาระหว่าง นายอานันท์ ปันยารชุน กับนายภิญโญ ไตรสุริยธรรมา ล่าสุด เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2557 ที่โรงแรมมณเฑียร มีสาระที่น่าสนใจหลายประการต่อการเข้าใจการเมืองไทย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 นึกถึงชิคาโก ผู้คนคงนึกถึงตึกระฟ้าที่เคยประชันกันกับนิวยอร์ค นึกถึงธุรกิจที่ดึงดูดให้ใครต่อใครมาอาศัยที่นี่จนเป็นเมืองใหญ่อันดับ 3 ของสหรัฐอเมริกา นึกถึงสถาปัตยกรรมอันหลากหลายและฟังเมืองใหม่หลังไฟไฟม้ใหญ่จนราบไปทั้งเมือง นึกถึงอัลคาโปนเจ้าพ่อชื่อดัง นึกถึงพิพิธภัณฑ์ที่เดินดูกันทั้งเดือนก็คงไม่หมด นึกถึงมหาวิทยาลัยอันโด่งดังอย่างมหาวิทยาลัยแห่งชิคาโก แต่ใครบ้างจะนึกถึงแมกไม้และสายน้ำของชิคาโก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
  เมื่อวันจันทร์ (11 สค.) หลังจากใช้เวลาอยู่ใน Field Museum (ซึ่งพอดีมีนิทรรศการว่าด้วยกำเนิดของ Field Museum ที่เกี่ยวข้องกับกำเนิดของมานุษยวิทยาอเมริกันอย่างยิ่ง) ไปกว่า 4 ชั่วโมงแล้ว ผมลังเลอย่างยิ่งที่จะเข้าชม The Art Institute of Chicago ต่อ เพราะเกรงว่าจะไม่ทันได้ครุ่นคิดอะไรกับความรู้และความรู้สึกแบบอัดแน่นจากเมื่อ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักเรียนคนหนึ่งถามเรื่อง "การเขียน" และการวางแผน "อนาคต" ของเขา ผมเขียนตอบไปอย่างยาว เห็นว่าอาจเป็นประโยชน์กับคนอื่นๆ บ้าง ก็เลยขอนำมาเผยแพร่ที่นี่ครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะอาจารย์ธรรมศาสตร์ ผมไม่อาจยินดีกับการที่ผู้บริหารสูงสุดของมหาวิทยาลัยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จาก คสช. 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อก่อนผมเถียงกับเพื่อนเสมอว่า อย่ามาถามว่าผมเป็นคนที่ไหน เพราะคนเราอาจมีหลายบ้าน มีใครในยุคนี้ที่ไม่ย้ายบ้านบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำสวยหรูนี้ประดิษฐ์ขึ้นมาในภาษาไทยโดยใครนั้น ผู้ที่ติดตามแวดวงวิชาการในระยะ 30 ปีที่ผ่านมาย่อมทราบดี ไม่ว่าจิตวิญญาณของผู้ที่กล่าวคำนี้จะยังอยู่กับแนวคิดนี้ที่เขาอาจพลั้งปากออกมาหรือไม่ คนที่สนิทชิดเชื้อกับผู้ประดิษฐ์คำท่านนี้ก็คงจะทราบดี