Skip to main content

แทนที่จะเถียงกับอีกท่านหนึ่งที่วิจารณ์ผมต่อหน้ามากมายเมื่อวาน ผมขอใช้พลังงานเถียงกับข้อเสนอล่าสุดของอาจารย์ธีรยุทธ บุญมีจากข่าวในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1354935625&grpid=01&catid=&subcatid=) ดังนี้

 
1. อ.ธีรยุทธ: "ความขัดแย้งระหว่างสองสีเสื้อจะไม่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทิศทางการเมืองของประเทศ เพราะเหลือง-แดง เป็นเพียงแค่กลุ่มตื่นตัวทางการเมือง ไม่ใช่ขบวนการทางการเมือง ซึ่งต้องมีเป้าหมายทางอุดมการณ์ทางการเมืองที่ชัดเจน"
 
ขอเถียงว่า: อาจารย์ธีรยุทธกลับด้านคำอธิบาย เพราะอันที่จริงความขัดแย้งเหลือง-แดงเป็นผลจากความเปลี่ยนแปลงที่ลึกซึ้งในทางเศรษฐกิจและการเมือง ความขัดแย้งเหลือง-แดง "มาจาก" ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่ก่อนแล้ว ดังนั้นไม่ว่าความขัดแย้งนี้จะดำเนินต่อไปอย่างไร ความเปลี่ยนแปลงในสังคมไทยก็ได้เกิดขึ้นมาก่อนแล้ว
 
ความขัดแย้งเหลือง-แดงเป็นอาการระดับพื้นผิว แต่ที่ลึกกว่านั้นคือความเปลี่ยนแปลงพื้นฐานทางเศรษฐกิจในระดับรากหญ้า ในสังคมไทยปัจจุบันนั้น คนจนลดลง คนชั้นกลางระดับล่างมากขึ้น แหล่งทุนในชนบทมากขึ้น ทำให้เกิดนายทุนในระดับท้องถิ่นมากขึ้น เกษตรกรกลายเป็นผู้ประกอบการมากขึ้น ความเป็นเมืองในต่างจังหวัดขยายตัวมากขึ้น
 
ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้สัมพันธ์กับความขัดแย้งทางการเมืองและอุดมการณ์ คนเสื้อแดงส่วนใหญ่เติบโตขึ้นมาจากการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ด้านการเมือง ความสัมพันธ์เชิงอำนาจในชนบทหลากหลายและยืดหยุ่นมากขึ้น ทำให้ระบบเจ้าพ่อผู้มีอิทธิพลอ่อนกำลังลง ชาวบ้านมีทางเลือกมากขึ้น การเมืองท้องถิ่นขยายความเข้าใจเร่่ืองประชาธิปไตยและการเลือกตั้งมากขึ้น 
 
ด้านอุดมการณ์  การเลือกตั้งมีความหมายต่อชีวิตคนมากขึ้น และอำนาจในการจัดการตนเองของคนส่วนใหญ่มากขึ้น มีการวิพากษ์ชนชั้นนำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันกษัตริย์และสถาบันตุลาการ ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนมากและกว้่างขวางขนาดนี้ 
 
2. อ.ธีรยุทธ: "ทิศทางประเทศจะมีเพียงปัญหาความรุนแรงระดับย่อยๆ ตราบใดที่ตัวละครหลัก คือ รัฐสภา พรรคการเมือง กองทัพ และศาล ไม่ล้ำเส้นกัน"
 
ขอเถียงว่า: ในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา รัฐสภาและพรรคการเมืองมีสิทธิแก้รัฐธรรมนูญ มีอำนาจที่จะปรับบทบาทสถาบันทางการเมืองใดๆ และสามารถแก้ไขลดทอนอำนาจศาล กองทัพ รวมทั้งปรับบทบาทสถาบันกษัตริย์ให้สอดคล้องกับทิศทางที่ก้าวหน้าของสังคมมากขึ้นได้
 
มุมมองแบบของอาจารย์ธีรยุทธจึงเป็นมุมมองที่มุ่งคงรักษาสถานะของสังคมไว้ให้หยุดนิ่ง หรืออีกนัยหนึ่งคือ เป็นมุมมองที่รักษาความเหลื่อมล้ำทางอำนาจเอาไว้ไม่ให้ถูกแตะต้องแก้ไข พูดแบบวิชาการคือ เป็นทัศนะที่มุ่งรักษา status quo ไว้ไม่ให้เปลี่ยนแปลง มองแบบ functionalism ลดทอนความขัดแย้งทางการเมืองในระดับรากฐาน ไปเป็นเพียงปัญหาของการ "ล้ำเส้น" คือแต่ละสถาบันทางสังคมไม่รู้หน้าที่ของตนเอง 
 
แต่หากมองปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่ผ่านมาในระยะ 20 ปีนี้ เราจะเห็นว่า ฝ่ายหนึ่ง คือทหารและศาล เป็นตัวแทนของฝ่ายอนุรักษ์นิยม อยู่ฝ่ายชนชั้นนำที่ต้านกระแสการเปลี่ยนแปลง ต้านการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน 
 
ส่วนฝ่ายประชาชนที่รักความก้าวหน้าของสังคม และประชาชนรากหญ้าที่ให้ความสำคัญกับการเลือกตั้งและสิทธิเสรีภาพ พวกเขามุ่งหวังให้รัฐสภาเป็นที่พึ่ง และการเชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ หากแต่ในขณะนี้รัฐสภากลับไม่ใช้อำนาจของตนอย่างเต็มที่ ดังจะเห็นได้จากการรณรงค์แก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่ประชาชนกว่า 30,000 คนส่งเอกสารให้รัฐสภา เนื่องจากพวกเขายังหวังที่จะพึ่งรัฐสภา
 
3. อ.ธีรยุทธ: "ในระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า คนเสื้อเหลืองและเสื้อแดงจะคลี่คลายตัวมันเองไปตามธรรมชาติ โดยกลุ่มคนเสื้อเหลืองจะคลี่คลายไปเป็นกลุ่มอนุรักษนิยม แนวกลุ่มจงรักภักดี และกลุ่มชาตินิยม ดังเช่นที่เกิดในหลายประเทศ เช่น ญี่ปุ่น ขณะที่เสื้อแดงจะพัฒนาไปเป็นกลุ่มพลังการเมืองภูมิภาค การเมืองท้องถิ่น เป็นสำคัญ"
 
ขอเถียงว่า: การสร้างภาพลักษณะคู่ตรงข้ามระหว่างภูมิภาค/เสื้อแดง กับเสื้อเหลือง/เมือง อย่างนี้ ไม่น่าจะสอดคล้องกับทิศทางของพัฒนาการของสังคมไทยเท่าใดนัก เนื่องจากพลังทางการเมืองไม่ได้วางอยู่บนความขัดแย้งเชิงพื้นที่ในลักษณะ "สองนคราประชาธิปไตย" อีกต่อไป คนชนบทกำลังกลายเป็นคนเมืองมากขึ้น การเคลื่อนไหวไหลเวียนระหว่างเมืองกับชนบทกำลังมีมากขึ้น ทิศทางของสังคมที่เชื่อมั่นในสิทธิเสรีภาพจะขยายตัวมากยิ่งขึ้น
 
นอกจากนั้น อุดมการณ์ "อนุรักษ์นิยม แนวกลุ่มจงรักภักดี" ไม่ได้มีภาวะอกาลิโก อุดมการณ์นี้ที่เราเห็นเข้มข้นอยู่ทุกวันนี้ อาจเปลี่ยนไปในระยะอันใกล้ เมื่อถึงวันนั้นเราจะได้เห็นกันว่า การยึดติด "ตัวบุคคล" เหนือ "สถาบัน" และการไม่ยอมรับในอุดมการณ์ "กษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ" จะนำความเสื่อมมาสู่ทั้งตัวสถาบันเองและความจงรักภักดีอย่างไร
 
ความแตกต่างขัดแย้งกันในขณะนี้จึงน่าจะคลี่คลายตัวไปจริง แต่น่าจะเป็นไปในทิศทางที่จะทำให้มีคน "แบบแดงๆ" มากยิ่งขึ้นมากกว่า
 
ผมจึงเห็นในทางตรงข้ามกับอาจารย์ธีรยุทธว่า ความขัดแย้งเหลือง-แดงสะท้อนความเปลี่ยนแปลงที่มาอยู่แล้ว และจะไม่เปลี่ยนถอยหลังกลับไปได้แน่ๆ แต่หากเชื่อตามวาทกรรม "ไม่ล้ำเส้น" คือให้รัฐสภาและพรรคการเมืองหยุดนิ่ง ไม่ปรับโครงสร้างอำนาจให้สะท้อนความต้องการของสังคมผ่านการแก้รัฐธรรมนูญ เชื่อได้ว่าสังคมไทยจะก้าวเข้าสู้ความขัดแย้งเหลือง-แดงอีกครั้งในอนาคตอันใกล้นี้
 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (24 ธันวาคม 2555) กสทช.เชิญให้ผมไปร่วมแสดงความเห็นในเวทีเสวนาสาธารณะ “1 ปี กสทช. กับความ (ไม่) สมหวังของสังคมไทย” ทีแรกผมไม่คิดว่าตนเองจะสามารถไปวิจารณ์อะไรกสทช.ได้ แต่ผู้จัดยืนยันว่าต้องการมุมมองแบบมานุษยวิทยา ผมจึงตกปากรับคำไป 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อโต้แย้งต่อความเห็นผมจากของเครือข่ายองค์กรงดเหล้า ที่ลงในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1355920241&grpid=03&catid=&subcatid=) ย้ำให้เห็นชัดถึงความอับจนของกรอบคิดของคนกลุ่มนี้ต่อไปนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไม่เพียงแต่นักเขียนบางคนเท่านั้นที่อาจจะไม่เข้าใจหรือมองข้ามประเด็นความแตกต่างทางชาติพันธ์ุ แต่ผมคิดว่าแวดวงภาษาและวรรณกรรมบ้านเราอาจจะไม่ตระหนักถึงปัญหานี้โดยรวมเลยก็ได้ และในแง่หนึ่ง ผมคิดว่าซีไรต์เองอาจจะมีส่วนสร้างวัฒนธรรมไม่อ่อนไหวต่อความแตกต่างทางวัฒนธรรมด้วยเช่นกัน และถึงที่สุดแล้ว นี่อาจจะกลายเป็นข้อจำกัดที่ปิดกั้นโอกาสที่วรรณกรรมไทยจะก้าวเข้าสู่ระดับสากล
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะของนายแพทย์ที่เป็นตัวแทนของคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ แสดงให้เห็นถึงความคิดคับแคบของผู้มีอำนาจกลุ่มหนึ่ง ที่มักใช้อำนาจก้าวก่ายชีวิตผู้คน บนความไม่รู้ไม่เข้าใจไม่อยากรับผิดชอบต่อปัญหาเชิงโครงสร้างที่ละเอียดอ่อน และบนกรอบข้ออ้างเรื่องคุณธรรมความดีที่ยกตนเองเหนือคนอื่น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แทนที่จะเถียงกับอีกท่านหนึ่งที่วิจารณ์ผมต่อหน้ามากมายเมื่อวาน ผมขอใช้พลังงานเถียงกับข้อเสนอล่าสุดของอาจารย์ธีรยุทธ บุญมีจากข่าวในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1354935625&grpid=01&catid=&subcatid=) ดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นึกไม่ถึงและนึกไม่ออกจริงๆ ว่า ทำไมคนเปิดร้านขายหนังสือในปลายศตวรรษที่ 20 - ต้น 21 จะมีความคิดแบบนี้ได้ นี่แสดงว่าเขาไม่ได้อ่านหนังสือที่เขาขายบ้างเลย หรือนี่แสดงว่าการอ่านหนังสือไม่ได้ช่วยจรรโลงจิตใจนายทุนบางคนขึ้นมาได้เลย*
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่ออ่านข่าวแอร์โฮสเตสที่เพิ่งถูกให้ออก ผมมีคำถามหลายข้อ ทั้งในมิติของโซเชียลมีเดีย hate speech และสิทธิแรงงาน อย่างไรก็ดี ขอเคลียร์ก่อนว่าหากใครทราบจุดยืนทางการเมืองของผม ย่อมเข้าใจดีว่าความเห็นต่อไปนี้ไม่ได้มาจากความเห็นทางการเมืองที่เอนเอียงไปในทางเดียวกับพนักงานสายการบินคนนี้แต่อย่างใด ข้อสังเกตคือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขณะกำลังนั่งกินหอยแครงลวกอยู่เวลานี้ ก็ชวนให้คิดถึงคำพูดของนักวิชาการกัมพูชาคนหนึ่ง ที่เคยนั่งต่อหน้าอาหารเกาหลีจานพิเศษ คือหนอนทะเลดิบตัดเป็นชิ้นๆ ขยับตัวดึบๆ ดึบๆ อยู่ในจานแม้จะถูกตั้งทิ้งไว้เป็นชั่วโมง ตอนนั้น ผมบ่ายเบี่ยงไม่กล้ากินอยู่นาน แม้จะรู้ว่าเป็นอาหารพิเศษราคาแพงที่ศาสตราจารย์ชาวเกาหลีสรรหามาเลี้ยงต้อนรับการมาเกาหลีครั้งแรกของพวกเราหลายคน เพื่อนกัมพูชาบอกว่า "กินเถอะพี่ หอยแครงลวกในเมืองไทยน่ากลัวกว่านี้อีก" ผมจึงหาเหตุที่จะหลบเลี่ยงอีกต่อไปไม่ได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมนั่งดูบันทึกรายการ The Voice Thailand (เดอะวอยซ์) เป็นประจำ แม้ว่าจะเห็นคล้อยตามคำนิยมของโค้ชทั้ง 4 อยู่บ่อยๆ แถมยังแอบติดตามความเห็นเปรี้ยวๆ ของนักเขียนบางคนที่ชอบเรียกตนเองสวนทางกับวัยเธอว่า "ป้า" ซึ่งหมดเงินกดโหวตมากมายให้นักร้องหนุ่มน้อยแนวลูกทุ่ง แต่ผมไม่ได้รับความบันเทิงจากเดอะวอยซ์เพียงจากเสียงเพลง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมพยายามถามตัวเองว่า การจะสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนการชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยามที่นำโดย "เสธ.อ้าย" จะมาจากเหตุผลประการใดบ้าง แต่ผมก็ชักจะเริ่มไม่แน่ใจว่า เอาเข้าจริง คนที่เข้าร่วมชุมนุมกับเสธ.อ้ายจะมีเหตุผลหรือไม่ หรือหากมี พวกเขาจะใช้เหตุผลชุดไหนกันในการเข้าร่วมชุมนุม ยังไงก็ตาม อยากถามพวกคุณที่ไปชุมนุมว่า พวกคุณอยากให้ประเทศเป็นอย่างนี้จริงๆ หรือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (20 พฤศจิกายน 2555) นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เชิญไปบรรยายในงานสัมมนา "การเมืองเรื่องคนธรรมดา" ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ขอตัดส่วนหนึ่งของบทบรรยายของผมที่ใช้ชื่อว่า "การเมืองวัฒนธรรมดา: ความไม่ธรรมดาของสามัญชน" มาเผยแพร่ในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่อ 16 พฤศจิกายน 2555 นิสิตรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเชิญไปร่วมกิจกรรมจุฬาวิชาการ โดยให้ไปวิจารณ์บทความนิสิตปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ 4 ชิ้น 1) ว่าด้วยเบื้องหลังทางการเมืองของการก่อตั้งองค์การอาเซียน 2) ว่าด้วยบทบาทและการต่อรองระหว่างประเทศในอาเซียน 3) ว่าด้วยการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าของธุรกิจเอกชนไทยในคู่ค้าอาเซียน และ 4) ว่าด้วยนโยบายชนกลุ่มชาติพันธ์ุในพม่า ข้างล่างนี้คือบันทึกบทวิจารณ์