Skip to main content

ทัศนะของนายแพทย์ที่เป็นตัวแทนของคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ แสดงให้เห็นถึงความคิดคับแคบของผู้มีอำนาจกลุ่มหนึ่ง ที่มักใช้อำนาจก้าวก่ายชีวิตผู้คน บนความไม่รู้ไม่เข้าใจไม่อยากรับผิดชอบต่อปัญหาเชิงโครงสร้างที่ละเอียดอ่อน และบนกรอบข้ออ้างเรื่องคุณธรรมความดีที่ยกตนเองเหนือคนอื่น

 
เมื่อวาน (13 ธค. 2555) ไปออกรายการ "คมชัดลึก" ผมยอมดั้นด้นไปจนถึงบางนาด้วยเพราะกฎกระทรวงสาธารณสุขใหม่ ที่จะส่งผลรุนแรงต่อการประกอบกิจการร้านอาหารบนทางเท้า กฎที่จะออกมาคือ "ห้ามผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนทางตามกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบก ยกเว้นที่ส่วนบุคคล เนื่องจากผลเสียของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนทางทำให้เกิดอุบัติได้ง่าย" ผมตั้งคำถามและวิจารณ์นโยบายนี้ไปหลายข้อ
 
1) วิธีการสำรวจ ที่ว่าคนกว่า 80% เห็นด้วยนั้นเป็นกลลวงทางสถิติ เนื่องจากเมื่อถามทัศนคติเกี่ยวกับเรื่องศีลธรรม คนย่อมตอบให้ตนเองดูดีอยู่แล้ว นอกจากนั้น การใช้แบบสอบถามยังไม่ได้คำนึงถึงข้อจำกัดของการคิดตอบในทันทีทันใด และจำกัดเพียงปัญหาส่วนบุคคล ผู้ตอบอาจจะยังไม่ทันได้ไตร่ตรองถึงปัญหาเชิงโครงสร้างของสังคม ฉะนั้นในการวิจัยทางสังคม จะอ้างตัวเลขสถิติแบบแกนๆ อย่างนี้ไม่ได้
 
2) ผลกระทบของกฎกระทรวงใหม่นี้จะมุ่งก่อผลเสียต่อคนกลุ่มหนึ่ง ที่มีรายได้จำกัด แต่มีจำนวนมากในเมือง โดยเฉพาะเมืองกรุงเทพฯ เป็นการก้าวก่ายวิถีชีิวิตคนโดยขาดความเข้าใจ ทุกวัฒนธรรมมีการเสพสิ่งมึนเมาแบบต่างๆ อาหารข้างทางในเมืองมีวัฒนธรรมการกินของเขาเอง สำหรับคนจำนวนมาก การกินอาหารบางมื้อต้องมีสุราบ้าง เป็นวิถีการกินแบบหนึ่ง
 
ความไม่เข้าใจนี้สะท้อนให้เห็นตลอดมาในนโยบายสุรา ที่มักเลือกปฏิบัติกับคนจน มีอคติกับคนยากจน อย่างแคมเปญ "จน เครียด กินเหล้า" เป็นต้น
 
3) ที่อันตรายคือ นายแพทย์ที่เป็นตัวแทนของคณะกรรมการนี้ demonize คนดื่มสุราอย่างรุนแรง กล่าวร้ายให้คนดื่มสุรากลายเป็นปีศาจตลอดเวลา ทำให้คนดื่มสุรามีภาพกลายเป็นคนขาดสติพร้อมก่ออาชญากรรมได้ตลอดเวลา หมอท่านนี้กล่าวในรายการว่า "คนดื่มสุรามักจะไปทำร้ายคน เมาแล้วข่มขืนคน คนก่ออาชญากรรมมีเหตุมาจากการดื่มสุรามาทั้งสิ้น" ทัศนะอย่างนี้อันตรายมาก แสดงทัศนคติที่ดูถูกคนที่มีวิถีชีวิตแตกต่างจากตนเอง
 
หากสังคมของผู้มีอำนาจยังบ่มเพาะเชื้อความคิดอคติต่อคนที่เราไม่เข้าใจเขา (ethnocentrism) อย่างนี้ไปเรื่อยๆ อีกหน่อยเราจะทำร้ายคนในนามของความดีแบบคับแคบอย่างนี้ได้อีกมากมาย ดังที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุชาวยิว การฆ่าคนมุสลิมในปาเลสไตน์ การสังหารโหดที่ธรรมศาสตร์เมื่อ 6 ตุลาคม 2519
 
4) กฎใหม่นี้ชวนให้สงสัยว่า คณะกรรมการนี้ไม่สามารถจัดการควบคุมปัญหาที่ใหญ่กว่านี้ได้ แล้วจะมาเริ่มก่อปัญหาการจัดการอย่างใหม่ อย่างลานเบียร์ ตัวแทนคณะกรรมการบอกเองในรายการว่ามีปัญหาผิดกฎหมายทั้งสิ้น เพราะเป็นการส่งเสริมกระตุ้นให้ดื่มสุรา แต่การดำเนินคดีล่าช้า หรือบางทีอาจไม่สามารถดำเนินคดีให้คืบหน้าไปได้ ส่วนการจับเมาแล้วขับ เราเห็นกันอยู่ว่าไม่สามารถทำได้จริง ทำได้แค่บางเวลาในบางจุด ควรรณรงค์ให้คนรับผิดชอบตนเองมากกว่า ส่วนการกวดขันห้ามจำหน่ายสุราแก่คนอายุต่ำกว่า 20 ก็ไม่สามารถจัดการได้จริง การละเมิดกฎหมายเหล่านั้นมีผลมากกว่าเสียหายกว่า ยังควบคุมให้เกิดข้ึนไม่ได้ แต่จะมาออกกฎใหม่ที่มีผลกับคนจน
 
ขออย่าให้คนเขาพูดได้ว่า คณะกรรมการนี้สองมาตรฐาน เพราะจับร้านขายส้มตำที่วางขายบนทางเท้าหน้าลานเบียร์ แต่ไม่สามารถเอาผิดกับเจ้าของบริษัทขายเบียร์ได้ เนื่องจากฝ่ายหนึ่งจน อีกฝ่ายหนึ่งเป็นคนร่ำรวย เป็นผู้รากมากดี มียันต์กันกฎหมายติดอยู่บนสลากสุราก็แล้วกันครับ
 
5) ทางออกที่ดีกว่านี้ได้แก่ (ก) การจัดพื้นที่ (zoning) แทนที่จะห้ามๆๆ โดยไม่เข้าใจว่า หากคนหาเช้ากินค่ำเขามีการสังสรรค์บันเทิงกันบ้างแล้วเขาจะใช้พื้นที่ไหน ในเมื่อร้านรวงค่าเช่ามันแพง หากอนุโลมการใช้ทางเท้าบางแห่งขายอาหารและอาจจะมีสุราบ้าง ก็ไม่ได้เสียหายอะไร (ข) การจำกัดเวลาในการใช้พื้นที่ให้ชัดเจน (timing) ที่จริงเวลานี้ผู้คนเขาจำกัดเวลาตนเองอยู่แล้ว การขายอาหารบนทางเท้ามีเวลาเฉพาะของมันเอง แต่บางแห่งอาจระบุว่ายอมให้ขายสุราได้เมื่อไหร่ และ (ค) การกวดขันเรื่องการห้ามจำหน่ายสุราแก่คนอายุต่ำกว่า 20 (carding) ทุกวันนี้กฎหมายนี้แทบไม่ได้ถูกบังคับใช้เลยด้วยซ้ำ
 
แต่เชื่อเถอะว่าคณะกรรมการนี้จะไม่เลือกทำวิธีเหล่านี้ เพราะมันยุ่งยากกว่า หรือเพราะไม่อยากลงทุน หรือเพราะการผลักภาระให้คนจนคนไร้อำนาจนั้นง่ายกว่าก็แล้วแต่
 
6) เคยมีบ้างไหมที่เวลาจะออกกฎกระทรวงอะไรที่มีผลกับชีวิตผู้คนมากๆ เช่นนี้ื จะเชิญผู้มีส่วนได้รับผลกระทบเข้าร่วมพิจารณาด้วย ให้เขารับรู้และฟังความเห็นเขาก่อน ไม่ใช่คิดแต่ว่ามีแต่พวกตนเท่านั้นที่หวังดีกับชีวิตเขา คนทุกคนมีความรับผิดชอบต่อชีวิตตนเอง คณะกรรมการนี้ไม่ต้องมาคิดว่าตนเองเท่านั้นที่รู้ถึงความรับผิดชอบของชีวิตคนอื่นได้ดีกว่า ไม่ต้องมาคิดว่ามีแต่ "พวกหัวหมอ" เท่านั้นที่จะรับผิดชอบชีวิตคนอื่นได้ คนทั่วไปหาเช้ากินค่ำเองไม่สามารถรับผิดชอบชีวิตตนเองได้หรืออย่างไร
 
สุดท้าย ไม่ต้องมาบอกว่าออกกฎกระทรวงนี้ให้เป็นของขวัญ เพราะกฎนี้ก่อผลเสียกับคนจำนวนมากด้วย และการพูดอย่างนั้นก็เป็นการเอาบุญคุณกับประชาชนทั้งที่เป็นการงานหน้าที่ตนจะต้องปฏิบัติอยู่แล้วมากกว่า ที่สำคัญกว่าคือต้องตระหนักว่า การใช้อำนาจโดยไม่เข้าใจวิถีชีิวิต ใช้อำนาจแบบผลักความรับผิดชอบ ใช้อำนาจบนอคติที่มีต่อคนยากจน จะนำความเสื่อมมาสู่ทั้งสถาบันการแพทย์และสังคมโดยรวม
 
 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ภูมิทัศน์ทางปัญญาของนักศึกษาปัจจุบันเป็นอย่างไร น่าจะมีใครทำวิจัยเล็กๆ ดูกันบ้าง ผมเดาว่าส่วนใหญ่คงวนเวียนอยู่หน้า "กำแพง" สมุดพักตร์ (ขอยืมสำนวนที่เพื่อนนักวิชาการรุ่นพี่คนหนึ่งมักใช้บ่อยๆ)
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตลกที่เวลาผมชื่นชมผู้ใหญ่ในวงการบางคนในบางโอกาส มีคนว่าผมประจบผู้ใหญ่ ไม่รู้จักวิพากษ์ ก็ไม่เป็นไร แต่ส่วนตัวผมและกับคนในวงการเดียวกันคงจะรู้สึกว่า ที่พูดถึงผมแบบนั้นน่ะเพี้ยนแล้ว เพราะผมวิพากษ์ "ผู้ใหญ่" ในวงวิชาการเดียวกันมาเสียจนลูกศิษย์ลูกหาของท่านๆ เหล่านั้นสุดจะทน จนขณะนี้ ผมยังนึกไม่ออกว่ายังเหลือผู้ใหญ่ในวงการท่านใดบ้างที่ผมยังไม่วิพากษ์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ระหว่างเดินทางไปมาด้วยรถไฟหลายเที่ยวในโอซากาเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมเกิดฉุกคิดถามเพื่อนชาวญี่ปุ่นขึ้นมาว่า วิธีที่คนญี่ปุ่นฆ่าตัวตายมากที่สุดคือวิธีไหน เพื่อนตอบทันทีโดยไม่ได้คิดว่า "ก็กระโดดให้รถไฟชนตายนี่แหละ" 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อครหาอีกข้อที่มีคือ การที่ผมชอบคิดคำศัพท์ ใช้คำศัพท์ทางวิชาการรุงรัง นี่เป็นข้อครหาที่นักสังคมศาสตร์ไทยโดนเป็นประจำ เพื่อนนักวิชาการคนอื่นๆ คิดอย่างไรผมไม่ทราบ แต่ผมมีทัศนะของผมเองคร่าวๆ ดังที่จะเสนอในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เสียงสะท้อนที่รบกวนใจผมอยู่บ้างในระยะนี้ คือคำวิจารณ์ที่เข้ามาสู่หูผมมากขึ้นๆ ทุกวันว่า ผมเป็นพวกบ้าทฤษฎี พวกบ้าศัพท์แสง พวกบ้าวิพากษ์ และพวกคลั่งตะวันตก ซึ่งผมก็น้อมรับด้วยความยินดี
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 พึงสำเหนียกว่า กษัตริย์ไม่ใช่พ่อ เป็นเพียง "สมมุติพ่อ" ที่สังคมไทยอุปโลกน์ขึ้นมา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แต่ละคนคงมีตำนานส่วนตัวของตนเอง ที่สะสมความทรงจำซึ่งมักออกจะเดินจริงไปสักหน่อย แม้เมื่อมาพบกับสถานที่ บุคคล หรือแม้แต่รสสัมผัส ในที่นี้คืออาหาร ในตำนานเข้าจริงๆ อีกสักครั้ง แล้วจะรู้สึกว่าความอลังการของบุคคลและวัตถุในตำนานจะถดถอยค่าลงบ้าง ก็ยังไม่ถึงกับจะทำให้ภาพงดงสมในตำนานเลือนหายไปได้ง่ายๆ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เดินทางมาสัมมนาที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ท่าศาลา นครศรีธรรมราช ในงาน "สัมมนาวิชาการ การศึกษาสู่อาเซียน: มิติด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์" มาเที่ยวนี้มาเป็นวิทยากรเสนอเรื่องที่เคยเสนอไปหลายเวทีแล้ว แต่เป็นความคิดที่ผมยังพัฒนาไม่เต็มอิ่มดี ยิ่งนำเสนอก็ยิ่งเห็นมุมมองใหม่ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในวาระที่ประเทศไทยกำลังจะมีแผนแม่บทพัฒนาส้วมสาธารณะไทย ระยะที่ 3 (พ.ศ.2556-2559) (ตามข่าว) จึงขอนำวิดีโอ แสดงทัศนะของนักปรัชญาชื่อดังแห่งปลายศตวรรษที่ 20 ถึงต้นศตวรรษที่ 21 นาม สลาวอย ชีเชก (Slavoj Zizek) มาเพื่อให้แลกเปลี่ยนทำความเข้าใจกันว่า ทำไมส้วมจึงสำคัญนักหนา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (15 กพ.) ตามดูสามสาวดีว่าส์ คาเฟ่แสดงความเห็นกรณีปฏิทินนกแอร์ แล้วนึกถึงข้อวิจารณ์ที่คนอเมริกันบางคนมีต่อ Beyoncé ในการแสดงคั่นครึ่งเวลาซุปเปอร์โบว์ปีที่ผ่านมา คนวิจารณ์ Beyoncé ว่าทำตัวเป็นวัตถุทางเพศ แต่มีนักสังคมวิทยาอเมริกันเถียงว่า เธอใช้ความสามารถแสดงออก แม้จะอย่างยั่วยวน ก็ไม่ได้แปลว่าเธอกลายเป็นวัตถุทางเพศ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 วันวาเลนไทน์ในแบบที่เข้าใจกันทุกวันนี้ กลายเป็นทั้งวัฒนธรรมโลกและวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่ผ่านมาผมก็ไม่เคยคิดกับมันหรอก แต่เมื่อคุณคำ ผกาชวนไปพูดคุยเรื่ิงความรักในรายการดีว่าส์ คาเฟ่ เมื่อวันที่ 14 กพ. ผมก็ตอบตกลงอย่างไม่ลังเล ก็มันน่าตื่นเต้นน้อยเสียเมื่อไหร่ ที่จะได้ออกรายการสดกับสามสาวแสนฉลาดและรวยเสน่ห์ แต่จากที่เขาชวนคุยเรื่องรักใคร่ ไปๆ มาๆ ก็กลับวกไปกลายเป็นเรื่องรัฐเร่่ืองไพร่เสียได้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 พอดีเมื่อสักครู่เพิ่งเห็นภาพภาพหนึ่ง เป็นภาพซอกตึกเมืองเล็กๆ ที่ไหนสักแห่ง มีคำบรรยายภาพว่า “Put down that map and get wonderfully lost.” “วางแผนที่นั่นเสียเถอะ แล้วหลงทางให้อัศจรรย์ใจ” ก็เลยคิดเรื่อยเปื่อยถึงความหมายของการหลงทาง