Skip to main content

ทัศนะของนายแพทย์ที่เป็นตัวแทนของคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ แสดงให้เห็นถึงความคิดคับแคบของผู้มีอำนาจกลุ่มหนึ่ง ที่มักใช้อำนาจก้าวก่ายชีวิตผู้คน บนความไม่รู้ไม่เข้าใจไม่อยากรับผิดชอบต่อปัญหาเชิงโครงสร้างที่ละเอียดอ่อน และบนกรอบข้ออ้างเรื่องคุณธรรมความดีที่ยกตนเองเหนือคนอื่น

 
เมื่อวาน (13 ธค. 2555) ไปออกรายการ "คมชัดลึก" ผมยอมดั้นด้นไปจนถึงบางนาด้วยเพราะกฎกระทรวงสาธารณสุขใหม่ ที่จะส่งผลรุนแรงต่อการประกอบกิจการร้านอาหารบนทางเท้า กฎที่จะออกมาคือ "ห้ามผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนทางตามกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบก ยกเว้นที่ส่วนบุคคล เนื่องจากผลเสียของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนทางทำให้เกิดอุบัติได้ง่าย" ผมตั้งคำถามและวิจารณ์นโยบายนี้ไปหลายข้อ
 
1) วิธีการสำรวจ ที่ว่าคนกว่า 80% เห็นด้วยนั้นเป็นกลลวงทางสถิติ เนื่องจากเมื่อถามทัศนคติเกี่ยวกับเรื่องศีลธรรม คนย่อมตอบให้ตนเองดูดีอยู่แล้ว นอกจากนั้น การใช้แบบสอบถามยังไม่ได้คำนึงถึงข้อจำกัดของการคิดตอบในทันทีทันใด และจำกัดเพียงปัญหาส่วนบุคคล ผู้ตอบอาจจะยังไม่ทันได้ไตร่ตรองถึงปัญหาเชิงโครงสร้างของสังคม ฉะนั้นในการวิจัยทางสังคม จะอ้างตัวเลขสถิติแบบแกนๆ อย่างนี้ไม่ได้
 
2) ผลกระทบของกฎกระทรวงใหม่นี้จะมุ่งก่อผลเสียต่อคนกลุ่มหนึ่ง ที่มีรายได้จำกัด แต่มีจำนวนมากในเมือง โดยเฉพาะเมืองกรุงเทพฯ เป็นการก้าวก่ายวิถีชีิวิตคนโดยขาดความเข้าใจ ทุกวัฒนธรรมมีการเสพสิ่งมึนเมาแบบต่างๆ อาหารข้างทางในเมืองมีวัฒนธรรมการกินของเขาเอง สำหรับคนจำนวนมาก การกินอาหารบางมื้อต้องมีสุราบ้าง เป็นวิถีการกินแบบหนึ่ง
 
ความไม่เข้าใจนี้สะท้อนให้เห็นตลอดมาในนโยบายสุรา ที่มักเลือกปฏิบัติกับคนจน มีอคติกับคนยากจน อย่างแคมเปญ "จน เครียด กินเหล้า" เป็นต้น
 
3) ที่อันตรายคือ นายแพทย์ที่เป็นตัวแทนของคณะกรรมการนี้ demonize คนดื่มสุราอย่างรุนแรง กล่าวร้ายให้คนดื่มสุรากลายเป็นปีศาจตลอดเวลา ทำให้คนดื่มสุรามีภาพกลายเป็นคนขาดสติพร้อมก่ออาชญากรรมได้ตลอดเวลา หมอท่านนี้กล่าวในรายการว่า "คนดื่มสุรามักจะไปทำร้ายคน เมาแล้วข่มขืนคน คนก่ออาชญากรรมมีเหตุมาจากการดื่มสุรามาทั้งสิ้น" ทัศนะอย่างนี้อันตรายมาก แสดงทัศนคติที่ดูถูกคนที่มีวิถีชีวิตแตกต่างจากตนเอง
 
หากสังคมของผู้มีอำนาจยังบ่มเพาะเชื้อความคิดอคติต่อคนที่เราไม่เข้าใจเขา (ethnocentrism) อย่างนี้ไปเรื่อยๆ อีกหน่อยเราจะทำร้ายคนในนามของความดีแบบคับแคบอย่างนี้ได้อีกมากมาย ดังที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุชาวยิว การฆ่าคนมุสลิมในปาเลสไตน์ การสังหารโหดที่ธรรมศาสตร์เมื่อ 6 ตุลาคม 2519
 
4) กฎใหม่นี้ชวนให้สงสัยว่า คณะกรรมการนี้ไม่สามารถจัดการควบคุมปัญหาที่ใหญ่กว่านี้ได้ แล้วจะมาเริ่มก่อปัญหาการจัดการอย่างใหม่ อย่างลานเบียร์ ตัวแทนคณะกรรมการบอกเองในรายการว่ามีปัญหาผิดกฎหมายทั้งสิ้น เพราะเป็นการส่งเสริมกระตุ้นให้ดื่มสุรา แต่การดำเนินคดีล่าช้า หรือบางทีอาจไม่สามารถดำเนินคดีให้คืบหน้าไปได้ ส่วนการจับเมาแล้วขับ เราเห็นกันอยู่ว่าไม่สามารถทำได้จริง ทำได้แค่บางเวลาในบางจุด ควรรณรงค์ให้คนรับผิดชอบตนเองมากกว่า ส่วนการกวดขันห้ามจำหน่ายสุราแก่คนอายุต่ำกว่า 20 ก็ไม่สามารถจัดการได้จริง การละเมิดกฎหมายเหล่านั้นมีผลมากกว่าเสียหายกว่า ยังควบคุมให้เกิดข้ึนไม่ได้ แต่จะมาออกกฎใหม่ที่มีผลกับคนจน
 
ขออย่าให้คนเขาพูดได้ว่า คณะกรรมการนี้สองมาตรฐาน เพราะจับร้านขายส้มตำที่วางขายบนทางเท้าหน้าลานเบียร์ แต่ไม่สามารถเอาผิดกับเจ้าของบริษัทขายเบียร์ได้ เนื่องจากฝ่ายหนึ่งจน อีกฝ่ายหนึ่งเป็นคนร่ำรวย เป็นผู้รากมากดี มียันต์กันกฎหมายติดอยู่บนสลากสุราก็แล้วกันครับ
 
5) ทางออกที่ดีกว่านี้ได้แก่ (ก) การจัดพื้นที่ (zoning) แทนที่จะห้ามๆๆ โดยไม่เข้าใจว่า หากคนหาเช้ากินค่ำเขามีการสังสรรค์บันเทิงกันบ้างแล้วเขาจะใช้พื้นที่ไหน ในเมื่อร้านรวงค่าเช่ามันแพง หากอนุโลมการใช้ทางเท้าบางแห่งขายอาหารและอาจจะมีสุราบ้าง ก็ไม่ได้เสียหายอะไร (ข) การจำกัดเวลาในการใช้พื้นที่ให้ชัดเจน (timing) ที่จริงเวลานี้ผู้คนเขาจำกัดเวลาตนเองอยู่แล้ว การขายอาหารบนทางเท้ามีเวลาเฉพาะของมันเอง แต่บางแห่งอาจระบุว่ายอมให้ขายสุราได้เมื่อไหร่ และ (ค) การกวดขันเรื่องการห้ามจำหน่ายสุราแก่คนอายุต่ำกว่า 20 (carding) ทุกวันนี้กฎหมายนี้แทบไม่ได้ถูกบังคับใช้เลยด้วยซ้ำ
 
แต่เชื่อเถอะว่าคณะกรรมการนี้จะไม่เลือกทำวิธีเหล่านี้ เพราะมันยุ่งยากกว่า หรือเพราะไม่อยากลงทุน หรือเพราะการผลักภาระให้คนจนคนไร้อำนาจนั้นง่ายกว่าก็แล้วแต่
 
6) เคยมีบ้างไหมที่เวลาจะออกกฎกระทรวงอะไรที่มีผลกับชีวิตผู้คนมากๆ เช่นนี้ื จะเชิญผู้มีส่วนได้รับผลกระทบเข้าร่วมพิจารณาด้วย ให้เขารับรู้และฟังความเห็นเขาก่อน ไม่ใช่คิดแต่ว่ามีแต่พวกตนเท่านั้นที่หวังดีกับชีวิตเขา คนทุกคนมีความรับผิดชอบต่อชีวิตตนเอง คณะกรรมการนี้ไม่ต้องมาคิดว่าตนเองเท่านั้นที่รู้ถึงความรับผิดชอบของชีวิตคนอื่นได้ดีกว่า ไม่ต้องมาคิดว่ามีแต่ "พวกหัวหมอ" เท่านั้นที่จะรับผิดชอบชีวิตคนอื่นได้ คนทั่วไปหาเช้ากินค่ำเองไม่สามารถรับผิดชอบชีวิตตนเองได้หรืออย่างไร
 
สุดท้าย ไม่ต้องมาบอกว่าออกกฎกระทรวงนี้ให้เป็นของขวัญ เพราะกฎนี้ก่อผลเสียกับคนจำนวนมากด้วย และการพูดอย่างนั้นก็เป็นการเอาบุญคุณกับประชาชนทั้งที่เป็นการงานหน้าที่ตนจะต้องปฏิบัติอยู่แล้วมากกว่า ที่สำคัญกว่าคือต้องตระหนักว่า การใช้อำนาจโดยไม่เข้าใจวิถีชีิวิต ใช้อำนาจแบบผลักความรับผิดชอบ ใช้อำนาจบนอคติที่มีต่อคนยากจน จะนำความเสื่อมมาสู่ทั้งสถาบันการแพทย์และสังคมโดยรวม
 
 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เพ่ิงกินอาหารเย็นเสร็จ วันนี้ลงมือทำสเต็กเนื้อ เนื้อโคขุนไทยๆ นี่แหละ ต้องชิ้นหนาๆ หน่อย ย่างบนกะทะเหล็กหนาๆ ที่หอบหิ้วมาจากอเมริกา เป็นกะทะเทพมากๆ เพราะความร้อนแรงดีมาก ใช้เวลาไม่ถึงสิบนาที เกรียมได้ที่ทั้งสองด้าน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"การศึกษา" ต้องการพื้นที่ลักษณะใดลักษณะหนึ่ง เมื่อความรู้เปลี่ยนแปลงไป เมื่อการเรียนรู้ไม่ได้อยู่ในอำนาจของสถาบันการศึกษาเพียงเท่านั้น พื้นที่การเรียนรู้ก็ย่อมจะต้องเปลี่ยนไปด้วย แต่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของโลกการเรียนรู้ ยังมีคนบางกลุ่มดื้อรั้นขัดขวางการเปลี่ยนแปลง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 แน่นอนว่าโฆษณาโปรแกรมเรียนภาษาไทย (บางคนบอกเป็นแค่ตลกล้อเลียน?) ที่เป็นข่าว 2-3 วันที่ผ่านมานั้น ตั้งอยู่บนอคติทางเพศ ดูถูกเพศหญิงว่าเป็นวัตถุทางเพศ ดูถูกเพศชายว่าจ้องเสพสุขทางเพศท่าเดียว (หรือหลายท่า?) สร้างภาพเหมารวมให้คนไทยและสังคมไทยไร้ศีลธรรม (ดูสิ เราออกจะเมืองพุทธ เมืองพระ) แต่ที่ยังน่าจะต้องทำความเข้าใจคือ ปฏิกิริยาที่คนไทยมีต่อวิดีโอล้อเลียนนี้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อเขียนนี้พยายามทำความเข้าใจตรรกะของพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงแสดงไว้ในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ว่าพระองค์มีทัศนะต่อแนวคิด The King Can Do No Wrong อย่างไร และมาตรา 112 ควรแก้ไขเพราะเหตุใด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การตัดสินคดีของสมยศ พฤกษาเกษมสุขและอีกหลายๆ คดีก่อนหน้านี้ด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 (ม.112) ชี้ให้เห็นยิ่งขึ้นทุกวันว่า รัฐไทยกำลังสร้างความรักด้วยการใช้กำลังข่มเหงให้ประชาชนรักประมุขของประเทศ หาใช่การส่งเสริมให้เกิดความรักประมุขจากใจจริงของประชาชนไม่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
งานวิจัยทางสังคมศาสตร์ที่ดี โดยเฉพาะงานทางมานุษยวิทยา มักมีแรงขับจากอารมณ์ใคร่บางอย่าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หากเรียกร้องเรื่องทรงผม ก็ต้องเรียกร้องเรื่องชุดนักเรียนนักศึกษาด้วย จะได้เป็นก้าวแรกของการอภิวัฒน์การศึกษาไทยอย่างจริงจังเสียที พวกผู้ใหญ่ที่คอยเรียกร้องนักเรียนกับครูอาจารย์ ให้สอนให้เด็กรู้จักคิดน่ะ พวกท่านเคยคิดบ้างหรือเปล่าว่า ชุดนักเรียนนักศึกษาเป็นปราการปิดกั้นเสรีภาพการคิดอย่างไร และเด็กๆ เองก็ควรเข้าใจด้วยว่า การควบคุมเรือนร่างเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสังคมแบบอำนาจนิยมอย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข่าวการเสียชีวิตของอาจารย์พัฒนา กิติอาษาเมื่อเช้าตรู่วานนี้ (10 มกราคม 2556) คงไม่เป็นที่สนใจของใครต่อใครนอกแวดวงวิชาการสังคมศาสตร์มากนัก แต่นี่นับเป็นความสูญเสียครั้งสำคัญของแวดวงสังคมศาสตร์ไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หากพวกคุณวิจัยสำรวจอย่างตรงไปตรงมาจริงๆ พวกคุณก็ย่อมรู้อยู่แก่ใจดีว่า ชัยชนะจากคะแนนเสียงที่ "ไม่่่ท่วมท้นนัก" ในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา มาจากกลุ่มคนที่มีความหวังว่าเพื่อไทยจะเป็นเดินหน้าพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศไทยอย่างจริงจังเสียที
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สังคมไทยมีสังคมแบบหนึ่งที่แทรกซ้อนอยู่ในสังคมขนาดใหญ่ คือสังคมดัดจริต สังคมดัดจริตไม่ได้มีขนาดใหญ่โต แต่เป็นสังคมของคนชั้นกลางและคนใหญ่คนโตที่กำลังเสื่อมอำนาจ สังคมดัดจริตคอยผลิตวัฒนธรรมดัดจริตเพื่อทำให้ตนเองดูดีมีหลักการ เพื่อให้ตนเองอยู่เหนือคนส่วนใหญ่ที่ไม่มีจริตจะดัด และเหนืออื่นใดคือเพื่อปกป้องฐานะอำนาจของตนเอง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตื่นเช้าขึ้นมาวันนี้ คือวันที่ 1 มกราคม 2556 ผมลองคิดบวกดูบ้าง คือคิดแบบเข้าข้างตนเองทบทวนดูว่า หนึ่งปีที่ผ่านมาได้ทำอะไรใหม่ๆ ให้ตนเองบ้าง คำถามแรกที่ผุดขึ้นมาในสมองผมคือ ได้อ่านหนังสืออะไรที่นับว่าตัวเองได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ บ้าง แล้วก็คิดไปเรื่อยว่า ได้ทำอะไรที่ให้การเรียนรู้ใหม่ๆ ประสบการณ์ใหม่ คิดอะไรใหม่ๆ บ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ยามปีใหม่ ยากที่จะหาของขวัญที่ไม่กลายเป็นขยะในชั่วข้ามคืนได้ เพื่อนชาวอเมริกันที่ผมรู้จักหลายคน ซึ่งดูท่าจะทั้งเป็นนักช้อปและเป็นคนช่างมีเหตุผล ก็เลยใช้วิธีให้เด็กๆ เขียนลิสต์รายการสิ่งของที่อยากได้ยามสิ้นปี เพื่อเป็นหลักประกันว่าของที่ซื้อมาให้จะถูกใจผู้รับสักชิ้นหนึ่ง