Skip to main content

ทัศนะของนายแพทย์ที่เป็นตัวแทนของคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ แสดงให้เห็นถึงความคิดคับแคบของผู้มีอำนาจกลุ่มหนึ่ง ที่มักใช้อำนาจก้าวก่ายชีวิตผู้คน บนความไม่รู้ไม่เข้าใจไม่อยากรับผิดชอบต่อปัญหาเชิงโครงสร้างที่ละเอียดอ่อน และบนกรอบข้ออ้างเรื่องคุณธรรมความดีที่ยกตนเองเหนือคนอื่น

 
เมื่อวาน (13 ธค. 2555) ไปออกรายการ "คมชัดลึก" ผมยอมดั้นด้นไปจนถึงบางนาด้วยเพราะกฎกระทรวงสาธารณสุขใหม่ ที่จะส่งผลรุนแรงต่อการประกอบกิจการร้านอาหารบนทางเท้า กฎที่จะออกมาคือ "ห้ามผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนทางตามกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบก ยกเว้นที่ส่วนบุคคล เนื่องจากผลเสียของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนทางทำให้เกิดอุบัติได้ง่าย" ผมตั้งคำถามและวิจารณ์นโยบายนี้ไปหลายข้อ
 
1) วิธีการสำรวจ ที่ว่าคนกว่า 80% เห็นด้วยนั้นเป็นกลลวงทางสถิติ เนื่องจากเมื่อถามทัศนคติเกี่ยวกับเรื่องศีลธรรม คนย่อมตอบให้ตนเองดูดีอยู่แล้ว นอกจากนั้น การใช้แบบสอบถามยังไม่ได้คำนึงถึงข้อจำกัดของการคิดตอบในทันทีทันใด และจำกัดเพียงปัญหาส่วนบุคคล ผู้ตอบอาจจะยังไม่ทันได้ไตร่ตรองถึงปัญหาเชิงโครงสร้างของสังคม ฉะนั้นในการวิจัยทางสังคม จะอ้างตัวเลขสถิติแบบแกนๆ อย่างนี้ไม่ได้
 
2) ผลกระทบของกฎกระทรวงใหม่นี้จะมุ่งก่อผลเสียต่อคนกลุ่มหนึ่ง ที่มีรายได้จำกัด แต่มีจำนวนมากในเมือง โดยเฉพาะเมืองกรุงเทพฯ เป็นการก้าวก่ายวิถีชีิวิตคนโดยขาดความเข้าใจ ทุกวัฒนธรรมมีการเสพสิ่งมึนเมาแบบต่างๆ อาหารข้างทางในเมืองมีวัฒนธรรมการกินของเขาเอง สำหรับคนจำนวนมาก การกินอาหารบางมื้อต้องมีสุราบ้าง เป็นวิถีการกินแบบหนึ่ง
 
ความไม่เข้าใจนี้สะท้อนให้เห็นตลอดมาในนโยบายสุรา ที่มักเลือกปฏิบัติกับคนจน มีอคติกับคนยากจน อย่างแคมเปญ "จน เครียด กินเหล้า" เป็นต้น
 
3) ที่อันตรายคือ นายแพทย์ที่เป็นตัวแทนของคณะกรรมการนี้ demonize คนดื่มสุราอย่างรุนแรง กล่าวร้ายให้คนดื่มสุรากลายเป็นปีศาจตลอดเวลา ทำให้คนดื่มสุรามีภาพกลายเป็นคนขาดสติพร้อมก่ออาชญากรรมได้ตลอดเวลา หมอท่านนี้กล่าวในรายการว่า "คนดื่มสุรามักจะไปทำร้ายคน เมาแล้วข่มขืนคน คนก่ออาชญากรรมมีเหตุมาจากการดื่มสุรามาทั้งสิ้น" ทัศนะอย่างนี้อันตรายมาก แสดงทัศนคติที่ดูถูกคนที่มีวิถีชีวิตแตกต่างจากตนเอง
 
หากสังคมของผู้มีอำนาจยังบ่มเพาะเชื้อความคิดอคติต่อคนที่เราไม่เข้าใจเขา (ethnocentrism) อย่างนี้ไปเรื่อยๆ อีกหน่อยเราจะทำร้ายคนในนามของความดีแบบคับแคบอย่างนี้ได้อีกมากมาย ดังที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุชาวยิว การฆ่าคนมุสลิมในปาเลสไตน์ การสังหารโหดที่ธรรมศาสตร์เมื่อ 6 ตุลาคม 2519
 
4) กฎใหม่นี้ชวนให้สงสัยว่า คณะกรรมการนี้ไม่สามารถจัดการควบคุมปัญหาที่ใหญ่กว่านี้ได้ แล้วจะมาเริ่มก่อปัญหาการจัดการอย่างใหม่ อย่างลานเบียร์ ตัวแทนคณะกรรมการบอกเองในรายการว่ามีปัญหาผิดกฎหมายทั้งสิ้น เพราะเป็นการส่งเสริมกระตุ้นให้ดื่มสุรา แต่การดำเนินคดีล่าช้า หรือบางทีอาจไม่สามารถดำเนินคดีให้คืบหน้าไปได้ ส่วนการจับเมาแล้วขับ เราเห็นกันอยู่ว่าไม่สามารถทำได้จริง ทำได้แค่บางเวลาในบางจุด ควรรณรงค์ให้คนรับผิดชอบตนเองมากกว่า ส่วนการกวดขันห้ามจำหน่ายสุราแก่คนอายุต่ำกว่า 20 ก็ไม่สามารถจัดการได้จริง การละเมิดกฎหมายเหล่านั้นมีผลมากกว่าเสียหายกว่า ยังควบคุมให้เกิดข้ึนไม่ได้ แต่จะมาออกกฎใหม่ที่มีผลกับคนจน
 
ขออย่าให้คนเขาพูดได้ว่า คณะกรรมการนี้สองมาตรฐาน เพราะจับร้านขายส้มตำที่วางขายบนทางเท้าหน้าลานเบียร์ แต่ไม่สามารถเอาผิดกับเจ้าของบริษัทขายเบียร์ได้ เนื่องจากฝ่ายหนึ่งจน อีกฝ่ายหนึ่งเป็นคนร่ำรวย เป็นผู้รากมากดี มียันต์กันกฎหมายติดอยู่บนสลากสุราก็แล้วกันครับ
 
5) ทางออกที่ดีกว่านี้ได้แก่ (ก) การจัดพื้นที่ (zoning) แทนที่จะห้ามๆๆ โดยไม่เข้าใจว่า หากคนหาเช้ากินค่ำเขามีการสังสรรค์บันเทิงกันบ้างแล้วเขาจะใช้พื้นที่ไหน ในเมื่อร้านรวงค่าเช่ามันแพง หากอนุโลมการใช้ทางเท้าบางแห่งขายอาหารและอาจจะมีสุราบ้าง ก็ไม่ได้เสียหายอะไร (ข) การจำกัดเวลาในการใช้พื้นที่ให้ชัดเจน (timing) ที่จริงเวลานี้ผู้คนเขาจำกัดเวลาตนเองอยู่แล้ว การขายอาหารบนทางเท้ามีเวลาเฉพาะของมันเอง แต่บางแห่งอาจระบุว่ายอมให้ขายสุราได้เมื่อไหร่ และ (ค) การกวดขันเรื่องการห้ามจำหน่ายสุราแก่คนอายุต่ำกว่า 20 (carding) ทุกวันนี้กฎหมายนี้แทบไม่ได้ถูกบังคับใช้เลยด้วยซ้ำ
 
แต่เชื่อเถอะว่าคณะกรรมการนี้จะไม่เลือกทำวิธีเหล่านี้ เพราะมันยุ่งยากกว่า หรือเพราะไม่อยากลงทุน หรือเพราะการผลักภาระให้คนจนคนไร้อำนาจนั้นง่ายกว่าก็แล้วแต่
 
6) เคยมีบ้างไหมที่เวลาจะออกกฎกระทรวงอะไรที่มีผลกับชีวิตผู้คนมากๆ เช่นนี้ื จะเชิญผู้มีส่วนได้รับผลกระทบเข้าร่วมพิจารณาด้วย ให้เขารับรู้และฟังความเห็นเขาก่อน ไม่ใช่คิดแต่ว่ามีแต่พวกตนเท่านั้นที่หวังดีกับชีวิตเขา คนทุกคนมีความรับผิดชอบต่อชีวิตตนเอง คณะกรรมการนี้ไม่ต้องมาคิดว่าตนเองเท่านั้นที่รู้ถึงความรับผิดชอบของชีวิตคนอื่นได้ดีกว่า ไม่ต้องมาคิดว่ามีแต่ "พวกหัวหมอ" เท่านั้นที่จะรับผิดชอบชีวิตคนอื่นได้ คนทั่วไปหาเช้ากินค่ำเองไม่สามารถรับผิดชอบชีวิตตนเองได้หรืออย่างไร
 
สุดท้าย ไม่ต้องมาบอกว่าออกกฎกระทรวงนี้ให้เป็นของขวัญ เพราะกฎนี้ก่อผลเสียกับคนจำนวนมากด้วย และการพูดอย่างนั้นก็เป็นการเอาบุญคุณกับประชาชนทั้งที่เป็นการงานหน้าที่ตนจะต้องปฏิบัติอยู่แล้วมากกว่า ที่สำคัญกว่าคือต้องตระหนักว่า การใช้อำนาจโดยไม่เข้าใจวิถีชีิวิต ใช้อำนาจแบบผลักความรับผิดชอบ ใช้อำนาจบนอคติที่มีต่อคนยากจน จะนำความเสื่อมมาสู่ทั้งสถาบันการแพทย์และสังคมโดยรวม
 
 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (4 ตุลาคม 2560) นิสิตมหาวิทยาลัยหนึ่งโทรศัพท์มาสัมภาษณ์เรื่องการพิมพ์คำ "คะ" "ค่ะ" ผิดๆ ในโซเชียลมีเดียและการส่งข้อความต่างๆ บอกว่าจะเอาไปลงวารสารของคณะเธอ เธอถามว่าการใช้คำผิดแบบนี้มีนัยทางสังคมอย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อคืนวาน (30 กันยายน 2560) นักศึกษาปริญญาโทชั้นเรียนมานุษยวิยาคนหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้เขียนบทละครเรื่อง "The Dark Fairy Tales นิทานเรื่องนี้ไม่เคยเล่า" ชวนไปดูและร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นหลังละครจบ ช่วยให้คิดอะไรเกี่ยวกับการอ่านนิทานได้อีกมากทีเดียวจึงอยากบันทึกไว้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การสนทนาอย่างออกรสไม่ได้จะต้องอยู่ในบรรยากาศเคร่งขรึมในห้องเรียน ห้องสัมมนาเสมอไป ด้วยเหตุนี้ผมจึงเชื่อว่า การใช้เวลานอกห้องเรียน นอกห้องสัมมนาวิชาการ สำคัญไม่น้อยไปกว่าการใช้เวลาในห้องสี่เหลี่ยมที่มีระเบียบต่างๆ ควบคุมการสนทนาอย่างเคร่งครัดเกินไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จากเหตุการณ์เข้ามาคุกคามพื้นที่ทางวิชาการของคณะทหารในการประชุมไทยศึกษานานาชาติครั้งที่ 13 ที่เชียงใหม่ จนทำให้นักวิชาการที่มาร่วมประชุมกลุ่มหนึ่งแสดงออกด้วยการชูป้าย "เวทีวิชาการไม่ใช่ค่ายทหาร" แล้วท้ายสุดมีนักวิชาการ 5 คนถูกตั้งข้อหาว่าเป็นคนนอกเข้ามายุยงให้ต่อต้านรัฐบาล
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันแม่นำความกระอักกระอ่วนใจมาให้ผมตั้งแต่ยังเด็ก เพราะแม่ในเพลง "ค่าน้ำนม" ที่เด็กในกรุงเทพฯ รุ่นผมถูกให้หัดร้องตามจนแทบจะจำเนื้อได้ทั้งเพลงมาตั้งแต่จำความได้ ไม่ตรงกับแม่ในชีวิตจริงของผม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะอาจารย์มหาวิทยาลัยคนหนึ่ง ผมไม่อาจยอมรับการกระทำของอาจารย์ต่อนิสิตด้วยความรุนแรงดังที่เกิดขึ้นที่มหาวิทยาลัยอันทรงเกียรติแห่งหนึ่งได้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้เกิดความผิดพลาดบางอย่างทำให้บทแนะนำอาจารย์แคทเธอรีน บาววี องค์ปาฐกคนหนึ่งของงานประชุมไทยศึกษาปีนี้ที่จังหวัดเชียงใหม่ ไม่ได้ถูกนำเสนอในงานประชุม ในเมื่อผมเตรียมไปพูดแล้วแต่ไม่ได้พูด ก็ขอนำบันทึกที่ร่างไว้นี้มาเผยแพร่ในที่นี้แทนก็แล้วกัน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"ฟ้าข้างในนี้กว้างกว่าข้างนอก ฟ้าในนี้กว้างจนแทบจะเห็นขอบฟ้า"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงนี้คงเป็นช่วงเขียนรายงาน เขียนวิทยานิพนธ์ของหลายๆ คน ผมเองช่วงนี้เป็นช่วงต้องอ่านงานนักศึกษามากมาย ที่สาหัสที่สุดคืองานวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาโทและเอก 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมอ่านงานจิตรครั้งแรกๆ ก็ตอนที่เรียนมหาวิทยาลัยระดับปริญญาตรี ตอนนั้นเมื่อออกจากโลกโรงเรียนก็รู้สึกว่า โลกหนังสือของห้องสมุดธรรมศาสตร์ช่างกว้างใหญ่มาก กว้างใหญ่กว่าห้องสมุดแห่งชาติที่สมัยเรียนมัธยมผมชอบไปสิงอยู่มากนัก นี่กล่าวเฉพาะหนังสือที่น่าอ่านเกี่ยวกับสังคม วัฒนธรรม ปรัชญา และศาสนา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (3 พค. 60) ผมไปวิจารณ์งานนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยซึ่งคณะราษฎรมีส่วนก่อตั้งเช่นกัน แต่สำคัญผิดกันไปว่าผู้อื่นมีบุญคุณมากกว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บางทีนามสกุลกับบทบาทความเป็นครูของครูฉลบชลัยย์ พลางกูร คงไม่ทำให้คนสนใจครูฉลบเกินบทบาทไปกว่าการเป็นภรรยาของนายจำกัด พลางกูร และเป็นผู้ให้กำเนิดโรงเรียนดรุโณทยาน