Skip to main content

ทัศนะของนายแพทย์ที่เป็นตัวแทนของคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ แสดงให้เห็นถึงความคิดคับแคบของผู้มีอำนาจกลุ่มหนึ่ง ที่มักใช้อำนาจก้าวก่ายชีวิตผู้คน บนความไม่รู้ไม่เข้าใจไม่อยากรับผิดชอบต่อปัญหาเชิงโครงสร้างที่ละเอียดอ่อน และบนกรอบข้ออ้างเรื่องคุณธรรมความดีที่ยกตนเองเหนือคนอื่น

 
เมื่อวาน (13 ธค. 2555) ไปออกรายการ "คมชัดลึก" ผมยอมดั้นด้นไปจนถึงบางนาด้วยเพราะกฎกระทรวงสาธารณสุขใหม่ ที่จะส่งผลรุนแรงต่อการประกอบกิจการร้านอาหารบนทางเท้า กฎที่จะออกมาคือ "ห้ามผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนทางตามกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบก ยกเว้นที่ส่วนบุคคล เนื่องจากผลเสียของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนทางทำให้เกิดอุบัติได้ง่าย" ผมตั้งคำถามและวิจารณ์นโยบายนี้ไปหลายข้อ
 
1) วิธีการสำรวจ ที่ว่าคนกว่า 80% เห็นด้วยนั้นเป็นกลลวงทางสถิติ เนื่องจากเมื่อถามทัศนคติเกี่ยวกับเรื่องศีลธรรม คนย่อมตอบให้ตนเองดูดีอยู่แล้ว นอกจากนั้น การใช้แบบสอบถามยังไม่ได้คำนึงถึงข้อจำกัดของการคิดตอบในทันทีทันใด และจำกัดเพียงปัญหาส่วนบุคคล ผู้ตอบอาจจะยังไม่ทันได้ไตร่ตรองถึงปัญหาเชิงโครงสร้างของสังคม ฉะนั้นในการวิจัยทางสังคม จะอ้างตัวเลขสถิติแบบแกนๆ อย่างนี้ไม่ได้
 
2) ผลกระทบของกฎกระทรวงใหม่นี้จะมุ่งก่อผลเสียต่อคนกลุ่มหนึ่ง ที่มีรายได้จำกัด แต่มีจำนวนมากในเมือง โดยเฉพาะเมืองกรุงเทพฯ เป็นการก้าวก่ายวิถีชีิวิตคนโดยขาดความเข้าใจ ทุกวัฒนธรรมมีการเสพสิ่งมึนเมาแบบต่างๆ อาหารข้างทางในเมืองมีวัฒนธรรมการกินของเขาเอง สำหรับคนจำนวนมาก การกินอาหารบางมื้อต้องมีสุราบ้าง เป็นวิถีการกินแบบหนึ่ง
 
ความไม่เข้าใจนี้สะท้อนให้เห็นตลอดมาในนโยบายสุรา ที่มักเลือกปฏิบัติกับคนจน มีอคติกับคนยากจน อย่างแคมเปญ "จน เครียด กินเหล้า" เป็นต้น
 
3) ที่อันตรายคือ นายแพทย์ที่เป็นตัวแทนของคณะกรรมการนี้ demonize คนดื่มสุราอย่างรุนแรง กล่าวร้ายให้คนดื่มสุรากลายเป็นปีศาจตลอดเวลา ทำให้คนดื่มสุรามีภาพกลายเป็นคนขาดสติพร้อมก่ออาชญากรรมได้ตลอดเวลา หมอท่านนี้กล่าวในรายการว่า "คนดื่มสุรามักจะไปทำร้ายคน เมาแล้วข่มขืนคน คนก่ออาชญากรรมมีเหตุมาจากการดื่มสุรามาทั้งสิ้น" ทัศนะอย่างนี้อันตรายมาก แสดงทัศนคติที่ดูถูกคนที่มีวิถีชีวิตแตกต่างจากตนเอง
 
หากสังคมของผู้มีอำนาจยังบ่มเพาะเชื้อความคิดอคติต่อคนที่เราไม่เข้าใจเขา (ethnocentrism) อย่างนี้ไปเรื่อยๆ อีกหน่อยเราจะทำร้ายคนในนามของความดีแบบคับแคบอย่างนี้ได้อีกมากมาย ดังที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุชาวยิว การฆ่าคนมุสลิมในปาเลสไตน์ การสังหารโหดที่ธรรมศาสตร์เมื่อ 6 ตุลาคม 2519
 
4) กฎใหม่นี้ชวนให้สงสัยว่า คณะกรรมการนี้ไม่สามารถจัดการควบคุมปัญหาที่ใหญ่กว่านี้ได้ แล้วจะมาเริ่มก่อปัญหาการจัดการอย่างใหม่ อย่างลานเบียร์ ตัวแทนคณะกรรมการบอกเองในรายการว่ามีปัญหาผิดกฎหมายทั้งสิ้น เพราะเป็นการส่งเสริมกระตุ้นให้ดื่มสุรา แต่การดำเนินคดีล่าช้า หรือบางทีอาจไม่สามารถดำเนินคดีให้คืบหน้าไปได้ ส่วนการจับเมาแล้วขับ เราเห็นกันอยู่ว่าไม่สามารถทำได้จริง ทำได้แค่บางเวลาในบางจุด ควรรณรงค์ให้คนรับผิดชอบตนเองมากกว่า ส่วนการกวดขันห้ามจำหน่ายสุราแก่คนอายุต่ำกว่า 20 ก็ไม่สามารถจัดการได้จริง การละเมิดกฎหมายเหล่านั้นมีผลมากกว่าเสียหายกว่า ยังควบคุมให้เกิดข้ึนไม่ได้ แต่จะมาออกกฎใหม่ที่มีผลกับคนจน
 
ขออย่าให้คนเขาพูดได้ว่า คณะกรรมการนี้สองมาตรฐาน เพราะจับร้านขายส้มตำที่วางขายบนทางเท้าหน้าลานเบียร์ แต่ไม่สามารถเอาผิดกับเจ้าของบริษัทขายเบียร์ได้ เนื่องจากฝ่ายหนึ่งจน อีกฝ่ายหนึ่งเป็นคนร่ำรวย เป็นผู้รากมากดี มียันต์กันกฎหมายติดอยู่บนสลากสุราก็แล้วกันครับ
 
5) ทางออกที่ดีกว่านี้ได้แก่ (ก) การจัดพื้นที่ (zoning) แทนที่จะห้ามๆๆ โดยไม่เข้าใจว่า หากคนหาเช้ากินค่ำเขามีการสังสรรค์บันเทิงกันบ้างแล้วเขาจะใช้พื้นที่ไหน ในเมื่อร้านรวงค่าเช่ามันแพง หากอนุโลมการใช้ทางเท้าบางแห่งขายอาหารและอาจจะมีสุราบ้าง ก็ไม่ได้เสียหายอะไร (ข) การจำกัดเวลาในการใช้พื้นที่ให้ชัดเจน (timing) ที่จริงเวลานี้ผู้คนเขาจำกัดเวลาตนเองอยู่แล้ว การขายอาหารบนทางเท้ามีเวลาเฉพาะของมันเอง แต่บางแห่งอาจระบุว่ายอมให้ขายสุราได้เมื่อไหร่ และ (ค) การกวดขันเรื่องการห้ามจำหน่ายสุราแก่คนอายุต่ำกว่า 20 (carding) ทุกวันนี้กฎหมายนี้แทบไม่ได้ถูกบังคับใช้เลยด้วยซ้ำ
 
แต่เชื่อเถอะว่าคณะกรรมการนี้จะไม่เลือกทำวิธีเหล่านี้ เพราะมันยุ่งยากกว่า หรือเพราะไม่อยากลงทุน หรือเพราะการผลักภาระให้คนจนคนไร้อำนาจนั้นง่ายกว่าก็แล้วแต่
 
6) เคยมีบ้างไหมที่เวลาจะออกกฎกระทรวงอะไรที่มีผลกับชีวิตผู้คนมากๆ เช่นนี้ื จะเชิญผู้มีส่วนได้รับผลกระทบเข้าร่วมพิจารณาด้วย ให้เขารับรู้และฟังความเห็นเขาก่อน ไม่ใช่คิดแต่ว่ามีแต่พวกตนเท่านั้นที่หวังดีกับชีวิตเขา คนทุกคนมีความรับผิดชอบต่อชีวิตตนเอง คณะกรรมการนี้ไม่ต้องมาคิดว่าตนเองเท่านั้นที่รู้ถึงความรับผิดชอบของชีวิตคนอื่นได้ดีกว่า ไม่ต้องมาคิดว่ามีแต่ "พวกหัวหมอ" เท่านั้นที่จะรับผิดชอบชีวิตคนอื่นได้ คนทั่วไปหาเช้ากินค่ำเองไม่สามารถรับผิดชอบชีวิตตนเองได้หรืออย่างไร
 
สุดท้าย ไม่ต้องมาบอกว่าออกกฎกระทรวงนี้ให้เป็นของขวัญ เพราะกฎนี้ก่อผลเสียกับคนจำนวนมากด้วย และการพูดอย่างนั้นก็เป็นการเอาบุญคุณกับประชาชนทั้งที่เป็นการงานหน้าที่ตนจะต้องปฏิบัติอยู่แล้วมากกว่า ที่สำคัญกว่าคือต้องตระหนักว่า การใช้อำนาจโดยไม่เข้าใจวิถีชีิวิต ใช้อำนาจแบบผลักความรับผิดชอบ ใช้อำนาจบนอคติที่มีต่อคนยากจน จะนำความเสื่อมมาสู่ทั้งสถาบันการแพทย์และสังคมโดยรวม
 
 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
รถกระบะพัฒนาจากการเป็นปัจจัยการผลิตจนกลายเป็นปัจจัยทางวัตถุเชิงวัฒนธรรมในระยะ 20 ปีมานี้เอง การเกิดขึ้นของวัฒนธรรมรถกระบะไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่เกิดจากปัจจัยเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และรัฐบาลนั่นแหละที่มีส่วนสำคัญทำให้เกิดพัฒนาการนี้ขึ้นมา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไปโตรอนโตได้สัก 5 วัน แต่เวลาส่วนใหญ่ก็อยู่ในห้องประชุม กับนั่งเตรียมเสนองาน จะมีบ้างก็สองวันสุดท้าย ที่จะมีชีวิตเป็นของตนเอง ได้เดินไปเดินมา เที่ยวขึ้นรถเมล์ รถราง กิน ดื่ม ละเลียดรายละเอียดของเมืองบางมุมได้บ้าง ก็ได้ความประทับใจบางอย่างที่อยากบันทึกเก็บไว้ ผิดถูกอย่างไรชาวโตรอนโตคงไม่ถือสานัก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อีกสถานที่หนึ่งที่ตั้งใจไปเยือนคือโรงเบียร์ใจกลางเมืองชื่อ Steam Whistle ทำให้ได้เห็นทั้งวิธีคิดของเมือง วิธีการทำเบียร์ ความเอาจริงเอาจังของคนรุ่นใหม่ในแคนาดา รวมทั้งเข้าใจอะไรๆ เกี่ยวกับเบียร์มากขึ้น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แรกทีเดียวก่อนไปชม ก็ไม่คิดว่าจะได้อะไรมาก คิดว่าคงแค่ไปดูความเป็นมาของบาทาเป็นหลัก แล้วก็คงมีรองเท้าดีไซน์แปลกๆ ให้ดูบ้าง กับคงจะได้เห็นรองเท้าจากที่ต่างๆ ทั่วโลกเอามาเปรียบเทียบกันด้วยความฉงนฉงายในสายตาฝรั่งบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมมาประชุมวิชาการ AAS ประจำปี 2017 ที่โตรอนโต แคนาดา เมื่อเสนองานไปแล้วเมื่อวาน (18 มีค. 60) เมื่อเช้าก็เลยหาโอกาสไปทำความรู้จักกับเมืองและผู้คนบ้าง เริ่มต้นจากการไปแกลลอรีแห่งออนทาริโอ แกลลอรีสำคัญของรัฐนี้ ตามคำแนะนำของใครต่อใคร ไปถึงแล้วก็ไม่ผิดหวังเพราะแกลลอรีนี้น่าสนใจในหลายๆ ลักษณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวคิดในการจัดแสดงงาน การเล่าเรื่องราว และการแสดงความเป็นแคนาดา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงนี้มิวเซียมสยามมีนิทรรศการชั่วคราวชุดใหม่จัดแสดงอยู่ ชื่อนิทรรศการ "ต้มยำกุ้งวิทยา : วิชานี้อย่าเลียน !" ผมเพิ่งไปดูมาเมื่อสองวันก่อนนี้ ดูแล้วคิดอะไรได้หลายอย่าง ก็ขอเอามาปันกันตรงนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทันทีที่ คสช. ขอบคุณ ธีรยุทธ บุญมี ธีรยุทธก็ได้วางมาตรฐานใหม่ให้แก่การทำงานวิชาการเพื่อสนับสนุนและแอบอิงไปกับเผด็จการทหาร แนวทางสำคัญ ๆ ได้แก่งานวิชาการที่ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (27 มค. 60) ไปสอน นศ. ธรรมศาสตร์ปี 1 ที่ลำปาง วิชามนุษย์กับสังคม ผมมีหน้าที่แนะนำว่าสังคมศาสตร์คืออะไร แล้วพบอะไรน่าสนใจบางอย่าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อคืนวันที่ 18 พย. ผมไปดูละครเรื่อง "รื้อ" มา ละครสนุกเหลือเชื่อ เวลาชั่วโมงครึ่งผ่านไปอย่างรวดเร็ว พอดีผู้จัดซึ่งเป็นผู้แสดงหลักคนหนึ่งด้วย คืออาจารย์ภาสกร อินทุมาร ภาควิชาการละคร ศิลปกรรม ธรรมศาสตร์ ชวนไปเสวนาแลกเปลี่ยนหลังการแสดง ก็เลยต้องนั่งดูอย่างเอาจริงเอาจัง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักมานุษยวิทยามีแนวโน้มที่จะ "โรแมนติก" นั่นคือ "อิน" ไปกับกลุ่มคนที่ตนเองศึกษา ความเห็นอกเห็นใจอาจเกินเลยจนกลายเป็นความหลงใหลฟูมฟายเออออไปกับกลุ่มคนที่ตนเองศึกษา 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ความเคลื่อนไหวในสังคมไทยขณะนี้มีหลายเหตุการณ์ที่ชี้ให้เห็นถึงขีดจำกัดคุณค่าความดีของสังคมไทยปัจจุบัน นั่นคือข้อเท็จจริงที่ว่า ความดีแบบไทยๆ ไม่จำเป็นต้องดีเสมอไป ไม่จำเป็นต้องดีอย่างไม่ต้องสงสัย เป็นความดีที่ผูกติดกับสังคมนิยมชนชั้น 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อย่างที่บอก ผมไปเกาหลีเที่ยวนี้เพื่อไปประชุมวิชาการครบรอบ 50 ปีการก่อตั้งภาควิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยฮันกุ๊กภาษาและกิจการต่างประเทศ (Hankuk University of Foreign Studies)