Skip to main content

ข้อโต้แย้งต่อความเห็นผมจากของเครือข่ายองค์กรงดเหล้า ที่ลงในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1355920241&grpid=03&catid=&subcatid=) ย้ำให้เห็นชัดถึงความอับจนของกรอบคิดของคนกลุ่มนี้ต่อไปนี้

1) มองคนจนในด้านเดียว หาว่าเขาโง่ มองคนจนว่า จนแล้วยังเสื_กกินเหล้า ทำร้ายตัวเอง น่าอนาจใจที่คนที่ทำงานเพื่อสังคมในปัจจุบันนี้ กลับไม่ได้มีความเข้าใจชีวิตคนที่แตกต่างจากตนเองอีกต่อไปแล้ว
 
นี่เป็นทัศนะแบบ "คุณพ่อรู้ดี" ตัดสินชีวิตคนอื่นจากมุมมองตนเอง ไม่ใช่ด้วยเพราะตนเองรู้ดีกว่าจริงๆ หรอก แต่เพราะคิดว่าตนเองเท่านั้นที่รับผิดชอบสังคมนี้ คนอื่น ชาวบ้าน โดยเฉพาะคนจน รับผิดชอบชีวิตเขาเองไม่ได้ ต้องควบคุม ต้องกำกับจัดการ
 
นี่เป็นทัศนะของชนชั้นกลางที่เชื่อมั่นในการศึกษา ชอบอ้างงานวิจัย ซึ่งก็มักวางอยู่บนกรอบเดียวกันนี้ ผมเห็นงานวิจัยเรื่องสุราแต่ละชิ้น มักไม่ได้มาจากกรอบของมุมมองทางสังคมที่เห็นปัญหาของนโยบายรัฐและปัญหาของความเหลื่อมล้ำเชิงโครงสร้าง แต่มักมุ่งเป้าปัญหาไปที่คนจนปัจเจก ลดทอนปัญหาใหญ่ๆ ให้กลายเป็นปัญหาส่วนบุคคล ลดทอนปัญหาเชิงนโยบายและความเหลื่อมล้ำ ให้กลายเป็นเพียงปัญหาเชิงศีลธรรม
 
หากความดีดีจริง จะต้องเป็นความดีที่ไม่มีที่ติ จะต้องไม่สามารถถกเถียงหาข้อโต้แย้งให้สงสัยได้ว่าดีแค่ไหน ดีจริงหรือ จะต้องเป็นความดีที่ทุกคนยอมรับได้ แต่หากความดีของพวกคุณยังมีข้อสงสัย อย่าคิดว่าความดีของพวกคุณดีในตัวของมันเอง แล้วอย่าเพิ่งเที่ยวเอาความดีแบบพวกคุณไปยัดเยียดคนอื่น เพราะสังคมเขายังไม่สิ้นสงสัยในความดีแบบพวกคุณ
 
2) แทนที่จะมุ่งแก้ปัญหาที่ใหญ่กว่านั้น วิธีคิดแบบนี้กลับผลักปัญหาให้เป็นปัญหาของคนอื่น ทั้งๆ ที่ตนเองมีงานที่สำคัญอยู่แล้วแต่ยังทำไม่ได้ ทำไมองค์กรนี้ไม่ไปรณรงค์ผลักดันให้เจ้าหน้าที่ ให้คณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เข้มงวดกวดขันกับมาตรการและกฎหมายอื่นๆ ที่มีอยู่แล้วให้มากขึ้น ทำไมจึงมาออกหน้าเถียงแทนพวกหมอ ทำไมต้องมามุ่งควบคุมคนจน 
 
นี่ทำให้น่าสงสัยว่า ตกลงเอ็นจีโอและนักวิชาการกลุ่มนี้กำลังทำงานให้ใคร น้ำเสียงขององค์กรนี้สอดคล้องกับบางองค์กรที่มักรณรงค์งดเหล้าด้วยกรอบคิดเดียวกันนี้ อย่าให้คนเขาเข้าใจไปเองครับว่า องค์กรนั้นซึ่งมีอิทธิพลมากมายจนผมยังไม่กล้าเอ่ยชื่อเลย จะมาสร้างเครือข่ายยัดเยียดศีลธรรมของชนชั้นกลางคุณพ่อรู้ดี แล้วเที่ยวใช้อิทธิพลไปทั่ว ผ่านเงินทองมากมายจากภาษีที่พวกท่านตีตราว่าบาป หรือเพราะบรรดาหมอที่ผลักดันนโยบายนี้ไม่ถนัดที่จะถกเถียงด้วยเหตุผลด้วยตนเอง หรือไม่อยากมาเกลือกกลั้วแลกเปลี่ยนความเห็นกับคนในสังคม จึงอาศัยตัวช่วย ขออย่าให้เป็นอย่างนั้นเลยครับ 
 
3) ถึงที่สุดแล้ว ผมสงสัยว่านี่เป็นการบิดเบือนการใช้กฎหมายหรือไม่ เพราะในสังคมประชาธิปไตย กฎหมายไม่ได้มีไว้ใช้ควบคุมศีลธรรม กฎหมายมีไว้สำหรับการอยู่ร่วมกัน อย่ามาใช้อำนาจก้าวก่ายชีวิตคนอื่นผ่านกฎหมาย สังคมประชาธิปไตยต้องเป็นประชาธิปไตยในเชิงวัฒนธรรมด้วย กฎหมายจึงไม่สามารถอยู่ในกรอบของความดีความชั่วอย่างแคบๆ ได้ เพราะความดีความชั่วส่วนใหญ่วางอยู่บนความเชื่อของคนบางกลุ่มเท่านั้น 
 
แต่ในสังคมประชาธิปไตย กฎหมายต้องอยู่ในกรอบของการทำให้คนที่มาจากพื้นฐานทางสังคมที่แตกต่างกัน มาจากวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน อยู่ร่วมกันได้ ยอมรับกันได้ เคารพกันและกันได้แม้จะแตกต่างกัน ถ้าพวกคุณยอมรับคนอื่นไม่ได้ด้วยมาตรฐานชีวิตของพวกคุณ แล้วเที่ยวไปตัดสินดีชั่วให้ชีวิตคนอื่น จนถึงกับไปออกกฎก้าวก่ายชีวิตคนอื่นด้วยมาตรฐานชีวิตของพวกคุณ แบบนั้นเขาเรียกการใช้อำนาจแบบเผด็จการ เผด็จการล้วนอ้างว่าตนใช้อำนาจในนามของความดีทั้งนั้นแหละครับ

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลังจากพินิจพิเคราะห์แล้วว่า ท่านผู้นำกำลังจะหมดเรื่องพล่ามในไม่ช้า เพราะเริ่มวนเวียนและเล่าเรื่องตัวเองมากขึ้น ท่านจึงควรหาความรู้รอบตัวมากขึ้น ก็เลยขอตามกระแส แนะนำหนังสือให้ท่านอ่าน ก็ไม่รู้จะ tag ท่านยังไง แต่คิดว่า เขียนใส่ขวดลอยไปก็อาจจะลอยไปถึงตีนบันไดบ้านท่านบ้างสักวัน ก็ขออนุญาตแนะนำดังนี้ครับท่าน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นท่านผู้นำไม่นิยมผู้หญิง เพราะในคณะรัฐบาลท่านมีผู้หญิงเพียง 2 คน ผมก็เลยขอแนะนำท่านว่า ผู้หญิงทำงานความคิดเก่งๆ มีมากมาย ไม่ใช่ให้ลูกน้องเอาผู้หญิงมาเต้นโป๊เปลือยดูกันในค่ายทหารเท่านั้น แต่ก็เอาล่ะ ขอแนะนำนักมานุษยวิทยาสตรีที่ผมชื่นชอบสัก 10 คนก็แล้วกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรามีปาก เขามีปืน เราขัดขืน เขาข่มเหงเรานักเขียน เขานักเลง เรายำเกรง เขาลำพอง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ใครที่รู้จักอาคารดังๆ ของแฟรงค์ ลอยด์ ไรท์ (Frak Lloyd Wright) อย่าง Guggenhiem Museum ที่นิวยอร์ค บ้านน้ำตกที่เพลซิลวาเนีย Imperial Hotel ที่โตเกียว อาจจะนึกไม่ถึงว่า บ้านที่ไรท์เรียกว่าเป็นบ้านของเขานั้นอยู่ในชนบทที่ Spring Green มลรัฐวิสคอนซิน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะแบบนี้ปรากฏตัวบ่อยครั้งในข้อถกเถียงทางการเมืองไทย ในระบบการศึกษาไทย ตำราเรียนไทย ประวัติศาสตรืไทยแบบทางการก็ยังสอนแบบนี้อยู่ คนไทยไม่ว่าจะใส่เสื้อสีใด ส่วนใหญ่ก็ยังเชื่อแบบนี้อยู่ ทัศนะแบบนี้คงกะลาความเป็นไทยเอาไว้อย่างหนาเตอะเกรอะกรัง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บทสนทนาระหว่าง นายอานันท์ ปันยารชุน กับนายภิญโญ ไตรสุริยธรรมา ล่าสุด เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2557 ที่โรงแรมมณเฑียร มีสาระที่น่าสนใจหลายประการต่อการเข้าใจการเมืองไทย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 นึกถึงชิคาโก ผู้คนคงนึกถึงตึกระฟ้าที่เคยประชันกันกับนิวยอร์ค นึกถึงธุรกิจที่ดึงดูดให้ใครต่อใครมาอาศัยที่นี่จนเป็นเมืองใหญ่อันดับ 3 ของสหรัฐอเมริกา นึกถึงสถาปัตยกรรมอันหลากหลายและฟังเมืองใหม่หลังไฟไฟม้ใหญ่จนราบไปทั้งเมือง นึกถึงอัลคาโปนเจ้าพ่อชื่อดัง นึกถึงพิพิธภัณฑ์ที่เดินดูกันทั้งเดือนก็คงไม่หมด นึกถึงมหาวิทยาลัยอันโด่งดังอย่างมหาวิทยาลัยแห่งชิคาโก แต่ใครบ้างจะนึกถึงแมกไม้และสายน้ำของชิคาโก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
  เมื่อวันจันทร์ (11 สค.) หลังจากใช้เวลาอยู่ใน Field Museum (ซึ่งพอดีมีนิทรรศการว่าด้วยกำเนิดของ Field Museum ที่เกี่ยวข้องกับกำเนิดของมานุษยวิทยาอเมริกันอย่างยิ่ง) ไปกว่า 4 ชั่วโมงแล้ว ผมลังเลอย่างยิ่งที่จะเข้าชม The Art Institute of Chicago ต่อ เพราะเกรงว่าจะไม่ทันได้ครุ่นคิดอะไรกับความรู้และความรู้สึกแบบอัดแน่นจากเมื่อ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักเรียนคนหนึ่งถามเรื่อง "การเขียน" และการวางแผน "อนาคต" ของเขา ผมเขียนตอบไปอย่างยาว เห็นว่าอาจเป็นประโยชน์กับคนอื่นๆ บ้าง ก็เลยขอนำมาเผยแพร่ที่นี่ครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะอาจารย์ธรรมศาสตร์ ผมไม่อาจยินดีกับการที่ผู้บริหารสูงสุดของมหาวิทยาลัยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จาก คสช. 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อก่อนผมเถียงกับเพื่อนเสมอว่า อย่ามาถามว่าผมเป็นคนที่ไหน เพราะคนเราอาจมีหลายบ้าน มีใครในยุคนี้ที่ไม่ย้ายบ้านบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำสวยหรูนี้ประดิษฐ์ขึ้นมาในภาษาไทยโดยใครนั้น ผู้ที่ติดตามแวดวงวิชาการในระยะ 30 ปีที่ผ่านมาย่อมทราบดี ไม่ว่าจิตวิญญาณของผู้ที่กล่าวคำนี้จะยังอยู่กับแนวคิดนี้ที่เขาอาจพลั้งปากออกมาหรือไม่ คนที่สนิทชิดเชื้อกับผู้ประดิษฐ์คำท่านนี้ก็คงจะทราบดี