Skip to main content

ข้อโต้แย้งต่อความเห็นผมจากของเครือข่ายองค์กรงดเหล้า ที่ลงในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1355920241&grpid=03&catid=&subcatid=) ย้ำให้เห็นชัดถึงความอับจนของกรอบคิดของคนกลุ่มนี้ต่อไปนี้

1) มองคนจนในด้านเดียว หาว่าเขาโง่ มองคนจนว่า จนแล้วยังเสื_กกินเหล้า ทำร้ายตัวเอง น่าอนาจใจที่คนที่ทำงานเพื่อสังคมในปัจจุบันนี้ กลับไม่ได้มีความเข้าใจชีวิตคนที่แตกต่างจากตนเองอีกต่อไปแล้ว
 
นี่เป็นทัศนะแบบ "คุณพ่อรู้ดี" ตัดสินชีวิตคนอื่นจากมุมมองตนเอง ไม่ใช่ด้วยเพราะตนเองรู้ดีกว่าจริงๆ หรอก แต่เพราะคิดว่าตนเองเท่านั้นที่รับผิดชอบสังคมนี้ คนอื่น ชาวบ้าน โดยเฉพาะคนจน รับผิดชอบชีวิตเขาเองไม่ได้ ต้องควบคุม ต้องกำกับจัดการ
 
นี่เป็นทัศนะของชนชั้นกลางที่เชื่อมั่นในการศึกษา ชอบอ้างงานวิจัย ซึ่งก็มักวางอยู่บนกรอบเดียวกันนี้ ผมเห็นงานวิจัยเรื่องสุราแต่ละชิ้น มักไม่ได้มาจากกรอบของมุมมองทางสังคมที่เห็นปัญหาของนโยบายรัฐและปัญหาของความเหลื่อมล้ำเชิงโครงสร้าง แต่มักมุ่งเป้าปัญหาไปที่คนจนปัจเจก ลดทอนปัญหาใหญ่ๆ ให้กลายเป็นปัญหาส่วนบุคคล ลดทอนปัญหาเชิงนโยบายและความเหลื่อมล้ำ ให้กลายเป็นเพียงปัญหาเชิงศีลธรรม
 
หากความดีดีจริง จะต้องเป็นความดีที่ไม่มีที่ติ จะต้องไม่สามารถถกเถียงหาข้อโต้แย้งให้สงสัยได้ว่าดีแค่ไหน ดีจริงหรือ จะต้องเป็นความดีที่ทุกคนยอมรับได้ แต่หากความดีของพวกคุณยังมีข้อสงสัย อย่าคิดว่าความดีของพวกคุณดีในตัวของมันเอง แล้วอย่าเพิ่งเที่ยวเอาความดีแบบพวกคุณไปยัดเยียดคนอื่น เพราะสังคมเขายังไม่สิ้นสงสัยในความดีแบบพวกคุณ
 
2) แทนที่จะมุ่งแก้ปัญหาที่ใหญ่กว่านั้น วิธีคิดแบบนี้กลับผลักปัญหาให้เป็นปัญหาของคนอื่น ทั้งๆ ที่ตนเองมีงานที่สำคัญอยู่แล้วแต่ยังทำไม่ได้ ทำไมองค์กรนี้ไม่ไปรณรงค์ผลักดันให้เจ้าหน้าที่ ให้คณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เข้มงวดกวดขันกับมาตรการและกฎหมายอื่นๆ ที่มีอยู่แล้วให้มากขึ้น ทำไมจึงมาออกหน้าเถียงแทนพวกหมอ ทำไมต้องมามุ่งควบคุมคนจน 
 
นี่ทำให้น่าสงสัยว่า ตกลงเอ็นจีโอและนักวิชาการกลุ่มนี้กำลังทำงานให้ใคร น้ำเสียงขององค์กรนี้สอดคล้องกับบางองค์กรที่มักรณรงค์งดเหล้าด้วยกรอบคิดเดียวกันนี้ อย่าให้คนเขาเข้าใจไปเองครับว่า องค์กรนั้นซึ่งมีอิทธิพลมากมายจนผมยังไม่กล้าเอ่ยชื่อเลย จะมาสร้างเครือข่ายยัดเยียดศีลธรรมของชนชั้นกลางคุณพ่อรู้ดี แล้วเที่ยวใช้อิทธิพลไปทั่ว ผ่านเงินทองมากมายจากภาษีที่พวกท่านตีตราว่าบาป หรือเพราะบรรดาหมอที่ผลักดันนโยบายนี้ไม่ถนัดที่จะถกเถียงด้วยเหตุผลด้วยตนเอง หรือไม่อยากมาเกลือกกลั้วแลกเปลี่ยนความเห็นกับคนในสังคม จึงอาศัยตัวช่วย ขออย่าให้เป็นอย่างนั้นเลยครับ 
 
3) ถึงที่สุดแล้ว ผมสงสัยว่านี่เป็นการบิดเบือนการใช้กฎหมายหรือไม่ เพราะในสังคมประชาธิปไตย กฎหมายไม่ได้มีไว้ใช้ควบคุมศีลธรรม กฎหมายมีไว้สำหรับการอยู่ร่วมกัน อย่ามาใช้อำนาจก้าวก่ายชีวิตคนอื่นผ่านกฎหมาย สังคมประชาธิปไตยต้องเป็นประชาธิปไตยในเชิงวัฒนธรรมด้วย กฎหมายจึงไม่สามารถอยู่ในกรอบของความดีความชั่วอย่างแคบๆ ได้ เพราะความดีความชั่วส่วนใหญ่วางอยู่บนความเชื่อของคนบางกลุ่มเท่านั้น 
 
แต่ในสังคมประชาธิปไตย กฎหมายต้องอยู่ในกรอบของการทำให้คนที่มาจากพื้นฐานทางสังคมที่แตกต่างกัน มาจากวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน อยู่ร่วมกันได้ ยอมรับกันได้ เคารพกันและกันได้แม้จะแตกต่างกัน ถ้าพวกคุณยอมรับคนอื่นไม่ได้ด้วยมาตรฐานชีวิตของพวกคุณ แล้วเที่ยวไปตัดสินดีชั่วให้ชีวิตคนอื่น จนถึงกับไปออกกฎก้าวก่ายชีวิตคนอื่นด้วยมาตรฐานชีวิตของพวกคุณ แบบนั้นเขาเรียกการใช้อำนาจแบบเผด็จการ เผด็จการล้วนอ้างว่าตนใช้อำนาจในนามของความดีทั้งนั้นแหละครับ

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
มาเกียวโตเที่ยวนี้หนาวที่สุดเท่าที่เคยมา (สัก 6 ครั้งได้แล้ว) อุณหภูมิอยู่ราวๆ 0-5 องศาเซลเซียสตลอด แต่นี่ยังไม่เท่าเมืองที่เคยอยู่ คือวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกา ซึ่งขณะนี้อยู่ราวๆ -20 องศาเซลเซียส และเคยหนาวได้ถึง -40 องศาเซลเซียส หนาวขนาดนั้นมีแต่นกกากับกระรอก ที่อึดพอจะอยู่นอกอาคารได้นานๆ แต่ที่เกียวโต คนยังสามารถเดินไปเดินมา หรือกระทั่งเดินเล่นกันได้เป็นชั่วโมงๆ หากมีเครื่องกันหนาวที่เหมาะสม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การสัมมนาที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เมื่อวันที่ 23-24 มค. ยังความรื่นรมย์มสู่แวดวงวิชาการสังคมศาสตร์อีกครั้ง ถูกต้องแล้วครับ งานนี้เป็นงาน "เวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทย ครั้งที่ 7" หากแต่อุดมคับคั่งไปด้วยนักสังคมศาสตร์ (ฮ่าๆๆๆ) น่ายินดีที่ได้พบเจอเพื่อนฝูงทั้งเก่าทั้งใหม่มากหน้าหลายตา แต่ที่น่ายินดียิ่งกว่านั้นคือการได้สนทนาทั้งอย่างเป็นทางการ ผ่านงานเขียนและการคิดอ่านกันอย่างจริงจัง บนเวทีวิชาการ กับเพื่อนๆ นักวิชาการรุ่นใหม่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อเช้า (26 มค.) ผมไปเลือกตั้งล่วงหน้าที่เขตจอมทอง ด้วยเหตุจำเป็นไม่สามารถไปเลือกตั้งวันที่ 2 กพ. ได้ ก่อนไป สังหรณ์ใจอยู่ก่อนแล้วว่าจะเกิดเหตุไม่ดี ผมไปถึงเขตเลือกตั้งเวลาประมาณ 9:00 น. สวนทางกับผู้ชุมนุมนกหวีดที่กำลังออกมาจากสำนักงานเขต นึกได้ทันทีว่ามีการปิดหน่วยเลือกตั้งล่วงหน้า มวลชนหลักร้อย ดูฮึกเหิม ท่าทางจะไปปิดหน่วยเลือกตั้งอื่นต่อไป ผมถ่ายรูปคนจำนวนหนึ่งไว้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หนังสือ ประวัติศาสตร์ไทดำ : รากเหง้าวัฒนธรรม-สังคมไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (2557) เล่มนี้เป็นผลจากการวิจัยเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ผมทำวิจัยชิ้นนั้นก็เพื่อให้เข้าใจงานเขียนทางประวัติศาสตร์ของชาวไทในเวียดนามสำหรับทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก แต่เนื้อหาของหนังสือนี้แทบไม่ได้ถูกนำเสนอในวิทยานิพนธ์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เดือนที่แล้ว หลังเสร็จงานเขียนใหญ่ชิ้นหนึ่ง ผมกะจะหลบไปไหนสัก 4-5 วัน ระยะนั้นประเด็นวันเลือกตั้งยังไม่เข้มข้นขนาดทุกวันนี้ ลืมนึกไปจนกลายเป็นว่า ตัวเองกำหนดวันเดินทางในช่วงวันเลือกตั้ง 2 กพ. 57 พอดี เมื่อมาคิดได้ เมื่อวันที่ 14 มค. ก็เลยถือโอกาสที่ที่ทำงานให้หยุดงานไปลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้าในเขตตนเอง ใช้เวลาไม่เกิน 15 นาทีก็ได้เอกสารมาเก็บไว้ รอไปเลือกตั้งล่วงหน้าวันอาทิตย์ที่ 26 มค.
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เหตุที่ประโยค Respect My Vote. กลายเป็นประโยคที่นำไปใช้ต่อ ๆ กันแพร่หลายกินใจผู้รักประชาธิปไตยในขณะนี้ ไม่เพียงเพราะประโยคนี้มีความหมายตามตัวอักษร แต่เพราะประโยคนี้ยังเป็นถ้อยแถลงทางการเมืองของประชาชน ที่ประกาศว่า อำนาจสูงสุดของประเทศนี้เป็นของประชาชน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันที่ 9 มกราคม 2557 เวทีเสวนาประชาธิปไตยภาคใต้ ได้จัดอภิปรายเรื่อง "ปฏิรูปประเทศไทย : ปาตานีในระยะเปลี่ยนผ่าน" ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ผมกับอาจารย์เอกชัย ไชยนุวัติ ได้รับเชิญในฐานะตัวแทนจากสมัชชาปกป้องประชาธิปไตยไปร่วมบรรยายกับวิทยากรชาวปัตตานีและชาวสงขลา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมอยู่ในแวดวงวิชาการ พร้อม ๆ กับทำกิจกรรมบริการทางสังคมด้านสิทธิ-เสรีภาพ การบริการทางสังคมเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานทางวิชาการ นอกเหนือจากการสอน การทำวิจัย และการเขียนงานวิชาการ แต่ในโลกทางวิชาการไทยปัจจุบัน เมื่อคุณก้าวออกมานอกรั้วมหาวิทยาลัยแล้ว คุณจะกลายเป็น "คนมีสีเสื้อ" ไม่ว่าปกติคุณจะใส่เสื้อสีอะไร จะมีสติ๊กเกอร์ติดเสื้อคุณอยู่เสมอว่า "เสื้อตัวนี้สี..." เพียงแต่เสื้อบางสีเท่านั้นที่ถูกกีดกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การปฏิรูปก่อนเลือกตั้งคือการยึดอำนาจของ กปปส. เพื่อจัดตั้งสภาประชาชน ไม่มีทางที่การปฏิรูปก่อนการเลือกตั้งจะเป็นการปฏิรูปที่ปวงชนชาวไทยจะมีส่วนร่วม เนื่องจาก...
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมเก็บข้อมูลการวิจัยเมื่อปี 2553-2554 จนถึงหลังการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว ผมมีโอกาสได้สัมภาษ์นักการเมืองท้องถิ่นคนหนึ่ง เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง สส. เขตของพรรคหนึ่ง ไม่ใช่เพื่อไทย ไม่ใช่ประชาธิปัตย์ ในจังหวัดหนึ่งในภาคอีสาน ไม่ใช่จังหวัดเสื้อแดงแจ๋อย่างอุดรธานีหรือขอนแก่น เขตเลือกตั้งนี้เป็นเขตเลือกตั้งในชนบท เป็นพื้นที่ซึ่งพรรคเพื่อไทยมีฐานเสียงอยู่่พอสมควร แต่ไม่เด็ดขาด ด้วยความไว้เนื้อเชื่อใจอันเนื่องมาจากโยงใยที่ใกล้ชิดกับผู้ที่แนะนำให้ผมติดต่อไปสัมภาษณ์ ผู้สมัคร สส. คนนี้เล่าวิธีการซื้อเสียงของเขาให้ผมฟังโดยละเอียด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ข้อเสนอว่าด้วยการปฏิวัติประชาชนของอาจารย์ธีรยุทธไม่ได้วางอยู่บนข้อเท็จจริงของสังคมไทยปัจจุบัน การปฏิวัติประชาชนตามข้ออ้างจากประวัติศาสตร์ประเทศต่างๆ ของอาจารย์ ล้วนแสดงให้เห็นถึงการปฏิวัติของประชาชนเพื่อโค่นล้มผู้กุมอำนาจรัฐที่ไม่ชอบธรรมเพราะผูกขาดอำนาจเป็นของตนเอง ตลอดจนเป็นการโค่นอำนาจรัฐที่ไม่เหมาะสมกับยุคสมัยที่ประชาชนเป็นใหญ่มากขึ้น หากแต่เราจะถือว่า “มวลมหาประชาชน” หนึ่งล้านห้าแสนคน หรือต่อให้สองล้านคนในมวลชนนกหวีดเป็น “ประชาชน” ในความหมายนั้นได้หรือไม่ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ชัยวัฒน์ครับ ผมยินดีที่อาจารย์ออกมาแสดงความเห็นในสถานการณ์ล่อแหลมเช่นนี้ นี่ย่อมต้องเป็นสถานการณ์ที่สำคัญอย่างยิ่งยวดจริงๆ ไม่เช่นนั้นอาจารย์ก็จะไม่แสดงความเห็นอย่างแน่นอน ดังเช่นเมื่อปี 2553 เหตุการณ์การสลายการชุมนุมที่มีผู้เสียชีวิต 90 กว่าคน บาดเจ็บเกือบ 2,000 คน อาจารย์ก็ยังเงียบงันจนผมสงสัยและได้เคยตั้งคำถามอาจารย์ไปแล้วว่า "นักสันติวิธีหายไปไหนในภาวะสงคราม"