Skip to main content

หากพวกคุณวิจัยสำรวจอย่างตรงไปตรงมาจริงๆ พวกคุณก็ย่อมรู้อยู่แก่ใจดีว่า ชัยชนะจากคะแนนเสียงที่ "ไม่่่ท่วมท้นนัก" ในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา มาจากกลุ่มคนที่มีความหวังว่าเพื่อไทยจะเป็นเดินหน้าพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศไทยอย่างจริงจังเสียที

หากพวกคุณไม่ได้หลงตัวเองอย่างงมงาย พวกคุณย่อมรู้อยู่แก่ใจดีว่า ชัยชนะของพรรคเพื่อไทยไม่ได้ได้มาด้วยการหาเสียงอย่างหนักหน่วงของพรรค ไม่ได้ได้มาด้วยความสามารถในการบริหารประเทศของอวตารต่างๆ ของพรรคไทยรักไทยเท่านั้น ไม่ได้ได้มาด้วยหน้าตาคุณงามความดีของสส.เรียงเบอร์หรือสส.บัญชีหางว่าว และไม่ได้ได้มาด้วยเงินซื้อเสียงอย่างแน่นอน
 
หากพวกคุณยังพอมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองอยู่บ้าง พวกคุณก็ย่อมรู้อยู่แก่ใจดีว่า ชัยชนะของเพื่อไทยไม่ได้ได้มาด้วยบุญญาบารมีของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และไม่ได้ได้มาด้วยความภักดีอย่างไร้เหตุผลต่อทักษิณ ชินวัตรและความมั่นใจอย่างไร้สติต่อตระกูลชินวัตรอย่างแน่นอน
 
หากแต่ชัยชนะของพรรคเพื่อไทยได้มาด้วยความหวังของผู้ลงคะแนนเสียงให้เพื่อไทย คะแนนเสียงที่ "ไม่ท่วมท้นนัก" ส่วนหนึ่งมาจากเสียงที่ไม่ได้นิยมชมชอบในตัวทักษิณ ชินวัตร เสียงที่ไม่เคยไว้ใจตระกูชินวัตร และเสียงไม่เคยเห็นหน้ายิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นเสียงที่ไม่เคยรู้ด้วยซ้ำว่าในทะเบียนราษฎร์มีคนชื่อยิ่งลักษณ์ ชินวัตรอยู่ในครอบครัวชินวัตรด้วย
 
แต่ชัยชนะของเพื่อไทยมาจากความหวังที่ประชาชนส่วนใหญ่มอบให้พรรคเพื่อไทย ความหวังที่ว่าคืออะไรบ้าง 
 
- ความหวังที่จะสร้างบรรทัดฐานทางการเมืองแบบใหม่ให้กับการเมืองไทย 
- ความหวังที่จะแสดงให้ชนชั้นนำสำเหนียกว่าชาวไทยไม่สามารถยอมรับการรัฐประหารได้อีกต่อไป ชาวไทยต้องการเดินบนวิถีทางของระบอบรัฐสภาและการเลือกตั้ง ความหวังที่จะประกาศให้ชั้นนำไทยสำเหนียกว่า ชาวไทยไม่สามารถยอมรับอำนาจ "นอก" "เหนือ" รัฐธรรมนูญได้อีกต่อไป ชาวไทยทนไม่ได้อีกต่อไปกับภาวะสองนคราประชาธิปไตย (ที่ว่าคนบ้านนอกตั้งรัฐบาล ดัดจริตชนชาวกรุงล้มรัฐบาล)
- ความหวังที่จะเอาคนสั่งสังหารประชาชนในการสลายการชุมนุมที่แยกคอกวัวและราชประสงค์เข้าคุก 
- ความหวังที่จะไม่ประนีประนอมกับ "อำมาตย์" อีกต่อไป ความหวังที่จะเดินหน้าสู่โครงการประชาธิปไตยของคณะราษฎร (ทึ่กล่าวไว้ตอนหนึ่งในประกาศคณะราษฎรว่า "ราษฎรทั้งหลายพึงรู้เถิดว่า ประเทศเรานี้เป็นของราษฎร ไม่ใช่ของกษัตริย์ตามที่เขาหลอกลวง) อย่างจริงจังเสียที
 
หากไม่กล้าเดินหน้าโหวตวาระ 3 เพื่อแก้รัฐธรรมนูญแบบยกร่างใหม่โดยไม่ต้องทำประชามติ โดยไม่ต้องแก้รายมาตรา หากไม่กล้านิรโทษกรรมนักโทษการเมืองโดยไม่ยกเว้นความผิดให้เจ้าหน้าที่รัฐและผู้สั่งการ หากไม่กล้าลงนามสัตยาบันกับศาลอาญาระหว่างประเทศ หากไม่กล้ารับฟัง ครก.112 ชี้แจงเรื่องการเสนอให้แก้ไข ม.112 ไม่ใช่บอกปัดโดยอำนาจประธานสภาแบบเงียบๆ และไม่สมเหตุสมผล 
 
หากไม่กล้าแสดงออกให้สาธารณชนยอมรับคำตัดสินของศาลโลกกรณีเขาพระวิหาร
 
หากไม่กล้าบอกทักษิณให้หยุดแสดงความเห็นออกนอกหน้าเสียที (ยังไงคุณพูดทางลับ เขาก็คิดกันไปไหนต่อไหนอยู่แล้วว่าคุณมีอิทธิพลเบื้องหลังพรรคเพื่อไทย ไม่ต้องกลัวคนไม่รู้ด้วยการคอยออกมาพูดนั่นพูดนี่หรอกครับ)

ถ้าพวกคุณไม่กล้าทำสิ่งเหล่านั้น หรือไม่กล้าแม้แต่จะทำอะไรสักอย่างในความหวังเหล่านั้นแล้วล่ะก็ ถึงแม้พวกคุณจะเป็นรัฐบาลได้จนครบสมัยนี้ พวกคุณก็อย่าหวังเลยครับว่าจะได้เสียงส่วนใหญ่ในการเลือกตั้งสมัยหน้าอย่างสะดวกสบายแบบการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่แน่ใจว่านโยบายยุบโรงเรียนขนาดเล็กนี้จะดีหรือไม่ สงสัยว่า "คิดดีแล้วหรือที่จะยุบโรงเรียนขนาดเล็ก" ในทางเศรษฐศาสตร์แบบทื่อๆ คงมี "จุดคุ้มทุน" ของการจัดการศึกษาอยู่ระดับหนึ่ง ตามข่าว ดูเหมือนว่าควรจะอยู่ที่การมีนักเรียนโรงเรียนละ 60 คน แต่คงมีเหตุผลบางอย่างที่โรงเรียนตามพื้นที่ชนบทไม่สามารถมีนักเรียนมากขนาดนั้นได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตอนนี้เถียงกันมากเรื่องกะหรี่ ว่ากันไปมาจนกระทั่งทั้งสองฝ่ายก็หนีไม่พ้นเอาคำเดียวกัน หรือทัศนะคติเหยียดเพศหญิงเช่นเดียวกันมาด่ากัน ฝ่ายหนึ่งด่าอีกฝ่ายว่า "อีกะหรี่" อีกฝ่ายหนึ่งด่ากลับว่า "แม่มึงสิเป็นกะหรี่" หรือ "ไปเอากระโปรงอีนั่นมาคลุมหัวแทนไป๊" ตกลงก็ยังหนีไม่พ้นสังคมที่ดูถูกเพศหญิงอยู่ดี
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงสั้นๆ ของชีวิตผมมีโอกาสได้รู้จักคนในแวดวงนักเขียนรูป ผ่านครูสอนวาดเส้นให้ผมคนหนึ่ง ครูผมคนนี้มีเพื่อนคนหนึ่งที่เขาสนิทสนมกันดี ชื่อไสว วงษาพรหม เมื่อคืน ได้สนทนากับคนในแวดวงศิลปะ ที่เรือนชานแห่งหนึ่งที่มีไมตรีให้เพื่อนฝูงเสมอ ผมจึงเพิ่งทราบว่าไสวเสียชีวิตไปหลายปีแล้ว ลอง google ดูพบว่าเขาเสียชีวิตเมื่อ 22 สิงหาคม 2551
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทำไม "เหี้ย ควย หี เย็ด" จึงกลายเป็นภาพเขียนชุดล่าสุดของศิลปินเขียนภาพชั้นนำของไทย ทำไม "กะหรี่" จึงเป็นส่วนหนึ่งของข้อเขียนนักเขียนการ์ตูนผู้ทรงอิทธิพลของไทย ทำไมนักเศรษฐศาสตร์ไทยชั้นนำจึงเขียนคำ "อยากเอา" เป็นความเห็นประกอบภาพวิจารณ์นักการเมือง ทำไมภาษาแบบนี้จึงกลายมาเป็นภาษาทางการเมืองของคนที่มีความสามารถในการสื่อสารเหนือคนทั่วไปเหล่านี้ หลายคนวิเคราะห์แล้วว่า เพราะพวกเขาเร่ิมจนแต้มทางการเมือง "เถียงสู้อีกฝ่ายไม่ได้ก็เลยด่าแม่งไป"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วานนี้ (29 เมษายน 2556) "ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา" และ "ศูนย์ศึกษาสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย" มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดอภิปราย "สู่สันติภาพในอุษาคเนย์" งานนี้จัดท่ามกลางบรรยากาศการเจรจาสันติภาพระหว่างรัฐบาลไทยกับ BRN
ยุกติ มุกดาวิจิตร
“นักวิชาการเสื้อแดง” เป็นเสมือนตำแหน่งทางวิชาการอย่างหนึ่ง การตีตราตำแหน่งนี้สะท้อนความเฉยชาและคับแคบต่อปัญหาสิทธิมนุษยชนและความเป็นธรรมของปัญญาชนไทย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวานเพ่ิงดูพี่ "มากขา" หลายขา แล้วก็อยากมีความเห็นอย่างใครๆ เขาบ้าง ส่วนใครที่ยังไม่ได้ดูแล้วกำลังคิดจะไปดู ก็อย่าเพ่ิงอ่านครับ เดี๋ยวจะเซ็งเสียก่อน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทุกๆ ปี ผมสอนวิชา “ชาติพันธ์ุ์นิพนธ์: การวิพากษ์และการนำเสนอแนวใหม่” ระดับปริญญาตรี ผมออกแบบให้วิชานี้เป็นการศึกษาแบบสัมมนา มีการแลกเปลี่ยนความเห็นของนักศึกษามากกว่าการบรรยายของผู้สอน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อสองวันก่อน มีคนที่สนใจนโยบายรถไฟความเร็วสูงคนหนึ่งถามผมว่า "อาจารย์รู้ไหมว่า โอกาสที่รถไฟไทยจะตรงเวลามีเท่าไหร่" ผมตอบ "ไม่รู้หรอก" เขาบอกว่า "มีเพียง 30%" 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"ปีใหม่" เป็นจินตกรรมของเวลาที่กำหนดการสิ้นสุดและการเริ่มต้น ศักราช เวลาของสังคม การจัดระบบของเวลา ล้วนมีเทศกาลกำกับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
น่าละอายใจที่สภาผู้แทนราษฎรปัดตกข้อเสนอของประชาชนกว่าสามหมื่นคนที่เสนอให้แก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ถ้าบอกกันตรงๆ ว่า "กลัวอ่ะ" ก็จบ ประชาชนอาจจะให้อภัยความปอดแหกได้ แต่ประชาชนส่วนหนึ่งจะตัดสินใจไม่เลือกพวกคุณเข้ามาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนฯ อีกอย่างแน่นอน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ยามหมดปีการศึกษาทีไร ก็ชวนให้ทบทวนถึงหน้าที่การงานด้านการเรียนการสอนของตนเอง แต่ผมทำตามแบบที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งชาติ หรือ สกอ. ให้ทำไม่เป็นหรอก เพราะมันไร้สาระ เป็นกลไกเกินไป และไม่ก่อประโยชน์อะไรนอกจากเปลืองกระดาษและน้ำหมึก ผมมักทำในแบบของผมเองนี่แหละ