Skip to main content

เห็นนักคิดไทยสองคนออกมาเทศนาแล้วอดสงสัยไม่ได้ว่า "ทำไมนักคิดไทย พอแก่ตัวลงต้องไปจนแต้มที่วิธีคิดแบบพุทธๆ" 

เขาคงไม่คิดว่าเขาจนแต้มหรอก แต่ผมถือว่านั่นคือการจนแต้ม ไม่ใช่ว่าผมไม่เคยลองทำอะไรแบบนี้ แต่นั่นมันนานแสนนานมาแล้ว หรือเป็นเพราะตอนนั้นผมคงยังไม่แก่พอที่จะไม่อยากขวนขวายหาอะไรอื่นนอกจากพุทธศาสนาอีกแล้วมาตอบทุกคำถาม

เคยมีศาสตราจารย์ไทยคนหนึ่งถามนักศึกษามานุษยวิทยาว่า "มีทฤษฎีอะไรที่ตอบคำถามได้ทุกอย่างหรือเปล่า" นักศึกษาก็ตอบไปอย่างที่เรียนมาว่า "ทฤษฎีทางมานุษยวิทยาต้องประกอบกันหลายๆ ทฤษฎี จึงจะสามารถทำความเข้าใจสังคม เข้าใจมนุษย์ได้ ไม่มีทฤษฎีอะไรที่ดีที่สุดที่สามารถตอบได้ทุกคำถาม" ศาสตราจารย์คนนั้นยังตื้อถามอีกว่า "มีสิ ลองคิดดูดีๆ" นักศึกษาก็เริ่มงง ศาสตราจารย์คนนั้นก็เลยตอบเองว่า "ก็ศาสนาพุทธไงล่ะ" 

ผมสงสัยว่าทำไม ศ. คนนั้นถึงไม่ไปบวชพระเสีย แล้วเดินทางธรรมไปเลย จะมากินเงินเดือนหากินเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยไปทำไม แต่คงเพราะเขาไม่ได้อยากเปลี่ยนชีวิตตนเองขนาดนั้น เขาแค่อยากคิดแบบนั้น ปรับตัวบ้างนิดหน่อย แล้วก็กินเงินเดือนเทศนาคนอื่นไปเรื่อยๆ 

จะว่าไปการคิดแนวพุทธศาสนาของนักคิดไทยส่วนมากก็เป็นการคิดแบบพุทธในแนวหนึ่ง อยากเรียกว่าแนวพุทธทาสหรือไม่ก็แนวพระประยุทธ์ ปยุตฺโต ซึ่งเน้นการใช้ความคิดใช้ "ปัญญา" มากกว่าการ "ปฏิบัติ" พูดง่ายๆ คือไม่มีใครออกแนวเจริญวิปัสสนา หรือไม่เห็นใครกลายเป็นพระธุดงค์ไปสักคน ยิ่งเรื่องปาฏิหาริย์ยิ่งไม่ต้องพูดกัน สำหรับผม แนววิปัสสนา แนวธุดงค์ แนวปฏิหาริย์น่ะ ไทยเสียยิ่งกว่าแนวนักคิดชราอีก

ก็เพราะว่าพุทธศาสนาแบบนี้ไม่ได้เรียกร้องให้พวกเขาต้องปรับตัวอะไรมากมายนี่เอง ที่ทำให้พวกนักคิดไทยวัยชราเหล่านี้เลือกสมาทาน พุทธศาสนาแบบนี้จึงเป็นพุทธศาสนาของคนที่สามารถปรับศาสนาให้เข้ากับชีวิตประจำวันแบบชนชั้นกลางระดับสูงในเมืองได้ง่าย พวกเขาไม่ต้องปรับการกินอยู่ ไม่ต้องลำบากปฏิวัติตนเอง ปฏิวัติจิตใจ แค่อาศัยการนำเอาหลักคิดแบบพุทธๆ ไปใช้ในการเข้าใจสังคม เข้าใจตนเอง

แต่จะว่าไป การคิดทางพุทธศาสนามักนำมาซึ่งการทดลองปฏิบัติอะไรตามความคิดนั้นอยู่เสมอ แต่ผมก็คิดว่าการปฏิบัตินั้นไม่ได้เหลือบ่ากว่าแรงชาวพุทธที่เป็นชนชั้นกลางระดับสูงในเมือง แค่กินน้อยลง พูดช้าลงหน่อย นานๆ แสดงทัศนะที ไม่ต้องสุงสิงกับเรื่องปากท้อง เรื่องขี้หมูราขี้หมาแห้ง เรื่องประชาธิปไตย เรื่องการชิงอำนาจการเมือง เรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน เรื่องเขตแดน เรื่องอะไรก็ไม่ต้องสนใจทั้งนั้น เพราะคิดดี ทำดี อยู่แต่ในบ้าน แล้วก็ตระเวนเทศนาบ้างเป็นครั้งเป็นคราว จบ.

ความจริงการจนแต้มที่พุทธศาสนาไม่ได้จำกัดเฉพาะในแวดวงวิชาการทางสังคมศาสตร์ แนวทางแบบเข้าวัดในบั้นปลายชีวิตกลายเป็นแนวทางากรค้นหาความเป็นตัวของตัวเองในการทำงานศิลปะของศิลปินไทยเหมือนกัน ผมสงสัยว่านักเขียนไทยก็อาจจะลงเอยทางนี้กันมากเหมือนกัน ถ้าจะไม่ใช่พวกออกแนวแสวงหา "วัฒนธรรมชุมชน"

ดังนั้น นอกจากจะเป็นความสอดคล้องในด้านของวิถีชีวิตแล้ว อาจเป็นเพราะว่าคนเหล่านี้ประสบกับวิกฤติอัตลักษณ์ในโลกที่กำลังหมุนตามภาวะโลกาภิวัตน์ แต่ในอีกด้านหนึ่ง ก็อาจเป็นวิกฤติอัตลักษณ์ของแต่ละคนในบั้นปลายของชีิวิต 

พูดง่ายๆ ว่า หลายคนหมดปัญญาและหมดศรัทธากับการวิ่งไล่โลกความคิดสากลไปแล้ว เลิกอ่านหนังสือใหม่ๆ ไปนานเกินกว่า 10 ปีแล้ว และพอได้ตำแหน่งวิชาการใหญ่โตก็เริ่มอยากสถาปนาความเป็น "เอตทัคคะ" คือเชี่ยวชาญเป็นเลิศทางใดทางหนึ่งกับเขาบ้าง เรียกว่า ก็อยากเสนอทฤษฎีอะไรให้โลกสากลนั่นแหละ แต่คิดตามเขาไม่ไหว ก็เลยหันมาหาโลกพุทธศาสนา

น่าทำวิจัยศึกษานักคิดแก่ๆ เหล่านี้ว่าทำไมแก่แล้วต้องเข้าวัด แต่จะว่าไป ตัวเองจะเข้าก็เข้าไปกับพวกกลุ่มตัวเองสิ ทำไมจะต้องมาลากให้คนอื่นที่ยังมีหนทางอื่นๆ ให้เลือกเข้าตามไปด้วย

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปาฐกถาในเวทีเสวนา “50 ปี 14 ตุลาฯ ยังตามหารัฐธรรมนูญใหม่” จัดโดยสมัชชาคนจน วันที่ 14 ตุลาคม 2566
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อ 24 กค. 65 ผู้จัดการแสดง #ฮิญาบ2022  ชวนผมไปดูการแสดงของคุณฟารีดา จิราพันธ์ ที่กาลิเลโอเอซิส แล้วผู้จัดจะชวนผมสนทนาหลังละคร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะเพื่อนร่วมวิชาชีพวิชาการ ในฐานะผู้ปกครองนักศึกษาคณะวิจิตรศิลป์ และในฐานะคนรักศิลปะ ผมเขียนจดหมายนี้เพื่อตั้งคำถามต่อการที่ผู้บริหารคณะวิจิตรศิลป์จะตรวจสอบผลงานก่อการอนุญาตให้จัดแสดงผลงานของนักศึกษาภาควิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นคนพูดถึงตัวละครในซีรีย์เกาหลีเอ่ยถึงจอร์จ บาไตล์ ในรูปนั่นน่ะครับ เป็นคอลเล็กชันจอร์จ บาไตล์บนชั้นหนังสือผมแบบเบาๆ ผมเก็บไว้ร่วม 20 ปีแล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายคนคงรู้ว่าวันนี้เป็นวันชาติเวียดนาม แต่น้อยคนคงรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นในวันนี้กันแน่ แล้ววันนี้ในอดีตถูกกำหนดเป็นวันขาติจากเหตุการณ์ปีใด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จนถึงวันนี้ การต่อสู้ของประชาชนในขบวนการ “คณะราษฎร 63” ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า พลังของแสงดาวได้สร้างสรรค์สังคมไทยอย่างไร 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การที่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาได้ออกมาแสดงความเห็นว่ามีการสร้างกระแสกดดันศาลต่างๆ นานา (ดู https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/2081366) มองในแง่ดี ผมคิดว่านี่คือการออกมาอธิบายกับสังคมอีกครั้งของผู้มีอำนาจในกระบวนการยุติธรรมอย่างชัดแจ้ง หลังจากที่มีการชี้แจงถึงเหตุผลการไม่ปล่อยตัวผู้ต้องหาคดีการเมืองโดยโฆษกศาลและโฆษกกระทรวงยุติธรรมก่อนหน้านี้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อะไรที่ทำให้ดนตรีมีสถานะในการทำร้ายกันได้บ้าง ผมว่าอย่างน้อยที่สุดต้องเข้าใจก่อนว่า ดนตรีไม่ใช่แค่เสียง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
พอดีนั่งฟังเพื่อนนักวิชาการอ่านหนังสือ "กบฏชาวนา" ของรานาจิต คูฮา (1982) มาคุยให้ฟัง (แปลโดย ปรีดี หงษ์สต้น) ในเพจของสำนักพิมพ์ Illumination Editions เลยคิดถึงบันทึกที่เคยเขียนถึงหนังสือของ ดิเพช จักรบาร์ตี เรื่อง Provincializing Europe (2000)
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรื่อง ถามถึงมโนธรรมสำนึกในความเป็นครูบาอาจารย์ของอาจารย์เอนก เหล่าธรรมทัศน์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะล่าสุดของอาจารย์ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ต่อการชุมนุม 16 ตค. 63 ย้อนแย้งกับสมัยที่อาจารย์ให้ความเห็นต่อการชุมนุม กปปส. ในขณะนั้นอาจารย์อธิบายยืดยาวว่าการชุมนุมของ กปปส. ใช้สันติวิธี
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอให้อาจารย์หยุดใช้ถ้อยคำสร้างความเกลียดชังในสังคม