Skip to main content

เห็นนักคิดไทยสองคนออกมาเทศนาแล้วอดสงสัยไม่ได้ว่า "ทำไมนักคิดไทย พอแก่ตัวลงต้องไปจนแต้มที่วิธีคิดแบบพุทธๆ" 

เขาคงไม่คิดว่าเขาจนแต้มหรอก แต่ผมถือว่านั่นคือการจนแต้ม ไม่ใช่ว่าผมไม่เคยลองทำอะไรแบบนี้ แต่นั่นมันนานแสนนานมาแล้ว หรือเป็นเพราะตอนนั้นผมคงยังไม่แก่พอที่จะไม่อยากขวนขวายหาอะไรอื่นนอกจากพุทธศาสนาอีกแล้วมาตอบทุกคำถาม

เคยมีศาสตราจารย์ไทยคนหนึ่งถามนักศึกษามานุษยวิทยาว่า "มีทฤษฎีอะไรที่ตอบคำถามได้ทุกอย่างหรือเปล่า" นักศึกษาก็ตอบไปอย่างที่เรียนมาว่า "ทฤษฎีทางมานุษยวิทยาต้องประกอบกันหลายๆ ทฤษฎี จึงจะสามารถทำความเข้าใจสังคม เข้าใจมนุษย์ได้ ไม่มีทฤษฎีอะไรที่ดีที่สุดที่สามารถตอบได้ทุกคำถาม" ศาสตราจารย์คนนั้นยังตื้อถามอีกว่า "มีสิ ลองคิดดูดีๆ" นักศึกษาก็เริ่มงง ศาสตราจารย์คนนั้นก็เลยตอบเองว่า "ก็ศาสนาพุทธไงล่ะ" 

ผมสงสัยว่าทำไม ศ. คนนั้นถึงไม่ไปบวชพระเสีย แล้วเดินทางธรรมไปเลย จะมากินเงินเดือนหากินเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยไปทำไม แต่คงเพราะเขาไม่ได้อยากเปลี่ยนชีวิตตนเองขนาดนั้น เขาแค่อยากคิดแบบนั้น ปรับตัวบ้างนิดหน่อย แล้วก็กินเงินเดือนเทศนาคนอื่นไปเรื่อยๆ 

จะว่าไปการคิดแนวพุทธศาสนาของนักคิดไทยส่วนมากก็เป็นการคิดแบบพุทธในแนวหนึ่ง อยากเรียกว่าแนวพุทธทาสหรือไม่ก็แนวพระประยุทธ์ ปยุตฺโต ซึ่งเน้นการใช้ความคิดใช้ "ปัญญา" มากกว่าการ "ปฏิบัติ" พูดง่ายๆ คือไม่มีใครออกแนวเจริญวิปัสสนา หรือไม่เห็นใครกลายเป็นพระธุดงค์ไปสักคน ยิ่งเรื่องปาฏิหาริย์ยิ่งไม่ต้องพูดกัน สำหรับผม แนววิปัสสนา แนวธุดงค์ แนวปฏิหาริย์น่ะ ไทยเสียยิ่งกว่าแนวนักคิดชราอีก

ก็เพราะว่าพุทธศาสนาแบบนี้ไม่ได้เรียกร้องให้พวกเขาต้องปรับตัวอะไรมากมายนี่เอง ที่ทำให้พวกนักคิดไทยวัยชราเหล่านี้เลือกสมาทาน พุทธศาสนาแบบนี้จึงเป็นพุทธศาสนาของคนที่สามารถปรับศาสนาให้เข้ากับชีวิตประจำวันแบบชนชั้นกลางระดับสูงในเมืองได้ง่าย พวกเขาไม่ต้องปรับการกินอยู่ ไม่ต้องลำบากปฏิวัติตนเอง ปฏิวัติจิตใจ แค่อาศัยการนำเอาหลักคิดแบบพุทธๆ ไปใช้ในการเข้าใจสังคม เข้าใจตนเอง

แต่จะว่าไป การคิดทางพุทธศาสนามักนำมาซึ่งการทดลองปฏิบัติอะไรตามความคิดนั้นอยู่เสมอ แต่ผมก็คิดว่าการปฏิบัตินั้นไม่ได้เหลือบ่ากว่าแรงชาวพุทธที่เป็นชนชั้นกลางระดับสูงในเมือง แค่กินน้อยลง พูดช้าลงหน่อย นานๆ แสดงทัศนะที ไม่ต้องสุงสิงกับเรื่องปากท้อง เรื่องขี้หมูราขี้หมาแห้ง เรื่องประชาธิปไตย เรื่องการชิงอำนาจการเมือง เรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน เรื่องเขตแดน เรื่องอะไรก็ไม่ต้องสนใจทั้งนั้น เพราะคิดดี ทำดี อยู่แต่ในบ้าน แล้วก็ตระเวนเทศนาบ้างเป็นครั้งเป็นคราว จบ.

ความจริงการจนแต้มที่พุทธศาสนาไม่ได้จำกัดเฉพาะในแวดวงวิชาการทางสังคมศาสตร์ แนวทางแบบเข้าวัดในบั้นปลายชีวิตกลายเป็นแนวทางากรค้นหาความเป็นตัวของตัวเองในการทำงานศิลปะของศิลปินไทยเหมือนกัน ผมสงสัยว่านักเขียนไทยก็อาจจะลงเอยทางนี้กันมากเหมือนกัน ถ้าจะไม่ใช่พวกออกแนวแสวงหา "วัฒนธรรมชุมชน"

ดังนั้น นอกจากจะเป็นความสอดคล้องในด้านของวิถีชีวิตแล้ว อาจเป็นเพราะว่าคนเหล่านี้ประสบกับวิกฤติอัตลักษณ์ในโลกที่กำลังหมุนตามภาวะโลกาภิวัตน์ แต่ในอีกด้านหนึ่ง ก็อาจเป็นวิกฤติอัตลักษณ์ของแต่ละคนในบั้นปลายของชีิวิต 

พูดง่ายๆ ว่า หลายคนหมดปัญญาและหมดศรัทธากับการวิ่งไล่โลกความคิดสากลไปแล้ว เลิกอ่านหนังสือใหม่ๆ ไปนานเกินกว่า 10 ปีแล้ว และพอได้ตำแหน่งวิชาการใหญ่โตก็เริ่มอยากสถาปนาความเป็น "เอตทัคคะ" คือเชี่ยวชาญเป็นเลิศทางใดทางหนึ่งกับเขาบ้าง เรียกว่า ก็อยากเสนอทฤษฎีอะไรให้โลกสากลนั่นแหละ แต่คิดตามเขาไม่ไหว ก็เลยหันมาหาโลกพุทธศาสนา

น่าทำวิจัยศึกษานักคิดแก่ๆ เหล่านี้ว่าทำไมแก่แล้วต้องเข้าวัด แต่จะว่าไป ตัวเองจะเข้าก็เข้าไปกับพวกกลุ่มตัวเองสิ ทำไมจะต้องมาลากให้คนอื่นที่ยังมีหนทางอื่นๆ ให้เลือกเข้าตามไปด้วย

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
การดีเบตระหว่างนักเรียนกับรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการที่หน้ากระทรวงฯ เมื่อวาน (5 กย. 63) ชี้ให้เห็นชัดว่า หากยังจะให้คนที่มีระบบคิดวิบัติแบบนี้ดูแลกระทรวงศึกษาธิการอยู่ ก็จะยิ่งทำให้การศึกษาไทยดิ่งลงเหวลึกไปยิ่งขึ้น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ประเด็น "สถาบันกษัตริย์" ในประเทศไทยปัจจุบันไม่ใช่เรื่องศีลธรรมและไม่ใช่แค่เรื่องความรู้สึก แต่เป็นเรื่องของสถาบันทางการเมืองและการเป็นส่วนหนึ่งของสังคมการเมืองไทย ถ้าไม่เข้าใจตรงกันแบบนี้ก่อนก็จะไม่สามารถนั่งนิ่งๆ ฟัง/อ่านข้อเสนอของนักศึกษา/ประชาชนที่เสนอในการชุมนุมที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เมื่อวานนี้ได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปีนี้ผมอายุ 52 ผมคิดอยู่ตลอดว่า ถ้าพ่อแม่เสียไป ผมจะดัดแปลงบ้านที่อยู่มายังไง จะรื้ออะไร ย้ายอะไร ผมไม่มีลูก ม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การยุบพรรคอนาคตใหม่อย่างที่สาธารณชนและแม้แต่นักกฎหมายเองก็เห็นว่าไม่สมเหตุสมผลทั้งในทางกฎหมายและในทางการเมือง และความเหลวแหลกของกลไก เกม และสถาบันการเมืองในขณะนี้ คือเงื่อนไขเฉพาะหน้าที่ทำให้เยาวชนจำนวนมาก ซึ่งเป็นคนหน้าใหม่ของการเมืองไทย ในหลายพื้นที่กระจายไปทั่วประเทศ ลุกขึ้นมาแสดงออกทางการเมืองอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนนับตั้งแต่มีความขัดแย้งรอบใหม่ในกลางทศวรรษ 2540 เป็นต้นมา 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วินาทีที่พรรคอนาคตใหม่ถูกยุบ ความสำคัญไม่ใช่ว่าพรรคการเมืองหนึ่งถูกยุบไปหรอก แต่ความสำคัญอยู่ที่ว่า ผู้มีอำนาจกำลังสร้างความแตกร้าวครั้งใหม่ที่พวกเขาอาจจะพบปฏิกิริยาโต้ตอบที่ไม่เหลือเศษซากอะไรให้กอบกู้โลกเก่าของพวกเขากลับมาได้อีกต่อไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อสังเกตจากการแถลงของ ผบทบ. ล่าสุด แสดงการปัดความรับผิดชอบของผู้นำกองทัพไทยอย่างเห็นได้ชัดดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จากเหตุการณ์ #กราดยิงโคราช เราเห็นอะไรเกี่ยวกับทหารไทยบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การเสียสละกับการรักษาหลักการมักถูกนำมาใช้อ้างหรือมากกว่านั้นคืออาจมีส่วนใช้ในการตัดสินใจ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
พวกคุณไม่ได้เพียงกำลังทำลายพรรคการเมืองใดพรรคหนึ่ง หรือกลุ่มการเมืองฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่พวกคุณกำลังทำลายความหวังที่คนจำนวนมากมีต่อความก้าวหน้าของประเทศชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรุ่นใหม่ที่เริ่มสนใจประเทศชาติ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาวเบี๋ยนเป็นศิลปินอาวุโสชาวไต/ไท ในเวียดนาม ผมรู้จักกับท่านมาร่วม 15 ปีแล้ว ตั้งแต่เมื่อพบกันครั้งแรกๆ ก็ถูกชะตากับท่าน ผมจึงเพียรไปหาท่านหลายต่อหลายครั้ง ที่ว่าเพียรไปหาไม่ใช่แค่เพราะไปพบท่านบ่อย แต่เพราะการไปพบท่านเป็นเรื่องยากลำบากมาก เมืองที่ท่านอยู่ชื่อเมืองล้อ หรือเรียกแบบสยามๆ ก็เรียกว่าเมืองลอก็ได้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้เป็นวันระลึก "เหตุการณ์ 28 กุมภาพันธ์" 1947 หรือเรียกกันว่า "228 Incident" เหตุสังหารหมู่ประชาชนทั่วประเทศไต้หวัน โดยรัฐบาลที่เจียงไคเชกบังคับบัญชาในฐานะผู้นำก๊กมินตั๋งในจีนแผ่นดินใหญ่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
มีเพื่อนขอให้ผมช่วยแนะนำร้านอาหารในฮานอยให้ แต่เห็นว่าเขาจะไปช่วงสั้นๆ ก็เลยแนะนำไปไม่กี่แห่ง ส่วนร้านเฝอ ขอแยกแนะนำต่างหาก เพราะร้านอร่อยๆ มีมากมาย เอาเฉพาะที่ผมคุ้นๆ แค่ 2-3 วันน่ะก็เสียเวลาตระเวนกินจนไม่ต้องไปกินอย่างอื่นแล้ว