Skip to main content

หากพวกคุณวิจัยสำรวจอย่างตรงไปตรงมาจริงๆ พวกคุณก็ย่อมรู้อยู่แก่ใจดีว่า ชัยชนะจากคะแนนเสียงที่ "ไม่่่ท่วมท้นนัก" ในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา มาจากกลุ่มคนที่มีความหวังว่าเพื่อไทยจะเป็นเดินหน้าพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศไทยอย่างจริงจังเสียที

หากพวกคุณไม่ได้หลงตัวเองอย่างงมงาย พวกคุณย่อมรู้อยู่แก่ใจดีว่า ชัยชนะของพรรคเพื่อไทยไม่ได้ได้มาด้วยการหาเสียงอย่างหนักหน่วงของพรรค ไม่ได้ได้มาด้วยความสามารถในการบริหารประเทศของอวตารต่างๆ ของพรรคไทยรักไทยเท่านั้น ไม่ได้ได้มาด้วยหน้าตาคุณงามความดีของสส.เรียงเบอร์หรือสส.บัญชีหางว่าว และไม่ได้ได้มาด้วยเงินซื้อเสียงอย่างแน่นอน
 
หากพวกคุณยังพอมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองอยู่บ้าง พวกคุณก็ย่อมรู้อยู่แก่ใจดีว่า ชัยชนะของเพื่อไทยไม่ได้ได้มาด้วยบุญญาบารมีของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และไม่ได้ได้มาด้วยความภักดีอย่างไร้เหตุผลต่อทักษิณ ชินวัตรและความมั่นใจอย่างไร้สติต่อตระกูลชินวัตรอย่างแน่นอน
 
หากแต่ชัยชนะของพรรคเพื่อไทยได้มาด้วยความหวังของผู้ลงคะแนนเสียงให้เพื่อไทย คะแนนเสียงที่ "ไม่ท่วมท้นนัก" ส่วนหนึ่งมาจากเสียงที่ไม่ได้นิยมชมชอบในตัวทักษิณ ชินวัตร เสียงที่ไม่เคยไว้ใจตระกูชินวัตร และเสียงไม่เคยเห็นหน้ายิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นเสียงที่ไม่เคยรู้ด้วยซ้ำว่าในทะเบียนราษฎร์มีคนชื่อยิ่งลักษณ์ ชินวัตรอยู่ในครอบครัวชินวัตรด้วย
 
แต่ชัยชนะของเพื่อไทยมาจากความหวังที่ประชาชนส่วนใหญ่มอบให้พรรคเพื่อไทย ความหวังที่ว่าคืออะไรบ้าง 
 
- ความหวังที่จะสร้างบรรทัดฐานทางการเมืองแบบใหม่ให้กับการเมืองไทย 
- ความหวังที่จะแสดงให้ชนชั้นนำสำเหนียกว่าชาวไทยไม่สามารถยอมรับการรัฐประหารได้อีกต่อไป ชาวไทยต้องการเดินบนวิถีทางของระบอบรัฐสภาและการเลือกตั้ง ความหวังที่จะประกาศให้ชั้นนำไทยสำเหนียกว่า ชาวไทยไม่สามารถยอมรับอำนาจ "นอก" "เหนือ" รัฐธรรมนูญได้อีกต่อไป ชาวไทยทนไม่ได้อีกต่อไปกับภาวะสองนคราประชาธิปไตย (ที่ว่าคนบ้านนอกตั้งรัฐบาล ดัดจริตชนชาวกรุงล้มรัฐบาล)
- ความหวังที่จะเอาคนสั่งสังหารประชาชนในการสลายการชุมนุมที่แยกคอกวัวและราชประสงค์เข้าคุก 
- ความหวังที่จะไม่ประนีประนอมกับ "อำมาตย์" อีกต่อไป ความหวังที่จะเดินหน้าสู่โครงการประชาธิปไตยของคณะราษฎร (ทึ่กล่าวไว้ตอนหนึ่งในประกาศคณะราษฎรว่า "ราษฎรทั้งหลายพึงรู้เถิดว่า ประเทศเรานี้เป็นของราษฎร ไม่ใช่ของกษัตริย์ตามที่เขาหลอกลวง) อย่างจริงจังเสียที
 
หากไม่กล้าเดินหน้าโหวตวาระ 3 เพื่อแก้รัฐธรรมนูญแบบยกร่างใหม่โดยไม่ต้องทำประชามติ โดยไม่ต้องแก้รายมาตรา หากไม่กล้านิรโทษกรรมนักโทษการเมืองโดยไม่ยกเว้นความผิดให้เจ้าหน้าที่รัฐและผู้สั่งการ หากไม่กล้าลงนามสัตยาบันกับศาลอาญาระหว่างประเทศ หากไม่กล้ารับฟัง ครก.112 ชี้แจงเรื่องการเสนอให้แก้ไข ม.112 ไม่ใช่บอกปัดโดยอำนาจประธานสภาแบบเงียบๆ และไม่สมเหตุสมผล 
 
หากไม่กล้าแสดงออกให้สาธารณชนยอมรับคำตัดสินของศาลโลกกรณีเขาพระวิหาร
 
หากไม่กล้าบอกทักษิณให้หยุดแสดงความเห็นออกนอกหน้าเสียที (ยังไงคุณพูดทางลับ เขาก็คิดกันไปไหนต่อไหนอยู่แล้วว่าคุณมีอิทธิพลเบื้องหลังพรรคเพื่อไทย ไม่ต้องกลัวคนไม่รู้ด้วยการคอยออกมาพูดนั่นพูดนี่หรอกครับ)

ถ้าพวกคุณไม่กล้าทำสิ่งเหล่านั้น หรือไม่กล้าแม้แต่จะทำอะไรสักอย่างในความหวังเหล่านั้นแล้วล่ะก็ ถึงแม้พวกคุณจะเป็นรัฐบาลได้จนครบสมัยนี้ พวกคุณก็อย่าหวังเลยครับว่าจะได้เสียงส่วนใหญ่ในการเลือกตั้งสมัยหน้าอย่างสะดวกสบายแบบการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (24 ธันวาคม 2555) กสทช.เชิญให้ผมไปร่วมแสดงความเห็นในเวทีเสวนาสาธารณะ “1 ปี กสทช. กับความ (ไม่) สมหวังของสังคมไทย” ทีแรกผมไม่คิดว่าตนเองจะสามารถไปวิจารณ์อะไรกสทช.ได้ แต่ผู้จัดยืนยันว่าต้องการมุมมองแบบมานุษยวิทยา ผมจึงตกปากรับคำไป 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อโต้แย้งต่อความเห็นผมจากของเครือข่ายองค์กรงดเหล้า ที่ลงในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1355920241&grpid=03&catid=&subcatid=) ย้ำให้เห็นชัดถึงความอับจนของกรอบคิดของคนกลุ่มนี้ต่อไปนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไม่เพียงแต่นักเขียนบางคนเท่านั้นที่อาจจะไม่เข้าใจหรือมองข้ามประเด็นความแตกต่างทางชาติพันธ์ุ แต่ผมคิดว่าแวดวงภาษาและวรรณกรรมบ้านเราอาจจะไม่ตระหนักถึงปัญหานี้โดยรวมเลยก็ได้ และในแง่หนึ่ง ผมคิดว่าซีไรต์เองอาจจะมีส่วนสร้างวัฒนธรรมไม่อ่อนไหวต่อความแตกต่างทางวัฒนธรรมด้วยเช่นกัน และถึงที่สุดแล้ว นี่อาจจะกลายเป็นข้อจำกัดที่ปิดกั้นโอกาสที่วรรณกรรมไทยจะก้าวเข้าสู่ระดับสากล
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะของนายแพทย์ที่เป็นตัวแทนของคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ แสดงให้เห็นถึงความคิดคับแคบของผู้มีอำนาจกลุ่มหนึ่ง ที่มักใช้อำนาจก้าวก่ายชีวิตผู้คน บนความไม่รู้ไม่เข้าใจไม่อยากรับผิดชอบต่อปัญหาเชิงโครงสร้างที่ละเอียดอ่อน และบนกรอบข้ออ้างเรื่องคุณธรรมความดีที่ยกตนเองเหนือคนอื่น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แทนที่จะเถียงกับอีกท่านหนึ่งที่วิจารณ์ผมต่อหน้ามากมายเมื่อวาน ผมขอใช้พลังงานเถียงกับข้อเสนอล่าสุดของอาจารย์ธีรยุทธ บุญมีจากข่าวในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1354935625&grpid=01&catid=&subcatid=) ดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นึกไม่ถึงและนึกไม่ออกจริงๆ ว่า ทำไมคนเปิดร้านขายหนังสือในปลายศตวรรษที่ 20 - ต้น 21 จะมีความคิดแบบนี้ได้ นี่แสดงว่าเขาไม่ได้อ่านหนังสือที่เขาขายบ้างเลย หรือนี่แสดงว่าการอ่านหนังสือไม่ได้ช่วยจรรโลงจิตใจนายทุนบางคนขึ้นมาได้เลย*
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่ออ่านข่าวแอร์โฮสเตสที่เพิ่งถูกให้ออก ผมมีคำถามหลายข้อ ทั้งในมิติของโซเชียลมีเดีย hate speech และสิทธิแรงงาน อย่างไรก็ดี ขอเคลียร์ก่อนว่าหากใครทราบจุดยืนทางการเมืองของผม ย่อมเข้าใจดีว่าความเห็นต่อไปนี้ไม่ได้มาจากความเห็นทางการเมืองที่เอนเอียงไปในทางเดียวกับพนักงานสายการบินคนนี้แต่อย่างใด ข้อสังเกตคือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขณะกำลังนั่งกินหอยแครงลวกอยู่เวลานี้ ก็ชวนให้คิดถึงคำพูดของนักวิชาการกัมพูชาคนหนึ่ง ที่เคยนั่งต่อหน้าอาหารเกาหลีจานพิเศษ คือหนอนทะเลดิบตัดเป็นชิ้นๆ ขยับตัวดึบๆ ดึบๆ อยู่ในจานแม้จะถูกตั้งทิ้งไว้เป็นชั่วโมง ตอนนั้น ผมบ่ายเบี่ยงไม่กล้ากินอยู่นาน แม้จะรู้ว่าเป็นอาหารพิเศษราคาแพงที่ศาสตราจารย์ชาวเกาหลีสรรหามาเลี้ยงต้อนรับการมาเกาหลีครั้งแรกของพวกเราหลายคน เพื่อนกัมพูชาบอกว่า "กินเถอะพี่ หอยแครงลวกในเมืองไทยน่ากลัวกว่านี้อีก" ผมจึงหาเหตุที่จะหลบเลี่ยงอีกต่อไปไม่ได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมนั่งดูบันทึกรายการ The Voice Thailand (เดอะวอยซ์) เป็นประจำ แม้ว่าจะเห็นคล้อยตามคำนิยมของโค้ชทั้ง 4 อยู่บ่อยๆ แถมยังแอบติดตามความเห็นเปรี้ยวๆ ของนักเขียนบางคนที่ชอบเรียกตนเองสวนทางกับวัยเธอว่า "ป้า" ซึ่งหมดเงินกดโหวตมากมายให้นักร้องหนุ่มน้อยแนวลูกทุ่ง แต่ผมไม่ได้รับความบันเทิงจากเดอะวอยซ์เพียงจากเสียงเพลง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมพยายามถามตัวเองว่า การจะสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนการชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยามที่นำโดย "เสธ.อ้าย" จะมาจากเหตุผลประการใดบ้าง แต่ผมก็ชักจะเริ่มไม่แน่ใจว่า เอาเข้าจริง คนที่เข้าร่วมชุมนุมกับเสธ.อ้ายจะมีเหตุผลหรือไม่ หรือหากมี พวกเขาจะใช้เหตุผลชุดไหนกันในการเข้าร่วมชุมนุม ยังไงก็ตาม อยากถามพวกคุณที่ไปชุมนุมว่า พวกคุณอยากให้ประเทศเป็นอย่างนี้จริงๆ หรือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (20 พฤศจิกายน 2555) นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เชิญไปบรรยายในงานสัมมนา "การเมืองเรื่องคนธรรมดา" ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ขอตัดส่วนหนึ่งของบทบรรยายของผมที่ใช้ชื่อว่า "การเมืองวัฒนธรรมดา: ความไม่ธรรมดาของสามัญชน" มาเผยแพร่ในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่อ 16 พฤศจิกายน 2555 นิสิตรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเชิญไปร่วมกิจกรรมจุฬาวิชาการ โดยให้ไปวิจารณ์บทความนิสิตปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ 4 ชิ้น 1) ว่าด้วยเบื้องหลังทางการเมืองของการก่อตั้งองค์การอาเซียน 2) ว่าด้วยบทบาทและการต่อรองระหว่างประเทศในอาเซียน 3) ว่าด้วยการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าของธุรกิจเอกชนไทยในคู่ค้าอาเซียน และ 4) ว่าด้วยนโยบายชนกลุ่มชาติพันธ์ุในพม่า ข้างล่างนี้คือบันทึกบทวิจารณ์