Skip to main content

ข่าวการเสียชีวิตของอาจารย์พัฒนา กิติอาษาเมื่อเช้าตรู่วานนี้ (10 มกราคม 2556) คงไม่เป็นที่สนใจของใครต่อใครนอกแวดวงวิชาการสังคมศาสตร์มากนัก แต่นี่นับเป็นความสูญเสียครั้งสำคัญของแวดวงสังคมศาสตร์ไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ผมไม่ได้รู้จักอาจารย์พัฒนาเป็นการส่วนตัว ไม่ได้ร่วมศึกษาสถาบันเดียวกับท่านเหมือนนักวิชาการไทยหลายๆ ท่าน ไม่เคยร่วมงานวิชาการกับท่านโดยตรง แต่ใครก็ตามที่ทำงานทางวิชาการในสายสังคมศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทางมานุษยวิทยา และใครก็ตามที่อยู่แวดวงไทยศึกษา ย่อมรู้จักชื่อพัฒนา กิติอาษา
 
ด้วยวัย 45 ปี กล่าวได้ว่าอาจารย์พัฒนาเป็นนักวิชาการรุ่นใหม่ผู้หนึ่ง ที่มุ่งมั่นที่จะมีส่วนในการสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของวงการมานุษยวิทยาของภูมิภาคนี้และของโลก การศึกษาสังคมอีสานบ้านเกิดของอาจารย์พัฒนาภายใต้การฝึกฝนกับชาร์ลส์ คายส์ (Charles Keyes) นักมานุษยวิทยาอเมริกันผู้เข้าออกอีสานมากกว่านักวิชาการไทยส่วนใหญ่ ไม่ได้ทำให้ท่านเป็นเพียงนักมานุษยวิทยาพื้นถิ่นที่เพียงนำเสนอข้อมูลต่อวงวิชาการโลก หากแต่อาจารย์พัฒนายังนำเสนอภาพความเข้าใจอีสานด้วยทัศนะของท่านเอง และจากมุมมองของกลุ่มคนที่ไม่ค่อยได้เป็นที่สนใจในแวดวงไทยศึกษามากนัก
 
ที่สำคัญคือการศึกษาคนงานอีสานในสิงคโปร์ ซึ่งชี้ให้สภาพชีวิตและการต่อสู้ของลูกอีสานยุคโลกาภิวัตน์ และผลงานล่าสุดชิ้นหนึ่งที่ทำความเข้าใจการต่อสู้ทางการเมืองของชาวอีสาน ว่าแสดงความเป็นตัวของตัวเองของชาวอีสานเอง หาใช่ว่าชาวอีสานเป็นเพียงเบี้ยที่ถูกนักการเมืองหลอกใช้ ภาพชาวอีสานดังกล่าวเพิ่มพูนความเข้าใจสังคมไทยและการต่อสู้ดิ้นรนของสามัญชนให้โลกวิชาการสังคมศาสตร์ ผู้มีอำนาจ และสาธารณชนทั่วไปอย่างยิ่ง 
 
อาจารย์พัฒนาเป็นนักวิชาการไทยในจำนวนน้อยคนที่เลือกเส้นทางทางวิชาการที่ยากลำบาก ด้วยการก้าวออกไปสู่เวทีวิชาการนานาชาติ แม้จังหวะก้าวของท่านจะออกไปในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจในโลกวิชาการตะวันตกเริ่มตกสะเก็ด หางานยาก แต่ท่านก็ยังได้ตำแหน่งเป็นอาจารย์ประจำที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสถาบันอุดมศึกษาที่ก้าวหน้าในทางวิชาการมากที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชีย 
 
การก้าวไปสู่เวทีนานาชาติเรียกร้องความเข้มงวดทางวิชาการและความสามารถเป็นอย่างยิ่ง เหนือสิ่งอื่นใด ยังเรียกร้องความอุตสาหะในการดำเนินชีวิตในต่างแดน ที่ทั้งไร้ถิ่นฐานและไร้ญาติขาดมิตร อาจารย์พัฒนาเคยเล่าว่า ส่วนหนึ่งของการไปศึกษาชาวอีสานพลัดถิ่นในสิงคโปร์ ก็เพื่อชดเชยความคิดถึงบ้านด้วยเช่นกัน
 
คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ธรรมศาสตร์ ที่ผมทำงานอยู่ มีโอกาสได้ฟังคำบรรยายพิเศษของอาจารย์พัฒนาครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2555 อาจารย์พัฒนาเล่าชีวิตการเป็นนักมานุษยวิทยาในประเทศที่แทบไม่ต้องการวิชามานุษยวิทยา ผมบันทึกไว้ตอนหนึ่งดังนี้
 
"ดร.พัฒนาเล่าว่า ไม่ใช่ว่าไม่มีนักมานุษยวิทยาในสิงค์โปร ตัวเขาเองก็เป็นตัวอย่างอยู่แล้ว เพียงแต่จำนวนนักมานุษยวิทยาในสิงค์โปร น้อยมาก มีไม่เกิน 10 คน ในจำนวนนี้เป็นชาวสิงคโปร์เองไม่ถึง 5 คน ไม่มีสถาบันวิจัย สถาบันการศึกษา คณะ ภาควิชาทางมานุษยวิทยา นักมานุษฯ เหล่านี้สังกัดอยู่ในสถาบันต่างๆ ที่ไม่ได้ระบุชื่อเกี่ยวกับมานุษยวิทยา เช่น ในภาควิชาภูมิศาสตร์ หรือภาควิชาด้านภูมิภาคศึกษา นักมานุษฯ ทั้งชาวสิงค์โปร และชาวต่างชาติมักไม่ได้เก็บข้อมูลในพื้นที่ประเทศสิงคโปร์...
 
"ดร.พัฒนาอธิบายว่า ที่เป็นดังนี้เพราะสิงค์โปร เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจ วิชามานุษยวิทยาไม่ทำเงิน และช่างตั้งคำถาม วิพากษ์วิจารณ์สิ่งต่างๆ วิพากษ์รัฐ เข้าข้างคนยากไร้มากเกินไป รัฐจึงไม่สนับสนุน...
 
"ดร.พัฒนาเล่าว่า แล้วตัวเขาเองเป็นนักมานุษฯ อยู่ในสิงค์โปร ได้อย่างไร เขาเขียนบทความ พิมพ์ผลงานเกี่ยวกับประเทศไทย โดยเฉพาะเรื่องคนอีสาน และภายหลังได้รู้จักคุ้นเคย ผูกมิตรกับชาวอีสานที่ไปทำงานในสิงค์โปร จนได้ผลิตผลงานออกมาอีกจำนวนหนึ่ง นอกจากนั้น เขายังเป็นคนหลักในการพานักศึกษาทั้งสิงค์โปร และจากโครงการแลกเปลี่ยนระหว่างมหาวิทยาลัยแห่งชาติ (NUS) กับมหาวิทยาลัยชั้นนำในอเมริกา ยุโรป พานักศึกษาไปประเทศไทย และประเทศในอินโดจีน"
 
ค่ำวันนั้น ผมมีโอกาสได้ไปสังสรรค์กับท่าน ชวนท่านไปกินข้าวที่ร้านอาหารของสามัญชนที่ควรเคารพและน่าคบหาท่านหนึ่งย่านอรุณอัมรินทร์ ร่วมกับเพื่อนนักมานุษยวิทยาที่สนิทกันอีกสามคน อาจารย์พัฒนาตื่นเต้นกับทั้งอาหาร การได้คารวะเจ้าของสถานที่ และมื้ออาหารที่แสนสนุกเย็นนั้นมาก เรื่องที่เราคุยกันก็ล้วนเป็นเรื่องที่เจ้าของสถานที่เรียกว่า "กับแกล้มในวงเหล้า" 
 
ที่ผมประทับใจอาจารย์พัฒนาคือจริตสามัญที่แสดงออกจากความเรียบง่าย ตรงไปตรงมา และเหนืออื่นใดคือ ยอมรับความตายที่กำลังเดินเข้ามาอย่างสงบเย็น คำพูดที่ผมคิดว่าแสดงความเป็นตัวตนของอาจารย์พัฒนาได้ดีคือคำพูดหนึ่งที่ท่านกล่าวไว้ในการเสวนาที่ธรรมศาสตร์ ซึ่งฆัสรา ขมะวรรณ มุกดาวิจิตร บันทึกไว้ว่า
 
"ช่วงสุดท้ายของการไปพูดที่คณะสังคมวิทยาฯ มธ. เมื่อปีก่อน หลังจากที่พูดเรื่องความตายของคนอื่นจบแล้ว อาจารย์ก็พูดถึงชีวิตของตัวเองอย่างหยิกแกมหยอกว่า "ถ้าเป็นพวก medical anthro (นักมานุษยวิทยาการแพทย์) ก็จะถามแต่ว่า "why meๆๆๆๆๆๆๆ?"... แต่ผมไม่ถามอย่างนั้น ผมถามว่า "why can't it be me?" (ทำไมจะถึงคราผมบ้างไม่ได้ล่ะ)"

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (24 ธันวาคม 2555) กสทช.เชิญให้ผมไปร่วมแสดงความเห็นในเวทีเสวนาสาธารณะ “1 ปี กสทช. กับความ (ไม่) สมหวังของสังคมไทย” ทีแรกผมไม่คิดว่าตนเองจะสามารถไปวิจารณ์อะไรกสทช.ได้ แต่ผู้จัดยืนยันว่าต้องการมุมมองแบบมานุษยวิทยา ผมจึงตกปากรับคำไป 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อโต้แย้งต่อความเห็นผมจากของเครือข่ายองค์กรงดเหล้า ที่ลงในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1355920241&grpid=03&catid=&subcatid=) ย้ำให้เห็นชัดถึงความอับจนของกรอบคิดของคนกลุ่มนี้ต่อไปนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไม่เพียงแต่นักเขียนบางคนเท่านั้นที่อาจจะไม่เข้าใจหรือมองข้ามประเด็นความแตกต่างทางชาติพันธ์ุ แต่ผมคิดว่าแวดวงภาษาและวรรณกรรมบ้านเราอาจจะไม่ตระหนักถึงปัญหานี้โดยรวมเลยก็ได้ และในแง่หนึ่ง ผมคิดว่าซีไรต์เองอาจจะมีส่วนสร้างวัฒนธรรมไม่อ่อนไหวต่อความแตกต่างทางวัฒนธรรมด้วยเช่นกัน และถึงที่สุดแล้ว นี่อาจจะกลายเป็นข้อจำกัดที่ปิดกั้นโอกาสที่วรรณกรรมไทยจะก้าวเข้าสู่ระดับสากล
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะของนายแพทย์ที่เป็นตัวแทนของคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ แสดงให้เห็นถึงความคิดคับแคบของผู้มีอำนาจกลุ่มหนึ่ง ที่มักใช้อำนาจก้าวก่ายชีวิตผู้คน บนความไม่รู้ไม่เข้าใจไม่อยากรับผิดชอบต่อปัญหาเชิงโครงสร้างที่ละเอียดอ่อน และบนกรอบข้ออ้างเรื่องคุณธรรมความดีที่ยกตนเองเหนือคนอื่น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แทนที่จะเถียงกับอีกท่านหนึ่งที่วิจารณ์ผมต่อหน้ามากมายเมื่อวาน ผมขอใช้พลังงานเถียงกับข้อเสนอล่าสุดของอาจารย์ธีรยุทธ บุญมีจากข่าวในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1354935625&grpid=01&catid=&subcatid=) ดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นึกไม่ถึงและนึกไม่ออกจริงๆ ว่า ทำไมคนเปิดร้านขายหนังสือในปลายศตวรรษที่ 20 - ต้น 21 จะมีความคิดแบบนี้ได้ นี่แสดงว่าเขาไม่ได้อ่านหนังสือที่เขาขายบ้างเลย หรือนี่แสดงว่าการอ่านหนังสือไม่ได้ช่วยจรรโลงจิตใจนายทุนบางคนขึ้นมาได้เลย*
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่ออ่านข่าวแอร์โฮสเตสที่เพิ่งถูกให้ออก ผมมีคำถามหลายข้อ ทั้งในมิติของโซเชียลมีเดีย hate speech และสิทธิแรงงาน อย่างไรก็ดี ขอเคลียร์ก่อนว่าหากใครทราบจุดยืนทางการเมืองของผม ย่อมเข้าใจดีว่าความเห็นต่อไปนี้ไม่ได้มาจากความเห็นทางการเมืองที่เอนเอียงไปในทางเดียวกับพนักงานสายการบินคนนี้แต่อย่างใด ข้อสังเกตคือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขณะกำลังนั่งกินหอยแครงลวกอยู่เวลานี้ ก็ชวนให้คิดถึงคำพูดของนักวิชาการกัมพูชาคนหนึ่ง ที่เคยนั่งต่อหน้าอาหารเกาหลีจานพิเศษ คือหนอนทะเลดิบตัดเป็นชิ้นๆ ขยับตัวดึบๆ ดึบๆ อยู่ในจานแม้จะถูกตั้งทิ้งไว้เป็นชั่วโมง ตอนนั้น ผมบ่ายเบี่ยงไม่กล้ากินอยู่นาน แม้จะรู้ว่าเป็นอาหารพิเศษราคาแพงที่ศาสตราจารย์ชาวเกาหลีสรรหามาเลี้ยงต้อนรับการมาเกาหลีครั้งแรกของพวกเราหลายคน เพื่อนกัมพูชาบอกว่า "กินเถอะพี่ หอยแครงลวกในเมืองไทยน่ากลัวกว่านี้อีก" ผมจึงหาเหตุที่จะหลบเลี่ยงอีกต่อไปไม่ได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมนั่งดูบันทึกรายการ The Voice Thailand (เดอะวอยซ์) เป็นประจำ แม้ว่าจะเห็นคล้อยตามคำนิยมของโค้ชทั้ง 4 อยู่บ่อยๆ แถมยังแอบติดตามความเห็นเปรี้ยวๆ ของนักเขียนบางคนที่ชอบเรียกตนเองสวนทางกับวัยเธอว่า "ป้า" ซึ่งหมดเงินกดโหวตมากมายให้นักร้องหนุ่มน้อยแนวลูกทุ่ง แต่ผมไม่ได้รับความบันเทิงจากเดอะวอยซ์เพียงจากเสียงเพลง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมพยายามถามตัวเองว่า การจะสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนการชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยามที่นำโดย "เสธ.อ้าย" จะมาจากเหตุผลประการใดบ้าง แต่ผมก็ชักจะเริ่มไม่แน่ใจว่า เอาเข้าจริง คนที่เข้าร่วมชุมนุมกับเสธ.อ้ายจะมีเหตุผลหรือไม่ หรือหากมี พวกเขาจะใช้เหตุผลชุดไหนกันในการเข้าร่วมชุมนุม ยังไงก็ตาม อยากถามพวกคุณที่ไปชุมนุมว่า พวกคุณอยากให้ประเทศเป็นอย่างนี้จริงๆ หรือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (20 พฤศจิกายน 2555) นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เชิญไปบรรยายในงานสัมมนา "การเมืองเรื่องคนธรรมดา" ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ขอตัดส่วนหนึ่งของบทบรรยายของผมที่ใช้ชื่อว่า "การเมืองวัฒนธรรมดา: ความไม่ธรรมดาของสามัญชน" มาเผยแพร่ในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่อ 16 พฤศจิกายน 2555 นิสิตรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเชิญไปร่วมกิจกรรมจุฬาวิชาการ โดยให้ไปวิจารณ์บทความนิสิตปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ 4 ชิ้น 1) ว่าด้วยเบื้องหลังทางการเมืองของการก่อตั้งองค์การอาเซียน 2) ว่าด้วยบทบาทและการต่อรองระหว่างประเทศในอาเซียน 3) ว่าด้วยการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าของธุรกิจเอกชนไทยในคู่ค้าอาเซียน และ 4) ว่าด้วยนโยบายชนกลุ่มชาติพันธ์ุในพม่า ข้างล่างนี้คือบันทึกบทวิจารณ์