Skip to main content

ข่าวการเสียชีวิตของอาจารย์พัฒนา กิติอาษาเมื่อเช้าตรู่วานนี้ (10 มกราคม 2556) คงไม่เป็นที่สนใจของใครต่อใครนอกแวดวงวิชาการสังคมศาสตร์มากนัก แต่นี่นับเป็นความสูญเสียครั้งสำคัญของแวดวงสังคมศาสตร์ไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ผมไม่ได้รู้จักอาจารย์พัฒนาเป็นการส่วนตัว ไม่ได้ร่วมศึกษาสถาบันเดียวกับท่านเหมือนนักวิชาการไทยหลายๆ ท่าน ไม่เคยร่วมงานวิชาการกับท่านโดยตรง แต่ใครก็ตามที่ทำงานทางวิชาการในสายสังคมศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทางมานุษยวิทยา และใครก็ตามที่อยู่แวดวงไทยศึกษา ย่อมรู้จักชื่อพัฒนา กิติอาษา
 
ด้วยวัย 45 ปี กล่าวได้ว่าอาจารย์พัฒนาเป็นนักวิชาการรุ่นใหม่ผู้หนึ่ง ที่มุ่งมั่นที่จะมีส่วนในการสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของวงการมานุษยวิทยาของภูมิภาคนี้และของโลก การศึกษาสังคมอีสานบ้านเกิดของอาจารย์พัฒนาภายใต้การฝึกฝนกับชาร์ลส์ คายส์ (Charles Keyes) นักมานุษยวิทยาอเมริกันผู้เข้าออกอีสานมากกว่านักวิชาการไทยส่วนใหญ่ ไม่ได้ทำให้ท่านเป็นเพียงนักมานุษยวิทยาพื้นถิ่นที่เพียงนำเสนอข้อมูลต่อวงวิชาการโลก หากแต่อาจารย์พัฒนายังนำเสนอภาพความเข้าใจอีสานด้วยทัศนะของท่านเอง และจากมุมมองของกลุ่มคนที่ไม่ค่อยได้เป็นที่สนใจในแวดวงไทยศึกษามากนัก
 
ที่สำคัญคือการศึกษาคนงานอีสานในสิงคโปร์ ซึ่งชี้ให้สภาพชีวิตและการต่อสู้ของลูกอีสานยุคโลกาภิวัตน์ และผลงานล่าสุดชิ้นหนึ่งที่ทำความเข้าใจการต่อสู้ทางการเมืองของชาวอีสาน ว่าแสดงความเป็นตัวของตัวเองของชาวอีสานเอง หาใช่ว่าชาวอีสานเป็นเพียงเบี้ยที่ถูกนักการเมืองหลอกใช้ ภาพชาวอีสานดังกล่าวเพิ่มพูนความเข้าใจสังคมไทยและการต่อสู้ดิ้นรนของสามัญชนให้โลกวิชาการสังคมศาสตร์ ผู้มีอำนาจ และสาธารณชนทั่วไปอย่างยิ่ง 
 
อาจารย์พัฒนาเป็นนักวิชาการไทยในจำนวนน้อยคนที่เลือกเส้นทางทางวิชาการที่ยากลำบาก ด้วยการก้าวออกไปสู่เวทีวิชาการนานาชาติ แม้จังหวะก้าวของท่านจะออกไปในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจในโลกวิชาการตะวันตกเริ่มตกสะเก็ด หางานยาก แต่ท่านก็ยังได้ตำแหน่งเป็นอาจารย์ประจำที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสถาบันอุดมศึกษาที่ก้าวหน้าในทางวิชาการมากที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชีย 
 
การก้าวไปสู่เวทีนานาชาติเรียกร้องความเข้มงวดทางวิชาการและความสามารถเป็นอย่างยิ่ง เหนือสิ่งอื่นใด ยังเรียกร้องความอุตสาหะในการดำเนินชีวิตในต่างแดน ที่ทั้งไร้ถิ่นฐานและไร้ญาติขาดมิตร อาจารย์พัฒนาเคยเล่าว่า ส่วนหนึ่งของการไปศึกษาชาวอีสานพลัดถิ่นในสิงคโปร์ ก็เพื่อชดเชยความคิดถึงบ้านด้วยเช่นกัน
 
คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ธรรมศาสตร์ ที่ผมทำงานอยู่ มีโอกาสได้ฟังคำบรรยายพิเศษของอาจารย์พัฒนาครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2555 อาจารย์พัฒนาเล่าชีวิตการเป็นนักมานุษยวิทยาในประเทศที่แทบไม่ต้องการวิชามานุษยวิทยา ผมบันทึกไว้ตอนหนึ่งดังนี้
 
"ดร.พัฒนาเล่าว่า ไม่ใช่ว่าไม่มีนักมานุษยวิทยาในสิงค์โปร ตัวเขาเองก็เป็นตัวอย่างอยู่แล้ว เพียงแต่จำนวนนักมานุษยวิทยาในสิงค์โปร น้อยมาก มีไม่เกิน 10 คน ในจำนวนนี้เป็นชาวสิงคโปร์เองไม่ถึง 5 คน ไม่มีสถาบันวิจัย สถาบันการศึกษา คณะ ภาควิชาทางมานุษยวิทยา นักมานุษฯ เหล่านี้สังกัดอยู่ในสถาบันต่างๆ ที่ไม่ได้ระบุชื่อเกี่ยวกับมานุษยวิทยา เช่น ในภาควิชาภูมิศาสตร์ หรือภาควิชาด้านภูมิภาคศึกษา นักมานุษฯ ทั้งชาวสิงค์โปร และชาวต่างชาติมักไม่ได้เก็บข้อมูลในพื้นที่ประเทศสิงคโปร์...
 
"ดร.พัฒนาอธิบายว่า ที่เป็นดังนี้เพราะสิงค์โปร เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจ วิชามานุษยวิทยาไม่ทำเงิน และช่างตั้งคำถาม วิพากษ์วิจารณ์สิ่งต่างๆ วิพากษ์รัฐ เข้าข้างคนยากไร้มากเกินไป รัฐจึงไม่สนับสนุน...
 
"ดร.พัฒนาเล่าว่า แล้วตัวเขาเองเป็นนักมานุษฯ อยู่ในสิงค์โปร ได้อย่างไร เขาเขียนบทความ พิมพ์ผลงานเกี่ยวกับประเทศไทย โดยเฉพาะเรื่องคนอีสาน และภายหลังได้รู้จักคุ้นเคย ผูกมิตรกับชาวอีสานที่ไปทำงานในสิงค์โปร จนได้ผลิตผลงานออกมาอีกจำนวนหนึ่ง นอกจากนั้น เขายังเป็นคนหลักในการพานักศึกษาทั้งสิงค์โปร และจากโครงการแลกเปลี่ยนระหว่างมหาวิทยาลัยแห่งชาติ (NUS) กับมหาวิทยาลัยชั้นนำในอเมริกา ยุโรป พานักศึกษาไปประเทศไทย และประเทศในอินโดจีน"
 
ค่ำวันนั้น ผมมีโอกาสได้ไปสังสรรค์กับท่าน ชวนท่านไปกินข้าวที่ร้านอาหารของสามัญชนที่ควรเคารพและน่าคบหาท่านหนึ่งย่านอรุณอัมรินทร์ ร่วมกับเพื่อนนักมานุษยวิทยาที่สนิทกันอีกสามคน อาจารย์พัฒนาตื่นเต้นกับทั้งอาหาร การได้คารวะเจ้าของสถานที่ และมื้ออาหารที่แสนสนุกเย็นนั้นมาก เรื่องที่เราคุยกันก็ล้วนเป็นเรื่องที่เจ้าของสถานที่เรียกว่า "กับแกล้มในวงเหล้า" 
 
ที่ผมประทับใจอาจารย์พัฒนาคือจริตสามัญที่แสดงออกจากความเรียบง่าย ตรงไปตรงมา และเหนืออื่นใดคือ ยอมรับความตายที่กำลังเดินเข้ามาอย่างสงบเย็น คำพูดที่ผมคิดว่าแสดงความเป็นตัวตนของอาจารย์พัฒนาได้ดีคือคำพูดหนึ่งที่ท่านกล่าวไว้ในการเสวนาที่ธรรมศาสตร์ ซึ่งฆัสรา ขมะวรรณ มุกดาวิจิตร บันทึกไว้ว่า
 
"ช่วงสุดท้ายของการไปพูดที่คณะสังคมวิทยาฯ มธ. เมื่อปีก่อน หลังจากที่พูดเรื่องความตายของคนอื่นจบแล้ว อาจารย์ก็พูดถึงชีวิตของตัวเองอย่างหยิกแกมหยอกว่า "ถ้าเป็นพวก medical anthro (นักมานุษยวิทยาการแพทย์) ก็จะถามแต่ว่า "why meๆๆๆๆๆๆๆ?"... แต่ผมไม่ถามอย่างนั้น ผมถามว่า "why can't it be me?" (ทำไมจะถึงคราผมบ้างไม่ได้ล่ะ)"

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เพ่ิงกินอาหารเย็นเสร็จ วันนี้ลงมือทำสเต็กเนื้อ เนื้อโคขุนไทยๆ นี่แหละ ต้องชิ้นหนาๆ หน่อย ย่างบนกะทะเหล็กหนาๆ ที่หอบหิ้วมาจากอเมริกา เป็นกะทะเทพมากๆ เพราะความร้อนแรงดีมาก ใช้เวลาไม่ถึงสิบนาที เกรียมได้ที่ทั้งสองด้าน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"การศึกษา" ต้องการพื้นที่ลักษณะใดลักษณะหนึ่ง เมื่อความรู้เปลี่ยนแปลงไป เมื่อการเรียนรู้ไม่ได้อยู่ในอำนาจของสถาบันการศึกษาเพียงเท่านั้น พื้นที่การเรียนรู้ก็ย่อมจะต้องเปลี่ยนไปด้วย แต่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของโลกการเรียนรู้ ยังมีคนบางกลุ่มดื้อรั้นขัดขวางการเปลี่ยนแปลง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 แน่นอนว่าโฆษณาโปรแกรมเรียนภาษาไทย (บางคนบอกเป็นแค่ตลกล้อเลียน?) ที่เป็นข่าว 2-3 วันที่ผ่านมานั้น ตั้งอยู่บนอคติทางเพศ ดูถูกเพศหญิงว่าเป็นวัตถุทางเพศ ดูถูกเพศชายว่าจ้องเสพสุขทางเพศท่าเดียว (หรือหลายท่า?) สร้างภาพเหมารวมให้คนไทยและสังคมไทยไร้ศีลธรรม (ดูสิ เราออกจะเมืองพุทธ เมืองพระ) แต่ที่ยังน่าจะต้องทำความเข้าใจคือ ปฏิกิริยาที่คนไทยมีต่อวิดีโอล้อเลียนนี้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อเขียนนี้พยายามทำความเข้าใจตรรกะของพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงแสดงไว้ในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ว่าพระองค์มีทัศนะต่อแนวคิด The King Can Do No Wrong อย่างไร และมาตรา 112 ควรแก้ไขเพราะเหตุใด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การตัดสินคดีของสมยศ พฤกษาเกษมสุขและอีกหลายๆ คดีก่อนหน้านี้ด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 (ม.112) ชี้ให้เห็นยิ่งขึ้นทุกวันว่า รัฐไทยกำลังสร้างความรักด้วยการใช้กำลังข่มเหงให้ประชาชนรักประมุขของประเทศ หาใช่การส่งเสริมให้เกิดความรักประมุขจากใจจริงของประชาชนไม่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
งานวิจัยทางสังคมศาสตร์ที่ดี โดยเฉพาะงานทางมานุษยวิทยา มักมีแรงขับจากอารมณ์ใคร่บางอย่าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หากเรียกร้องเรื่องทรงผม ก็ต้องเรียกร้องเรื่องชุดนักเรียนนักศึกษาด้วย จะได้เป็นก้าวแรกของการอภิวัฒน์การศึกษาไทยอย่างจริงจังเสียที พวกผู้ใหญ่ที่คอยเรียกร้องนักเรียนกับครูอาจารย์ ให้สอนให้เด็กรู้จักคิดน่ะ พวกท่านเคยคิดบ้างหรือเปล่าว่า ชุดนักเรียนนักศึกษาเป็นปราการปิดกั้นเสรีภาพการคิดอย่างไร และเด็กๆ เองก็ควรเข้าใจด้วยว่า การควบคุมเรือนร่างเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสังคมแบบอำนาจนิยมอย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข่าวการเสียชีวิตของอาจารย์พัฒนา กิติอาษาเมื่อเช้าตรู่วานนี้ (10 มกราคม 2556) คงไม่เป็นที่สนใจของใครต่อใครนอกแวดวงวิชาการสังคมศาสตร์มากนัก แต่นี่นับเป็นความสูญเสียครั้งสำคัญของแวดวงสังคมศาสตร์ไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หากพวกคุณวิจัยสำรวจอย่างตรงไปตรงมาจริงๆ พวกคุณก็ย่อมรู้อยู่แก่ใจดีว่า ชัยชนะจากคะแนนเสียงที่ "ไม่่่ท่วมท้นนัก" ในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา มาจากกลุ่มคนที่มีความหวังว่าเพื่อไทยจะเป็นเดินหน้าพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศไทยอย่างจริงจังเสียที
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สังคมไทยมีสังคมแบบหนึ่งที่แทรกซ้อนอยู่ในสังคมขนาดใหญ่ คือสังคมดัดจริต สังคมดัดจริตไม่ได้มีขนาดใหญ่โต แต่เป็นสังคมของคนชั้นกลางและคนใหญ่คนโตที่กำลังเสื่อมอำนาจ สังคมดัดจริตคอยผลิตวัฒนธรรมดัดจริตเพื่อทำให้ตนเองดูดีมีหลักการ เพื่อให้ตนเองอยู่เหนือคนส่วนใหญ่ที่ไม่มีจริตจะดัด และเหนืออื่นใดคือเพื่อปกป้องฐานะอำนาจของตนเอง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตื่นเช้าขึ้นมาวันนี้ คือวันที่ 1 มกราคม 2556 ผมลองคิดบวกดูบ้าง คือคิดแบบเข้าข้างตนเองทบทวนดูว่า หนึ่งปีที่ผ่านมาได้ทำอะไรใหม่ๆ ให้ตนเองบ้าง คำถามแรกที่ผุดขึ้นมาในสมองผมคือ ได้อ่านหนังสืออะไรที่นับว่าตัวเองได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ บ้าง แล้วก็คิดไปเรื่อยว่า ได้ทำอะไรที่ให้การเรียนรู้ใหม่ๆ ประสบการณ์ใหม่ คิดอะไรใหม่ๆ บ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ยามปีใหม่ ยากที่จะหาของขวัญที่ไม่กลายเป็นขยะในชั่วข้ามคืนได้ เพื่อนชาวอเมริกันที่ผมรู้จักหลายคน ซึ่งดูท่าจะทั้งเป็นนักช้อปและเป็นคนช่างมีเหตุผล ก็เลยใช้วิธีให้เด็กๆ เขียนลิสต์รายการสิ่งของที่อยากได้ยามสิ้นปี เพื่อเป็นหลักประกันว่าของที่ซื้อมาให้จะถูกใจผู้รับสักชิ้นหนึ่ง