Skip to main content

 

แน่นอนว่าโฆษณาโปรแกรมเรียนภาษาไทย (บางคนบอกเป็นแค่ตลกล้อเลียน?) ที่เป็นข่าว 2-3 วันที่ผ่านมานั้น ตั้งอยู่บนอคติทางเพศ ดูถูกเพศหญิงว่าเป็นวัตถุทางเพศ ดูถูกเพศชายว่าจ้องเสพสุขทางเพศท่าเดียว (หรือหลายท่า?) สร้างภาพเหมารวมให้คนไทยและสังคมไทยไร้ศีลธรรม (ดูสิ เราออกจะเมืองพุทธ เมืองพระ) แต่ที่ยังน่าจะต้องทำความเข้าใจคือ ปฏิกิริยาที่คนไทยมีต่อวิดีโอล้อเลียนนี้ 

 
ไม่ว่าจะเรื่องอะไร เมื่อใครมาว่าเมืองไทยอย่างไร เรามักปฏิเสธ แถมยังขอให้เขาเข้าใจเราให้ถูกต้อง เรียกร้องหรือกระทั่งประท้วงให้เขายกเลิกคำพูดเหล่านั้น เช่น ฟอร์บว่าพระมหากษัตริย์ไทยเป็นกษัตริย์ที่มีทรัพย์สินมากที่สุดในโลก เราดีเฟนว่าไม่ถูก ไม่จริง (ทีอย่างนี้ทำไมจึงไม่ภูมิใจกันก็ไม่ทราบ) ทั่วโลกประณามการตัดสินจำคุก 10 ปีสมยศ พฤกษาเกษมสุข เราบอกว่าทั่วโลกไม่เข้าใจความเป็นไทย ประเทศหนึ่งในยุโรปเอาพระพุทธรูปไปประดับประตูห้องน้ำสาธารณะ คนไทยบอกทำร้ายจิตใจชาวพุทธ (ไม่เห็นชาวพุทธธิเบต อินเดีย จีน ลาว พม่า ซึ่งเคร่งครัดกว่าเรามากนักจะว่าอะไรเลย) จนกระทั่งกรณีโปรแกรมสอนภาษาล้อเลียนว่าไทยเป็นเมืองโสเภณี เราบอกทำภาพลักษณ์ไทยเสื่อมเสีย 
 
อะไรที่ทำให้คนไทยจำนวนหนึ่งเดือดร้อนกับคำพูดเหล่านั้น ความเห็นเหล่านั้นวางอยู่บนความเข้าใจชนิดไหนกัน ส่วนหนึ่งของปัญหานี้จึงไม่ใช่ปัญหาข้อเท็จจริง แต่ระบบคิดต่างหากที่เป็นปัญหา
 
ข้อแรก ผมคิดว่าคนไทยที่โกรธ โกรธเพราะคิดแบบฝรั่งเรื่อง "รัฐ-ชาติ" ในโลกทัศน์ของ "จินตกรรมรัฐ-ชาติ" ประเทศชาติถูกมองว่าเสมือนปัจเจกคนหนึ่ง ระบบคิดนี้ไม่ได้มีเพียงในวิธีคิดทางรัฐศาสตร์ แต่ยังอยู่ในวิธีคิดทางเศรษฐศาสตร์ อยู่ในวิธีคิดทางสังคม ที่ทำให้ "คนไทย" กลายเป็นกลุ่มก้อนเดียวกันไปหมด ยิ่งในโลกปัจจุบัน เป็นภาวะโลกาภิวัตน์ ผู้คนติดต่อกันข้ามชาติด้วยจินตกรรมว่า แต่ละประเทศเป็นปัจเจกบุคคลที่คบค้าติดต่อกัน 
 
ในระบบคิดแบบนี้ อย่าว่าแต่ "เรา" จะมองว่าเราเป็นเสมือนคนคนเดียวกันทั่วประเทศเลย "เขา" ก็มองว่าเราเป็นคนคนเดียวกันทั่วประเทศเช่นกัน ทั้งเราทั้งเขาต่างเหมารวม เวลาที่เขาล้อเลียนคนไทย เราก็เกิดเดือดร้อนไปด้วย ทั้งๆ ที่เขาไม่ได้ว่าเราที่เป็นตัวเราในชีวิตประจำวันสักหน่อย แต่เราที่เป็นตัวตนชาติเกิดเป็นเดือดเป็นร้อนขึ้นมา
 
ข้อที่สอง คนที่เดือดร้อน ที่จริงไม่ได้เดือดร้อนกับปัญหา แต่เดือดร้อนกับหน้าตาของ "พวกเขา" เท่านั้นมากกว่า เวลาที่ "เรา" ปกป้องภาพลักษณ์ของประเทศ "เรา" น่ะคือใครกัน เราปกป้องภาพลักษณ์ของใครกันแน่ หรือว่า "เรา" เหล่านั้นปกป้องภาพลักษณ์ของ "พวกคุณเองบางคนบางกลุ่ม" มากกว่าจะปกป้อง "เรา" ทั้งหลาย 
 
"เรา" "คนไทย" (แบบพวกคุณ) ไม่อยากให้ใครมาด่าทอดูถูกว่า วิธีที่เราแสดงความรักพระประมุข เป็นวิธีการที่ป่าเถื่อน ด้วยการลิดรอนสิทธิความเป็นมนุษย์และบิดเบือนหลักความยุติธรรม
 
"เรา" "คนไทย" (แบบพวกคุณ) เหล่านั้นปกป้องภาพเหล่า "คนดี" ปกป้องแต่หน้าตาของชนชั้นกลาง ชนชั้นนำมากกว่าคนทั้งหลาย คนทั้งประเทศแค่นั้นหรือเปล่า 
 
"เรา" "คนไทย" (แบบพวกคุณ) จึงรักชาติสุดใจอย่าให้ใครมาว่าไทยเป็นเมืองกะหรี่
 
ประการต่อมา เราไม่เพียงปฏิเสธภาพลักษณ์เลวร้ายที่ต่างชาติป้ายสีเรา แต่เรายังปฏิเสธที่จะตรวจสอบตนเองว่า มีอะไรทำให้เราถูกมองอย่างนั้น มันง่ายกว่าที่จะปฏิเสธและต่อต้านสิ่งที่คนอื่นเขาวิจารณ์เรา แต่มันยากที่จะตรวจสอบว่า เราทำอะไรให้เขาวิจารณ์ 
 
ทำไมเขาจึงจัดพระมหากษัตริย์เราว่าเป็นกษัตริย์ที่มีทรัพย์สินมากที่สุดในโลก ก็ไปดูในกฎหมายสิ ว่าเขากำหนดให้ใครเป็นผู้ตัดสินใจที่จะยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินได้ แล้วถ้าไม่ใช่ "เจ้าของ" แล้ว ใครจะทำได้ ทำไมทั่วโลกเขาถึงประณามการตัดสินคดีสมยศ ก็เพราะนานาอารยะชนเขาเห็นว่า การปล่อยให้ตีพิมพ์ข้อเขียนวิจารณ์ใครที่ไม่ได้ระบุชื่อ ไม่อาจทำร้ายใครได้ และไม่ได้จำเป็นต้องมีโทษจำคุกราวอาชญากรร้ายแรงถึง 10 ปีไง
 

ทำไมชาวโลกเขาถึงมองว่าเราเป็นเมืองโสเภณี ก็เพราะว่าเราเป็นไง ก็เพราะเราไม่เคยพยายามแก้ปัญหานี้อย่่างจริงจังไง ก็เพราะเราไม่มีปัญญาหาอาชีพที่ดีกว่านี้แล้วรายได้สูงเท่านี้ให้คนจำนวนมากได้ไง ก็เพราะส่วนหนึ่งของรายได้จากต่างประเทศของเราในอันดับต้นๆ มาจากการค้ากามไง ก็เพราะเรามือถือสากปากถือศีลไง 

ก็เพราะเราไม่ยอมรับกันอย่างตรงไปตรงมาไงว่า ก็ถ้าใครจะหารายได้ด้วยการขายบริการทางเพศแล้วทำไมคนอื่นต้องเดือดร้อนด้วย จิ๋มก็ของเขา จู๋ก็ไม่ใช่ของเรา จะเอามือไปอุดไว้ได้อย่างไร จะเอามาใส่ใจเราทำไม
 
ข้อสุดท้าย เวลาที่เราเรียกร้องให้ใครเขาเข้าใจเราอย่างถูกต้องตรงตามความจริง แล้วเราล่ะ เคยเข้าใจใครต่อใครเขาอย่างถูกต้องตรงตามความเป็นจริงหรือเปล่า เราเคยตรวจสอบวิธีมองคนอื่นของเราบ้างหรือเปล่า ไหนจะดูถูกคนลาว ไหนจะสร้างภาพยนตร์ส่งเสริมให้รังเกียจประเทศเพื่อนบ้าน ฯลฯ สรุปคือเราก็ไม่ได้เข้าใจเขาพอๆ กับที่เขายังไม่เข้าใจเรานั่นแหละ
 
กับสังคมอเมริกันเหมือนกัน พวกคุณที่ด่าทอคนอเมริกัน แล้วบอกว่าอเมริกันฟรีเซ็กส์น่ะ ไม่มีที่ไหนในอเมริกาที่คุณจะหาซื้อบริการทางเพศตามท้องถนนได้ง่ายดายแบบในประเทศไทยหรอกนะ หรือถ้าคุณเที่ยวไปชวนใครตามท้องถนนไปสมสู่ด้วยล่ะก็ ถ้าไม่ถูกตบคว่ำ ก็คงเพราะไปเจอคนสุภาพที่สุดในอเมริกาเข้า ซึ่งเขาก็จะไปพาตำรวจมาจับคุณส่งโรงบำบัดจิตแน่ 
 
ในปัจจุบัน การศึกษาทางสังคมวิทยาได้ข้อสรุปที่ชัดเจนว่า การร่วมเพศไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อการสืบเผ่าพันธ์ุเป็นหลักอีกต่อไป ลองถามตัวคุณเองที่ยังมีเพศสัมพันธ์อยู่ก็แล้วกัน ว่าคุณมีเพศสัมพันธ์เพื่อความบันเทิงหรือเพื่อการสืบเผ่าพันธ์ุ 
 
ฉะนั้นผมว่าดีออกที่ใครจะนึกถึงเมืองไทยว่าเมืองแห่งการร่วมเพศ เพราะมันคือความเป็นจริงของการมีเพศสัมพันธ์ในโลกปัจจุบัน และที่น่าภูมิใจคือ ภาษาไทยก็จะกลายเป็นภาษาโลกในสนามของความสุขทางเพศ ก็แล้วจะให้ผู้คนทั่วโลกเรียนภาษาไทยไปเพื่ออะไรกัน ถ้าไม่ใช่เพื่อมาหาความสุขทางเพศ

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (24 ธันวาคม 2555) กสทช.เชิญให้ผมไปร่วมแสดงความเห็นในเวทีเสวนาสาธารณะ “1 ปี กสทช. กับความ (ไม่) สมหวังของสังคมไทย” ทีแรกผมไม่คิดว่าตนเองจะสามารถไปวิจารณ์อะไรกสทช.ได้ แต่ผู้จัดยืนยันว่าต้องการมุมมองแบบมานุษยวิทยา ผมจึงตกปากรับคำไป 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อโต้แย้งต่อความเห็นผมจากของเครือข่ายองค์กรงดเหล้า ที่ลงในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1355920241&grpid=03&catid=&subcatid=) ย้ำให้เห็นชัดถึงความอับจนของกรอบคิดของคนกลุ่มนี้ต่อไปนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไม่เพียงแต่นักเขียนบางคนเท่านั้นที่อาจจะไม่เข้าใจหรือมองข้ามประเด็นความแตกต่างทางชาติพันธ์ุ แต่ผมคิดว่าแวดวงภาษาและวรรณกรรมบ้านเราอาจจะไม่ตระหนักถึงปัญหานี้โดยรวมเลยก็ได้ และในแง่หนึ่ง ผมคิดว่าซีไรต์เองอาจจะมีส่วนสร้างวัฒนธรรมไม่อ่อนไหวต่อความแตกต่างทางวัฒนธรรมด้วยเช่นกัน และถึงที่สุดแล้ว นี่อาจจะกลายเป็นข้อจำกัดที่ปิดกั้นโอกาสที่วรรณกรรมไทยจะก้าวเข้าสู่ระดับสากล
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะของนายแพทย์ที่เป็นตัวแทนของคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ แสดงให้เห็นถึงความคิดคับแคบของผู้มีอำนาจกลุ่มหนึ่ง ที่มักใช้อำนาจก้าวก่ายชีวิตผู้คน บนความไม่รู้ไม่เข้าใจไม่อยากรับผิดชอบต่อปัญหาเชิงโครงสร้างที่ละเอียดอ่อน และบนกรอบข้ออ้างเรื่องคุณธรรมความดีที่ยกตนเองเหนือคนอื่น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แทนที่จะเถียงกับอีกท่านหนึ่งที่วิจารณ์ผมต่อหน้ามากมายเมื่อวาน ผมขอใช้พลังงานเถียงกับข้อเสนอล่าสุดของอาจารย์ธีรยุทธ บุญมีจากข่าวในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1354935625&grpid=01&catid=&subcatid=) ดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นึกไม่ถึงและนึกไม่ออกจริงๆ ว่า ทำไมคนเปิดร้านขายหนังสือในปลายศตวรรษที่ 20 - ต้น 21 จะมีความคิดแบบนี้ได้ นี่แสดงว่าเขาไม่ได้อ่านหนังสือที่เขาขายบ้างเลย หรือนี่แสดงว่าการอ่านหนังสือไม่ได้ช่วยจรรโลงจิตใจนายทุนบางคนขึ้นมาได้เลย*
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่ออ่านข่าวแอร์โฮสเตสที่เพิ่งถูกให้ออก ผมมีคำถามหลายข้อ ทั้งในมิติของโซเชียลมีเดีย hate speech และสิทธิแรงงาน อย่างไรก็ดี ขอเคลียร์ก่อนว่าหากใครทราบจุดยืนทางการเมืองของผม ย่อมเข้าใจดีว่าความเห็นต่อไปนี้ไม่ได้มาจากความเห็นทางการเมืองที่เอนเอียงไปในทางเดียวกับพนักงานสายการบินคนนี้แต่อย่างใด ข้อสังเกตคือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขณะกำลังนั่งกินหอยแครงลวกอยู่เวลานี้ ก็ชวนให้คิดถึงคำพูดของนักวิชาการกัมพูชาคนหนึ่ง ที่เคยนั่งต่อหน้าอาหารเกาหลีจานพิเศษ คือหนอนทะเลดิบตัดเป็นชิ้นๆ ขยับตัวดึบๆ ดึบๆ อยู่ในจานแม้จะถูกตั้งทิ้งไว้เป็นชั่วโมง ตอนนั้น ผมบ่ายเบี่ยงไม่กล้ากินอยู่นาน แม้จะรู้ว่าเป็นอาหารพิเศษราคาแพงที่ศาสตราจารย์ชาวเกาหลีสรรหามาเลี้ยงต้อนรับการมาเกาหลีครั้งแรกของพวกเราหลายคน เพื่อนกัมพูชาบอกว่า "กินเถอะพี่ หอยแครงลวกในเมืองไทยน่ากลัวกว่านี้อีก" ผมจึงหาเหตุที่จะหลบเลี่ยงอีกต่อไปไม่ได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมนั่งดูบันทึกรายการ The Voice Thailand (เดอะวอยซ์) เป็นประจำ แม้ว่าจะเห็นคล้อยตามคำนิยมของโค้ชทั้ง 4 อยู่บ่อยๆ แถมยังแอบติดตามความเห็นเปรี้ยวๆ ของนักเขียนบางคนที่ชอบเรียกตนเองสวนทางกับวัยเธอว่า "ป้า" ซึ่งหมดเงินกดโหวตมากมายให้นักร้องหนุ่มน้อยแนวลูกทุ่ง แต่ผมไม่ได้รับความบันเทิงจากเดอะวอยซ์เพียงจากเสียงเพลง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมพยายามถามตัวเองว่า การจะสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนการชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยามที่นำโดย "เสธ.อ้าย" จะมาจากเหตุผลประการใดบ้าง แต่ผมก็ชักจะเริ่มไม่แน่ใจว่า เอาเข้าจริง คนที่เข้าร่วมชุมนุมกับเสธ.อ้ายจะมีเหตุผลหรือไม่ หรือหากมี พวกเขาจะใช้เหตุผลชุดไหนกันในการเข้าร่วมชุมนุม ยังไงก็ตาม อยากถามพวกคุณที่ไปชุมนุมว่า พวกคุณอยากให้ประเทศเป็นอย่างนี้จริงๆ หรือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (20 พฤศจิกายน 2555) นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เชิญไปบรรยายในงานสัมมนา "การเมืองเรื่องคนธรรมดา" ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ขอตัดส่วนหนึ่งของบทบรรยายของผมที่ใช้ชื่อว่า "การเมืองวัฒนธรรมดา: ความไม่ธรรมดาของสามัญชน" มาเผยแพร่ในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่อ 16 พฤศจิกายน 2555 นิสิตรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเชิญไปร่วมกิจกรรมจุฬาวิชาการ โดยให้ไปวิจารณ์บทความนิสิตปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ 4 ชิ้น 1) ว่าด้วยเบื้องหลังทางการเมืองของการก่อตั้งองค์การอาเซียน 2) ว่าด้วยบทบาทและการต่อรองระหว่างประเทศในอาเซียน 3) ว่าด้วยการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าของธุรกิจเอกชนไทยในคู่ค้าอาเซียน และ 4) ว่าด้วยนโยบายชนกลุ่มชาติพันธ์ุในพม่า ข้างล่างนี้คือบันทึกบทวิจารณ์