Skip to main content

แต่ละคนคงมีตำนานส่วนตัวของตนเอง ที่สะสมความทรงจำซึ่งมักออกจะเดินจริงไปสักหน่อย แม้เมื่อมาพบกับสถานที่ บุคคล หรือแม้แต่รสสัมผัส ในที่นี้คืออาหาร ในตำนานเข้าจริงๆ อีกสักครั้ง แล้วจะรู้สึกว่าความอลังการของบุคคลและวัตถุในตำนานจะถดถอยค่าลงบ้าง ก็ยังไม่ถึงกับจะทำให้ภาพงดงสมในตำนานเลือนหายไปได้ง่ายๆ 

ผมได้กลับมาโตเกียวอีกครั้งเมื่อสองวันก่อน (9 มีนาคม 2556) เพื่อมาเสนอผลงานวิชาการเกี่ยวกับประเทศเวียดนาม ซึ่งเป็นหัวข้อที่ผมใช้หากินในเวทีวิชาการนานาชาติมากว่าเรื่องประเทศไทย ซึ่งจะทำให้ผมไปอยู่ในอีกซีกโลกทางวิชาการ แต่เอาเถอะ พักเรื่องวิชาการไปหน่อย แล้วไปหาอะไรดื่มกินกันอีกสักข้อเขียนหนึ่ง

 

เมื่อวาน หลังจากตรากตรำทำงานหามรุ่งหามค่ำมาสองคืนก่อนหน้า เนื่องจากก่อนหน้านี้ก็ตรากตรำทำงานหามรุ่งหามค่ำกับงานอื่นๆๆๆ เมื่อตัดใจได้ว่าควรจะส่งงานได้แล้ว ก็จึงส่งไปในรูปแบบที่ตนเอง “พอรับได้” 

 

ส่งงานแล้วจะให้ทำอะไร ถ้าไม่ใช่หาราเมนสไตล์เกียวโตอร่อยๆ กิน ซึ่งน่าจะได้มาจากกลิ่นน้ำแกงใสแต่เข้มข้นด้วยปลาแห้งชิ้นหนาที่ซอยจนบางราวกระดาษ ซึ่งมักประดับโรยหน้าโอโคนามิยากิ (แปลว่า ผักจับฉ่ายนาบกะทะ) แต่ไม่ปรากฏเนื้อตัวปลาในน้ำซุปราเมนช้ั้นดี ถ้าไม่ใช่ออกไปเดินรับลมหนาวเคล้าสายฝนยามต้นฤดูใบไม้ผลิ (อุณหภูมิ 13 เซลเซียส) ถ้าไม่ใช่ไปเดินดูผู้คนที่พูดจาภาษาถิ่น ถ้าไม่ใช่หาอะไรดื่มเบาๆ เคล้าความหนาวเย็นที่ไม่ถึงระดับเย็นยะเยือก (ใครที่เรียนหนังสือกับผม อย่าเขียนประโยคยาวๆ แบบนี้ส่งงานผมมาเด็ดขาดนะครับ เอาไว้เรียนจบแล้วค่อยเขียนประโยคยาวๆ)

 

สุดท้าย เมื่ออ่ิมท้องแล้ว ยามบ่ายวานนี้ ก็เดินไปหลบฝนไปหาที่คลายหนาวไปจนสิ้นสุดที่ร้านขายสุราแห่งหนึ่ง ไม่ได้ซื้อ "สุรา" ในความหมายเฉพาะเจาะจง แต่หาซื้อไวน์ เพราะรู้จากการมาเยือนคราวก่อนๆ แล้วว่า ไวน์ราคา "ปกติ" ของญี่ปุ่น ที่ถูกสุดราคา 100 บาทไทย (มีจริงๆ) ไปจนถึงแค่ 2,000 เยน (ราว 600 บาท) ซึ่งแค่นี้ทางร้านก็ตื่นเต้นล็อคตู้ไม่ให้หยิบชมเล่นแล้ว แต่ที่ราคาสูงลิ่วจริงคือขวดละ 20,000 เยน (ราว 6,000 บาท) ที่แช่ตู้เย็นลงกลอนไว้แล้วห่อด้วยพลาสติกแร็บ (ไม่รู้ทำไม)

 

ตรรกะของไวน์ในร้านไวน์-เหล้าที่เกียวโตก็น่าสนใจ ของถูก (100, 150 ถึง 300 บาท) ใส่กะบะบ้าง วางตรงระดับเพียงตาบ้าง วางอยู่กลางร้านบ้าง แต่ของราคาแพงกลับวางอยู่ระดับต่ำกว่าสายตา หรือไม่ก็เข้าถึงยากด้วยการลงกลอน แต่ถ้าในอเมริกา เขาจะไม่ได้วางอย่างนี้ ของถูกวางต่ำกว่าระดับสายตา ของแพงปานกลางวางระดับสายตาไปจนถึงของราคาสูงวางระดับเหนือสายตา

 

ไม่ต้องคิดอะไรมาก อากาศหนาวแถมฝนพรำยามบ่าย แถมเพิ่งปั่นงานที่นั่งเขียนตั้งแต่บนเครื่องบินเสร็จส่งไป จะให้ทำอะไรได้มากกว่านี้ สู้ซื้อไวน์ราคา 300 บาทไทย (ซึ่งไวน์ระดับนี้ หากซื้อหาในเมืองไทยก็ต้องราวๆ 600-800 บาทไทย) กลับมานั่งชิลที่โรงแรมไม่ดีกว่าหรือ ว่าแล้วก็ถอยมา 2 ขวด (ถึงขณะที่เขียนนี้ผ่านไป 2 ชั่วโมง แก้หนาวกับไวน์แดงจากสเปนหมดไปแล้วครึ่งขวด) 

 

ส่วนหนึ่งของความยุ่งยากในเกียวโตคือ การหลีกเลี่ยงที่จะเสียเงินไปกับไวน์ราคายุติธรรม

 

ตกเย็น เพื่อไม่ให้ตกเป็นทาสของไวน์ราคายุติธรรม ประกอบกับแดดเริ่มออกหลังฝนตกยามบ่ายจนต้องหาเหตุกลับมาจิบไวน์หลบฝนในโรงแรม ก็คิดได้ว่า ควรออกไปเดินแล้วหาอะไรอร่อยๆ ในเกียวโตกิน 

 

ไปเดินหาอาหารในตำนานส่วนตัว ท่ามกลางอากาศหนาวเหน็บ น่าจะต่ำกว่า 10 เซลเซียส บวกลมแรงแล้ว อุณหภูมิคงต่ำลงไปอีกจนถึง 5 ถึง 3 เซลเซียส ที่จริงตั้งใจไปหาร้านราเมนในตำนานของใครหลายๆ คน ร้านนี้สืบทอดตำนานมาจากเพื่อนอาจารย์ญี่ปุ่นคนหนึ่ง ที่พาไปกินเมื่อสาม-สี่ปีก่อน คราวนี้ไปเกียวโตทีไร ก็จะต้องไปเดินหาร้านนี้ แล้วก็เจอทุกที จนจำได้ว่า ปากทางเข้าเป็นร้านไอครีมยี่ห้อดังเจ้าหนึ่ง 

 

แต่คราวนี้ได้ไปพักในย่านอีกย่านหนึ่ง ไม่คุ้นเคยมาก่อน เดินเรื่อยเปื่อยไปทางถนน Sanjo ข้ามแม่น้ำ Kamo ข้ามห้วยเล็กสายหนึ่ง เจอสามแยกแล้วเลี้ยวซ้าย เดินลงไปทางฝต้พักหนึ่ง แวะร้านขายเครื่องเขียนที่เคยมาหลายปีก่อน จากนั้นก็เดินหาร้านราเมนต่อ แต่หาไม่เจอ หิวแล้วและหนาวลงเรื่อยๆ

 

เลยหันทิศทางเดินกลับมาทางที่พัก เดินตามทางริมห้วยเล็กๆ ที่่มีร้านอาหารเรียงรายเต็มไปหมด แล้วทันใดนั้น ก็นึกขึ้นมาได้ว่า ต้องเป็นย่านนี้แน่เลยที่เคยเจอร้านอาหารในตำนานส่วนตัว

 

มาหยุดอยู่ที่หน้าร้านแห่งหนึ่ง ป้ายร้านมีรูปปลาหมึกยักษ์สีแดง ยื่นหน้าเข้าไปดู คิดว่าต้องเป็นร้านนี้แน่ๆ ที่เคยหลงทางมากับเพื่อนคนหนึ่ง แล้วพบร้านนี้เข้า แต่หลายปีต่อมาพยายามหาทีไรก็ไม่เจอ แต่วันนี้มาเจออีกครั้งเข้าจนได้

 

ร้านนี้ไม่มีเมนูภาษาอังกฤษเลย คนกินมีแต่คนญี่ปุ่นหรือไม่ก็คนต่างชาติที่รู้จักร้านนี้ดี ร้านมีที่ปรุงอาหารอยู่กลางร้านเลย รายล้อมด้วยที่นั่งเป็นเคาท์เตอร์รอบๆ บริเวณที่ปรุงอาหาร ในร้านมีคนทำงานอยู่สองคน หญิงหนึ่งชายหนึ่ง น่าจะเป็นแม่-ลูกกัน พอบอกว่าเคยมาและมาหาร้านนี้ถึงสามปีแล้ว เขาดีใจมาก

 

อาหารที่เด็ดมากของร้านนี้ เรียกว่าใครเข้ามาก็ต้องกินคือ Tamako Yaki (ทีแรกไม่รู้ว่าเรียกอะไร เพื่อนอาจารย์ที่เคยอยู่เกียวโตบอกชื่อให้) แต่วันนี้เห็นคนขายทำเต้าหู้ชุปแป้งบางๆ ทอดแล้วเสิร์ฟในน้ำซ้อส เต้าหู้นุ่มมาก ไม่รู้เขาใช้มือหยิบมันคลุกแป้งแล้วใส่ได้อย่างไร เพราะมันนุ่มมาก เรียกว่าต้องใช้ตะเกียบประคองตักใส่ปาก

 

ส่วน Tamako Yaki นั้นต่างจาก Tako Yaki ทั่วไปตรงที่ อาหารจานนี้มีแต่ไข่ล้วนๆ แล้วบรรจงวางปลาหมึกลงไปในหลุมเท่าหลุมขนมครกที่เต็มไปด้วยไข่ เหมือนขนมครกไข่ไส้ปลาหมึก ได้ไข่นุ่มๆ กลมๆ เสิร์ฟเป็นแนวมาสองแถวสวยงามบนถาดสีแดง

 

ในที่สุดก็เจอร้านในตำนานส่วนตัว แต่วันหลังต้องดั้นด้นพิชิตร้านอาหารตามลายแทงส่วนตัวให้ครบ ก่อนจะดั้นด้นสร้างตำนานใหม่ๆ ให้ตัวเองต่อไป

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
นี่เป็นข้อเขียนภาคทฤษฎีของ "การเมืองของนักศึกษาปัจจุบัน" หากใครไม่ชอบอ่านทฤษฎีก็ขอร้องโปรดมองข้ามไปเถอะครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จริงหรือที่นักศึกษาไม่สนใจการเมือง ขบวนการนักศึกษาตายแล้วจริงหรือ ถ้าคุณไม่เข้าใจว่าการถกเถียงเรื่องเครื่องแบบ เรื่องทรงผม เรื่องห้องเรียน เป็นเรื่องการเมืองได้อย่างไร แล้วดูแคลนว่ามันเป็นเพียงเรื่องเสรีภาพส่วนตัว เรื่องเรียกร้องเสรีภาพอย่างเกินเลยแล้วล่ะก็ คุณตกขบวนการเมืองของยุคสมัยไปแล้วล่ะ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในวาระที่กำลังจะมีการสรรหาอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะบุคคลากรของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ผู้หนึ่ง ผมขอเสนอ 5 เรื่องเร่งด่วนที่อธิการบดีคนต่อไปควรเร่งพิจารณา เพื่ิอกอบกู้ให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กลับมาเป็นดินแดนแห่งเสรีภาพ เป็นบ่อน้ำบำบัดผู้กระหายความรู้ และเป็นสถาบันที่เคียงข้างประชาชนต่อไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บันทึกประกอบการพูดเรื่อง "การศึกษาไทย" เมื่อสัปดาห์ก่อน ผมเสนอว่าเรากำลังต่อสู้กับสามลัทธิคือ ลัทธิบูชาชาติ-ศาสน์-กษัตริย์ ลัทธิล่าปริญญา และลัทธิแบบฟอร์ม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"การศึกษาไทยไทย: ความสำเร็จหรือความล้มเหลว" เป็นโจทย์ที่นักกิจกรรมทางสังคมรุ่นใหม่ตั้งขึ้นอย่างท้าทาย พวกเขาท้าทายทั้งระบบการเรียนการสอน วัฒนธรรมการศึกษา เนื้อหาในหลักสูตร และระบบสังคมในสถานศึกษา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะที่ร่วมก่อตั้งและร่วมงานกับ "ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์เมษา-พฤษภา 53" (ศปช.) ผมอดไม่ได้ที่จะเปรียบเทียบสปิริตของการทำงานของ ศปช. กับของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ว่ามองหลักสิทธิมนุษยชนต่างกันอย่างไร อย่างไรก็ดี นี่เป็นทัศนะและหลักการของผมเองในการร่วมงานกับ ศปช. ซึ่งอาจแตกต่างจากสมาชิกคนอื่นบ้าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำตัดสินของศาลอาญาในกรณี 6 ศพวัดประทุมฯ ชวนให้นึกถึงภาพถ่ายเช้าวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ที่ใต้ต้นมะขามต้นหนึ่งที่สนามหลวง นอกจากภาพชายคนที่ใช้เก้าอี้ตีศพที่ถูกแขวนคอใต้ต้นมะขามแล้ว ภาพผู้คนที่รายล้อมต้นมะขามซึ่งแสดงอาการเห็นดีเห็นงามหรือกระทั่งสนับสนุนอยู่นั้น สะเทือนขวัญชาวโลกไม่น้อยกว่าภาพชายใช้เก้าอี้ทำร้ายศพ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเคยนั่งในพิธีรับปริญญาบัตรในฐานะผู้รับและในมุมมองของผู้ให้มาแล้ว แต่ไม่เคยได้นั่งในพิธีในฐานะผู้สังเกตการณ์จากบนเวทีแบบเมื่อครั้งที่ผ่านมานี้มาก่อน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปฐมลิขิต: ใครรังเกียจทฤษฎี เกลียดงานเขียนแบบหอคอยงาช้าง ไม่ต้องพลิกอ่านก็ได้นะครับ และเวลาผมใส่วงเล็บภาษาอังกฤษหรืออ้างนักคิดต่างๆ นี่ ไม่ได้จะโอ่ให้ดูขลังนะครับ แต่เพื่อให้เชื่อมกับโลกวิชาการสากลได้ ให้ใครสนใจสืบค้นอ่านต่อได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จะว่าไป กสทช. คนที่แสดงความเห็นต่อเนื้อหาละครฮอร์โมนนั้น ดูน่าจะเป็นคนที่สามารถวิเคราะห์ เข้าใจสังคมได้มากที่สุดในบรรดา กสทช. ทั้ง 11 คน เพราะเขามีดีกรีถึงปริญญาเอกทางสังคมวิทยาจากมหาวิทยาลัยโด่งดังในเยอรมนี ต่างจากคนอื่นๆ ที่ถ้าไม่ใช่เพราะเป็นทหารหรือใครที่สมยอมกับการรัฐประหารปี 2549 แล้ว ก็เป็นช่างเทคนิคทางด้านการสื่อสาร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ผู้หญิงท่านหนึ่งตั้งคำถามว่า "ไม่รู้อาจารย์ผู้ชายทนสอนหนังสือต่อหน้านักศึกษานุ่งสั้นที่นั่งเปิดหวอหน้าห้องเรียนได้อย่างไร" สำหรับผม ก็แค่เห็นนักศึกษาเป็นลูกเป็นหลานก็เท่านั้น แต่สิ่งยั่วยวนในโลกทางวิชาการมีมากกว่านั้นเยอะ และบางทีจะยิ่งหลบเลี่ยงยากยิ่งกว่าการสร้าง incest taboo ในจินตนาการขึ้นมาหน้าห้องเรียน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักเรียนมนุษยศาสตร์จำนวนมากสนใจวิธีการและทฤษฎีทางสังคมศาสตร์ แต่นักสังคมศาสตร์เขาตั้งท่าทำวิจัยกันอย่างไร แล้วหากนักมนุษยศาสตร์จะใช้วิธีการและทฤษฎีแบบสังคมศาสตร์บ้างจะทำอย่างไร