Skip to main content

 

พึงสำเหนียกว่า กษัตริย์ไม่ใช่พ่อ เป็นเพียง "สมมุติพ่อ" ที่สังคมไทยอุปโลกน์ขึ้นมา

 
ในคำว่า "เอนกนิกรสโมสรสมมุติ" ที่มักใช้ยกย่องกษัตริย์ผู้ทรงคุณธรรม ผู้เปี่ยมด้วยความเอาใจใส่ต่อราษฎร และส่อนัยว่า มิใช่กษัตริย์ทุกผู้ทุกนามจะทรงเป็นได้นั้น ย่อมบอกอยู่แล้วว่า กษัตริย์เป็นบุคคลสมมุติ เป็นเพียงภาพลักษณ์ เป็นเพียงภาพตัวแทนการมีอยู่ของ "เอนกนิกร" ที่ร่วมกันสมมุติให้บุคคลหนึ่งเป็นกษัตริย์
 
แล้วจะอะไรกันนักหนากับการกล่าวพาดพิงถึงกษัตริย์ หรือสมมุติพ่อ
 
ในกฎหมายที่ขณะนี้เรายังคงถูกครอบงำกดทับอย่างไร้เหตุผลปกติใดๆ จะอธิบายได้ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ระบุอยู่แล้วว่า "ผู้ใดดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาตรร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ..." แล้วทำไมใครบางคนยังต้องมาดัดจริต เสนอหน้าเกินหน้าเกินตากฎหมาย ปกป้องกษัตริย์เกินหน้าที่สื่อมวลชน
 
ยิ่งสื่อมวลชนที่กินเงินเดือนจากภาษีราษฎร สื่อมวลชนที่มีชีวิตอยู่ได้ด้วยน้ำพักน้ำแรงของประชาชน อย่าง "ไทยพีบีเอส" ยิ่งต้องตระหนักให้มากว่า ประเทศไทยปกครองด้วยระบอบ "ประชาธิปไตย" ที่ "อำนาจรัฐเป็นของประชาชน" มิใช่ของบุคคลพิเศษอื่นใด (แปลว่า มิใช่ของกษัตริย์และคณะบุคคลที่รายล้อมกษัตริย์)
 
กษัตริย์เป็นเพียงสมมุติพ่อ จึงสามารถวิจารณ์ได้ เพราะหากพ่อเรา "ไม่ทำอะไร" ก็แน่นอนว่าพ่อเราจะ "ไม่มีวันทำผิด" (can do no wrong) แต่:
 
“ที่เดอะคิง """ทำอะไร""" เค้าไม่วิจารณ์ แล้วก็บอก อย่าวิจารณ์ ที่จริงอยากให้วิจารณ์ เพราะว่าเราทำอะไรก็ต้องรู้ว่าเค้าเห็นดีหรือไม่ดี ถ้าไม่พูด ก็หาว่าทำดีแล้ว...
 
“แต่ว่าความจริงก็จะต้องวิจารณ์บ้างเหมือนกัน และก็ไม่กลัวถ้าใครมาวิจารณ์ว่าทำไม่ดีตรงนั้นๆ จะได้รู้ เพราะว่า ถ้าบอกว่า พระเจ้าอยู่หัว ไปวิจารณ์ท่านไม่ได้ ก็หมายความว่าพระเจ้าอยู่หัว ไม่เป็นคน ไม่วิจารณ์ เราก็กลัวเหมือนกัน..." (พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อ 4 ธันวาคม 2548) 
 
การปิดกั้นการแสดงความเห็นต่อบทบาทของกษัตริย์ ทั้งๆ ที่การวิจารณ์นั้นกระทำโดยสุจริตและถูกกฎหมาย นับได้ว่าเป็นการทรยศประชาชนผู้เป็นเจ้าของเงินเดือนที่เลี้ยงดูพวกคุณอยู่ 
 
หาก "ไทยพีบีเอส" จะยืนยันปกป้องกษัตริย์อย่างไร้จรรยาบรรณสื่อมวลชนเสียขนาดนี้ ก็ควรที่จะเปลี่ยนไปเป็น "องค์กรโฆษณาชวนเชื่อของกษัตริย์" ขอรับเงินเดือนจากกษัตริย์เสียเลยดีกว่า อย่าได้ลอยหน้าลอยตากินเงินเดือนราษฎรอย่างไม่ละอายใจอยู่อีกต่อไปเลย
 
 
 
 
 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้เป็นวันระลึก "เหตุการณ์ 28 กุมภาพันธ์" 1947 หรือเรียกกันว่า "228 Incident" เหตุสังหารหมู่ประชาชนทั่วประเทศไต้หวัน โดยรัฐบาลที่เจียงไคเชกบังคับบัญชาในฐานะผู้นำก๊กมินตั๋งในจีนแผ่นดินใหญ่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
มีเพื่อนขอให้ผมช่วยแนะนำร้านอาหารในฮานอยให้ แต่เห็นว่าเขาจะไปช่วงสั้นๆ ก็เลยแนะนำไปไม่กี่แห่ง ส่วนร้านเฝอ ขอแยกแนะนำต่างหาก เพราะร้านอร่อยๆ มีมากมาย เอาเฉพาะที่ผมคุ้นๆ แค่ 2-3 วันน่ะก็เสียเวลาตระเวนกินจนไม่ต้องไปกินอย่างอื่นแล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
มีวันหนึ่ง อาจารย์อคินเดินคุยอยู่กับอาจารย์ที่ผมเคารพรักท่านหนึ่ง ผมเดินตามทั้งสองท่านมาข้างหลังอย่างที่ทั้งสองท่านรู้ตัวดี ตอนนั้นผมกำลังเรียนปริญญาเอกที่อเมริกา หรือไม่ก็เรียนจบกลับมาแล้วนี่แหละ อาจารย์อคินไม่รู้จักผม หรือรู้จักแต่ชื่อแต่ไม่เคยเห็นหน้า หรือไม่ก็จำหน้าไม่ได้ ผมแอบได้ยินอาจารย์อคินเปรยกับอาจารย์อีกท่านว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คืนวาน วันฮาโลวีน นักศึกษาชวนผมไปพูดเรื่องผี ปกติผมไม่อยู่รังสิตจนมืดค่ำ แต่ก็มักใจอ่อนหากนักศึกษาชวนให้ร่วมเสวนา พวกเขาจัดงานกึ่งรื่นเริงกึ่งเรียนรู้ (น่าจะเรียกว่าเริงรู้ หรือรื่นเรียนก็คงได้) ในคืนวันผีฝรั่ง ในที่ซึ่งเหมาะแก่การจัดคือพิพิธภัณฑ์มานุษยวิทยา เพราะมีของเก่าเยอะ ก็ต้องมีผีแน่นอน ผมก็เลยคิดว่าน่าสนุกเหมือนกัน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่ถึงกับต่อต้านกิจกรรมเชียร์อย่างรุนแรง เพราะคนสำคัญใกล้ตัวผมก็เป็นอดีตเชียร์ลีดเดอร์งานบอลประเพณีฯ ด้วยคนหนึ่ง และเพราะอย่างนั้น ผมจึงพบด้วยตนเองจากคนใกล้ตัวว่า คนคนหนึ่งกับช่วงชีวิตช่วงหนึ่งของมหาวิทยาลัยมันเป็นเพียงแค่ส่วนเสี้ยวหนึ่งของพัฒนาการของแต่ละคน แต่ก็ยังอยากบ่นเรื่องการเชียร์อยู่ดี เพราะความเข้มข้นของกิจกรรมในปัจจุบันแตกต่างอย่างยิ่งจากในสมัยของผม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเพิ่งไปเก็บข้อมูลวิจัยเรื่องการรู้หนังสือแบบดั้งเดิมของ "ลาวโซ่ง" ในไทยที่อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ได้ราว 2 วัน ได้ข้อมูลมากมายเกี่ยวกับประเด็นที่สนใจ แต่ก็ได้อย่างอื่นมาด้วยไม่น้อยเช่นกัน เรื่องหนึ่งคือความรู้เกี่ยวกับปลา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันก่อนปฐมนิเทศนักศึกษาปริญญาโท-เอกของคณะ ในฐานะคนดูแลหลักสูตรบัณฑิตศึกษาทางมานุษยวิทยา ผมเตรียมหัวข้อมาพูดให้นักศึกษาฟัง 4 หัวข้อใหญ่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ชื่อโมเฮน-โจ-ดาโรแปลตามภาษาซินธ์ (Sindh) ว่า "เนิน (ดาโร) แห่ง (โจ) ความตาย (โมเฮน)" เหตุใดจึงมีชื่อนี้ ผมก็ยังไม่ได้สอบถามค้นคว้าจริงจัง แต่ชื่อนี้ติดหูผมมาตั้งแต่เรียนปริญญาเอกอยู่ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน และเพราะโมเฮนโจดาโรและเมืองคู่แฝดที่ห่างไกลออกไปถึง 600 กิโลเมตรชื่อ "ฮารัปปา" นี่แหละที่ทำให้ผมชอบวิชาโบราณคดีและทำให้อยากมาปากีสถาน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ก่อนมา รู้อยู่แล้วว่าปากีสถานช่วงเดือนนี้คือเดือนที่ร้อนมาก และก็เพิ่งรู้ว่าเดือนนี้แหละที่ร้อนที่สุด แต่ที่ทำให้ “ใจชื้น” (แปลกนะ เรามีคำนี้ที่แปลว่าสบายใจ โดยเปรียบกับอากาศ แต่ที่ปากีสถาาน เขาคงไม่มีคำแบบนี้) คือ ความร้อนที่นี่เป็นร้อนแห้ง ไม่ชื้น และจึงน่าจะทนได้มากกว่า 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ครึ่งวันที่ผมมีประสบการณ์ตรงในกระบวนการยุติธรรมไทย บอกอะไรเกี่ยวกับสังคมไทยมากมาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมลองเอากรณีทุบรถกับทุบลิฟมาเปรียบเทียบกัน แล้วก็เห็นความแตกต่างกันมากหลายมุม ได้เห็นความเหลื่อมล้ำของสังคมที่สนใจกรณีทั้งสองอย่างไม่สมดุลกัน แต่สุดท้ายมันบอกอะไรเรื่องเดียวกัน คือความบกพร่องของสถาบันจัดการความขัดแย้งของประเทศไทย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คนรุ่นใหม่ครับ...