Skip to main content

ตลกที่เวลาผมชื่นชมผู้ใหญ่ในวงการบางคนในบางโอกาส มีคนว่าผมประจบผู้ใหญ่ ไม่รู้จักวิพากษ์ ก็ไม่เป็นไร แต่ส่วนตัวผมและกับคนในวงการเดียวกันคงจะรู้สึกว่า ที่พูดถึงผมแบบนั้นน่ะเพี้ยนแล้ว เพราะผมวิพากษ์ "ผู้ใหญ่" ในวงวิชาการเดียวกันมาเสียจนลูกศิษย์ลูกหาของท่านๆ เหล่านั้นสุดจะทน จนขณะนี้ ผมยังนึกไม่ออกว่ายังเหลือผู้ใหญ่ในวงการท่านใดบ้างที่ผมยังไม่วิพากษ์

    (3) ช่างวิพากษ์
 
ในโลกวิชาการสังคมศาสตร์ไทย ผมเห็นการไม่ยอมรับการวิพากษ์ใน 2 ลักษณะด้วยกัน ลักษณะแรก เป็นแบบที่จำกัดอยู่ในกรอบของระบบอาวุโส เป็นระบบอำนาจนิยมในวงวิชาการ อีกลักษณะหนึ่ง คับแคบไม่แพ้กัน คือแบบที่ปฏิเสธการวิพากษ์เพราะคิดว่าการวิพากษ์วางอยู่บนอคติ ไม่เป็นวิทยาศาสตร์
 
นักวิชาการไทยบางคนไม่ชอบที่คนรุ่นหลังต้องวิพากษ์คนรุ่นก่อนหน้า เพราะคิดว่า "นักวิชาการรุ่นใหม่ตั้งหน้าตั้งตาข้ามหัวเหยียบหัวนักวิชาการรุ่นเก่าตลอดเวลา" แต่ผมว่า การไม่วิพากษ์นักวิชาการรุ่นก่อนหน้าหลายกรณีมันเกินไปกว่าการเคารพกันในทางวิชาการ แต่แสดงลักษณะอำนาจนิยมหรืออย่างเบาคือระบบอุปถัมภ์ในวงวิชาการมากกว่า
 
การไม่ยอมรับการวิพากษ์อันเนื่องมาจากระบบอุปถัมภ์ในวงวิชาการนั้น บางที่ไปไกลขนาดที่ว่า "ลูกศิษย์อาจารย์เดียวกันไม่ควรวิจารณ์กันเอง" บางคนหลีกเลี่ยงที่จะวิพากษ์คนอื่นเนื่องจาก "ไม่อยากเสียมิตรภาพ" หรือที่แย่กว่านั้นคือ กลัวว่าหากท่านๆ ผู้ใหญ่จะต้องมาเป็นผู้ประเมินผลงานทางวิชาการของตนแล้ว จะทำให้เกิดปัญหา หมดอนาคตไปได้
 
แต่แปลกที่ส่วนใหญ่แล้ว ผู้ใหญ่เหล่านั้นไม่ได้ถือสาอะไรเป็นการส่วนตัวว่าผมหรือคนรุ่นใหม่คนไหนจะวิพากษ์ท่านเพื่อลบหลู่ดูถูกท่าน เพราะส่วนตัวผมเคารพท่านเหล่านั้น ชื่นชม อ่านงาน และได้เรียนรู้อะไรมากมายจากงานท่านเหล่านั้นเสมอๆ เห็นมีแต่พวกลูกศิษย์ของท่านๆ เหล่านั้นต่างหากที่ดูจะเดือดร้อนเกินครู
 
ผู้ใหญ่ทางวิชาการในวัฒนธรรมทางวิชาการแบบที่ผมเติบโตมา คือที่ธรรมศาสตร์ ไม่เคยมีปัญหากับการทำงานเชิงวิพากษ์ของผม ผมไม่เข้าใจเหมือนกันว่าที่อื่นเป็นอย่างไร แต่ที่ที่ผมทำงานอยู่ ผมไม่รู้สึกถึงการข่มกันด้วยวัยวุฒิ หรือแม้แต่คุณวุฒิ ผมเริ่มทำงานที่ํรรมศาสตร์ไม่นานหลังจากที่เรียนจบจากที่นี่ อาจารย์ผมทุกท่านก็ปฏิบัติกับผมเสมือนผมเปลี่ยนสถานภาพจากลูกศิษย์ เป็นเพื่อนร่วมงานโดยอัตโนมัติทันที ครูบาอาจารย์ผมเปิดรับการวิพากษ์ การแลกเปลี่ยนความเห็น การเสนอความเห็น โดยไม่คำนึกถึงความอาวุโส วิถีนี้จึงเป็นวัฒนธรรมทางวิชาการที่ผมว่ายเวียนอยู่เป็นปกติวิสัย
 
จะว่่าไปก็มี "ผู้ใหญ่" ในวงวิชาการบางคนที่ไม่ชอบการวิพากษ์บ้างเหมือนกัน แบบเบาๆ ท่านก็ว่าผมเป็นคนก้าวร้าว อย่างแรงๆ ก็ว่าผมวิพากษ์แบบบ่อนทำลาย ไม่สร้างสรรค์ แต่นั่นยังไม่น่ารำคาญเท่าสำนวนประเภท "เอาแต่วิพากษ์น่ะ เสนอทางออกอะไรบ้าง" ผมนึกในใจ "ขอโทษ การวิพากษ์ก็เป็นงานนะครับ อยากได้ข้อเสนออะไร ก็ช่วยไปคิดทำงานต่อกันเอาเองบ้างสิครับ"
 
คนที่ทำงานวิชาการย่อมรู้ดีว่า การวิพากษ์เป็นจิตวิญญาณของการทำงานทางวิชาการ บางคนไม่ชอบการทำงานวิชาการเพราะการฝึกฝนแบบฝรั่งที่ต้องวิพากษ์ตลอดเวลา สำหรับผม ที่แย่ยิ่งกว่าการเกรงกลัวระบบอุปถัมภ์จนละเว้นการวิพากษ์คือ การไม่อ่านงานนักวิชาการไทยด้วยกันเอง อ่านและอ้างแต่งานต่างประเทศ จึงไม่วิพากษ์นักวิชาการไทยด้วยกันเอง อย่างนี้แล้วจะทำให้งานวิชาการในโลกภาษาไทยก้าวหน้าได้อย่างไร
 
การรังเกียจการวิพากษ์ในอีกลักษณะหนึ่งมาจากเหตุผลที่ว่า การทำงานทางวิทยาศาสตร์ต้องปลอดอคติ จึงไม่ควรวิพากษ์สังคม เพราะการวิพากษ์สังคมจะมาจากฐานทางศีลธรรมและการเมืองบางอย่าง ว่าสังคมที่ดีกว่าเป็นอย่างไร นักวิชาการที่ฝึกฝนมาแบบ "วิทยาศาสตร์" มักตั้งข้อรังเกียจต่อการศึกษาเชิงวิพากษ์แบบนี้ 
 
ทัศนะแบบนี้เองมองข้ามไปว่า การละเว้นไม่ศึกษาสังคมเชิงวิพากษ์ก็วางอยู่บนอคติที่ว่า นักวิชาการยอมรับสภาพความเป็นไปของสังคมที่ศึกษาอยู่แล้ว การไม่ตัดสินเชิงคุณค่าก็คือการยอมรับเชิงคุณค่าแบบหนึ่ง เป็นการยอมรับว่าสัวคมที่เป็นอยู่สมควรดำเนินต่อไปอย่างนั้น ใหม่ควรเข้าไปวิพากษ์อะไร ไม่ควรคาดหวังสังคมที่ดีกว่่าอย่างไร การไม่วิพากษ์จึงไม่ใช่การปลอดอคติ แต่มีอคติของความเฉยเมย ไม่นำพาต่อความเหลื่มล้ำไม่เป็นธรรมในสังคม
 
มีครั้งหนึ่ง ผมตกใจที่นักวิชาการเพื่อนร่วมวิชาชีพบางคนไม่รู้จักการวิพากษ์แบบนี้ เขาคิดว่าการทำงานวิชาการคือการเข้าใจหรืออธิบายสังคมเท่านั่น แต่ที่จริงมีการศึกษาเชิงวิพากษ์เพื่อชีวิตที่ดีกว่าด้วย ที่ชัดเจนคือนักทฤษฎีสังคมกลุ่ม "ทฤษฎีวิพากษ์" (critical theory) หากใครอ่านหนังสือทฤษฎีสังคมอยู่บ้าง ย่อมผ่านหูผ่านตากับประโยคที่คาร์ล มาร์กซกล่าวไว้ทำนองที่ว่า "งานวิชาการไม่ได้เพียงต้องการอธิบายสังคม แต่งานวิชาการต้องเปลี่ยนโลกด้วย" 
 
หากคุณรังเกียจ "มาร์กซ" ผมผมว่าพระพุทธเจ้า นะบี จีซัส ขงจื่อ โมเสส หรือศาสดาท่านอื่นใดคงพูดอะไรทำนองนี้ไว้เช่นกัน เพราะไม่เช่นนั้นท่านเหล่านั้นจะเสนอทางออกให้มนุษยชาติได้อย่างไร
 
อย่างไรเสีย คุณจะเปลี่ยนโลกได้ก็ต้องรู้ก่อนว่าจะเปลี่ยนไปทางไหนดี นั่นคือ คุณต้องมียูโทเปีย หรือเฮ็ทเทอโรเปีย (พหุสังคมอุดมคติ) อยู่เป็นธง แล้ววิพากษ์ว่าสังคมปัจจุบันมันเลวร้ายอย่างไร แล้วจึงหาแนวทางที่จะบรรลุสังคมที่ดีกว่า ใช่เลยที่ว่า การวิพากษ์แนวนี้คล้ายคลึงกับศาสนา ที่ต้องมีการตัดสินเชิงคุณค่า การมีเป้าหมายเชิงศีลธรรมบางอย่าง
 
ที่จริงการวิพากษ์แนวนี้ทำให้วิชาการติดดิน เป็นการนำวิชาการไปสู่สาธารณะ เพราะต้องตอบโจทย์ของสังคม ต้องลงจากหอคอยงาช้าง ต้องคลุกคลีกับผู้คน เพียงแต่ว่า จุดตั้งต้นของการวิพากษ์แนวนี้มีฐานทางวิชาการที่อยู่บนหอคอยงาช้าง นักวิพากษ์แนวนี้ต้องทั้งเข้าใจสังคมและต้องเสนอทิศทางการเปลี่ยนแปลงสังคม 
 
ด้วยการวิพากษ์ไม่ใช่หรือที่ทำให้โลกก้าวหน้ามาจนปัจจุบัน ไม่อย่างนั้นก็คงมีแต่คนนิพพานแล้วมนุษย์ก็สูญพันธ์ุไปตั้งแต่เมื่อพันปีที่แล้ว หรือไม่ก็ฝึกจิตจนบินได้กันเต็มไปหมดเนื่องจากไม่มีใครวิพากษ์ความรู้โบราณที่มีฐานอยู่ที่ศาสนา หรือไม่อย่างนั้น เราคงยังควงขวานหิน แล่ปลาด้วยหินกระเทาะกันอยู่ 
 
หรือถ้าจะไม่วิพากษ์กัน ทำไมเราไม่รื้อฟื้นภูมิปัญญามนุษย์ยุคหิน เลิกกระทั่งการถลุงเหล็กหรือการทำกลองสำริด แล้วกลับไปเขวี้ยงหินใส่กันเสียเลยดีกว่าไหม เลิกขีดเขียนแล้วกลับไปเล่านิทานกันดีกว่าไหม หรือไม่ก็กลับไปปีนป่ายต้นไม้กันดีกว่าไหม
 
หากใครจะทำงานวิชาการแล้วไม่ทำงานวิพากษ์งานก่อนหน้าอย่างตรงไปตรงมา ไม่เดือดร้อนกับความอยุติธรรมของสังคมแล้ววิพากษ์สังคม ผมก็ไม่รู้ว่าจะยังเรียกตนเองว่านักวิชาการอยู่ได้อย่างไร 
 
แต่หากใครจะบอกว่า วัฒนธรรมวิชาการแบบไทยๆ ก็ต้องเป็นแบบอุปถัมภ์ เป็นแบบปลอดอคติหม่วิพากษ์สังคม ผมก็จะขอถอนสัญชาติทางวิชาการของผมเสีย ส่วนใครจะตั้งหน้าตั้งตาต่อต้านการวิพากษ์ของผมทั้งที่ลับและที่แจ้ง ทั้งเอ่ยชื่อตรงๆ หรือไม่เอ่ยชื่อ ก็แล้วแต่เขา ตามสะดวก เพราะผมไม่ได้มีหน้าที่ไปตั้งด่านตรวจจับทัศนะคับแคบทางวิชาการเหล่านั้น

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
นี่เป็นข้อเขียนภาคทฤษฎีของ "การเมืองของนักศึกษาปัจจุบัน" หากใครไม่ชอบอ่านทฤษฎีก็ขอร้องโปรดมองข้ามไปเถอะครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จริงหรือที่นักศึกษาไม่สนใจการเมือง ขบวนการนักศึกษาตายแล้วจริงหรือ ถ้าคุณไม่เข้าใจว่าการถกเถียงเรื่องเครื่องแบบ เรื่องทรงผม เรื่องห้องเรียน เป็นเรื่องการเมืองได้อย่างไร แล้วดูแคลนว่ามันเป็นเพียงเรื่องเสรีภาพส่วนตัว เรื่องเรียกร้องเสรีภาพอย่างเกินเลยแล้วล่ะก็ คุณตกขบวนการเมืองของยุคสมัยไปแล้วล่ะ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในวาระที่กำลังจะมีการสรรหาอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะบุคคลากรของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ผู้หนึ่ง ผมขอเสนอ 5 เรื่องเร่งด่วนที่อธิการบดีคนต่อไปควรเร่งพิจารณา เพื่ิอกอบกู้ให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กลับมาเป็นดินแดนแห่งเสรีภาพ เป็นบ่อน้ำบำบัดผู้กระหายความรู้ และเป็นสถาบันที่เคียงข้างประชาชนต่อไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บันทึกประกอบการพูดเรื่อง "การศึกษาไทย" เมื่อสัปดาห์ก่อน ผมเสนอว่าเรากำลังต่อสู้กับสามลัทธิคือ ลัทธิบูชาชาติ-ศาสน์-กษัตริย์ ลัทธิล่าปริญญา และลัทธิแบบฟอร์ม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"การศึกษาไทยไทย: ความสำเร็จหรือความล้มเหลว" เป็นโจทย์ที่นักกิจกรรมทางสังคมรุ่นใหม่ตั้งขึ้นอย่างท้าทาย พวกเขาท้าทายทั้งระบบการเรียนการสอน วัฒนธรรมการศึกษา เนื้อหาในหลักสูตร และระบบสังคมในสถานศึกษา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะที่ร่วมก่อตั้งและร่วมงานกับ "ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์เมษา-พฤษภา 53" (ศปช.) ผมอดไม่ได้ที่จะเปรียบเทียบสปิริตของการทำงานของ ศปช. กับของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ว่ามองหลักสิทธิมนุษยชนต่างกันอย่างไร อย่างไรก็ดี นี่เป็นทัศนะและหลักการของผมเองในการร่วมงานกับ ศปช. ซึ่งอาจแตกต่างจากสมาชิกคนอื่นบ้าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำตัดสินของศาลอาญาในกรณี 6 ศพวัดประทุมฯ ชวนให้นึกถึงภาพถ่ายเช้าวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ที่ใต้ต้นมะขามต้นหนึ่งที่สนามหลวง นอกจากภาพชายคนที่ใช้เก้าอี้ตีศพที่ถูกแขวนคอใต้ต้นมะขามแล้ว ภาพผู้คนที่รายล้อมต้นมะขามซึ่งแสดงอาการเห็นดีเห็นงามหรือกระทั่งสนับสนุนอยู่นั้น สะเทือนขวัญชาวโลกไม่น้อยกว่าภาพชายใช้เก้าอี้ทำร้ายศพ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเคยนั่งในพิธีรับปริญญาบัตรในฐานะผู้รับและในมุมมองของผู้ให้มาแล้ว แต่ไม่เคยได้นั่งในพิธีในฐานะผู้สังเกตการณ์จากบนเวทีแบบเมื่อครั้งที่ผ่านมานี้มาก่อน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปฐมลิขิต: ใครรังเกียจทฤษฎี เกลียดงานเขียนแบบหอคอยงาช้าง ไม่ต้องพลิกอ่านก็ได้นะครับ และเวลาผมใส่วงเล็บภาษาอังกฤษหรืออ้างนักคิดต่างๆ นี่ ไม่ได้จะโอ่ให้ดูขลังนะครับ แต่เพื่อให้เชื่อมกับโลกวิชาการสากลได้ ให้ใครสนใจสืบค้นอ่านต่อได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จะว่าไป กสทช. คนที่แสดงความเห็นต่อเนื้อหาละครฮอร์โมนนั้น ดูน่าจะเป็นคนที่สามารถวิเคราะห์ เข้าใจสังคมได้มากที่สุดในบรรดา กสทช. ทั้ง 11 คน เพราะเขามีดีกรีถึงปริญญาเอกทางสังคมวิทยาจากมหาวิทยาลัยโด่งดังในเยอรมนี ต่างจากคนอื่นๆ ที่ถ้าไม่ใช่เพราะเป็นทหารหรือใครที่สมยอมกับการรัฐประหารปี 2549 แล้ว ก็เป็นช่างเทคนิคทางด้านการสื่อสาร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ผู้หญิงท่านหนึ่งตั้งคำถามว่า "ไม่รู้อาจารย์ผู้ชายทนสอนหนังสือต่อหน้านักศึกษานุ่งสั้นที่นั่งเปิดหวอหน้าห้องเรียนได้อย่างไร" สำหรับผม ก็แค่เห็นนักศึกษาเป็นลูกเป็นหลานก็เท่านั้น แต่สิ่งยั่วยวนในโลกทางวิชาการมีมากกว่านั้นเยอะ และบางทีจะยิ่งหลบเลี่ยงยากยิ่งกว่าการสร้าง incest taboo ในจินตนาการขึ้นมาหน้าห้องเรียน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักเรียนมนุษยศาสตร์จำนวนมากสนใจวิธีการและทฤษฎีทางสังคมศาสตร์ แต่นักสังคมศาสตร์เขาตั้งท่าทำวิจัยกันอย่างไร แล้วหากนักมนุษยศาสตร์จะใช้วิธีการและทฤษฎีแบบสังคมศาสตร์บ้างจะทำอย่างไร