Skip to main content

เมื่อวานเพ่ิงดูพี่ "มากขา" หลายขา แล้วก็อยากมีความเห็นอย่างใครๆ เขาบ้าง ส่วนใครที่ยังไม่ได้ดูแล้วกำลังคิดจะไปดู ก็อย่าเพ่ิงอ่านครับ เดี๋ยวจะเซ็งเสียก่อน

ตอนแรกผมเริ่มวิตกว่าไม่ได้เอาสมุดบันทึกเข้าไปในโรงหนัง กลัวลืมรายละเอียด แต่ก็คิดได้ว่า บ้าไปแล้ว มาดูหนังไม่ใช่มาทำวิจัยภาคสนาม

 

ผมว่าหนังเรื่องนี้บูชาความรักเหนือสิ่งอื่นใดจริงๆ เริ่มเรื่อง เราไม่ต้องรู้ว่าสงครามที่เกิดขึ้นเป็นการรบระหว่างใครกับใคร รบไปทำไม รบที่ไหน ยุคไหนสมัยไหน รู้แต่ว่า พี่มากขาต้องเอาชีวิตรอดกลับไปให้ได้เพื่อเจอนางนาค

 

ความรักของพี่มากขาที่อยู่เหนือชาติเหนือแผ่นดินถูกยืนยันหนักแน่นเมื่อมากจู๋จี๋จ๊ะจ๋ากับนางนาคที่เรือน ประโยคเด็ดนั้นพูดว่าอะไร หลายคนก็น่าจะรู้ๆ กันดีอยู่แล้ว เพราะถูกหยิบไปพูดถึงกันมากแล้ว ถึงตรงนี้ ผมนึกชื่นชมกองเซ็นเซอร์ที่ปล่อยให้ประโยคนั้นหลุดออกมา แต่อีกใจก็นึกว่า สงสัยกองเซ็นเซอร์คงไม่ฉลาดพอจะเข้าใจว่า นี่มันเป็นการตบหน้าอาการคลั่งชาติบ้าสงครามของรัฐไทยชัดๆ

 

นี่ยังไม่ต้องพูดถึงว่า บทหนังยังล้อเลียนความคลั่งชาติบ้าสงครามด้วยการเสียดสีสงครามแห่งความพ่ายแพ้หลายสงครามที่มักถูกหยิบมาอ้างให้คนไทยรักชาติในฉากแรกๆ ของหนัง

 

แล้วไม่ทราบใครเห็นพระถูกพี่มากถีบบ้าง ผมเห็นเต็มตาว่าพระที่ทำทีจะต่อกรกับนางนาคถูกพี่มากถีบ แม้จะโดยไม่ตั้งใจ นี่เป็นอีกฉากที่น่าสรรเสริญความรักของพี่มากขา เพราะศาสนาซึ่งควรจะมีเมตตาอันเป็นส่วนประกอบสำคัญของความรัก กลับไม่ใช้ความรักเพื่อเข้าใจความรัก แต่จะว่าไป พี่มากคงไม่ได้ถึงกับถีบศาสนา เพียงแต่ถีบผู้สืบทอดศาสนาที่ไม่เข้าใจความจริงของโลก

 

หนังพิสูจน์ว่าความรักอยู่เหนือสิ่งอื่นใด ยกเว้นอารมณ์ขัน เพราะสัดส่วนของเสียงหัวเราะในโรงหนังมีมากกว่าสัดส่วนของอมยิ้มขวยเขินยามเข้าพระเข้านางและน้ำตาซาบซึ้งกับความรัก น่าสนใจที่ทำไมหนังไทยและคนไทยที่ดูหนังไทยจึงสามารถปนเปความกลัวกับเรื่องตลกได้ (แม้ไม่ถึงกับแปลงความกลัวให้เป็นเรื่องตลก) สงสัยว่าคนไทยจะขำกับความกลัวของผู้คน เสมือนว่าจริงๆ แล้ว อะไรที่น่ากลัวไม่ได้น่ากลัวขนาดนั้น จึงขันว่าทำไมตัวละครถึงกลัวกันลนลานจนสูญเสียความเป็นคนกันไปจนน่าขัน

 

ผมสงสัยว่าใครในโลกหล้านี้จะดูหนังเรื่องนี้รู้เรื่องบ้าง หรือจะขำอย่างที่คนไทยยอมจ่ายตังค์ไปขำกันบ้าง แม้หนังจะมีกลวิธีผูกเรื่องให้มีเกร็ดเล็กน้อยให้งงแล้วมาเฉลย จนทำให้หนังดูมีเหตุมีผลไปเสียแทบทุกอย่าง เช่น เรื่องแหวน เรื่องเจ้าเอ เรื่องมากรู้ความจริงเกี่ยวกับนาค ที่ทำให้หนังดู "สากล" แต่มุกเจ้าเอรับกรรมที่ก่อกับนาค มุกพวกมาก-นาคถูกม็อบชาวบ้านขับไล่ มุกเก็บลูกมะนาว มุกผีไทยในบ้านผีสิง ฯลฯ จะมีใครในโลกหล้าเข้าใจกันบ้างล่ะเนี่ย

 

แต่ยังไงผมก็ชอบและชื่นชมหนังนี้มากนะ ที่ชอบที่สุดคือภาษาพูด ที่ไม่กระแดะพูด "ภาษาโบราณ" ความจริงนี่เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่หนังล้อเลียนได้ดีเยี่ยม และเป็นอีกสิ่งที่ "แปล" ให้ชาวโลกเข้าใจไม่ได้ นอกจากนั้นยังชอบที่หนังคงความเป็นตำนานนางนาค ที่ต้องมี motif หลักๆ ของตำนานนี้ครบครัน (เก็บมะนาว ห้อยหัว เปลไกวเอง บ้านรก หนอนในอาหาร ฯลฯ) และชอบที่มีมุกหลอกคนดูให้คิดพลิกกลับไปมา จนเกือบเชื่อว่า หรือเราเข้าใจสถานภาพของนาคผิดไปจริงๆ

 

เหนืออื่นใดคือชอบที่หนังหานิยามความรักใหม่ให้กับคู่รักอมตะมาก-นาค เป็นรักเหนือชาติ ศาสน์ กะ..คำตีตราของสังคม จนกลายเป็นรักที่มีพลังพ้นความเป็นอื่นอันห่างไกลกันแม้ข้ามภพภูมิ

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่แน่ใจว่านโยบายยุบโรงเรียนขนาดเล็กนี้จะดีหรือไม่ สงสัยว่า "คิดดีแล้วหรือที่จะยุบโรงเรียนขนาดเล็ก" ในทางเศรษฐศาสตร์แบบทื่อๆ คงมี "จุดคุ้มทุน" ของการจัดการศึกษาอยู่ระดับหนึ่ง ตามข่าว ดูเหมือนว่าควรจะอยู่ที่การมีนักเรียนโรงเรียนละ 60 คน แต่คงมีเหตุผลบางอย่างที่โรงเรียนตามพื้นที่ชนบทไม่สามารถมีนักเรียนมากขนาดนั้นได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตอนนี้เถียงกันมากเรื่องกะหรี่ ว่ากันไปมาจนกระทั่งทั้งสองฝ่ายก็หนีไม่พ้นเอาคำเดียวกัน หรือทัศนะคติเหยียดเพศหญิงเช่นเดียวกันมาด่ากัน ฝ่ายหนึ่งด่าอีกฝ่ายว่า "อีกะหรี่" อีกฝ่ายหนึ่งด่ากลับว่า "แม่มึงสิเป็นกะหรี่" หรือ "ไปเอากระโปรงอีนั่นมาคลุมหัวแทนไป๊" ตกลงก็ยังหนีไม่พ้นสังคมที่ดูถูกเพศหญิงอยู่ดี
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงสั้นๆ ของชีวิตผมมีโอกาสได้รู้จักคนในแวดวงนักเขียนรูป ผ่านครูสอนวาดเส้นให้ผมคนหนึ่ง ครูผมคนนี้มีเพื่อนคนหนึ่งที่เขาสนิทสนมกันดี ชื่อไสว วงษาพรหม เมื่อคืน ได้สนทนากับคนในแวดวงศิลปะ ที่เรือนชานแห่งหนึ่งที่มีไมตรีให้เพื่อนฝูงเสมอ ผมจึงเพิ่งทราบว่าไสวเสียชีวิตไปหลายปีแล้ว ลอง google ดูพบว่าเขาเสียชีวิตเมื่อ 22 สิงหาคม 2551
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทำไม "เหี้ย ควย หี เย็ด" จึงกลายเป็นภาพเขียนชุดล่าสุดของศิลปินเขียนภาพชั้นนำของไทย ทำไม "กะหรี่" จึงเป็นส่วนหนึ่งของข้อเขียนนักเขียนการ์ตูนผู้ทรงอิทธิพลของไทย ทำไมนักเศรษฐศาสตร์ไทยชั้นนำจึงเขียนคำ "อยากเอา" เป็นความเห็นประกอบภาพวิจารณ์นักการเมือง ทำไมภาษาแบบนี้จึงกลายมาเป็นภาษาทางการเมืองของคนที่มีความสามารถในการสื่อสารเหนือคนทั่วไปเหล่านี้ หลายคนวิเคราะห์แล้วว่า เพราะพวกเขาเร่ิมจนแต้มทางการเมือง "เถียงสู้อีกฝ่ายไม่ได้ก็เลยด่าแม่งไป"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วานนี้ (29 เมษายน 2556) "ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา" และ "ศูนย์ศึกษาสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย" มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดอภิปราย "สู่สันติภาพในอุษาคเนย์" งานนี้จัดท่ามกลางบรรยากาศการเจรจาสันติภาพระหว่างรัฐบาลไทยกับ BRN
ยุกติ มุกดาวิจิตร
“นักวิชาการเสื้อแดง” เป็นเสมือนตำแหน่งทางวิชาการอย่างหนึ่ง การตีตราตำแหน่งนี้สะท้อนความเฉยชาและคับแคบต่อปัญหาสิทธิมนุษยชนและความเป็นธรรมของปัญญาชนไทย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวานเพ่ิงดูพี่ "มากขา" หลายขา แล้วก็อยากมีความเห็นอย่างใครๆ เขาบ้าง ส่วนใครที่ยังไม่ได้ดูแล้วกำลังคิดจะไปดู ก็อย่าเพ่ิงอ่านครับ เดี๋ยวจะเซ็งเสียก่อน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทุกๆ ปี ผมสอนวิชา “ชาติพันธ์ุ์นิพนธ์: การวิพากษ์และการนำเสนอแนวใหม่” ระดับปริญญาตรี ผมออกแบบให้วิชานี้เป็นการศึกษาแบบสัมมนา มีการแลกเปลี่ยนความเห็นของนักศึกษามากกว่าการบรรยายของผู้สอน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อสองวันก่อน มีคนที่สนใจนโยบายรถไฟความเร็วสูงคนหนึ่งถามผมว่า "อาจารย์รู้ไหมว่า โอกาสที่รถไฟไทยจะตรงเวลามีเท่าไหร่" ผมตอบ "ไม่รู้หรอก" เขาบอกว่า "มีเพียง 30%" 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"ปีใหม่" เป็นจินตกรรมของเวลาที่กำหนดการสิ้นสุดและการเริ่มต้น ศักราช เวลาของสังคม การจัดระบบของเวลา ล้วนมีเทศกาลกำกับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
น่าละอายใจที่สภาผู้แทนราษฎรปัดตกข้อเสนอของประชาชนกว่าสามหมื่นคนที่เสนอให้แก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ถ้าบอกกันตรงๆ ว่า "กลัวอ่ะ" ก็จบ ประชาชนอาจจะให้อภัยความปอดแหกได้ แต่ประชาชนส่วนหนึ่งจะตัดสินใจไม่เลือกพวกคุณเข้ามาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนฯ อีกอย่างแน่นอน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ยามหมดปีการศึกษาทีไร ก็ชวนให้ทบทวนถึงหน้าที่การงานด้านการเรียนการสอนของตนเอง แต่ผมทำตามแบบที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งชาติ หรือ สกอ. ให้ทำไม่เป็นหรอก เพราะมันไร้สาระ เป็นกลไกเกินไป และไม่ก่อประโยชน์อะไรนอกจากเปลืองกระดาษและน้ำหมึก ผมมักทำในแบบของผมเองนี่แหละ