Skip to main content

เมื่อวานเพ่ิงดูพี่ "มากขา" หลายขา แล้วก็อยากมีความเห็นอย่างใครๆ เขาบ้าง ส่วนใครที่ยังไม่ได้ดูแล้วกำลังคิดจะไปดู ก็อย่าเพ่ิงอ่านครับ เดี๋ยวจะเซ็งเสียก่อน

ตอนแรกผมเริ่มวิตกว่าไม่ได้เอาสมุดบันทึกเข้าไปในโรงหนัง กลัวลืมรายละเอียด แต่ก็คิดได้ว่า บ้าไปแล้ว มาดูหนังไม่ใช่มาทำวิจัยภาคสนาม

 

ผมว่าหนังเรื่องนี้บูชาความรักเหนือสิ่งอื่นใดจริงๆ เริ่มเรื่อง เราไม่ต้องรู้ว่าสงครามที่เกิดขึ้นเป็นการรบระหว่างใครกับใคร รบไปทำไม รบที่ไหน ยุคไหนสมัยไหน รู้แต่ว่า พี่มากขาต้องเอาชีวิตรอดกลับไปให้ได้เพื่อเจอนางนาค

 

ความรักของพี่มากขาที่อยู่เหนือชาติเหนือแผ่นดินถูกยืนยันหนักแน่นเมื่อมากจู๋จี๋จ๊ะจ๋ากับนางนาคที่เรือน ประโยคเด็ดนั้นพูดว่าอะไร หลายคนก็น่าจะรู้ๆ กันดีอยู่แล้ว เพราะถูกหยิบไปพูดถึงกันมากแล้ว ถึงตรงนี้ ผมนึกชื่นชมกองเซ็นเซอร์ที่ปล่อยให้ประโยคนั้นหลุดออกมา แต่อีกใจก็นึกว่า สงสัยกองเซ็นเซอร์คงไม่ฉลาดพอจะเข้าใจว่า นี่มันเป็นการตบหน้าอาการคลั่งชาติบ้าสงครามของรัฐไทยชัดๆ

 

นี่ยังไม่ต้องพูดถึงว่า บทหนังยังล้อเลียนความคลั่งชาติบ้าสงครามด้วยการเสียดสีสงครามแห่งความพ่ายแพ้หลายสงครามที่มักถูกหยิบมาอ้างให้คนไทยรักชาติในฉากแรกๆ ของหนัง

 

แล้วไม่ทราบใครเห็นพระถูกพี่มากถีบบ้าง ผมเห็นเต็มตาว่าพระที่ทำทีจะต่อกรกับนางนาคถูกพี่มากถีบ แม้จะโดยไม่ตั้งใจ นี่เป็นอีกฉากที่น่าสรรเสริญความรักของพี่มากขา เพราะศาสนาซึ่งควรจะมีเมตตาอันเป็นส่วนประกอบสำคัญของความรัก กลับไม่ใช้ความรักเพื่อเข้าใจความรัก แต่จะว่าไป พี่มากคงไม่ได้ถึงกับถีบศาสนา เพียงแต่ถีบผู้สืบทอดศาสนาที่ไม่เข้าใจความจริงของโลก

 

หนังพิสูจน์ว่าความรักอยู่เหนือสิ่งอื่นใด ยกเว้นอารมณ์ขัน เพราะสัดส่วนของเสียงหัวเราะในโรงหนังมีมากกว่าสัดส่วนของอมยิ้มขวยเขินยามเข้าพระเข้านางและน้ำตาซาบซึ้งกับความรัก น่าสนใจที่ทำไมหนังไทยและคนไทยที่ดูหนังไทยจึงสามารถปนเปความกลัวกับเรื่องตลกได้ (แม้ไม่ถึงกับแปลงความกลัวให้เป็นเรื่องตลก) สงสัยว่าคนไทยจะขำกับความกลัวของผู้คน เสมือนว่าจริงๆ แล้ว อะไรที่น่ากลัวไม่ได้น่ากลัวขนาดนั้น จึงขันว่าทำไมตัวละครถึงกลัวกันลนลานจนสูญเสียความเป็นคนกันไปจนน่าขัน

 

ผมสงสัยว่าใครในโลกหล้านี้จะดูหนังเรื่องนี้รู้เรื่องบ้าง หรือจะขำอย่างที่คนไทยยอมจ่ายตังค์ไปขำกันบ้าง แม้หนังจะมีกลวิธีผูกเรื่องให้มีเกร็ดเล็กน้อยให้งงแล้วมาเฉลย จนทำให้หนังดูมีเหตุมีผลไปเสียแทบทุกอย่าง เช่น เรื่องแหวน เรื่องเจ้าเอ เรื่องมากรู้ความจริงเกี่ยวกับนาค ที่ทำให้หนังดู "สากล" แต่มุกเจ้าเอรับกรรมที่ก่อกับนาค มุกพวกมาก-นาคถูกม็อบชาวบ้านขับไล่ มุกเก็บลูกมะนาว มุกผีไทยในบ้านผีสิง ฯลฯ จะมีใครในโลกหล้าเข้าใจกันบ้างล่ะเนี่ย

 

แต่ยังไงผมก็ชอบและชื่นชมหนังนี้มากนะ ที่ชอบที่สุดคือภาษาพูด ที่ไม่กระแดะพูด "ภาษาโบราณ" ความจริงนี่เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่หนังล้อเลียนได้ดีเยี่ยม และเป็นอีกสิ่งที่ "แปล" ให้ชาวโลกเข้าใจไม่ได้ นอกจากนั้นยังชอบที่หนังคงความเป็นตำนานนางนาค ที่ต้องมี motif หลักๆ ของตำนานนี้ครบครัน (เก็บมะนาว ห้อยหัว เปลไกวเอง บ้านรก หนอนในอาหาร ฯลฯ) และชอบที่มีมุกหลอกคนดูให้คิดพลิกกลับไปมา จนเกือบเชื่อว่า หรือเราเข้าใจสถานภาพของนาคผิดไปจริงๆ

 

เหนืออื่นใดคือชอบที่หนังหานิยามความรักใหม่ให้กับคู่รักอมตะมาก-นาค เป็นรักเหนือชาติ ศาสน์ กะ..คำตีตราของสังคม จนกลายเป็นรักที่มีพลังพ้นความเป็นอื่นอันห่างไกลกันแม้ข้ามภพภูมิ

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (24 ธันวาคม 2555) กสทช.เชิญให้ผมไปร่วมแสดงความเห็นในเวทีเสวนาสาธารณะ “1 ปี กสทช. กับความ (ไม่) สมหวังของสังคมไทย” ทีแรกผมไม่คิดว่าตนเองจะสามารถไปวิจารณ์อะไรกสทช.ได้ แต่ผู้จัดยืนยันว่าต้องการมุมมองแบบมานุษยวิทยา ผมจึงตกปากรับคำไป 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อโต้แย้งต่อความเห็นผมจากของเครือข่ายองค์กรงดเหล้า ที่ลงในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1355920241&grpid=03&catid=&subcatid=) ย้ำให้เห็นชัดถึงความอับจนของกรอบคิดของคนกลุ่มนี้ต่อไปนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไม่เพียงแต่นักเขียนบางคนเท่านั้นที่อาจจะไม่เข้าใจหรือมองข้ามประเด็นความแตกต่างทางชาติพันธ์ุ แต่ผมคิดว่าแวดวงภาษาและวรรณกรรมบ้านเราอาจจะไม่ตระหนักถึงปัญหานี้โดยรวมเลยก็ได้ และในแง่หนึ่ง ผมคิดว่าซีไรต์เองอาจจะมีส่วนสร้างวัฒนธรรมไม่อ่อนไหวต่อความแตกต่างทางวัฒนธรรมด้วยเช่นกัน และถึงที่สุดแล้ว นี่อาจจะกลายเป็นข้อจำกัดที่ปิดกั้นโอกาสที่วรรณกรรมไทยจะก้าวเข้าสู่ระดับสากล
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะของนายแพทย์ที่เป็นตัวแทนของคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ แสดงให้เห็นถึงความคิดคับแคบของผู้มีอำนาจกลุ่มหนึ่ง ที่มักใช้อำนาจก้าวก่ายชีวิตผู้คน บนความไม่รู้ไม่เข้าใจไม่อยากรับผิดชอบต่อปัญหาเชิงโครงสร้างที่ละเอียดอ่อน และบนกรอบข้ออ้างเรื่องคุณธรรมความดีที่ยกตนเองเหนือคนอื่น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แทนที่จะเถียงกับอีกท่านหนึ่งที่วิจารณ์ผมต่อหน้ามากมายเมื่อวาน ผมขอใช้พลังงานเถียงกับข้อเสนอล่าสุดของอาจารย์ธีรยุทธ บุญมีจากข่าวในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1354935625&grpid=01&catid=&subcatid=) ดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นึกไม่ถึงและนึกไม่ออกจริงๆ ว่า ทำไมคนเปิดร้านขายหนังสือในปลายศตวรรษที่ 20 - ต้น 21 จะมีความคิดแบบนี้ได้ นี่แสดงว่าเขาไม่ได้อ่านหนังสือที่เขาขายบ้างเลย หรือนี่แสดงว่าการอ่านหนังสือไม่ได้ช่วยจรรโลงจิตใจนายทุนบางคนขึ้นมาได้เลย*
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่ออ่านข่าวแอร์โฮสเตสที่เพิ่งถูกให้ออก ผมมีคำถามหลายข้อ ทั้งในมิติของโซเชียลมีเดีย hate speech และสิทธิแรงงาน อย่างไรก็ดี ขอเคลียร์ก่อนว่าหากใครทราบจุดยืนทางการเมืองของผม ย่อมเข้าใจดีว่าความเห็นต่อไปนี้ไม่ได้มาจากความเห็นทางการเมืองที่เอนเอียงไปในทางเดียวกับพนักงานสายการบินคนนี้แต่อย่างใด ข้อสังเกตคือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขณะกำลังนั่งกินหอยแครงลวกอยู่เวลานี้ ก็ชวนให้คิดถึงคำพูดของนักวิชาการกัมพูชาคนหนึ่ง ที่เคยนั่งต่อหน้าอาหารเกาหลีจานพิเศษ คือหนอนทะเลดิบตัดเป็นชิ้นๆ ขยับตัวดึบๆ ดึบๆ อยู่ในจานแม้จะถูกตั้งทิ้งไว้เป็นชั่วโมง ตอนนั้น ผมบ่ายเบี่ยงไม่กล้ากินอยู่นาน แม้จะรู้ว่าเป็นอาหารพิเศษราคาแพงที่ศาสตราจารย์ชาวเกาหลีสรรหามาเลี้ยงต้อนรับการมาเกาหลีครั้งแรกของพวกเราหลายคน เพื่อนกัมพูชาบอกว่า "กินเถอะพี่ หอยแครงลวกในเมืองไทยน่ากลัวกว่านี้อีก" ผมจึงหาเหตุที่จะหลบเลี่ยงอีกต่อไปไม่ได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมนั่งดูบันทึกรายการ The Voice Thailand (เดอะวอยซ์) เป็นประจำ แม้ว่าจะเห็นคล้อยตามคำนิยมของโค้ชทั้ง 4 อยู่บ่อยๆ แถมยังแอบติดตามความเห็นเปรี้ยวๆ ของนักเขียนบางคนที่ชอบเรียกตนเองสวนทางกับวัยเธอว่า "ป้า" ซึ่งหมดเงินกดโหวตมากมายให้นักร้องหนุ่มน้อยแนวลูกทุ่ง แต่ผมไม่ได้รับความบันเทิงจากเดอะวอยซ์เพียงจากเสียงเพลง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมพยายามถามตัวเองว่า การจะสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนการชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยามที่นำโดย "เสธ.อ้าย" จะมาจากเหตุผลประการใดบ้าง แต่ผมก็ชักจะเริ่มไม่แน่ใจว่า เอาเข้าจริง คนที่เข้าร่วมชุมนุมกับเสธ.อ้ายจะมีเหตุผลหรือไม่ หรือหากมี พวกเขาจะใช้เหตุผลชุดไหนกันในการเข้าร่วมชุมนุม ยังไงก็ตาม อยากถามพวกคุณที่ไปชุมนุมว่า พวกคุณอยากให้ประเทศเป็นอย่างนี้จริงๆ หรือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (20 พฤศจิกายน 2555) นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เชิญไปบรรยายในงานสัมมนา "การเมืองเรื่องคนธรรมดา" ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ขอตัดส่วนหนึ่งของบทบรรยายของผมที่ใช้ชื่อว่า "การเมืองวัฒนธรรมดา: ความไม่ธรรมดาของสามัญชน" มาเผยแพร่ในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่อ 16 พฤศจิกายน 2555 นิสิตรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเชิญไปร่วมกิจกรรมจุฬาวิชาการ โดยให้ไปวิจารณ์บทความนิสิตปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ 4 ชิ้น 1) ว่าด้วยเบื้องหลังทางการเมืองของการก่อตั้งองค์การอาเซียน 2) ว่าด้วยบทบาทและการต่อรองระหว่างประเทศในอาเซียน 3) ว่าด้วยการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าของธุรกิจเอกชนไทยในคู่ค้าอาเซียน และ 4) ว่าด้วยนโยบายชนกลุ่มชาติพันธ์ุในพม่า ข้างล่างนี้คือบันทึกบทวิจารณ์