Skip to main content

ผมไม่แน่ใจว่านโยบายยุบโรงเรียนขนาดเล็กนี้จะดีหรือไม่ สงสัยว่า "คิดดีแล้วหรือที่จะยุบโรงเรียนขนาดเล็ก" ในทางเศรษฐศาสตร์แบบทื่อๆ คงมี "จุดคุ้มทุน" ของการจัดการศึกษาอยู่ระดับหนึ่ง ตามข่าว ดูเหมือนว่าควรจะอยู่ที่การมีนักเรียนโรงเรียนละ 60 คน แต่คงมีเหตุผลบางอย่างที่โรงเรียนตามพื้นที่ชนบทไม่สามารถมีนักเรียนมากขนาดนั้นได้

ผมเดาว่าการลดประชากรนักเรียนนั้นมีเหตุส่วนหนึ่งมาจากการลดน้อยลงของประชากร คือเด็กเกิดน้อยลง จากที่เคยมีลูก 7-8 คน ปัจจุบันในชนบทก็มีกันแค่ 2-3 คนเป็นอย่างมาก แต่จากประสบการณ์ตอนที่เก็บข้อมูลในพื้นที่ส่วนหนึ่งของจังหวัดชัยภูมิ ซึ่งไม่ได้ห่างไกลกรุงเทพฯ มากมายเลย ผมมีข้อสังเกตต่อนโยบายนี้สั้นๆ ว่า 

1) โรงเรียนในหมู่บ้านที่ผมศึกษามีปัญหามากในการรักษาจำนวนนักเรียนให้ได้เกินร้อย วิธีหนึ่งก็คือการดึงเด็กไปเข้าโรงเรียนเร็วขึ้น คือเด็กจะเรียนชั้นอนุบาลและประถมเร็วขึ้น ซึ่งนั่นก็อาจจะก่อปัญหาอีกลักษณะหนึ่ง คือเด็กยังไม่พร้อมเข้าสู่การเรียนรู้แบบกระทรวงศึกษาประเทศไทย

2) แต่เอาเข้าจริงๆ โรงเรียนไม่มีครูเพียงพอแก่การสอน วิธีแก้ปัญหาของครูใหญ่ (จะเรียกหรูๆ ว่าผู้อำนวยการโรงเรียนก็ได้) วิธีหนึ่งคือ ใช้โครงการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม เปิดทีวีนำสัญญาญภาพทางไกลมาให้นักเรียนดู เป็นครูตู้ไป ดังนั้นปัญหาการขาดแคลนครูมีไม่น้อยกว่าปัญหาการขาดแคลนเด็กนักเรียน 

3) เมื่อยุบโรงเรียน ปัญหาหนึ่งคือการเดินทาง อย่าคิดว่าเส้นทางสัญจรในชนบทจะดีเหมือนในกรุงเทพฯ ในกทม. ฝนตกหน่อยเราก็ร้องแทบเป็นแทบตายว่ารถติด เฉอะแฉะ เด็กเปียกปอน กลัวลูกหลานเป็นหวัด ฯลฯ 

แต่ในต่างจังหวัด ถนนไม่ได้ดีอย่างนี้ ถนนภายในหมู่บ้านและระหว่างหมู่บ้านส่วนใหญ่ยังเป็นลูกรัง แล้วพื้นที่ส่วนใหญ่น้ำท่วมทุกปี ถนนพังเสมอ ใครที่ว่าอบต. มักหากินกับการรับเหมาก่อสร้าง ก็ควรเข้าใจด้วยว่า ในชนบทน่ะ ถนนไม่ได้คอยถูกเนรมิตให้เรียบเนียน สะอาด แบบถนนหน้าบ้านพวกคุณในกทม.

เมื่อโรงเรียนถูกยุบรวมกัน นักเรียนต้องเดินทางไปต่างหมู่บ้านที่ไกลกันสัก 5-10 กิโลเมตร เส้นทางแค่นี้ดูไม่ไกลสำหรับคนมีรถขับในกทม. แต่ผู้ปกครองในต่างจังหวัดอย่างมากก็มีมอร์เตอร์ไซค์รับส่งลูก น้อยนักที่จะมีรถกะบะ หรืออย่างหรูปลอดภัยกว่ามอร์'ไซค์ก็รถอีแต๋น-อีแต๊กซึ่งก็ทุลักทุเล ไม่มีหรอกรถโรงเรียน หรือแม้แต่รถประจำทางก็แทบไม่มี การคงโรงเรียนขนาดเล็กในบางท้องถิ่นจึงช่วยในเรื่องความปลอดภัยและความสะดวกของผู้ปกครอง

4) ผมเห็นโรงเรียนที่ถูกปิดตัวลงแล้วก็น่าเห็นใจ เพราะขนาดค่อนข้างใหญ่ ก็ไม่รู้ว่าหลังจากปิดตัวลงแล้วที่ดินและทรัพยากรที่รกร้างเห่านั้นจะเป็นอย่างไรต่อไป

5) หากไม่มองปัญหาแบบเหมารวมรวบยอดและคิดว่าจะแก้ไขได้ด้วยการใช้นโยบายเดียวกันสาดไปทั่วประเทศ บางทีอาจจะต้องคิดถึงการแบ่งพื้นที่เป็นส่วนๆ ไปว่า พื้นที่ไหนควรจัดการการศึกษาอย่างไร เช่น พื้นที่ไหนพร้อมที่ท้องถิ่นจะจัดการโรงเรียนเองได้ ก็ปล่อยเขาไปโดยกระทรวงศึกษาเป็นผู้อำนวยความสะดวก ไม่ใช่กำกับควบคุม พื้นที่ไหนยุบรวมแล้วไม่ก่อปัญหากับนักเรียนและผู้ปกครอง ก็สามารถทำได้เลย พื้นที่ไหนจำเป็นต้องยอม "ขาดทุน" แต่ในเมื่อต้นทุนทางสังคมสูงกว่าหากจะยุบโรงเรียนขนาดเล็ก รัฐก็ต้องยอมขาดทุน ยอมจ่ายเพื่อเด็กๆ บ้างจะไม่ได้เชียวหรือ

คำพูดของรัฐมนตรีฯ สั้นๆ แต่มีความหมายและมีผลใหญ่หลวง หากแต่การศึกษาข้อเท็จจริงและทางเลือกของการแก้ปัญหาในระยะยาวแบบเข้าใจโครงสร้างการเปลี่ยนแปลงสังคม เข้าใจโครงสร้างปัญหาที่นอกเหนือจากความคุ้มทุนที่คำนวนเฉพาะจำนวนนักเรียนกับห้องเรียน เห็นปัญหาการขาดแคลนครู รวมทั้งเห็นทางเลือกอื่นๆ เช่นการสร้างโรงเรียนนิติบุคคลให้อบต.ดูแลแล้วผู้ปกครองในท้องถิ่นมีส่วนร่วม จะช่วยแก้ปัญหาได้ดีกว่าไหม

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เพ่ิงกินอาหารเย็นเสร็จ วันนี้ลงมือทำสเต็กเนื้อ เนื้อโคขุนไทยๆ นี่แหละ ต้องชิ้นหนาๆ หน่อย ย่างบนกะทะเหล็กหนาๆ ที่หอบหิ้วมาจากอเมริกา เป็นกะทะเทพมากๆ เพราะความร้อนแรงดีมาก ใช้เวลาไม่ถึงสิบนาที เกรียมได้ที่ทั้งสองด้าน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"การศึกษา" ต้องการพื้นที่ลักษณะใดลักษณะหนึ่ง เมื่อความรู้เปลี่ยนแปลงไป เมื่อการเรียนรู้ไม่ได้อยู่ในอำนาจของสถาบันการศึกษาเพียงเท่านั้น พื้นที่การเรียนรู้ก็ย่อมจะต้องเปลี่ยนไปด้วย แต่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของโลกการเรียนรู้ ยังมีคนบางกลุ่มดื้อรั้นขัดขวางการเปลี่ยนแปลง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 แน่นอนว่าโฆษณาโปรแกรมเรียนภาษาไทย (บางคนบอกเป็นแค่ตลกล้อเลียน?) ที่เป็นข่าว 2-3 วันที่ผ่านมานั้น ตั้งอยู่บนอคติทางเพศ ดูถูกเพศหญิงว่าเป็นวัตถุทางเพศ ดูถูกเพศชายว่าจ้องเสพสุขทางเพศท่าเดียว (หรือหลายท่า?) สร้างภาพเหมารวมให้คนไทยและสังคมไทยไร้ศีลธรรม (ดูสิ เราออกจะเมืองพุทธ เมืองพระ) แต่ที่ยังน่าจะต้องทำความเข้าใจคือ ปฏิกิริยาที่คนไทยมีต่อวิดีโอล้อเลียนนี้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อเขียนนี้พยายามทำความเข้าใจตรรกะของพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงแสดงไว้ในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ว่าพระองค์มีทัศนะต่อแนวคิด The King Can Do No Wrong อย่างไร และมาตรา 112 ควรแก้ไขเพราะเหตุใด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การตัดสินคดีของสมยศ พฤกษาเกษมสุขและอีกหลายๆ คดีก่อนหน้านี้ด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 (ม.112) ชี้ให้เห็นยิ่งขึ้นทุกวันว่า รัฐไทยกำลังสร้างความรักด้วยการใช้กำลังข่มเหงให้ประชาชนรักประมุขของประเทศ หาใช่การส่งเสริมให้เกิดความรักประมุขจากใจจริงของประชาชนไม่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
งานวิจัยทางสังคมศาสตร์ที่ดี โดยเฉพาะงานทางมานุษยวิทยา มักมีแรงขับจากอารมณ์ใคร่บางอย่าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หากเรียกร้องเรื่องทรงผม ก็ต้องเรียกร้องเรื่องชุดนักเรียนนักศึกษาด้วย จะได้เป็นก้าวแรกของการอภิวัฒน์การศึกษาไทยอย่างจริงจังเสียที พวกผู้ใหญ่ที่คอยเรียกร้องนักเรียนกับครูอาจารย์ ให้สอนให้เด็กรู้จักคิดน่ะ พวกท่านเคยคิดบ้างหรือเปล่าว่า ชุดนักเรียนนักศึกษาเป็นปราการปิดกั้นเสรีภาพการคิดอย่างไร และเด็กๆ เองก็ควรเข้าใจด้วยว่า การควบคุมเรือนร่างเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสังคมแบบอำนาจนิยมอย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข่าวการเสียชีวิตของอาจารย์พัฒนา กิติอาษาเมื่อเช้าตรู่วานนี้ (10 มกราคม 2556) คงไม่เป็นที่สนใจของใครต่อใครนอกแวดวงวิชาการสังคมศาสตร์มากนัก แต่นี่นับเป็นความสูญเสียครั้งสำคัญของแวดวงสังคมศาสตร์ไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หากพวกคุณวิจัยสำรวจอย่างตรงไปตรงมาจริงๆ พวกคุณก็ย่อมรู้อยู่แก่ใจดีว่า ชัยชนะจากคะแนนเสียงที่ "ไม่่่ท่วมท้นนัก" ในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา มาจากกลุ่มคนที่มีความหวังว่าเพื่อไทยจะเป็นเดินหน้าพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศไทยอย่างจริงจังเสียที
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สังคมไทยมีสังคมแบบหนึ่งที่แทรกซ้อนอยู่ในสังคมขนาดใหญ่ คือสังคมดัดจริต สังคมดัดจริตไม่ได้มีขนาดใหญ่โต แต่เป็นสังคมของคนชั้นกลางและคนใหญ่คนโตที่กำลังเสื่อมอำนาจ สังคมดัดจริตคอยผลิตวัฒนธรรมดัดจริตเพื่อทำให้ตนเองดูดีมีหลักการ เพื่อให้ตนเองอยู่เหนือคนส่วนใหญ่ที่ไม่มีจริตจะดัด และเหนืออื่นใดคือเพื่อปกป้องฐานะอำนาจของตนเอง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตื่นเช้าขึ้นมาวันนี้ คือวันที่ 1 มกราคม 2556 ผมลองคิดบวกดูบ้าง คือคิดแบบเข้าข้างตนเองทบทวนดูว่า หนึ่งปีที่ผ่านมาได้ทำอะไรใหม่ๆ ให้ตนเองบ้าง คำถามแรกที่ผุดขึ้นมาในสมองผมคือ ได้อ่านหนังสืออะไรที่นับว่าตัวเองได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ บ้าง แล้วก็คิดไปเรื่อยว่า ได้ทำอะไรที่ให้การเรียนรู้ใหม่ๆ ประสบการณ์ใหม่ คิดอะไรใหม่ๆ บ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ยามปีใหม่ ยากที่จะหาของขวัญที่ไม่กลายเป็นขยะในชั่วข้ามคืนได้ เพื่อนชาวอเมริกันที่ผมรู้จักหลายคน ซึ่งดูท่าจะทั้งเป็นนักช้อปและเป็นคนช่างมีเหตุผล ก็เลยใช้วิธีให้เด็กๆ เขียนลิสต์รายการสิ่งของที่อยากได้ยามสิ้นปี เพื่อเป็นหลักประกันว่าของที่ซื้อมาให้จะถูกใจผู้รับสักชิ้นหนึ่ง