Skip to main content

อาจารย์ชาญวิทย์เกิดวันที่ 6 พฤษภาคม วันที่ 22 มิถุนายนนี้ ลูกศิษย์ลูกหาจัดงานครบรอบ 72 ปีให้อาจารย์ที่คณะศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

ผมรู้จักอาจารย์ชาญวิทย์มาตั้งแต่สมัยที่ท่านเป็นรองอธิการบดีฝ่่ายการนักศึกษา ผมทำกิจกรรมนักศึกษา จึงมีโอกาสโต้เถียงท้าทายท่านบ้าง ตามประสาคู่กัด "รองฯ ฝ่ายการฯ กับเด็กกิจกรรม" สมัยนั้น

แต่ผมน่ะเป็นเพียงระดับรองบ่อน พวกพี่ๆ ที่ปะทะคารมกับอาจารย์ซึ่งๆ หน้า สมันนั้นน่ะเหรอ เอ่ยชื่อมาก็ล้วนแต่เป็นคนที่ทำกิจกรรมสังคมร่วมกันกับอาจารย์ชาญวิทย์ในขณะนี้แทบจะทั้งสิ้น

ผมไม่ได้เคยทำงานใกล้ชิดอาจารย์เลย ส่วนใหญ่ก็เห็นท่านเพียงห่างๆ แต่ก็ได้ร่วมสนทนากับท่านบ้างก็เมื่อผมศึกษาปริญญาเอกจบแล้ว ท่านมักให้โอกาสไปบรรยายในงานวิชาการที่ท่านจัดขึ้นบ่อยๆ

เวที "วิชาการสไตล์อาจารย์ชาญวิทย์" นั้นเป็นเวทีพิเศษ แตกต่างจากเวทีวิชาการที่ผมคุ้นเคยตรงที่มีผู้คนสนใจกว้างขวาง ผู้เข้ารับฟังส่วนใหญ่เรียนรู้ประเด็นและเนื้อหาใหม่ๆ ที่ต้องนำเสนอแบบ "เคี้ยวได้ ย่อยง่าย ไม่ต้องปีนบันไดเรียน" ผมไม่มีทางนำเสนองานแบบท่านได้ แต่ก็ได้เรียนรู้และพยายามปรับวิธีการสื่อสารกับสังคม จากการได้เข้าร่วมเวทีวิชาการของอาจารย์ชาญวิทย์

แต่ที่ประทับใจมากคือครั้งหนึ่งและทำให้ผมรู้สึกสนิทใจที่จะพูดคุยสนทนากับอาจารย์เสมอมาคือ เมื่อหลายปีก่อนที่อาจารย์ไปประชุมที่ฮานอย ระหว่างนั้นผมยังค้นคว้าและเก็บข้อมูลภาคสนามอยู่ที่นั่น ช่วงนั้นมีเพื่อนๆ นักวิชาการไทยวิจัยที่เวียดนามอยู่พร้อมๆ กันหลายคน พวกเรา 4-5 คนชวนอาจารย์ไปนั่งกินดื่มเบียร์สดสไตล์ฮานอยกันที่ร้านข้างถนนแห่งหนึ่ง 

ผมทึ่งว่าอาจารย์สุขภาพดีมาก คอแข็งมาก คุยสนุกมาก อาจารย์เปรยว่า "พวกที่เมืองไทยมันไม่กล้ามาคุยกับผมแบบนี้หรอก มันกลัว เลยไม่สนุก" เราพูดคุยกันจนดึกดื่น แล้วพวกเราก็เดินจากร้านมาส่งอาจารย์ถึงที่พัก ฮานอยเดือนนั้นอากาศดี เดิน 4-5 กิโลฯ ก็ยังไม่เหนอะหนะ

จนเมื่อเร็วๆ นี้ ผมแทบไม่เชื่อว่าอาจารย์จะก้าวออกมาอยู่แนวหน้าของการเคลื่อนไหวเพื่อปกป้องหลักการประชาธิปไตย ความยุติธรรม และสิทธิมนุษยชนอย่างแข็งขัน 

อาจารย์ชาญวิทย์ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ เพียงในฐานะ "นักวิชาการบัญชีหางว่าว" อาจารย์ไม่เพียงเคลื่อนไหวแต่ในนาม หากแต่ท่านยังแสดงตัว พูด เขียน ออกสื่อ เผยแพร่ความคิดให้ประชาชน เพื่อนนักวิชาการ และสหายใน "สังคมชนชั้นนำ" ให้เข้าใจชีวิต ความหวัง และความเดือดร้อนของประชาชนสามัญ

ข้อเขียนนี้สั้นเกินไปที่จะบอกกล่าวความนับถือที่ผมมีต่ออาจารย์ชาญวิทย์ น้อยไปที่จะบอกเล่าความภูมิใจที่ได้ร่วมงานแม้เพียงส่วนเสี้ยวหนึ่งของกิจกรรมต่างๆ ที่อาจารย์สร้างสรรค์ขึ้น 

แต่ผมก็อยากใช้พื้นที่เล็กน้อยนี้กล่าวว่า อาจารย์ชาญวิทย์เป็นแบบอย่างของนักวิชาการที่ไม่หวาดหวั่นต่อความสุ่มเสี่ยงในการนำชื่อเสียงของตนเองมาปกป้องเพื่อนมนุษย์ ไม่กอดกุมเสวยสุขจากบารมีทางวิชาการของตนเองจนหันหลังให้ประชาชนในที่สุด

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเลี่ยงที่จะอ่านข่าวเกี่ยวกับมติครม.งดเหล้าเข้าพรรษาเพราะไม่อยากหงุดหงิดเสียอารมณ์ ไม่อยากมีความเห็น และไม่อยากต้องโดนด่าหลังแสดงความเห็น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อต้องกลับมาชวนคนอ่านงานของบรมครูทาง "วัฒนธรรมศึกษา" คนหนึ่ง ที่ผมไม่ได้เชี่ยวชาญอะไรนัก 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไปแม่ฮ่องสอนสามวัน ค้างสองคืน เพื่อร่วมงาน "ไทใหญ่ศึกษา" ทั้งๆ ที่ไม่เคยไปมาก่อน ไม่รู้จักวัฒนธรรมไทใหญ่มาก่อน พอจะรู้จากการอ่านงานเรื่อง "ฉาน" เรื่องรัฐไทใหญ่ เรื่องประวัติศาสตร์บ้างนิดหน่อย จึงมิอาจให้ความเห็นใดๆ กับอาหารไทใหญ่ได้ ทำได้แค่เพียงบอกเล่า "ความประทับใจแรกเริ่ม" ในแบบที่นักชาติพันธ์ุนิพนธ์ทั่วไปมักทำกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไม่รู้เป็นอะไรกันนักหนากับเครื่องแต่งกายนักศึกษา จะต้องมีการประจาน จะต้องมีการให้คุณค่าบวก-ลบ จะต้องถือเป็นเรื่องจริงจังกันจนบางคณะถึงกับต้องนำเรื่องนี้เข้ามาเป็นวาระ "เพื่อพิจารณา" ในที่ประชุมคณาจารย์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ชาญวิทย์เกิดวันที่ 6 พฤษภาคม วันที่ 22 มิถุนายนนี้ ลูกศิษย์ลูกหาจัดงานครบรอบ 72 ปีให้อาจารย์ที่คณะศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวานนี้ (12 มิถุนายน 2556) อาจารย์ที่คณะท่านหนึ่งเชิญไปบรรยายในวิชา "มนุษย์กับสังคม" หัวข้อ "สังคมศาสตร์กับความเข้าใจผู้คนและสังคม" ให้นักศึกษาปริญญาตรีชั้นปี 1 ในห้องเรียนมีนักศึกษาราว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อเขียนนี้ถูกเผยแพร่ในอีกพื้นที่หนึ่งไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เนื่องจากเห็นว่าเข้ากับโอกาสของการเปิดภาคการศึกษาของมหาวิทยาลัย จึงขอนำมาเสนออีกครั้งในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทั้งๆ ที่ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธ์ุอยู่หลากหลายกลุ่ม พวกเขาอาศัยอยู่ในพื้นที่ยุทธศาสตร์ที่สำคัญ และร่วมสร้างสังคม สร้างประวัติศาสตร์โบราณและสมัยใหม่อย่างขาดไม่ได้ แต่ประเทศไทยก็ไม่เคยมีนโยบายกลุ่มชาติพันธ์ุมาก่อน (ยาวนะครับ ถ้ายังอยู่ในโลก 8 บรรทัดโปรดอย่าอ่าน)
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 มีคนบ่นว่า "ผ่านมาสามปีแล้ว ทำไมคนเสื้อแดงยังไปรวมตัวกันที่ราชประสงค์กันอีก นี่พวกเขาจะต้องระลึกถึงเหตุการณ์นี้กันไปจนถึงเมื่อไหร่" แล้วลงท้ายว่า "รถติดจะตายอยู่แล้ว ห้างต้องปิดกันหมด ขาดรายได้ นักท่องเที่ยวเดือดร้อน" นั่นสิ น่าคิดว่าทำไมการบาดเจ็บและความตายที่ราชประสงค์เมื่อพฤษภาคม 2553 มีความหมายมากกว่าโศกนาฏกรรมทางการเมืองครั้งที่ผ่านมาก่อนหน้านี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรียน ศาสตราจารย์ ดร. อมรา พงศาพิชญ์ ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นนักคิดไทยสองคนออกมาเทศนาแล้วอดสงสัยไม่ได้ว่า "ทำไมนักคิดไทย พอแก่ตัวลงต้องไปจนแต้มที่วิธีคิดแบบพุทธๆ"