Skip to main content

เมื่อต้องกลับมาชวนคนอ่านงานของบรมครูทาง "วัฒนธรรมศึกษา" คนหนึ่ง ที่ผมไม่ได้เชี่ยวชาญอะไรนัก 

ผู้ประกาศว่า "จงศึกษาผู้คนสามัญ" ศึกษา "มวลชนนิรนาม" ผู้เป็น "คนส่วนใหญ่ที่ดูต่ำต้อยเสมอชนกลุ่มน้อย" และคือผู้ประกาศว่า "การอ่านคือการฉกฉวย" ก็ชวนให้นึกถึงคำชวนเชิญของมิตรออนไลน์ผู้หนึ่ง ที่ให้เขียนเรื่องการอ่าน

ทุกวันนี้ดูเหมือนโลกออนไลน์ชวนให้เราอ่านกันมากขึ้น โดยเฉพาะในเฟซบุ๊ก เราอยากอ่านเรื่องราวของคนอื่น อยากอ่านเรื่องส่วนตัวที่คนแชร์ อยากอ่านเรื่องแปลกใหม่ที่ไม่เคยรับรู้ อยากอ่านเรื่องน่ารู้เจือประสบการณ์เฉพาะตน ทั้งนี้ทั้งนั้น เร่่ืองน่าอ่านต้องสั้น ต้องไม่ซับซ้อนนัก ต้องไม่เฉพาะเจาะจงลึกลับจนเกินไป 

ในโลกออนไลน์ เหมือนคนอ่านสร้างงานเขียน ด้วยการกดไลท์หรือการเงียบงัน ด้วยการแซว จนถึงถากถาง ของชนเสมือนนิรนามต่อนักเขียนนามระบือ กระทั่งนักเขียนบางคนถึงกับทนคำเสียดสี ถากถางเหล่านั้นไม่ไหว จนนักอ่านช่างถากถางบางคนต้องไปสร้างพื้นที่ลี้ภัยการ "บล๊อก" ปิดกั้นการเข้าถากถางของนักเขียนนิรนามบางคน

ในยามที่ต้องกลับมา "อ่านซ้ำ (ๆๆๆ)" งานเขียนของบรมครูทางมานุษยวิทยาอีกคนหนึ่ง ตามคำเชื้อเชิญของ "เจ้าห้องอ่าน" (The Reading Room) ผมไม่ได้คิดถึง "อสัญกรรมของประพันธกร" หรือ "ประพันธกรคืออะไร?" ของนักวิเคราะห์วัฒนธรรมการเขียน-การอ่านอีกสองผู้ แต่ผมกลับคิดถึง "การอ่านคือการฉกฉวย" ของผู้ที่เพิ่งจั่วหัวข้อเขียนนี้ไป นั่นเพราะไม่ได้อยู้ในอารมณ์ที่จะถอดรื้อการเขียน มากเท่ากับอยากเฉลิมฉลองการอ่าน

ท่านว่า การอ่านคือการผลิตในกระบวนการของการบริโภค ความหมายของตัวบทที่มีผู้ผลิตขึ้นมา ไม่ได้สำคัญมากไปกว่าความหมายที่การอ่านประกอบสร้างขึ้นมา การอ่านคือการฉกฉวยเนื้อหา ฉกฉวยความหมาย ที่ผู้เขียนอาจไม่ได้ตั้งใจนำเสนอ 

แต่อย่าสับสนกับการขโมยผลงานคนอื่นนะครับ นี่ไม่ได้ต้องการยุให้เที่ยวขโมยงานใครต่อใครไปใช้นะครับ การฉกฉวยที่ว่านี้คือการฉกฉวยด้วยการผลิตความหมาย ต่างจากการขโมยผลงานคนอื่นไปเป็นของตน

ครูทางการอ่านของผมอีกท่านหนึ่งกล่าวว่า เราอ่านสิ่งที่เราอยากอ่าน เราอ่านเอาเรื่องที่เราอยากรู้ ไม่ได้จำเป็นต้องอ่านสิ่งที่ผู้เขียนอยากบอกเล่าเท่านั้น ท่านว่า จงอ่านเพื่อหาว่าหนังสือเล่มนั้นๆ ข้อเขียนนั้นๆ บอกอะไรในตัวเรา จงอ่านเพื่อหาสิ่งที่หนังสือพูดกับเรา และหากพบว่ามีความหมายบางอย่างที่หนังสือพูดกับเราเพียงคนเดียว ไม่ได้พูดกับผู้อ่านคนอื่น นั่นแหละที่เราได้เจออะไรใหม่ๆ เข้าให้แล้ว 

หรือหากจะกลับมาพูดแบบครูที่ว่าการอ่านคือการฉกฉวย เมื่อนั้นเองที่การอ่านคือการผลิต เมื่อนั้นเองที่ผู้อ่านไม่ได้เป็นเพียงผู้บริโภคความหมาย

นั่นคือ "เศรษฐกิจด้านการบริโภค" ของการอ่าน ยิ่งบริโภคยิ่งผลิต ยิ่งใช้ยิ่งงอกเงย ยิ่งกัดกินยิ่งนำไปสู่การสร้างสรรค์ ไม่ใช่ยิ่งบริโภคยิ่งล้างผลาญ ยิ่งฟุ่มเฟือย ยิ่งทำลายล้าง อย่างที่นักเทศน์ที่เข้าใจการบริโภคเพียงในแง่ร้ายเข้าใจ

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้เป็นวันระลึก "เหตุการณ์ 28 กุมภาพันธ์" 1947 หรือเรียกกันว่า "228 Incident" เหตุสังหารหมู่ประชาชนทั่วประเทศไต้หวัน โดยรัฐบาลที่เจียงไคเชกบังคับบัญชาในฐานะผู้นำก๊กมินตั๋งในจีนแผ่นดินใหญ่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
มีเพื่อนขอให้ผมช่วยแนะนำร้านอาหารในฮานอยให้ แต่เห็นว่าเขาจะไปช่วงสั้นๆ ก็เลยแนะนำไปไม่กี่แห่ง ส่วนร้านเฝอ ขอแยกแนะนำต่างหาก เพราะร้านอร่อยๆ มีมากมาย เอาเฉพาะที่ผมคุ้นๆ แค่ 2-3 วันน่ะก็เสียเวลาตระเวนกินจนไม่ต้องไปกินอย่างอื่นแล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
มีวันหนึ่ง อาจารย์อคินเดินคุยอยู่กับอาจารย์ที่ผมเคารพรักท่านหนึ่ง ผมเดินตามทั้งสองท่านมาข้างหลังอย่างที่ทั้งสองท่านรู้ตัวดี ตอนนั้นผมกำลังเรียนปริญญาเอกที่อเมริกา หรือไม่ก็เรียนจบกลับมาแล้วนี่แหละ อาจารย์อคินไม่รู้จักผม หรือรู้จักแต่ชื่อแต่ไม่เคยเห็นหน้า หรือไม่ก็จำหน้าไม่ได้ ผมแอบได้ยินอาจารย์อคินเปรยกับอาจารย์อีกท่านว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คืนวาน วันฮาโลวีน นักศึกษาชวนผมไปพูดเรื่องผี ปกติผมไม่อยู่รังสิตจนมืดค่ำ แต่ก็มักใจอ่อนหากนักศึกษาชวนให้ร่วมเสวนา พวกเขาจัดงานกึ่งรื่นเริงกึ่งเรียนรู้ (น่าจะเรียกว่าเริงรู้ หรือรื่นเรียนก็คงได้) ในคืนวันผีฝรั่ง ในที่ซึ่งเหมาะแก่การจัดคือพิพิธภัณฑ์มานุษยวิทยา เพราะมีของเก่าเยอะ ก็ต้องมีผีแน่นอน ผมก็เลยคิดว่าน่าสนุกเหมือนกัน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่ถึงกับต่อต้านกิจกรรมเชียร์อย่างรุนแรง เพราะคนสำคัญใกล้ตัวผมก็เป็นอดีตเชียร์ลีดเดอร์งานบอลประเพณีฯ ด้วยคนหนึ่ง และเพราะอย่างนั้น ผมจึงพบด้วยตนเองจากคนใกล้ตัวว่า คนคนหนึ่งกับช่วงชีวิตช่วงหนึ่งของมหาวิทยาลัยมันเป็นเพียงแค่ส่วนเสี้ยวหนึ่งของพัฒนาการของแต่ละคน แต่ก็ยังอยากบ่นเรื่องการเชียร์อยู่ดี เพราะความเข้มข้นของกิจกรรมในปัจจุบันแตกต่างอย่างยิ่งจากในสมัยของผม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเพิ่งไปเก็บข้อมูลวิจัยเรื่องการรู้หนังสือแบบดั้งเดิมของ "ลาวโซ่ง" ในไทยที่อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ได้ราว 2 วัน ได้ข้อมูลมากมายเกี่ยวกับประเด็นที่สนใจ แต่ก็ได้อย่างอื่นมาด้วยไม่น้อยเช่นกัน เรื่องหนึ่งคือความรู้เกี่ยวกับปลา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันก่อนปฐมนิเทศนักศึกษาปริญญาโท-เอกของคณะ ในฐานะคนดูแลหลักสูตรบัณฑิตศึกษาทางมานุษยวิทยา ผมเตรียมหัวข้อมาพูดให้นักศึกษาฟัง 4 หัวข้อใหญ่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ชื่อโมเฮน-โจ-ดาโรแปลตามภาษาซินธ์ (Sindh) ว่า "เนิน (ดาโร) แห่ง (โจ) ความตาย (โมเฮน)" เหตุใดจึงมีชื่อนี้ ผมก็ยังไม่ได้สอบถามค้นคว้าจริงจัง แต่ชื่อนี้ติดหูผมมาตั้งแต่เรียนปริญญาเอกอยู่ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน และเพราะโมเฮนโจดาโรและเมืองคู่แฝดที่ห่างไกลออกไปถึง 600 กิโลเมตรชื่อ "ฮารัปปา" นี่แหละที่ทำให้ผมชอบวิชาโบราณคดีและทำให้อยากมาปากีสถาน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ก่อนมา รู้อยู่แล้วว่าปากีสถานช่วงเดือนนี้คือเดือนที่ร้อนมาก และก็เพิ่งรู้ว่าเดือนนี้แหละที่ร้อนที่สุด แต่ที่ทำให้ “ใจชื้น” (แปลกนะ เรามีคำนี้ที่แปลว่าสบายใจ โดยเปรียบกับอากาศ แต่ที่ปากีสถาาน เขาคงไม่มีคำแบบนี้) คือ ความร้อนที่นี่เป็นร้อนแห้ง ไม่ชื้น และจึงน่าจะทนได้มากกว่า 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ครึ่งวันที่ผมมีประสบการณ์ตรงในกระบวนการยุติธรรมไทย บอกอะไรเกี่ยวกับสังคมไทยมากมาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมลองเอากรณีทุบรถกับทุบลิฟมาเปรียบเทียบกัน แล้วก็เห็นความแตกต่างกันมากหลายมุม ได้เห็นความเหลื่อมล้ำของสังคมที่สนใจกรณีทั้งสองอย่างไม่สมดุลกัน แต่สุดท้ายมันบอกอะไรเรื่องเดียวกัน คือความบกพร่องของสถาบันจัดการความขัดแย้งของประเทศไทย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คนรุ่นใหม่ครับ...