Skip to main content

เมื่อต้องกลับมาชวนคนอ่านงานของบรมครูทาง "วัฒนธรรมศึกษา" คนหนึ่ง ที่ผมไม่ได้เชี่ยวชาญอะไรนัก 

ผู้ประกาศว่า "จงศึกษาผู้คนสามัญ" ศึกษา "มวลชนนิรนาม" ผู้เป็น "คนส่วนใหญ่ที่ดูต่ำต้อยเสมอชนกลุ่มน้อย" และคือผู้ประกาศว่า "การอ่านคือการฉกฉวย" ก็ชวนให้นึกถึงคำชวนเชิญของมิตรออนไลน์ผู้หนึ่ง ที่ให้เขียนเรื่องการอ่าน

ทุกวันนี้ดูเหมือนโลกออนไลน์ชวนให้เราอ่านกันมากขึ้น โดยเฉพาะในเฟซบุ๊ก เราอยากอ่านเรื่องราวของคนอื่น อยากอ่านเรื่องส่วนตัวที่คนแชร์ อยากอ่านเรื่องแปลกใหม่ที่ไม่เคยรับรู้ อยากอ่านเรื่องน่ารู้เจือประสบการณ์เฉพาะตน ทั้งนี้ทั้งนั้น เร่่ืองน่าอ่านต้องสั้น ต้องไม่ซับซ้อนนัก ต้องไม่เฉพาะเจาะจงลึกลับจนเกินไป 

ในโลกออนไลน์ เหมือนคนอ่านสร้างงานเขียน ด้วยการกดไลท์หรือการเงียบงัน ด้วยการแซว จนถึงถากถาง ของชนเสมือนนิรนามต่อนักเขียนนามระบือ กระทั่งนักเขียนบางคนถึงกับทนคำเสียดสี ถากถางเหล่านั้นไม่ไหว จนนักอ่านช่างถากถางบางคนต้องไปสร้างพื้นที่ลี้ภัยการ "บล๊อก" ปิดกั้นการเข้าถากถางของนักเขียนนิรนามบางคน

ในยามที่ต้องกลับมา "อ่านซ้ำ (ๆๆๆ)" งานเขียนของบรมครูทางมานุษยวิทยาอีกคนหนึ่ง ตามคำเชื้อเชิญของ "เจ้าห้องอ่าน" (The Reading Room) ผมไม่ได้คิดถึง "อสัญกรรมของประพันธกร" หรือ "ประพันธกรคืออะไร?" ของนักวิเคราะห์วัฒนธรรมการเขียน-การอ่านอีกสองผู้ แต่ผมกลับคิดถึง "การอ่านคือการฉกฉวย" ของผู้ที่เพิ่งจั่วหัวข้อเขียนนี้ไป นั่นเพราะไม่ได้อยู้ในอารมณ์ที่จะถอดรื้อการเขียน มากเท่ากับอยากเฉลิมฉลองการอ่าน

ท่านว่า การอ่านคือการผลิตในกระบวนการของการบริโภค ความหมายของตัวบทที่มีผู้ผลิตขึ้นมา ไม่ได้สำคัญมากไปกว่าความหมายที่การอ่านประกอบสร้างขึ้นมา การอ่านคือการฉกฉวยเนื้อหา ฉกฉวยความหมาย ที่ผู้เขียนอาจไม่ได้ตั้งใจนำเสนอ 

แต่อย่าสับสนกับการขโมยผลงานคนอื่นนะครับ นี่ไม่ได้ต้องการยุให้เที่ยวขโมยงานใครต่อใครไปใช้นะครับ การฉกฉวยที่ว่านี้คือการฉกฉวยด้วยการผลิตความหมาย ต่างจากการขโมยผลงานคนอื่นไปเป็นของตน

ครูทางการอ่านของผมอีกท่านหนึ่งกล่าวว่า เราอ่านสิ่งที่เราอยากอ่าน เราอ่านเอาเรื่องที่เราอยากรู้ ไม่ได้จำเป็นต้องอ่านสิ่งที่ผู้เขียนอยากบอกเล่าเท่านั้น ท่านว่า จงอ่านเพื่อหาว่าหนังสือเล่มนั้นๆ ข้อเขียนนั้นๆ บอกอะไรในตัวเรา จงอ่านเพื่อหาสิ่งที่หนังสือพูดกับเรา และหากพบว่ามีความหมายบางอย่างที่หนังสือพูดกับเราเพียงคนเดียว ไม่ได้พูดกับผู้อ่านคนอื่น นั่นแหละที่เราได้เจออะไรใหม่ๆ เข้าให้แล้ว 

หรือหากจะกลับมาพูดแบบครูที่ว่าการอ่านคือการฉกฉวย เมื่อนั้นเองที่การอ่านคือการผลิต เมื่อนั้นเองที่ผู้อ่านไม่ได้เป็นเพียงผู้บริโภคความหมาย

นั่นคือ "เศรษฐกิจด้านการบริโภค" ของการอ่าน ยิ่งบริโภคยิ่งผลิต ยิ่งใช้ยิ่งงอกเงย ยิ่งกัดกินยิ่งนำไปสู่การสร้างสรรค์ ไม่ใช่ยิ่งบริโภคยิ่งล้างผลาญ ยิ่งฟุ่มเฟือย ยิ่งทำลายล้าง อย่างที่นักเทศน์ที่เข้าใจการบริโภคเพียงในแง่ร้ายเข้าใจ

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (4 ตุลาคม 2560) นิสิตมหาวิทยาลัยหนึ่งโทรศัพท์มาสัมภาษณ์เรื่องการพิมพ์คำ "คะ" "ค่ะ" ผิดๆ ในโซเชียลมีเดียและการส่งข้อความต่างๆ บอกว่าจะเอาไปลงวารสารของคณะเธอ เธอถามว่าการใช้คำผิดแบบนี้มีนัยทางสังคมอย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อคืนวาน (30 กันยายน 2560) นักศึกษาปริญญาโทชั้นเรียนมานุษยวิยาคนหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้เขียนบทละครเรื่อง "The Dark Fairy Tales นิทานเรื่องนี้ไม่เคยเล่า" ชวนไปดูและร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นหลังละครจบ ช่วยให้คิดอะไรเกี่ยวกับการอ่านนิทานได้อีกมากทีเดียวจึงอยากบันทึกไว้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การสนทนาอย่างออกรสไม่ได้จะต้องอยู่ในบรรยากาศเคร่งขรึมในห้องเรียน ห้องสัมมนาเสมอไป ด้วยเหตุนี้ผมจึงเชื่อว่า การใช้เวลานอกห้องเรียน นอกห้องสัมมนาวิชาการ สำคัญไม่น้อยไปกว่าการใช้เวลาในห้องสี่เหลี่ยมที่มีระเบียบต่างๆ ควบคุมการสนทนาอย่างเคร่งครัดเกินไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จากเหตุการณ์เข้ามาคุกคามพื้นที่ทางวิชาการของคณะทหารในการประชุมไทยศึกษานานาชาติครั้งที่ 13 ที่เชียงใหม่ จนทำให้นักวิชาการที่มาร่วมประชุมกลุ่มหนึ่งแสดงออกด้วยการชูป้าย "เวทีวิชาการไม่ใช่ค่ายทหาร" แล้วท้ายสุดมีนักวิชาการ 5 คนถูกตั้งข้อหาว่าเป็นคนนอกเข้ามายุยงให้ต่อต้านรัฐบาล
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันแม่นำความกระอักกระอ่วนใจมาให้ผมตั้งแต่ยังเด็ก เพราะแม่ในเพลง "ค่าน้ำนม" ที่เด็กในกรุงเทพฯ รุ่นผมถูกให้หัดร้องตามจนแทบจะจำเนื้อได้ทั้งเพลงมาตั้งแต่จำความได้ ไม่ตรงกับแม่ในชีวิตจริงของผม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะอาจารย์มหาวิทยาลัยคนหนึ่ง ผมไม่อาจยอมรับการกระทำของอาจารย์ต่อนิสิตด้วยความรุนแรงดังที่เกิดขึ้นที่มหาวิทยาลัยอันทรงเกียรติแห่งหนึ่งได้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้เกิดความผิดพลาดบางอย่างทำให้บทแนะนำอาจารย์แคทเธอรีน บาววี องค์ปาฐกคนหนึ่งของงานประชุมไทยศึกษาปีนี้ที่จังหวัดเชียงใหม่ ไม่ได้ถูกนำเสนอในงานประชุม ในเมื่อผมเตรียมไปพูดแล้วแต่ไม่ได้พูด ก็ขอนำบันทึกที่ร่างไว้นี้มาเผยแพร่ในที่นี้แทนก็แล้วกัน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"ฟ้าข้างในนี้กว้างกว่าข้างนอก ฟ้าในนี้กว้างจนแทบจะเห็นขอบฟ้า"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงนี้คงเป็นช่วงเขียนรายงาน เขียนวิทยานิพนธ์ของหลายๆ คน ผมเองช่วงนี้เป็นช่วงต้องอ่านงานนักศึกษามากมาย ที่สาหัสที่สุดคืองานวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาโทและเอก 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมอ่านงานจิตรครั้งแรกๆ ก็ตอนที่เรียนมหาวิทยาลัยระดับปริญญาตรี ตอนนั้นเมื่อออกจากโลกโรงเรียนก็รู้สึกว่า โลกหนังสือของห้องสมุดธรรมศาสตร์ช่างกว้างใหญ่มาก กว้างใหญ่กว่าห้องสมุดแห่งชาติที่สมัยเรียนมัธยมผมชอบไปสิงอยู่มากนัก นี่กล่าวเฉพาะหนังสือที่น่าอ่านเกี่ยวกับสังคม วัฒนธรรม ปรัชญา และศาสนา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (3 พค. 60) ผมไปวิจารณ์งานนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยซึ่งคณะราษฎรมีส่วนก่อตั้งเช่นกัน แต่สำคัญผิดกันไปว่าผู้อื่นมีบุญคุณมากกว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บางทีนามสกุลกับบทบาทความเป็นครูของครูฉลบชลัยย์ พลางกูร คงไม่ทำให้คนสนใจครูฉลบเกินบทบาทไปกว่าการเป็นภรรยาของนายจำกัด พลางกูร และเป็นผู้ให้กำเนิดโรงเรียนดรุโณทยาน