Skip to main content

จะว่าไป กสทช. คนที่แสดงความเห็นต่อเนื้อหาละครฮอร์โมนนั้น ดูน่าจะเป็นคนที่สามารถวิเคราะห์ เข้าใจสังคมได้มากที่สุดในบรรดา กสทช. ทั้ง 11 คน เพราะเขามีดีกรีถึงปริญญาเอกทางสังคมวิทยาจากมหาวิทยาลัยโด่งดังในเยอรมนี ต่างจากคนอื่นๆ ที่ถ้าไม่ใช่เพราะเป็นทหารหรือใครที่สมยอมกับการรัฐประหารปี 2549 แล้ว ก็เป็นช่างเทคนิคทางด้านการสื่อสาร

นอกจากนั้น เขาผู้นี้ยังมีประวัติในการแสดงความเห็นทางการเมืองในเชิงวิพากษ์ต่อการสลายการชุมนุมทางการเมืองของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ในปี 2553 ถึงขนาดที่ว่า นักวิชาการหัวก้าวหน้ายังต้องทึ่งในการมีท่าทีแบบทหารประชาธิปไตยของเขามาแล้ว

แต่แล้วเขากลับเลือกที่จะเล่นการเมืองวัฒนธรรมแบบ "คุณพ่อรู้ดี" ทั้งที่เขาไม่ได้รู้ดีไปกว่าใครๆ เลย ดีกรีปริญญาเอกทางสังคมวิทยาจากเมืองนอกแบบเขาน่ะมีเกลื่อนไป ไม่ใช่ว่าเขาคนนี้จะรู้จักวิเคราะห์สังคมได้ดีไปกว่าคนทั่วไปเสียเมื่อไหร่ แต่เขาเลือกที่จะใช้มาตรวัดทางศีลธรรมแคบๆ ไปกำหนดความเป็นไปของสังคมข่าวสารที่ผู้คนเขาสามารถตัดสินได้เอง 

เช่นที่เขาว่า "เป็นเรื่องของการบริหารควบคุมความเหมาะสมในสังคม" ก็ใช่ว่าเขาคนนี้จะรู้ดีกว่าคนอื่นว่าอะไรเหมาะสมกับสังคมนี้ที่ตรงไหน หรือที่ว่า "ชวนให้ผู้รับชมคิดและจินตนาการในทางที่ไม่ดีได้ เช่น ฉากการมีเพศสัมพันธ์ทั้งที่ยังสวมชุดนักเรียนอยู่" ก็ใช่ว่าเขาจะแสดงความเข้าใจสถานะของเครื่องแบบนักเรียนในสังคมปัจจุบันเสียเมื่อไหร่ รู้หรือไม่ว่าเดี๋ยวนี้เครื่องแบบนักเรียนนักศึกษาน่ะกลายเป็นสื่อยั่วยุกามารมณ์ไปแล้ว 

แล้ว "การทำแท้ง หรือการไปหาซื้อยาคุมมาใช้เอง" ก็ใช่ว่าจะเป็นเรื่องผิดเสียหายไปเสียทุกกรณี สังคมเขาถกเถียงกันไปถึงไหนต่อไหนแล้วว่า การทำแท้งต้องพิจารณาด้วยกรอบที่กว้างกว่าแค่ความผิดบาปไปเสียทุกกรณี แต่ถึงเขาคนนี้จะระบุว่า เขาต่อต้านการคุมกำเนิด และไม่เคยใช้การคุมกำเนิด ก็เป็นเรื่องของคุณ ไม่ใช่เรื่องที่คุณจะมาใช้มาตรฐานทางศีลธรรมส่วนตนเที่ยวไปตัดสินคนอื่นอย่างง่ายๆ เช่นนั้น

เรารู้กันดีอยู่ว่าสังคมนี้มีอะไรเลวร้ายอยู่บ้าง มีอะไรอุจาดมากมายที่เรารู้ๆ กันอยู่แต่ไม่มีใครกล้าจัดการ เช่นว่า เราก็รู้ๆ กันอยู่ว่าชีวิตทางครอบครัวของครอบครัวบางครอบครัวไม่ได้สวยหรูดีงามจนถึงขั้นล้มเหลว แต่เราก็ยังพยายามช่วยกันสร้างภาพหลอกตัวเองเพื่อกราบไหว้ กสทช. ท่านนี้จะกล้าเสนอตัวมาแก้ไขความเลวร้ายนี้หรือเปล่า คุณไม่กล้าหรอก เพราะคุณกล้าดีแต่กับผู้ที่ด้อยอำนาจกว่าคุณเท่านั้นแหละ

แบบแผนและสไตล์ชีวิตที่หลากหลายของการกิน ขี้ ปี้ เยี่ยว เป็นวัฒนธรรมสามัญ มีอยู่เป็นปกติ ทำกันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน หากสังคมไทยจะมีโอกาสได้ทำความเข้าใจ ได้ถกเถียง ได้พิจารณากัน ในที่สาธารณะบ้าง อย่างใกล้เคียงความจริงบ้าง ว่าแบบไหนเหมาะสม แบบไหนพอรับได้ แค่ไหน อย่างไร สังคมไทยก็พร้อมที่จะรับมือกับมันได้

ในเมื่อคุณก็ไม่ได้กล้าหาญทางศีลธรรมมากไปกว่าคนอื่นเขา ไม่ได้รู้ดีกว่าใครเขา ไม่ได้เป็นคนดีเหนือใครเขา แล้วจะมาตัดสินสิ่งที่สังคมเขาตัดสินเองได้ได้อย่างไร หรือถ้ารู้ดีจริง เป็นคนดีเหนือคนอื่นเขาจริง ก็ไม่ใช่เรื่องที่คุณคนเดียวจะมากำกับว่าอะไรควรดูอะไรไม่ควรดู นอกเสียจากว่าคุณอยากจะเป็นผู้เผด็จการทางวัฒนธรรม

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ภูมิทัศน์ทางปัญญาของนักศึกษาปัจจุบันเป็นอย่างไร น่าจะมีใครทำวิจัยเล็กๆ ดูกันบ้าง ผมเดาว่าส่วนใหญ่คงวนเวียนอยู่หน้า "กำแพง" สมุดพักตร์ (ขอยืมสำนวนที่เพื่อนนักวิชาการรุ่นพี่คนหนึ่งมักใช้บ่อยๆ)
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตลกที่เวลาผมชื่นชมผู้ใหญ่ในวงการบางคนในบางโอกาส มีคนว่าผมประจบผู้ใหญ่ ไม่รู้จักวิพากษ์ ก็ไม่เป็นไร แต่ส่วนตัวผมและกับคนในวงการเดียวกันคงจะรู้สึกว่า ที่พูดถึงผมแบบนั้นน่ะเพี้ยนแล้ว เพราะผมวิพากษ์ "ผู้ใหญ่" ในวงวิชาการเดียวกันมาเสียจนลูกศิษย์ลูกหาของท่านๆ เหล่านั้นสุดจะทน จนขณะนี้ ผมยังนึกไม่ออกว่ายังเหลือผู้ใหญ่ในวงการท่านใดบ้างที่ผมยังไม่วิพากษ์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ระหว่างเดินทางไปมาด้วยรถไฟหลายเที่ยวในโอซากาเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมเกิดฉุกคิดถามเพื่อนชาวญี่ปุ่นขึ้นมาว่า วิธีที่คนญี่ปุ่นฆ่าตัวตายมากที่สุดคือวิธีไหน เพื่อนตอบทันทีโดยไม่ได้คิดว่า "ก็กระโดดให้รถไฟชนตายนี่แหละ" 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อครหาอีกข้อที่มีคือ การที่ผมชอบคิดคำศัพท์ ใช้คำศัพท์ทางวิชาการรุงรัง นี่เป็นข้อครหาที่นักสังคมศาสตร์ไทยโดนเป็นประจำ เพื่อนนักวิชาการคนอื่นๆ คิดอย่างไรผมไม่ทราบ แต่ผมมีทัศนะของผมเองคร่าวๆ ดังที่จะเสนอในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เสียงสะท้อนที่รบกวนใจผมอยู่บ้างในระยะนี้ คือคำวิจารณ์ที่เข้ามาสู่หูผมมากขึ้นๆ ทุกวันว่า ผมเป็นพวกบ้าทฤษฎี พวกบ้าศัพท์แสง พวกบ้าวิพากษ์ และพวกคลั่งตะวันตก ซึ่งผมก็น้อมรับด้วยความยินดี
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 พึงสำเหนียกว่า กษัตริย์ไม่ใช่พ่อ เป็นเพียง "สมมุติพ่อ" ที่สังคมไทยอุปโลกน์ขึ้นมา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แต่ละคนคงมีตำนานส่วนตัวของตนเอง ที่สะสมความทรงจำซึ่งมักออกจะเดินจริงไปสักหน่อย แม้เมื่อมาพบกับสถานที่ บุคคล หรือแม้แต่รสสัมผัส ในที่นี้คืออาหาร ในตำนานเข้าจริงๆ อีกสักครั้ง แล้วจะรู้สึกว่าความอลังการของบุคคลและวัตถุในตำนานจะถดถอยค่าลงบ้าง ก็ยังไม่ถึงกับจะทำให้ภาพงดงสมในตำนานเลือนหายไปได้ง่ายๆ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เดินทางมาสัมมนาที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ท่าศาลา นครศรีธรรมราช ในงาน "สัมมนาวิชาการ การศึกษาสู่อาเซียน: มิติด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์" มาเที่ยวนี้มาเป็นวิทยากรเสนอเรื่องที่เคยเสนอไปหลายเวทีแล้ว แต่เป็นความคิดที่ผมยังพัฒนาไม่เต็มอิ่มดี ยิ่งนำเสนอก็ยิ่งเห็นมุมมองใหม่ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในวาระที่ประเทศไทยกำลังจะมีแผนแม่บทพัฒนาส้วมสาธารณะไทย ระยะที่ 3 (พ.ศ.2556-2559) (ตามข่าว) จึงขอนำวิดีโอ แสดงทัศนะของนักปรัชญาชื่อดังแห่งปลายศตวรรษที่ 20 ถึงต้นศตวรรษที่ 21 นาม สลาวอย ชีเชก (Slavoj Zizek) มาเพื่อให้แลกเปลี่ยนทำความเข้าใจกันว่า ทำไมส้วมจึงสำคัญนักหนา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (15 กพ.) ตามดูสามสาวดีว่าส์ คาเฟ่แสดงความเห็นกรณีปฏิทินนกแอร์ แล้วนึกถึงข้อวิจารณ์ที่คนอเมริกันบางคนมีต่อ Beyoncé ในการแสดงคั่นครึ่งเวลาซุปเปอร์โบว์ปีที่ผ่านมา คนวิจารณ์ Beyoncé ว่าทำตัวเป็นวัตถุทางเพศ แต่มีนักสังคมวิทยาอเมริกันเถียงว่า เธอใช้ความสามารถแสดงออก แม้จะอย่างยั่วยวน ก็ไม่ได้แปลว่าเธอกลายเป็นวัตถุทางเพศ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 วันวาเลนไทน์ในแบบที่เข้าใจกันทุกวันนี้ กลายเป็นทั้งวัฒนธรรมโลกและวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่ผ่านมาผมก็ไม่เคยคิดกับมันหรอก แต่เมื่อคุณคำ ผกาชวนไปพูดคุยเรื่ิงความรักในรายการดีว่าส์ คาเฟ่ เมื่อวันที่ 14 กพ. ผมก็ตอบตกลงอย่างไม่ลังเล ก็มันน่าตื่นเต้นน้อยเสียเมื่อไหร่ ที่จะได้ออกรายการสดกับสามสาวแสนฉลาดและรวยเสน่ห์ แต่จากที่เขาชวนคุยเรื่องรักใคร่ ไปๆ มาๆ ก็กลับวกไปกลายเป็นเรื่องรัฐเร่่ืองไพร่เสียได้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 พอดีเมื่อสักครู่เพิ่งเห็นภาพภาพหนึ่ง เป็นภาพซอกตึกเมืองเล็กๆ ที่ไหนสักแห่ง มีคำบรรยายภาพว่า “Put down that map and get wonderfully lost.” “วางแผนที่นั่นเสียเถอะ แล้วหลงทางให้อัศจรรย์ใจ” ก็เลยคิดเรื่อยเปื่อยถึงความหมายของการหลงทาง