Skip to main content

จะว่าไป กสทช. คนที่แสดงความเห็นต่อเนื้อหาละครฮอร์โมนนั้น ดูน่าจะเป็นคนที่สามารถวิเคราะห์ เข้าใจสังคมได้มากที่สุดในบรรดา กสทช. ทั้ง 11 คน เพราะเขามีดีกรีถึงปริญญาเอกทางสังคมวิทยาจากมหาวิทยาลัยโด่งดังในเยอรมนี ต่างจากคนอื่นๆ ที่ถ้าไม่ใช่เพราะเป็นทหารหรือใครที่สมยอมกับการรัฐประหารปี 2549 แล้ว ก็เป็นช่างเทคนิคทางด้านการสื่อสาร

นอกจากนั้น เขาผู้นี้ยังมีประวัติในการแสดงความเห็นทางการเมืองในเชิงวิพากษ์ต่อการสลายการชุมนุมทางการเมืองของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ในปี 2553 ถึงขนาดที่ว่า นักวิชาการหัวก้าวหน้ายังต้องทึ่งในการมีท่าทีแบบทหารประชาธิปไตยของเขามาแล้ว

แต่แล้วเขากลับเลือกที่จะเล่นการเมืองวัฒนธรรมแบบ "คุณพ่อรู้ดี" ทั้งที่เขาไม่ได้รู้ดีไปกว่าใครๆ เลย ดีกรีปริญญาเอกทางสังคมวิทยาจากเมืองนอกแบบเขาน่ะมีเกลื่อนไป ไม่ใช่ว่าเขาคนนี้จะรู้จักวิเคราะห์สังคมได้ดีไปกว่าคนทั่วไปเสียเมื่อไหร่ แต่เขาเลือกที่จะใช้มาตรวัดทางศีลธรรมแคบๆ ไปกำหนดความเป็นไปของสังคมข่าวสารที่ผู้คนเขาสามารถตัดสินได้เอง 

เช่นที่เขาว่า "เป็นเรื่องของการบริหารควบคุมความเหมาะสมในสังคม" ก็ใช่ว่าเขาคนนี้จะรู้ดีกว่าคนอื่นว่าอะไรเหมาะสมกับสังคมนี้ที่ตรงไหน หรือที่ว่า "ชวนให้ผู้รับชมคิดและจินตนาการในทางที่ไม่ดีได้ เช่น ฉากการมีเพศสัมพันธ์ทั้งที่ยังสวมชุดนักเรียนอยู่" ก็ใช่ว่าเขาจะแสดงความเข้าใจสถานะของเครื่องแบบนักเรียนในสังคมปัจจุบันเสียเมื่อไหร่ รู้หรือไม่ว่าเดี๋ยวนี้เครื่องแบบนักเรียนนักศึกษาน่ะกลายเป็นสื่อยั่วยุกามารมณ์ไปแล้ว 

แล้ว "การทำแท้ง หรือการไปหาซื้อยาคุมมาใช้เอง" ก็ใช่ว่าจะเป็นเรื่องผิดเสียหายไปเสียทุกกรณี สังคมเขาถกเถียงกันไปถึงไหนต่อไหนแล้วว่า การทำแท้งต้องพิจารณาด้วยกรอบที่กว้างกว่าแค่ความผิดบาปไปเสียทุกกรณี แต่ถึงเขาคนนี้จะระบุว่า เขาต่อต้านการคุมกำเนิด และไม่เคยใช้การคุมกำเนิด ก็เป็นเรื่องของคุณ ไม่ใช่เรื่องที่คุณจะมาใช้มาตรฐานทางศีลธรรมส่วนตนเที่ยวไปตัดสินคนอื่นอย่างง่ายๆ เช่นนั้น

เรารู้กันดีอยู่ว่าสังคมนี้มีอะไรเลวร้ายอยู่บ้าง มีอะไรอุจาดมากมายที่เรารู้ๆ กันอยู่แต่ไม่มีใครกล้าจัดการ เช่นว่า เราก็รู้ๆ กันอยู่ว่าชีวิตทางครอบครัวของครอบครัวบางครอบครัวไม่ได้สวยหรูดีงามจนถึงขั้นล้มเหลว แต่เราก็ยังพยายามช่วยกันสร้างภาพหลอกตัวเองเพื่อกราบไหว้ กสทช. ท่านนี้จะกล้าเสนอตัวมาแก้ไขความเลวร้ายนี้หรือเปล่า คุณไม่กล้าหรอก เพราะคุณกล้าดีแต่กับผู้ที่ด้อยอำนาจกว่าคุณเท่านั้นแหละ

แบบแผนและสไตล์ชีวิตที่หลากหลายของการกิน ขี้ ปี้ เยี่ยว เป็นวัฒนธรรมสามัญ มีอยู่เป็นปกติ ทำกันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน หากสังคมไทยจะมีโอกาสได้ทำความเข้าใจ ได้ถกเถียง ได้พิจารณากัน ในที่สาธารณะบ้าง อย่างใกล้เคียงความจริงบ้าง ว่าแบบไหนเหมาะสม แบบไหนพอรับได้ แค่ไหน อย่างไร สังคมไทยก็พร้อมที่จะรับมือกับมันได้

ในเมื่อคุณก็ไม่ได้กล้าหาญทางศีลธรรมมากไปกว่าคนอื่นเขา ไม่ได้รู้ดีกว่าใครเขา ไม่ได้เป็นคนดีเหนือใครเขา แล้วจะมาตัดสินสิ่งที่สังคมเขาตัดสินเองได้ได้อย่างไร หรือถ้ารู้ดีจริง เป็นคนดีเหนือคนอื่นเขาจริง ก็ไม่ใช่เรื่องที่คุณคนเดียวจะมากำกับว่าอะไรควรดูอะไรไม่ควรดู นอกเสียจากว่าคุณอยากจะเป็นผู้เผด็จการทางวัฒนธรรม

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่แน่ใจว่านโยบายยุบโรงเรียนขนาดเล็กนี้จะดีหรือไม่ สงสัยว่า "คิดดีแล้วหรือที่จะยุบโรงเรียนขนาดเล็ก" ในทางเศรษฐศาสตร์แบบทื่อๆ คงมี "จุดคุ้มทุน" ของการจัดการศึกษาอยู่ระดับหนึ่ง ตามข่าว ดูเหมือนว่าควรจะอยู่ที่การมีนักเรียนโรงเรียนละ 60 คน แต่คงมีเหตุผลบางอย่างที่โรงเรียนตามพื้นที่ชนบทไม่สามารถมีนักเรียนมากขนาดนั้นได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตอนนี้เถียงกันมากเรื่องกะหรี่ ว่ากันไปมาจนกระทั่งทั้งสองฝ่ายก็หนีไม่พ้นเอาคำเดียวกัน หรือทัศนะคติเหยียดเพศหญิงเช่นเดียวกันมาด่ากัน ฝ่ายหนึ่งด่าอีกฝ่ายว่า "อีกะหรี่" อีกฝ่ายหนึ่งด่ากลับว่า "แม่มึงสิเป็นกะหรี่" หรือ "ไปเอากระโปรงอีนั่นมาคลุมหัวแทนไป๊" ตกลงก็ยังหนีไม่พ้นสังคมที่ดูถูกเพศหญิงอยู่ดี
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงสั้นๆ ของชีวิตผมมีโอกาสได้รู้จักคนในแวดวงนักเขียนรูป ผ่านครูสอนวาดเส้นให้ผมคนหนึ่ง ครูผมคนนี้มีเพื่อนคนหนึ่งที่เขาสนิทสนมกันดี ชื่อไสว วงษาพรหม เมื่อคืน ได้สนทนากับคนในแวดวงศิลปะ ที่เรือนชานแห่งหนึ่งที่มีไมตรีให้เพื่อนฝูงเสมอ ผมจึงเพิ่งทราบว่าไสวเสียชีวิตไปหลายปีแล้ว ลอง google ดูพบว่าเขาเสียชีวิตเมื่อ 22 สิงหาคม 2551
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทำไม "เหี้ย ควย หี เย็ด" จึงกลายเป็นภาพเขียนชุดล่าสุดของศิลปินเขียนภาพชั้นนำของไทย ทำไม "กะหรี่" จึงเป็นส่วนหนึ่งของข้อเขียนนักเขียนการ์ตูนผู้ทรงอิทธิพลของไทย ทำไมนักเศรษฐศาสตร์ไทยชั้นนำจึงเขียนคำ "อยากเอา" เป็นความเห็นประกอบภาพวิจารณ์นักการเมือง ทำไมภาษาแบบนี้จึงกลายมาเป็นภาษาทางการเมืองของคนที่มีความสามารถในการสื่อสารเหนือคนทั่วไปเหล่านี้ หลายคนวิเคราะห์แล้วว่า เพราะพวกเขาเร่ิมจนแต้มทางการเมือง "เถียงสู้อีกฝ่ายไม่ได้ก็เลยด่าแม่งไป"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วานนี้ (29 เมษายน 2556) "ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา" และ "ศูนย์ศึกษาสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย" มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดอภิปราย "สู่สันติภาพในอุษาคเนย์" งานนี้จัดท่ามกลางบรรยากาศการเจรจาสันติภาพระหว่างรัฐบาลไทยกับ BRN
ยุกติ มุกดาวิจิตร
“นักวิชาการเสื้อแดง” เป็นเสมือนตำแหน่งทางวิชาการอย่างหนึ่ง การตีตราตำแหน่งนี้สะท้อนความเฉยชาและคับแคบต่อปัญหาสิทธิมนุษยชนและความเป็นธรรมของปัญญาชนไทย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวานเพ่ิงดูพี่ "มากขา" หลายขา แล้วก็อยากมีความเห็นอย่างใครๆ เขาบ้าง ส่วนใครที่ยังไม่ได้ดูแล้วกำลังคิดจะไปดู ก็อย่าเพ่ิงอ่านครับ เดี๋ยวจะเซ็งเสียก่อน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทุกๆ ปี ผมสอนวิชา “ชาติพันธ์ุ์นิพนธ์: การวิพากษ์และการนำเสนอแนวใหม่” ระดับปริญญาตรี ผมออกแบบให้วิชานี้เป็นการศึกษาแบบสัมมนา มีการแลกเปลี่ยนความเห็นของนักศึกษามากกว่าการบรรยายของผู้สอน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อสองวันก่อน มีคนที่สนใจนโยบายรถไฟความเร็วสูงคนหนึ่งถามผมว่า "อาจารย์รู้ไหมว่า โอกาสที่รถไฟไทยจะตรงเวลามีเท่าไหร่" ผมตอบ "ไม่รู้หรอก" เขาบอกว่า "มีเพียง 30%" 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"ปีใหม่" เป็นจินตกรรมของเวลาที่กำหนดการสิ้นสุดและการเริ่มต้น ศักราช เวลาของสังคม การจัดระบบของเวลา ล้วนมีเทศกาลกำกับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
น่าละอายใจที่สภาผู้แทนราษฎรปัดตกข้อเสนอของประชาชนกว่าสามหมื่นคนที่เสนอให้แก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ถ้าบอกกันตรงๆ ว่า "กลัวอ่ะ" ก็จบ ประชาชนอาจจะให้อภัยความปอดแหกได้ แต่ประชาชนส่วนหนึ่งจะตัดสินใจไม่เลือกพวกคุณเข้ามาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนฯ อีกอย่างแน่นอน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ยามหมดปีการศึกษาทีไร ก็ชวนให้ทบทวนถึงหน้าที่การงานด้านการเรียนการสอนของตนเอง แต่ผมทำตามแบบที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งชาติ หรือ สกอ. ให้ทำไม่เป็นหรอก เพราะมันไร้สาระ เป็นกลไกเกินไป และไม่ก่อประโยชน์อะไรนอกจากเปลืองกระดาษและน้ำหมึก ผมมักทำในแบบของผมเองนี่แหละ