Skip to main content

ปฐมลิขิต: ใครรังเกียจทฤษฎี เกลียดงานเขียนแบบหอคอยงาช้าง ไม่ต้องพลิกอ่านก็ได้นะครับ และเวลาผมใส่วงเล็บภาษาอังกฤษหรืออ้างนักคิดต่างๆ นี่ ไม่ได้จะโอ่ให้ดูขลังนะครับ แต่เพื่อให้เชื่อมกับโลกวิชาการสากลได้ ให้ใครสนใจสืบค้นอ่านต่อได้

"ทำไมจึงยังต้องอ่านงานเกียร์ทซ์" เป็นคำถามหนึ่งจากผู้เข้าร่วมเสวนาหลังการอ่าน Thick Description กับ Deep Play ที่ The Reading Room เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (27 กค.) ผู้ตั้งคำถามนี้กำลังเรียนปริญญาตรีมานุษยวิทยาที่สหรัฐอเมริกา ซึ่งเขาเองก็ต้องอ่านงานของ Clifford Geertz (1926-2006) เช่นกัน

คุณนราวัลลภ์ ปฐมวัฒน และคุณ Trin Aiyara ผู้จัดงานตอบว่า เพราะงานของเกียร์ทซ์ในยุคหนึ่งนั้นได้รับการอ้างอิงและกล่าวถึงมาก แถมยังมีงานเขียนเกี่ยวกับเขาในภาคภาษาไทยถึง 2 เล่ม แต่งานเกียร์ทซ์อ่านยากถึงยากมาก จึงอยากให้คนมาแนะแนวการอ่าน

ผู้ร่วมเสวนาอีกคนหนึ่งซึ่งเรียนปริญญาเอกมานุษยวิทยาอยู่ที่ฝรั่งเศสเล่าเสริมว่า ในห้องเรียนวิชาหนึ่งที่ฝรั่งเศส เขาให้เวลากับงาน 2 ชิ้นที่อ่านกันเมื่อวานถึง 3 สัปดาห์ด้วยกัน นั่นคงยืนยันความสำคัญของงานเกียร์ทซ์ข้ามทวีปได้ในระดับหนึ่ง

ในการเสวนา ผมพูดมากมายหลายเรื่อง อาจารย์นิติ ภวัครพันธ์ุผู้ร่วมเสวนาก็พูดหลายเรื่อง และมีประเด็นสนทนาต่อเนื่องอีกหลายเรื่อง แต่ในที่นี้ขอหยิบยกแค่บางส่วนที่ผมพูดมาตอบคำถามข้างต้นก็แล้วกัน

1) แน่นอนว่างานของเกียร์ทซ์หลายๆ ชิ้น โดยเฉพาะในหนังสือรวมบทความ The Interpretation of Cultures (1973) จะดูอนุรักษ์นิยม แม้จะพูดถึงการเมืองอยู่บ้างแต่ก็แทบไม่พูดถึงความขัดแย้ง ไม่พูดถึงประวัติศาสตร์ ขาดการเชื่อมโยงวัฒนธรรมกับมิติทางเศรษฐกิจ ไม่พูดถึงความแตกต่างทางเพศ และดู naive ไร้เดียงสาในสายตาคนรุ่นปัจจุบันไปมาก โดยเฉพาะกับการที่เกียร์ทซ์ไม่วิพากษ์ตนเอง ไม่เห็นความเป็นนักมานุษยวิทยาในร่มเงามหาอำนาจ 

แต่ความละเอียดอ่อนในงานเขียนของเขาก็สามารถนำมาเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ปรากฏการณ์ได้เป็นอย่างดี 

เช่นที่เขาเขียนถึงการชนไก่ในบาหลี เขาอธิบายความหมายของไก่ชนและความหมายของการชนไก่อย่างเป็นระบบ ไก่ชนเชื่อมกับความเป็นชายอย่างไร วิธีการพนันไก่ชนของชาวบาหลีเป็นอย่างไร ที่สำคัญคือชี้ว่าระบบการพนันไก่ชนสอดคล้องกับระบบสังคมบาหลีส่วนหนึ่ง และนั่นคือการอธิบายให้เข้าใจว่า วัฒนธรรมที่แลดูไร้สาระ ไม่มีเหตุมีผลนั้น มีเหตุผลอย่างยิ่ง หากแต่เป็นเหตุผลทางสังคม

ความเข้าใจนี้ช่วยให้เราต้องทำความเข้าใจระบบความหมายของคนในสังคม ของเจ้าของวัฒนธรรมเขาเองอย่างดี ไม่ด่วนตัดสินเขาจากมาตรฐานความเข้าใจของเราเองเพียงเท่านั้น

2) ในโลกวิชาการทางสังคมศาสตร์ เกียร์ทซ์เป็นคนที่นำเอาวิธีการและหลักปรัชญาแบบแมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber) มาปัดฝุ่นแล้วชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของ "ความหมาย" และ "การอ่านความหมาย" เกียร์ทซ์เป็นคนที่เขียนเรื่องนี้อย่างเป็นระบบ มากกว่านักมานุษยวิทยาหลายๆ คนในแนวนี้ และเขาเป็นคนที่ทำให้การศึกษาทางมานุษยวิทยาเปลี่ยนโฉมหน้า จากการพิงหลังอยู่กับวิธีการและหลักปรัชญาแบบวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ไปเป็นหลักคิดแบบมนุษยศาสตร์ (humanities)

สรุปสั้นๆ ย่อๆ คือ เกียร์ทซ์เสนอให้เข้าใจการกระทำ (เขาจงใจเลี่ยงคำว่าพฤติกรรม) ของมนุษย์ว่าเป็นการกระทำที่มีความหมาย ถูกใส่ความหมาย ไม่ต่างกับภาษา การกระทำอะไรก็แล้วแต่จึงอยู่ในระบบของความหมาย เป็นสัญลักษณ์ ฉะนั้นใครที่ศึกษาสังคมจึงไม่ได้กำลัง "สังเกต" เหตุการณ์ การกระทำต่างๆ อยู่ แต่เขากำลัง "อ่าน" หรือ "ตีความ" เพื่อ "ทำความเข้าใจ" ความหมายของผู้กระทำการ หรือของสังคมอยู่

3) การดังกล่าวทำให้กล่าวได้ว่า เกียร์ทซ์ดึงมานุษยวิทยาให้เอนเอียงไปทางมนุษยศาสตร์ (humanities) มากขึ้น แต่ไม่ถึงกับถอดถอนออกมาจากวิทยาศาสตร์ เขาโยงสังคมกับ "ตัวบท" ในลักษณะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นวรรณกรรม ทัศนะศิลป์ หรือการละคร 

เช่นในบทความ Deep Play ที่อ่านกัน เขาสรุปในตอนท้ายว่า การชนไก่คือตัวบทที่ไม่ได้ช่วยให้คนเข้าร่วมร่ำรวยหรือมีฐานะทางสังคมสูงขึ้นมา แต่การชนไก่คือการแสดง คือการนำเสนอภาพสังคมของชาวบาหลี การที่ชาวบาหลีเข้าร่วมการชนไก่จึงเป็นเหมือนการอ่านหนังสือนิยาย ที่เมื่ออ่านแล้ว ผู้อ่านสะท้อนกลับมายังตนเอง เพราะนิยายไม่ได้เพียงบอกเล่าเรื่องราวของตัวละคร แต่ยังบอกเล่าเรื่องราวของผู้อ่านเอง ชวนให้ผู้อ่านเองเข้าใจหรือระลึกถึงตนเองได้ 

ยิ่งกว่านั้น การชนไก่เป็นระบบสัญลักษณ์ที่เหมือนกับงานศิลปะ มีพลังเร้าอารมณ์ เพราะมีความรุนแรงเข้ามาเกี่ยวข้อง งานศิลปะอย่างการชนไก่จึงไม่ใช่สัญลักษณ์ทื่อๆ เงียบๆ แต่ยังมีบทบาทในการให้การศึกษา หรือสร้างความหมายแล้วสอดใส่ลงไปในคนในสังคมบาหลี การชนไก่จึงไม่ใช่ตัวบทที่ถูกอ่านเท่านั้น แต่ยังเป็นตัวบทที่สร้างความหมายให้คนในสังคมด้วย

งานของเกียร์ทซจึงดึงความเป็นมนุษย์ในมิติของการอยู่กับชุดความหมาย อารมณ์ ศิลปะออกมา แล้วนำมาเชื่อมโยงสังคม วัฒนธรรม ขยับสังคมศาสตร์ให้ค่อนไปในทางมนุษยศาสตร์มากขึ้น ทำให้ต้องเข้าใจความซับซ้อนของมนุษย์ด้วยวิธีการทางศิลปะและวรรณกรรมมากขึ้น และยกระดับการถกเถียงเพื่อเข้าใจความหมายทางสังคมไปสู่การถกเถียงทางปรัชญามากขึ้น

The Reading Room ไปง่าย แอร์เย็น มีเครื่องดื่มเย็น-ร้อนสารพัด มีหนังสืออ่านยากมากมายที่คงเป็นอุบายให้ผู้อ่านแวะเวียนมาอ่านซ้ำแล้วซ้ำเล่าไม่จบเล่มสักที กิจกรรม "re:reading group" ยังมีต่อเนื่องอีกหลายครั้ง ขอเชิญชวนไปอ่านใหม่กันครับ

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (24 ธันวาคม 2555) กสทช.เชิญให้ผมไปร่วมแสดงความเห็นในเวทีเสวนาสาธารณะ “1 ปี กสทช. กับความ (ไม่) สมหวังของสังคมไทย” ทีแรกผมไม่คิดว่าตนเองจะสามารถไปวิจารณ์อะไรกสทช.ได้ แต่ผู้จัดยืนยันว่าต้องการมุมมองแบบมานุษยวิทยา ผมจึงตกปากรับคำไป 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อโต้แย้งต่อความเห็นผมจากของเครือข่ายองค์กรงดเหล้า ที่ลงในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1355920241&grpid=03&catid=&subcatid=) ย้ำให้เห็นชัดถึงความอับจนของกรอบคิดของคนกลุ่มนี้ต่อไปนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไม่เพียงแต่นักเขียนบางคนเท่านั้นที่อาจจะไม่เข้าใจหรือมองข้ามประเด็นความแตกต่างทางชาติพันธ์ุ แต่ผมคิดว่าแวดวงภาษาและวรรณกรรมบ้านเราอาจจะไม่ตระหนักถึงปัญหานี้โดยรวมเลยก็ได้ และในแง่หนึ่ง ผมคิดว่าซีไรต์เองอาจจะมีส่วนสร้างวัฒนธรรมไม่อ่อนไหวต่อความแตกต่างทางวัฒนธรรมด้วยเช่นกัน และถึงที่สุดแล้ว นี่อาจจะกลายเป็นข้อจำกัดที่ปิดกั้นโอกาสที่วรรณกรรมไทยจะก้าวเข้าสู่ระดับสากล
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะของนายแพทย์ที่เป็นตัวแทนของคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ แสดงให้เห็นถึงความคิดคับแคบของผู้มีอำนาจกลุ่มหนึ่ง ที่มักใช้อำนาจก้าวก่ายชีวิตผู้คน บนความไม่รู้ไม่เข้าใจไม่อยากรับผิดชอบต่อปัญหาเชิงโครงสร้างที่ละเอียดอ่อน และบนกรอบข้ออ้างเรื่องคุณธรรมความดีที่ยกตนเองเหนือคนอื่น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แทนที่จะเถียงกับอีกท่านหนึ่งที่วิจารณ์ผมต่อหน้ามากมายเมื่อวาน ผมขอใช้พลังงานเถียงกับข้อเสนอล่าสุดของอาจารย์ธีรยุทธ บุญมีจากข่าวในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1354935625&grpid=01&catid=&subcatid=) ดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นึกไม่ถึงและนึกไม่ออกจริงๆ ว่า ทำไมคนเปิดร้านขายหนังสือในปลายศตวรรษที่ 20 - ต้น 21 จะมีความคิดแบบนี้ได้ นี่แสดงว่าเขาไม่ได้อ่านหนังสือที่เขาขายบ้างเลย หรือนี่แสดงว่าการอ่านหนังสือไม่ได้ช่วยจรรโลงจิตใจนายทุนบางคนขึ้นมาได้เลย*
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่ออ่านข่าวแอร์โฮสเตสที่เพิ่งถูกให้ออก ผมมีคำถามหลายข้อ ทั้งในมิติของโซเชียลมีเดีย hate speech และสิทธิแรงงาน อย่างไรก็ดี ขอเคลียร์ก่อนว่าหากใครทราบจุดยืนทางการเมืองของผม ย่อมเข้าใจดีว่าความเห็นต่อไปนี้ไม่ได้มาจากความเห็นทางการเมืองที่เอนเอียงไปในทางเดียวกับพนักงานสายการบินคนนี้แต่อย่างใด ข้อสังเกตคือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขณะกำลังนั่งกินหอยแครงลวกอยู่เวลานี้ ก็ชวนให้คิดถึงคำพูดของนักวิชาการกัมพูชาคนหนึ่ง ที่เคยนั่งต่อหน้าอาหารเกาหลีจานพิเศษ คือหนอนทะเลดิบตัดเป็นชิ้นๆ ขยับตัวดึบๆ ดึบๆ อยู่ในจานแม้จะถูกตั้งทิ้งไว้เป็นชั่วโมง ตอนนั้น ผมบ่ายเบี่ยงไม่กล้ากินอยู่นาน แม้จะรู้ว่าเป็นอาหารพิเศษราคาแพงที่ศาสตราจารย์ชาวเกาหลีสรรหามาเลี้ยงต้อนรับการมาเกาหลีครั้งแรกของพวกเราหลายคน เพื่อนกัมพูชาบอกว่า "กินเถอะพี่ หอยแครงลวกในเมืองไทยน่ากลัวกว่านี้อีก" ผมจึงหาเหตุที่จะหลบเลี่ยงอีกต่อไปไม่ได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมนั่งดูบันทึกรายการ The Voice Thailand (เดอะวอยซ์) เป็นประจำ แม้ว่าจะเห็นคล้อยตามคำนิยมของโค้ชทั้ง 4 อยู่บ่อยๆ แถมยังแอบติดตามความเห็นเปรี้ยวๆ ของนักเขียนบางคนที่ชอบเรียกตนเองสวนทางกับวัยเธอว่า "ป้า" ซึ่งหมดเงินกดโหวตมากมายให้นักร้องหนุ่มน้อยแนวลูกทุ่ง แต่ผมไม่ได้รับความบันเทิงจากเดอะวอยซ์เพียงจากเสียงเพลง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมพยายามถามตัวเองว่า การจะสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนการชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยามที่นำโดย "เสธ.อ้าย" จะมาจากเหตุผลประการใดบ้าง แต่ผมก็ชักจะเริ่มไม่แน่ใจว่า เอาเข้าจริง คนที่เข้าร่วมชุมนุมกับเสธ.อ้ายจะมีเหตุผลหรือไม่ หรือหากมี พวกเขาจะใช้เหตุผลชุดไหนกันในการเข้าร่วมชุมนุม ยังไงก็ตาม อยากถามพวกคุณที่ไปชุมนุมว่า พวกคุณอยากให้ประเทศเป็นอย่างนี้จริงๆ หรือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (20 พฤศจิกายน 2555) นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เชิญไปบรรยายในงานสัมมนา "การเมืองเรื่องคนธรรมดา" ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ขอตัดส่วนหนึ่งของบทบรรยายของผมที่ใช้ชื่อว่า "การเมืองวัฒนธรรมดา: ความไม่ธรรมดาของสามัญชน" มาเผยแพร่ในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่อ 16 พฤศจิกายน 2555 นิสิตรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเชิญไปร่วมกิจกรรมจุฬาวิชาการ โดยให้ไปวิจารณ์บทความนิสิตปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ 4 ชิ้น 1) ว่าด้วยเบื้องหลังทางการเมืองของการก่อตั้งองค์การอาเซียน 2) ว่าด้วยบทบาทและการต่อรองระหว่างประเทศในอาเซียน 3) ว่าด้วยการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าของธุรกิจเอกชนไทยในคู่ค้าอาเซียน และ 4) ว่าด้วยนโยบายชนกลุ่มชาติพันธ์ุในพม่า ข้างล่างนี้คือบันทึกบทวิจารณ์