Skip to main content

ผมเคยนั่งในพิธีรับปริญญาบัตรในฐานะผู้รับและในมุมมองของผู้ให้มาแล้ว แต่ไม่เคยได้นั่งในพิธีในฐานะผู้สังเกตการณ์จากบนเวทีแบบเมื่อครั้งที่ผ่านมานี้มาก่อน

ในปีนี้ ผมเข้าร่วมพิธีด้วยความเต็มใจและปิติยินดียิ่ง หากไม่ใช่ผู้ที่เคารพนับถือจริงๆ คงไม่ไปนั่งร่วมแสดงความยินดี ที่จริงมีผู้รับปริญญากิตติมศักดิ์อีกท่านหนึ่งที่ผมเคารพเข้ารับปริญญาด้วย ผมก็เลยถือเป็นโชคสองชั้นที่ได้เข้าร่วมเป็นเกียรติแด่ทั้งสองท่าน พร้อมๆ กับปลาบปลื้มใจที่นักศึกษาสำเร็จการศึกษา โชคดีที่นักศึกษาคณะผมนั่งด้านหน้าเวทีเลย จึงได้เห็นพวกเขาจากมุมที่ผมนั่งชัดเจน

พิธีกรรมจากมุมมองบนเวทีดูแปลกตาไปจากที่เคยเข้าร่วมพอสมควร ผมเคยอ่านรายชื่อผู้เข้ารับปริญญาระดับบัณฑิตศึกษา แต่ในพิธีที่มีเฉพาะรูปของประธานในพิธีนั้น ไม่น่าเกรงขามมากเท่ากับการที่ประธานส่งผู้แทนที่มีฐานะสูงพอๆ กันมาแทน 

ในมุมของผู้เข้าร่วมเมื่อวันก่อน ที่แปลกคือ ผมกลับรู้สึกได้ถึง "ความเป็นมนุษย์" ของเหล่าผู้คนบนเวทีได้มากกว่าเมื่อนั่งอยู่ในฐานะอื่นๆ คงเพราะเป็น "พยาน" ในพิธี ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง ความอลังการของพิธีจึงดูลดน้อยลงไปมาก ผมจึงไม่ต้องกลัวทำอะไรผิด สามารถลุกขึ้น เดินเข้าออก หรือหลบออกไปจากพิธี และงีบหลับ (โดยสำรวม) ได้อย่างค่อนข้างสะดวก หลังเก้าอี้ประธาน 

ผมจึงได้เห็นด้านที่ "เป็นคน" ของผู้เข้าร่วมพิธีกรรมด้วย เช่น มีจังหวะหนึ่งที่บนเวทีตื่นเต้นกันพอสมควรที่ประธานสะดุดพื้น ทำให้เห็นว่า แม้การควบคุมอย่างเข้มงวดเหล่านี้ ก็ยังมีโอกาสที่ "คน" จะพลาดพลั้ง ผิดบทได้เช่นกัน แต่ในบริบทนั้น "คน" ก็พยายามปรับให้พิธีกรรมดำเนินไปตามสคริปที่วางไว้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

นี่กระมังที่การเป็นผู้สังเกตการณ์ เป็นคนนอกที่เข้าร่วม จะทำให้เห็นอะไรแปลกตาไป ผมเห็นปฏิบัติการของการประกอบสร้างพิธีกรรมในฐานะ "การแสดง" ชัดเจนขึ้น การแสดงนี้ประกอบสร้างด้วยเครื่องแต่งกาย ด้วยการจัดลำดับเวลา ด้วยการควบคุมการเคลื่อนไหว ด้วยการกำหนดจังหวะของพิธีกรรม ด้วยมารยาทระหว่างกัน สิ่งเหล่านี้ควบคุมทุกคน ตั้งแต่ผู้รับปริญญาจนถึงประธานในพิธี

แต่อีกด้านที่ย้อนแย้งกันคือ การรับปริญญาในปัจจุบันดำเนินไปอย่าง "เป็นอุตสาหกรรม" มากๆ มากเสียจนสะท้อนการปั๊มปริญญาบัตร สะท้อนอุตสาหกรรมการศึกษาที่ดำเนินไปในปัจจุบัน กลไกการรับปริญญาในปัจจุบันรวดเร็วมาก เป็นจังหวะของโรงงานที่ต้องผลิตตามสายพานมากกว่าจังหวะของพิธีกรรม มากจนผมคิดว่าพิธีรับปริญญาเป็นอุตสาหกรรมความศักดิ์สิทธิ์ที่มาช่วยฉาบเคลือบอุตสาหกรรมการศึกษา

นอกจากนั้น ไม่เพียงผู้รับปริญญาในพิธีจะได้รับการยกระดับทางสังคมด้วยความศักดิ์สิทธิ์ที่แยกผู้รับปริญญาออกจากผู้ไม่ได้รับปริญญา แต่ผู้มอบปริญญาก็ได้รับการเสริมสร้างความศักดิ์สิทธิ์ด้วยเช่นกัน เรื่องเล่าขาน ความพลาดพลั้ง ความเป็นมนุษย์ ถูกลบกลบเกลื่อนไปในพิธีกรรม

หากยังไม่สามารถเปลี่ยนรูปแบบพิธีกรรมได้ ผมหวังว่าผู้ให้ความรู้จะทำให้ความรู้และกระบวนการเรียนรู้มีค่าในตัวของมันเองเหนือพิธีรับปริญญา และหวังว่าผู้เรียนรู้จะเห็นค่าของความรู้และกระบวนการเรียนรู้เหนือปริญญาและพิธีกรรมที่พวกคุณเข้าร่วมและผ่านพ้นมา

 

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เพ่ิงกินอาหารเย็นเสร็จ วันนี้ลงมือทำสเต็กเนื้อ เนื้อโคขุนไทยๆ นี่แหละ ต้องชิ้นหนาๆ หน่อย ย่างบนกะทะเหล็กหนาๆ ที่หอบหิ้วมาจากอเมริกา เป็นกะทะเทพมากๆ เพราะความร้อนแรงดีมาก ใช้เวลาไม่ถึงสิบนาที เกรียมได้ที่ทั้งสองด้าน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"การศึกษา" ต้องการพื้นที่ลักษณะใดลักษณะหนึ่ง เมื่อความรู้เปลี่ยนแปลงไป เมื่อการเรียนรู้ไม่ได้อยู่ในอำนาจของสถาบันการศึกษาเพียงเท่านั้น พื้นที่การเรียนรู้ก็ย่อมจะต้องเปลี่ยนไปด้วย แต่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของโลกการเรียนรู้ ยังมีคนบางกลุ่มดื้อรั้นขัดขวางการเปลี่ยนแปลง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 แน่นอนว่าโฆษณาโปรแกรมเรียนภาษาไทย (บางคนบอกเป็นแค่ตลกล้อเลียน?) ที่เป็นข่าว 2-3 วันที่ผ่านมานั้น ตั้งอยู่บนอคติทางเพศ ดูถูกเพศหญิงว่าเป็นวัตถุทางเพศ ดูถูกเพศชายว่าจ้องเสพสุขทางเพศท่าเดียว (หรือหลายท่า?) สร้างภาพเหมารวมให้คนไทยและสังคมไทยไร้ศีลธรรม (ดูสิ เราออกจะเมืองพุทธ เมืองพระ) แต่ที่ยังน่าจะต้องทำความเข้าใจคือ ปฏิกิริยาที่คนไทยมีต่อวิดีโอล้อเลียนนี้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อเขียนนี้พยายามทำความเข้าใจตรรกะของพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงแสดงไว้ในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ว่าพระองค์มีทัศนะต่อแนวคิด The King Can Do No Wrong อย่างไร และมาตรา 112 ควรแก้ไขเพราะเหตุใด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การตัดสินคดีของสมยศ พฤกษาเกษมสุขและอีกหลายๆ คดีก่อนหน้านี้ด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 (ม.112) ชี้ให้เห็นยิ่งขึ้นทุกวันว่า รัฐไทยกำลังสร้างความรักด้วยการใช้กำลังข่มเหงให้ประชาชนรักประมุขของประเทศ หาใช่การส่งเสริมให้เกิดความรักประมุขจากใจจริงของประชาชนไม่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
งานวิจัยทางสังคมศาสตร์ที่ดี โดยเฉพาะงานทางมานุษยวิทยา มักมีแรงขับจากอารมณ์ใคร่บางอย่าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หากเรียกร้องเรื่องทรงผม ก็ต้องเรียกร้องเรื่องชุดนักเรียนนักศึกษาด้วย จะได้เป็นก้าวแรกของการอภิวัฒน์การศึกษาไทยอย่างจริงจังเสียที พวกผู้ใหญ่ที่คอยเรียกร้องนักเรียนกับครูอาจารย์ ให้สอนให้เด็กรู้จักคิดน่ะ พวกท่านเคยคิดบ้างหรือเปล่าว่า ชุดนักเรียนนักศึกษาเป็นปราการปิดกั้นเสรีภาพการคิดอย่างไร และเด็กๆ เองก็ควรเข้าใจด้วยว่า การควบคุมเรือนร่างเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสังคมแบบอำนาจนิยมอย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข่าวการเสียชีวิตของอาจารย์พัฒนา กิติอาษาเมื่อเช้าตรู่วานนี้ (10 มกราคม 2556) คงไม่เป็นที่สนใจของใครต่อใครนอกแวดวงวิชาการสังคมศาสตร์มากนัก แต่นี่นับเป็นความสูญเสียครั้งสำคัญของแวดวงสังคมศาสตร์ไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หากพวกคุณวิจัยสำรวจอย่างตรงไปตรงมาจริงๆ พวกคุณก็ย่อมรู้อยู่แก่ใจดีว่า ชัยชนะจากคะแนนเสียงที่ "ไม่่่ท่วมท้นนัก" ในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา มาจากกลุ่มคนที่มีความหวังว่าเพื่อไทยจะเป็นเดินหน้าพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศไทยอย่างจริงจังเสียที
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สังคมไทยมีสังคมแบบหนึ่งที่แทรกซ้อนอยู่ในสังคมขนาดใหญ่ คือสังคมดัดจริต สังคมดัดจริตไม่ได้มีขนาดใหญ่โต แต่เป็นสังคมของคนชั้นกลางและคนใหญ่คนโตที่กำลังเสื่อมอำนาจ สังคมดัดจริตคอยผลิตวัฒนธรรมดัดจริตเพื่อทำให้ตนเองดูดีมีหลักการ เพื่อให้ตนเองอยู่เหนือคนส่วนใหญ่ที่ไม่มีจริตจะดัด และเหนืออื่นใดคือเพื่อปกป้องฐานะอำนาจของตนเอง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตื่นเช้าขึ้นมาวันนี้ คือวันที่ 1 มกราคม 2556 ผมลองคิดบวกดูบ้าง คือคิดแบบเข้าข้างตนเองทบทวนดูว่า หนึ่งปีที่ผ่านมาได้ทำอะไรใหม่ๆ ให้ตนเองบ้าง คำถามแรกที่ผุดขึ้นมาในสมองผมคือ ได้อ่านหนังสืออะไรที่นับว่าตัวเองได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ บ้าง แล้วก็คิดไปเรื่อยว่า ได้ทำอะไรที่ให้การเรียนรู้ใหม่ๆ ประสบการณ์ใหม่ คิดอะไรใหม่ๆ บ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ยามปีใหม่ ยากที่จะหาของขวัญที่ไม่กลายเป็นขยะในชั่วข้ามคืนได้ เพื่อนชาวอเมริกันที่ผมรู้จักหลายคน ซึ่งดูท่าจะทั้งเป็นนักช้อปและเป็นคนช่างมีเหตุผล ก็เลยใช้วิธีให้เด็กๆ เขียนลิสต์รายการสิ่งของที่อยากได้ยามสิ้นปี เพื่อเป็นหลักประกันว่าของที่ซื้อมาให้จะถูกใจผู้รับสักชิ้นหนึ่ง