Skip to main content

จริงหรือที่นักศึกษาไม่สนใจการเมือง ขบวนการนักศึกษาตายแล้วจริงหรือ ถ้าคุณไม่เข้าใจว่าการถกเถียงเรื่องเครื่องแบบ เรื่องทรงผม เรื่องห้องเรียน เป็นเรื่องการเมืองได้อย่างไร แล้วดูแคลนว่ามันเป็นเพียงเรื่องเสรีภาพส่วนตัว เรื่องเรียกร้องเสรีภาพอย่างเกินเลยแล้วล่ะก็ คุณตกขบวนการเมืองของยุคสมัยไปแล้วล่ะ

พวกคุณผู้ใหญ่หรือใครก็ตามที่คิดว่าสนใจการเมือง พวกคุณโดยเฉพาะพวกผู้ใหญ่ๆ น่ะ สนใจการเมืองแบบไหน แล้วการเมืองแบบที่พวกคุณสนใจน่ะ ทำไมพวกนักศึกษา พวกวัยรุ่นในปัจจุบันเขาถึงไม่สนใจกัน แล้วหากพวกนักศึกษาเขาสนใจการเมืองแบบอื่นล่ะ พวกคุณจะอยากเข้าใจเขาไหม หรือเพราะเขาสนใจการเมืองในแบบที่พวกคุณไม่เข้าใจ ไม่สนใจ พวกคุณจึงมองเห็นเป็นเรื่องไร้สาระ แล้วก็คอยดูแคลนพวกนักศึกษาสมัยนี้ว่าพวกเขาไม่สนใจการเมือง

การเมืองของนักศึกษาในปัจจุบันไม่เหมือนการเมืองรุ่นพวกคุณผู้ใหญ่ทั้งหลาย เพราะการเมืองของพวกเขาไม่ได้มีเผด็จการใส่ชุดเขียว-สวมรองเท้าบู๊ท-ยืนถือปืนให้เห็นตรงไปตรงมาเป็นคู่ต่อกรด้วย การเมืองของพวกเขาไม่ใช่ต้องต่อสู้กับทุนนิยมหยาบช้าที่คอยขูดรีด-สะสมทุน-กักตุนความมั่งคั่ง

แต่การเมืองของพวกเขาคือการต่อสู้กับเผด็จการใกล้ตัวที่ปากถือศีล คือการต่อต้านอำนาจบงการควบคุมร่างกาย คำพูด ภาษา การแสดงออกในนามของศีลธรรมอันดีงามและความเป็นไทย การเมืองของพวกเขาต่อสู้กับการกดทับผ่านระเบียบ พิธีกรรมไร้สาระที่ใกล้ตัวในชีวิตประจำวัน การเมืองของพวกเขาต่อสู้กับการควบคุมการใช้ร่างกาย การดื่มกิน ในนามของสุขภาวะ 

มันไร้สาระสิ้นดีหากคุณจะไปเที่ยวคอยอบรมสั่งสอนให้พวกนักศึกษามีจิตสาธารณะ แต่เมื่อพวกเขาชวนคุยเรื่องเครื่องแบบ เรื่องสิทธิในการได้รับการศึกษาโดยไม่แบ่งแยกด้วยการแต่งกาย เรื่องการเรียนการสอนที่ต้องเปิดกว้างทางความคิด พวกคุณบอกนักศึกษาพวกนี้ยังต้องได้รับการฝึกฝนวินัย

มันไร้สาระสิ้นดีที่พวกคุณจะไปคอยเปิดวีดีโอ 14 ตุลา 6 ตุลา ให้พวกเขาดู แต่เมื่อเขาหันมาวิพากษ์พวกคุณอย่างรุนแรง ตรงไปตรงมา ในประเด็นการเมืองเรื่องร่างกาย ซึ่งเป็นสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน เป็นสิทธิการแสดงออกขั้นพื้นฐาน พวกคุณกลับจะเรียกเขามา "ตักเตือน" 

มันไร้สาระสิ้นดีที่พวกคุณติดป้ายโพนทะนาไปทั่วว่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีเสรีภาพทุกตารางนิ้ว แต่เมื่อเขาใช้เสรีภาพนั้น พวกคุณบอก ต้องมีขอบเขตบ้าง ต้องคำนึงถึงศีลธรรมอันดีงามบ้าง ทำไมไม่คุยกับเขาตรงไปตรงมาล่ะ ว่าเหตุผลของเขาเป็นอย่างไร แล้วเหตุผลของพวกคุณน่ะ เพียงพอที่จะโต้เถียงเขาไหม

การเมืองของนักศึกษาและวัยรุ่นปัจจุบันคือการเมืองวัฒนธรรม การเมืองของการแสดงตัวตน การเมืองอัตลักษณ์ การเมืองในชีวิตประจำวัน การเมืองเหล่านี้ส่งผลต่อการเมืองภาพใหญ่ในระยะยาว และไม่ใช่ว่าพวกเขาไม่สนใจการเมืองภาพใหญ่ แต่ต่อให้พวกเขาชวนคุณสนทนาถึงการเมืองที่ใหญ่กว่านี้ คุณจะมีใจเปิดกว้างพอให้พวกเขาหรือเปล่า พวกคุณน่ะ ไม่ก้าวหน้าในการเมืองภาพใหญ่เท่าพวกเขาหรอก เชื่อเหอะ

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
มาเกียวโตเที่ยวนี้หนาวที่สุดเท่าที่เคยมา (สัก 6 ครั้งได้แล้ว) อุณหภูมิอยู่ราวๆ 0-5 องศาเซลเซียสตลอด แต่นี่ยังไม่เท่าเมืองที่เคยอยู่ คือวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกา ซึ่งขณะนี้อยู่ราวๆ -20 องศาเซลเซียส และเคยหนาวได้ถึง -40 องศาเซลเซียส หนาวขนาดนั้นมีแต่นกกากับกระรอก ที่อึดพอจะอยู่นอกอาคารได้นานๆ แต่ที่เกียวโต คนยังสามารถเดินไปเดินมา หรือกระทั่งเดินเล่นกันได้เป็นชั่วโมงๆ หากมีเครื่องกันหนาวที่เหมาะสม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การสัมมนาที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เมื่อวันที่ 23-24 มค. ยังความรื่นรมย์มสู่แวดวงวิชาการสังคมศาสตร์อีกครั้ง ถูกต้องแล้วครับ งานนี้เป็นงาน "เวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทย ครั้งที่ 7" หากแต่อุดมคับคั่งไปด้วยนักสังคมศาสตร์ (ฮ่าๆๆๆ) น่ายินดีที่ได้พบเจอเพื่อนฝูงทั้งเก่าทั้งใหม่มากหน้าหลายตา แต่ที่น่ายินดียิ่งกว่านั้นคือการได้สนทนาทั้งอย่างเป็นทางการ ผ่านงานเขียนและการคิดอ่านกันอย่างจริงจัง บนเวทีวิชาการ กับเพื่อนๆ นักวิชาการรุ่นใหม่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อเช้า (26 มค.) ผมไปเลือกตั้งล่วงหน้าที่เขตจอมทอง ด้วยเหตุจำเป็นไม่สามารถไปเลือกตั้งวันที่ 2 กพ. ได้ ก่อนไป สังหรณ์ใจอยู่ก่อนแล้วว่าจะเกิดเหตุไม่ดี ผมไปถึงเขตเลือกตั้งเวลาประมาณ 9:00 น. สวนทางกับผู้ชุมนุมนกหวีดที่กำลังออกมาจากสำนักงานเขต นึกได้ทันทีว่ามีการปิดหน่วยเลือกตั้งล่วงหน้า มวลชนหลักร้อย ดูฮึกเหิม ท่าทางจะไปปิดหน่วยเลือกตั้งอื่นต่อไป ผมถ่ายรูปคนจำนวนหนึ่งไว้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หนังสือ ประวัติศาสตร์ไทดำ : รากเหง้าวัฒนธรรม-สังคมไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (2557) เล่มนี้เป็นผลจากการวิจัยเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ผมทำวิจัยชิ้นนั้นก็เพื่อให้เข้าใจงานเขียนทางประวัติศาสตร์ของชาวไทในเวียดนามสำหรับทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก แต่เนื้อหาของหนังสือนี้แทบไม่ได้ถูกนำเสนอในวิทยานิพนธ์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เดือนที่แล้ว หลังเสร็จงานเขียนใหญ่ชิ้นหนึ่ง ผมกะจะหลบไปไหนสัก 4-5 วัน ระยะนั้นประเด็นวันเลือกตั้งยังไม่เข้มข้นขนาดทุกวันนี้ ลืมนึกไปจนกลายเป็นว่า ตัวเองกำหนดวันเดินทางในช่วงวันเลือกตั้ง 2 กพ. 57 พอดี เมื่อมาคิดได้ เมื่อวันที่ 14 มค. ก็เลยถือโอกาสที่ที่ทำงานให้หยุดงานไปลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้าในเขตตนเอง ใช้เวลาไม่เกิน 15 นาทีก็ได้เอกสารมาเก็บไว้ รอไปเลือกตั้งล่วงหน้าวันอาทิตย์ที่ 26 มค.
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เหตุที่ประโยค Respect My Vote. กลายเป็นประโยคที่นำไปใช้ต่อ ๆ กันแพร่หลายกินใจผู้รักประชาธิปไตยในขณะนี้ ไม่เพียงเพราะประโยคนี้มีความหมายตามตัวอักษร แต่เพราะประโยคนี้ยังเป็นถ้อยแถลงทางการเมืองของประชาชน ที่ประกาศว่า อำนาจสูงสุดของประเทศนี้เป็นของประชาชน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันที่ 9 มกราคม 2557 เวทีเสวนาประชาธิปไตยภาคใต้ ได้จัดอภิปรายเรื่อง "ปฏิรูปประเทศไทย : ปาตานีในระยะเปลี่ยนผ่าน" ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ผมกับอาจารย์เอกชัย ไชยนุวัติ ได้รับเชิญในฐานะตัวแทนจากสมัชชาปกป้องประชาธิปไตยไปร่วมบรรยายกับวิทยากรชาวปัตตานีและชาวสงขลา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมอยู่ในแวดวงวิชาการ พร้อม ๆ กับทำกิจกรรมบริการทางสังคมด้านสิทธิ-เสรีภาพ การบริการทางสังคมเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานทางวิชาการ นอกเหนือจากการสอน การทำวิจัย และการเขียนงานวิชาการ แต่ในโลกทางวิชาการไทยปัจจุบัน เมื่อคุณก้าวออกมานอกรั้วมหาวิทยาลัยแล้ว คุณจะกลายเป็น "คนมีสีเสื้อ" ไม่ว่าปกติคุณจะใส่เสื้อสีอะไร จะมีสติ๊กเกอร์ติดเสื้อคุณอยู่เสมอว่า "เสื้อตัวนี้สี..." เพียงแต่เสื้อบางสีเท่านั้นที่ถูกกีดกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การปฏิรูปก่อนเลือกตั้งคือการยึดอำนาจของ กปปส. เพื่อจัดตั้งสภาประชาชน ไม่มีทางที่การปฏิรูปก่อนการเลือกตั้งจะเป็นการปฏิรูปที่ปวงชนชาวไทยจะมีส่วนร่วม เนื่องจาก...
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมเก็บข้อมูลการวิจัยเมื่อปี 2553-2554 จนถึงหลังการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว ผมมีโอกาสได้สัมภาษ์นักการเมืองท้องถิ่นคนหนึ่ง เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง สส. เขตของพรรคหนึ่ง ไม่ใช่เพื่อไทย ไม่ใช่ประชาธิปัตย์ ในจังหวัดหนึ่งในภาคอีสาน ไม่ใช่จังหวัดเสื้อแดงแจ๋อย่างอุดรธานีหรือขอนแก่น เขตเลือกตั้งนี้เป็นเขตเลือกตั้งในชนบท เป็นพื้นที่ซึ่งพรรคเพื่อไทยมีฐานเสียงอยู่่พอสมควร แต่ไม่เด็ดขาด ด้วยความไว้เนื้อเชื่อใจอันเนื่องมาจากโยงใยที่ใกล้ชิดกับผู้ที่แนะนำให้ผมติดต่อไปสัมภาษณ์ ผู้สมัคร สส. คนนี้เล่าวิธีการซื้อเสียงของเขาให้ผมฟังโดยละเอียด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ข้อเสนอว่าด้วยการปฏิวัติประชาชนของอาจารย์ธีรยุทธไม่ได้วางอยู่บนข้อเท็จจริงของสังคมไทยปัจจุบัน การปฏิวัติประชาชนตามข้ออ้างจากประวัติศาสตร์ประเทศต่างๆ ของอาจารย์ ล้วนแสดงให้เห็นถึงการปฏิวัติของประชาชนเพื่อโค่นล้มผู้กุมอำนาจรัฐที่ไม่ชอบธรรมเพราะผูกขาดอำนาจเป็นของตนเอง ตลอดจนเป็นการโค่นอำนาจรัฐที่ไม่เหมาะสมกับยุคสมัยที่ประชาชนเป็นใหญ่มากขึ้น หากแต่เราจะถือว่า “มวลมหาประชาชน” หนึ่งล้านห้าแสนคน หรือต่อให้สองล้านคนในมวลชนนกหวีดเป็น “ประชาชน” ในความหมายนั้นได้หรือไม่ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ชัยวัฒน์ครับ ผมยินดีที่อาจารย์ออกมาแสดงความเห็นในสถานการณ์ล่อแหลมเช่นนี้ นี่ย่อมต้องเป็นสถานการณ์ที่สำคัญอย่างยิ่งยวดจริงๆ ไม่เช่นนั้นอาจารย์ก็จะไม่แสดงความเห็นอย่างแน่นอน ดังเช่นเมื่อปี 2553 เหตุการณ์การสลายการชุมนุมที่มีผู้เสียชีวิต 90 กว่าคน บาดเจ็บเกือบ 2,000 คน อาจารย์ก็ยังเงียบงันจนผมสงสัยและได้เคยตั้งคำถามอาจารย์ไปแล้วว่า "นักสันติวิธีหายไปไหนในภาวะสงคราม"