Skip to main content

จริงหรือที่นักศึกษาไม่สนใจการเมือง ขบวนการนักศึกษาตายแล้วจริงหรือ ถ้าคุณไม่เข้าใจว่าการถกเถียงเรื่องเครื่องแบบ เรื่องทรงผม เรื่องห้องเรียน เป็นเรื่องการเมืองได้อย่างไร แล้วดูแคลนว่ามันเป็นเพียงเรื่องเสรีภาพส่วนตัว เรื่องเรียกร้องเสรีภาพอย่างเกินเลยแล้วล่ะก็ คุณตกขบวนการเมืองของยุคสมัยไปแล้วล่ะ

พวกคุณผู้ใหญ่หรือใครก็ตามที่คิดว่าสนใจการเมือง พวกคุณโดยเฉพาะพวกผู้ใหญ่ๆ น่ะ สนใจการเมืองแบบไหน แล้วการเมืองแบบที่พวกคุณสนใจน่ะ ทำไมพวกนักศึกษา พวกวัยรุ่นในปัจจุบันเขาถึงไม่สนใจกัน แล้วหากพวกนักศึกษาเขาสนใจการเมืองแบบอื่นล่ะ พวกคุณจะอยากเข้าใจเขาไหม หรือเพราะเขาสนใจการเมืองในแบบที่พวกคุณไม่เข้าใจ ไม่สนใจ พวกคุณจึงมองเห็นเป็นเรื่องไร้สาระ แล้วก็คอยดูแคลนพวกนักศึกษาสมัยนี้ว่าพวกเขาไม่สนใจการเมือง

การเมืองของนักศึกษาในปัจจุบันไม่เหมือนการเมืองรุ่นพวกคุณผู้ใหญ่ทั้งหลาย เพราะการเมืองของพวกเขาไม่ได้มีเผด็จการใส่ชุดเขียว-สวมรองเท้าบู๊ท-ยืนถือปืนให้เห็นตรงไปตรงมาเป็นคู่ต่อกรด้วย การเมืองของพวกเขาไม่ใช่ต้องต่อสู้กับทุนนิยมหยาบช้าที่คอยขูดรีด-สะสมทุน-กักตุนความมั่งคั่ง

แต่การเมืองของพวกเขาคือการต่อสู้กับเผด็จการใกล้ตัวที่ปากถือศีล คือการต่อต้านอำนาจบงการควบคุมร่างกาย คำพูด ภาษา การแสดงออกในนามของศีลธรรมอันดีงามและความเป็นไทย การเมืองของพวกเขาต่อสู้กับการกดทับผ่านระเบียบ พิธีกรรมไร้สาระที่ใกล้ตัวในชีวิตประจำวัน การเมืองของพวกเขาต่อสู้กับการควบคุมการใช้ร่างกาย การดื่มกิน ในนามของสุขภาวะ 

มันไร้สาระสิ้นดีหากคุณจะไปเที่ยวคอยอบรมสั่งสอนให้พวกนักศึกษามีจิตสาธารณะ แต่เมื่อพวกเขาชวนคุยเรื่องเครื่องแบบ เรื่องสิทธิในการได้รับการศึกษาโดยไม่แบ่งแยกด้วยการแต่งกาย เรื่องการเรียนการสอนที่ต้องเปิดกว้างทางความคิด พวกคุณบอกนักศึกษาพวกนี้ยังต้องได้รับการฝึกฝนวินัย

มันไร้สาระสิ้นดีที่พวกคุณจะไปคอยเปิดวีดีโอ 14 ตุลา 6 ตุลา ให้พวกเขาดู แต่เมื่อเขาหันมาวิพากษ์พวกคุณอย่างรุนแรง ตรงไปตรงมา ในประเด็นการเมืองเรื่องร่างกาย ซึ่งเป็นสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน เป็นสิทธิการแสดงออกขั้นพื้นฐาน พวกคุณกลับจะเรียกเขามา "ตักเตือน" 

มันไร้สาระสิ้นดีที่พวกคุณติดป้ายโพนทะนาไปทั่วว่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีเสรีภาพทุกตารางนิ้ว แต่เมื่อเขาใช้เสรีภาพนั้น พวกคุณบอก ต้องมีขอบเขตบ้าง ต้องคำนึงถึงศีลธรรมอันดีงามบ้าง ทำไมไม่คุยกับเขาตรงไปตรงมาล่ะ ว่าเหตุผลของเขาเป็นอย่างไร แล้วเหตุผลของพวกคุณน่ะ เพียงพอที่จะโต้เถียงเขาไหม

การเมืองของนักศึกษาและวัยรุ่นปัจจุบันคือการเมืองวัฒนธรรม การเมืองของการแสดงตัวตน การเมืองอัตลักษณ์ การเมืองในชีวิตประจำวัน การเมืองเหล่านี้ส่งผลต่อการเมืองภาพใหญ่ในระยะยาว และไม่ใช่ว่าพวกเขาไม่สนใจการเมืองภาพใหญ่ แต่ต่อให้พวกเขาชวนคุณสนทนาถึงการเมืองที่ใหญ่กว่านี้ คุณจะมีใจเปิดกว้างพอให้พวกเขาหรือเปล่า พวกคุณน่ะ ไม่ก้าวหน้าในการเมืองภาพใหญ่เท่าพวกเขาหรอก เชื่อเหอะ

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
นี่เป็นข้อเขียนภาคทฤษฎีของ "การเมืองของนักศึกษาปัจจุบัน" หากใครไม่ชอบอ่านทฤษฎีก็ขอร้องโปรดมองข้ามไปเถอะครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จริงหรือที่นักศึกษาไม่สนใจการเมือง ขบวนการนักศึกษาตายแล้วจริงหรือ ถ้าคุณไม่เข้าใจว่าการถกเถียงเรื่องเครื่องแบบ เรื่องทรงผม เรื่องห้องเรียน เป็นเรื่องการเมืองได้อย่างไร แล้วดูแคลนว่ามันเป็นเพียงเรื่องเสรีภาพส่วนตัว เรื่องเรียกร้องเสรีภาพอย่างเกินเลยแล้วล่ะก็ คุณตกขบวนการเมืองของยุคสมัยไปแล้วล่ะ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในวาระที่กำลังจะมีการสรรหาอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะบุคคลากรของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ผู้หนึ่ง ผมขอเสนอ 5 เรื่องเร่งด่วนที่อธิการบดีคนต่อไปควรเร่งพิจารณา เพื่ิอกอบกู้ให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กลับมาเป็นดินแดนแห่งเสรีภาพ เป็นบ่อน้ำบำบัดผู้กระหายความรู้ และเป็นสถาบันที่เคียงข้างประชาชนต่อไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บันทึกประกอบการพูดเรื่อง "การศึกษาไทย" เมื่อสัปดาห์ก่อน ผมเสนอว่าเรากำลังต่อสู้กับสามลัทธิคือ ลัทธิบูชาชาติ-ศาสน์-กษัตริย์ ลัทธิล่าปริญญา และลัทธิแบบฟอร์ม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"การศึกษาไทยไทย: ความสำเร็จหรือความล้มเหลว" เป็นโจทย์ที่นักกิจกรรมทางสังคมรุ่นใหม่ตั้งขึ้นอย่างท้าทาย พวกเขาท้าทายทั้งระบบการเรียนการสอน วัฒนธรรมการศึกษา เนื้อหาในหลักสูตร และระบบสังคมในสถานศึกษา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะที่ร่วมก่อตั้งและร่วมงานกับ "ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์เมษา-พฤษภา 53" (ศปช.) ผมอดไม่ได้ที่จะเปรียบเทียบสปิริตของการทำงานของ ศปช. กับของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ว่ามองหลักสิทธิมนุษยชนต่างกันอย่างไร อย่างไรก็ดี นี่เป็นทัศนะและหลักการของผมเองในการร่วมงานกับ ศปช. ซึ่งอาจแตกต่างจากสมาชิกคนอื่นบ้าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำตัดสินของศาลอาญาในกรณี 6 ศพวัดประทุมฯ ชวนให้นึกถึงภาพถ่ายเช้าวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ที่ใต้ต้นมะขามต้นหนึ่งที่สนามหลวง นอกจากภาพชายคนที่ใช้เก้าอี้ตีศพที่ถูกแขวนคอใต้ต้นมะขามแล้ว ภาพผู้คนที่รายล้อมต้นมะขามซึ่งแสดงอาการเห็นดีเห็นงามหรือกระทั่งสนับสนุนอยู่นั้น สะเทือนขวัญชาวโลกไม่น้อยกว่าภาพชายใช้เก้าอี้ทำร้ายศพ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเคยนั่งในพิธีรับปริญญาบัตรในฐานะผู้รับและในมุมมองของผู้ให้มาแล้ว แต่ไม่เคยได้นั่งในพิธีในฐานะผู้สังเกตการณ์จากบนเวทีแบบเมื่อครั้งที่ผ่านมานี้มาก่อน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปฐมลิขิต: ใครรังเกียจทฤษฎี เกลียดงานเขียนแบบหอคอยงาช้าง ไม่ต้องพลิกอ่านก็ได้นะครับ และเวลาผมใส่วงเล็บภาษาอังกฤษหรืออ้างนักคิดต่างๆ นี่ ไม่ได้จะโอ่ให้ดูขลังนะครับ แต่เพื่อให้เชื่อมกับโลกวิชาการสากลได้ ให้ใครสนใจสืบค้นอ่านต่อได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จะว่าไป กสทช. คนที่แสดงความเห็นต่อเนื้อหาละครฮอร์โมนนั้น ดูน่าจะเป็นคนที่สามารถวิเคราะห์ เข้าใจสังคมได้มากที่สุดในบรรดา กสทช. ทั้ง 11 คน เพราะเขามีดีกรีถึงปริญญาเอกทางสังคมวิทยาจากมหาวิทยาลัยโด่งดังในเยอรมนี ต่างจากคนอื่นๆ ที่ถ้าไม่ใช่เพราะเป็นทหารหรือใครที่สมยอมกับการรัฐประหารปี 2549 แล้ว ก็เป็นช่างเทคนิคทางด้านการสื่อสาร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ผู้หญิงท่านหนึ่งตั้งคำถามว่า "ไม่รู้อาจารย์ผู้ชายทนสอนหนังสือต่อหน้านักศึกษานุ่งสั้นที่นั่งเปิดหวอหน้าห้องเรียนได้อย่างไร" สำหรับผม ก็แค่เห็นนักศึกษาเป็นลูกเป็นหลานก็เท่านั้น แต่สิ่งยั่วยวนในโลกทางวิชาการมีมากกว่านั้นเยอะ และบางทีจะยิ่งหลบเลี่ยงยากยิ่งกว่าการสร้าง incest taboo ในจินตนาการขึ้นมาหน้าห้องเรียน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักเรียนมนุษยศาสตร์จำนวนมากสนใจวิธีการและทฤษฎีทางสังคมศาสตร์ แต่นักสังคมศาสตร์เขาตั้งท่าทำวิจัยกันอย่างไร แล้วหากนักมนุษยศาสตร์จะใช้วิธีการและทฤษฎีแบบสังคมศาสตร์บ้างจะทำอย่างไร