Skip to main content

ทำไมปรากฏการณ์แฟรงค์ เนติวิทย์ และอั้ม เนโกะจึงทำให้สังคมไทยดิ้นพล่าน 

1) เพราะเขาและเธอถูกมองว่าเป็น "เด็ก" แต่กลับมาพูดจาแสดงความเห็นต่อต้านสังคมของผู้ใหญ่ วิจารณ์ผู้ใหญ่อย่างตรงไปตรงมา พวกเขาไม่ได้ใช้จริตตามวัย เช่นการใช้สรรพนามของทั้งสอง ใช้คำว่า "ดิฉัน" "ผม" "คุณ" พวกเขาแสดงความเป็นผู้ใหญ่ เป็นคนที่สมบูรณ์ ไม่ได้แตกต่างจากพวกผู้ใหญ่ และท้าทายผู้ใหญ่โดยไม่เกรงกลัวอำนาจของผู้ใหญ่ หรือวิธีที่พวกเขาแสดงออก เขาใช้หลักเหตุผล ไม่ได้หน่อมแน้มง๊องแง๊งเหมือนเด็กๆ ที่สังคมไทยมองแล้วน่าเอ็นดู

2) เขาและเธอท้าทายสังคมอำนาจนิยม สังคมที่เน้นอาวุโส สังคมที่ให้ความสำคัญกับการมีสัมมาคารวะเหนือเหตุผล เหนือความกล้าแสดงออก เหนือความเท่าเทียมกัน ที่จริงในอดีต "เด็กๆ" ก็เคยแสดงบทบาทเช่นเดียวกันนี้ และผู้ใหญ่ทุกวันนี้ก็เคยเป็นแบบพวกเขาและเธอมาก่อน แต่กลับลืมไปแล้วว่าตนก็เคยต่อต้านผู้ใหญ่ ต่อต้านสังคมในภาวะที่ตนเป็นเด็กมากก่อนเช่นกัน และกลับใช้ความเป็นผู้ใหญ่ข่มพวกเขาเพราะตอนนี้ขึ้นมามีอำนาจแล้ว และอำนาจพวกตนกำลังถูกท้าทาย

3) เขาและเธอไม่ได้เป็นอีลีท ไม่ได้ใช้ความเป็น "ชนชั้นสูง" ที่อาศัยหน้ากากความหมดจด ผิวพรรณผ่องใส ตีหน้าซื่อบ้องแบ๊ว พูดจาอ่อนหวาน แสดงความเห็นแบบนุ่มนวล เขาและเธอไม่ได้ใช้จริต "เรียบร้อย" "สุภาพ" ในการแสดงออก หากแต่พูดจาโผงผาง ตรงไปตรงมา กระทั่งคร่อมเส้นศีลธรรม ใช้หลักการเหนือวาทศิลป์ ใช้การกระชากอารมณ์เหนือความแยบยล เขาและเธอจึงถูกปฏิกิริยาต้านกลับจากสังคมไทยอย่างแรง

4) สังคม "โซเชียลมีเดีย" ได้สร้าง "พื้นที่สาธารณะ" อย่างใหม่ขึ้นมา ปัจจุบันสังคมโซเชียลมีเดียมีอิทธิพลสูง กระจายข่าวสารได้รวดเร็ว ทำให้กิจกรรมของพวกเขาเป็นที่รับรู้กว้างขวาง ในอดีต ไม่ใช่ว่าไม่มีกิจกรรมในลักษณะนี้ แต่ไม่เป็นกระแส เพราะคนรับรู้น้อย แต่ทุกวันนี้ แม้แต่ใครฉี่ราด ใครโกนขนจักแร้ ก็เป็นที่ล่วงรู้กระจายกันอย่างกว้างขวางรวดเร็ว และมีพลังทั้งในด้านการครอบงำและการต่อต้าน

5) สังคมไทยปัจจุบันนี้ไม่ได้มีด้านเดียว ไม่ได้เป็นสังคมปิด ไม่ได้เป็นสังคมที่คิดอะไรตามๆ กัน ไม่ได้มีแต่เฉพาะสังคมที่นิยมอำนาจนิยมเท่านั้นอีกต่อไป บรรยากาศของสังคมที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้นนี้ จึงมีคนที่เห็นด้วยกับที่เขาและเธอเสนออยู่ไม่น้อย และจึงมีคนร่วมขยายประเด็นที่พวกเขานำเสนอไปต่อเนื่อง ซึ่งก็ยิ่งเป็นการเติมเชื้อความชิงชังต่อเขาและเธอมากยิ่งขึ้น 

จะโต้จะต้านเขาและเธอย่างไรก็ตาม ตราบใดที่การถกเถียงยังอยู่ในกรอบของการใช้เหตุผล การใช้วาทกรรม ไม่ว่าจะล้อเลียน เสียดสี ถากถาง หรือแม้แต่จะมีการด่าทอกันอย่างรุนแรงบ้าง ก็ยังดีเสียกว่าสังคมไทยในอดีต ที่เงื่อนไขของสังคมปิดกั้น ทำให้ความเห็นของ "เด็กๆ" กลายเป็นอาชญากรรม และพวกเขาจึงต้องสังเวยชีวิตตนเองให้กับศีลธรรมดีงามของพวกผู้ใหญ่

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
นี่เป็นข้อเขียนภาคทฤษฎีของ "การเมืองของนักศึกษาปัจจุบัน" หากใครไม่ชอบอ่านทฤษฎีก็ขอร้องโปรดมองข้ามไปเถอะครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จริงหรือที่นักศึกษาไม่สนใจการเมือง ขบวนการนักศึกษาตายแล้วจริงหรือ ถ้าคุณไม่เข้าใจว่าการถกเถียงเรื่องเครื่องแบบ เรื่องทรงผม เรื่องห้องเรียน เป็นเรื่องการเมืองได้อย่างไร แล้วดูแคลนว่ามันเป็นเพียงเรื่องเสรีภาพส่วนตัว เรื่องเรียกร้องเสรีภาพอย่างเกินเลยแล้วล่ะก็ คุณตกขบวนการเมืองของยุคสมัยไปแล้วล่ะ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในวาระที่กำลังจะมีการสรรหาอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะบุคคลากรของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ผู้หนึ่ง ผมขอเสนอ 5 เรื่องเร่งด่วนที่อธิการบดีคนต่อไปควรเร่งพิจารณา เพื่ิอกอบกู้ให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กลับมาเป็นดินแดนแห่งเสรีภาพ เป็นบ่อน้ำบำบัดผู้กระหายความรู้ และเป็นสถาบันที่เคียงข้างประชาชนต่อไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บันทึกประกอบการพูดเรื่อง "การศึกษาไทย" เมื่อสัปดาห์ก่อน ผมเสนอว่าเรากำลังต่อสู้กับสามลัทธิคือ ลัทธิบูชาชาติ-ศาสน์-กษัตริย์ ลัทธิล่าปริญญา และลัทธิแบบฟอร์ม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"การศึกษาไทยไทย: ความสำเร็จหรือความล้มเหลว" เป็นโจทย์ที่นักกิจกรรมทางสังคมรุ่นใหม่ตั้งขึ้นอย่างท้าทาย พวกเขาท้าทายทั้งระบบการเรียนการสอน วัฒนธรรมการศึกษา เนื้อหาในหลักสูตร และระบบสังคมในสถานศึกษา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะที่ร่วมก่อตั้งและร่วมงานกับ "ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์เมษา-พฤษภา 53" (ศปช.) ผมอดไม่ได้ที่จะเปรียบเทียบสปิริตของการทำงานของ ศปช. กับของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ว่ามองหลักสิทธิมนุษยชนต่างกันอย่างไร อย่างไรก็ดี นี่เป็นทัศนะและหลักการของผมเองในการร่วมงานกับ ศปช. ซึ่งอาจแตกต่างจากสมาชิกคนอื่นบ้าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำตัดสินของศาลอาญาในกรณี 6 ศพวัดประทุมฯ ชวนให้นึกถึงภาพถ่ายเช้าวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ที่ใต้ต้นมะขามต้นหนึ่งที่สนามหลวง นอกจากภาพชายคนที่ใช้เก้าอี้ตีศพที่ถูกแขวนคอใต้ต้นมะขามแล้ว ภาพผู้คนที่รายล้อมต้นมะขามซึ่งแสดงอาการเห็นดีเห็นงามหรือกระทั่งสนับสนุนอยู่นั้น สะเทือนขวัญชาวโลกไม่น้อยกว่าภาพชายใช้เก้าอี้ทำร้ายศพ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเคยนั่งในพิธีรับปริญญาบัตรในฐานะผู้รับและในมุมมองของผู้ให้มาแล้ว แต่ไม่เคยได้นั่งในพิธีในฐานะผู้สังเกตการณ์จากบนเวทีแบบเมื่อครั้งที่ผ่านมานี้มาก่อน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปฐมลิขิต: ใครรังเกียจทฤษฎี เกลียดงานเขียนแบบหอคอยงาช้าง ไม่ต้องพลิกอ่านก็ได้นะครับ และเวลาผมใส่วงเล็บภาษาอังกฤษหรืออ้างนักคิดต่างๆ นี่ ไม่ได้จะโอ่ให้ดูขลังนะครับ แต่เพื่อให้เชื่อมกับโลกวิชาการสากลได้ ให้ใครสนใจสืบค้นอ่านต่อได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จะว่าไป กสทช. คนที่แสดงความเห็นต่อเนื้อหาละครฮอร์โมนนั้น ดูน่าจะเป็นคนที่สามารถวิเคราะห์ เข้าใจสังคมได้มากที่สุดในบรรดา กสทช. ทั้ง 11 คน เพราะเขามีดีกรีถึงปริญญาเอกทางสังคมวิทยาจากมหาวิทยาลัยโด่งดังในเยอรมนี ต่างจากคนอื่นๆ ที่ถ้าไม่ใช่เพราะเป็นทหารหรือใครที่สมยอมกับการรัฐประหารปี 2549 แล้ว ก็เป็นช่างเทคนิคทางด้านการสื่อสาร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ผู้หญิงท่านหนึ่งตั้งคำถามว่า "ไม่รู้อาจารย์ผู้ชายทนสอนหนังสือต่อหน้านักศึกษานุ่งสั้นที่นั่งเปิดหวอหน้าห้องเรียนได้อย่างไร" สำหรับผม ก็แค่เห็นนักศึกษาเป็นลูกเป็นหลานก็เท่านั้น แต่สิ่งยั่วยวนในโลกทางวิชาการมีมากกว่านั้นเยอะ และบางทีจะยิ่งหลบเลี่ยงยากยิ่งกว่าการสร้าง incest taboo ในจินตนาการขึ้นมาหน้าห้องเรียน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักเรียนมนุษยศาสตร์จำนวนมากสนใจวิธีการและทฤษฎีทางสังคมศาสตร์ แต่นักสังคมศาสตร์เขาตั้งท่าทำวิจัยกันอย่างไร แล้วหากนักมนุษยศาสตร์จะใช้วิธีการและทฤษฎีแบบสังคมศาสตร์บ้างจะทำอย่างไร